คณะรัฐมนตรีรับทราบแนวทางและขั้นตอนการเสนอขอพระราชทานเหรียญราชการชายแดนให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไป
กระทรวงมหาดไทยพิจารณาคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 207/2549 เรื่อง การบริหารราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้กำหนดโครงสร้างการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้วเสนอว่า เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนเป็นการสร้างแรงจูงใจให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐอื่นที่มีความรู้ความสามารถไปปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐให้เกิดผลสัมฤทธิ์ จึงได้พิจารณาให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกคน ซึ่งเป็นผู้ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในโครงสร้างศูนย์อำนวยการหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา 17 และมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 (คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 207/2549 เรื่อง การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2549) ได้รับสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับการขอพระราชทานเหรียญราชการชายแดนตามรายละเอียดแนวทางและขั้นตอนการเสนอขอพระราชทานเหรียญราชการชายแดน ดังนี้
1. คุณสมบัติผู้ขอพระราชทาน
1.1 เป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกำลังพล กอ.รมน. หรือเป็นผู้ได้รับคำสั่งจากหน่วยงานของรัฐต้นสังกัดให้ปฏิบัติหน้าที่ประจำในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ไม่ได้เป็นกำลังพล กอ.รมน.) ตามโครงสร้างศูนย์อำนวยการหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่จัดตั้งขึ้นตามาตรา 17 และ 26 แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551
1.2 มีระยะเวลาปฏิบัติหน้าที่ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ได้รับคำสั่ง (ต้องไม่ก่อนวันที่ 30 ตุลาคม 2547) เว้นแต่เป็นผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่นตามนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือได้รับบาดเจ็บจากการกระทำของผู้ก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
1.3 เป็นผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานสมความมุ่งหมายของทางราชการตามนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และรัฐมนตรีเจ้าสังกัดรับรองผลการปฏิบัติงาน กล่าวคือ มีการรายงานผลการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุน ป้องกันและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทางราชการตามนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในแบบสรุปผลการปฏิบัติราชการชายแดน (ชด.1) และมีการลงนามรับรองผลการปฏิบัติงานโดยรัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือผู้ที่รัฐมนตรีได้มอบอำนาจให้ลงนามรับรองแทน
1.4 เป็นผู้ที่มีความประพฤติเรียบร้อย อยู่ในระเบียบวินัยอันดีหรือเป็นผู้ไม่เคยกระทำความเสื่อมเสียอย่างใด ๆ ตลอดเวลาที่ปฏิบัติราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้
2. การลงนามรับรองในแบบสรุปผลการปฏิบัติราชการชายแดน (ชด.1)
โดยที่ข้อ 4 ของระเบียบว่าด้วยการขอพระราชทานเหรียญราชการชายแดน สิทธิของผู้ได้รับพระราชทานและการเรียกเหรียญ และบัตรเหรียญราชการชายแดนคืน พ.ศ. 2511 กำหนดให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้รับรองผลงานของผู้ขอพระราชทานเหรียญราชการชายแดนในแบบสรุปผลการปฏิบัติราชการชายแดน (ชด.1) ในการนี้ เพื่อให้การเสนอขอพระราชทานเหรียญราชการชายแดนให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพและถูกต้องตามระเบียบว่าด้วยการขอพระราชทานเหรียญราชการชายแดนฯ พ.ศ. 2511 จึงเห็นควรเสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัดพิจารณามอบอำนาจในการลงนามรับรองผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในสังกัดที่ปฏิบัติหน้าที่ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในแบบสรุปผลการปฏิบัติราชการชายแดน (ชด.1) ดังต่อไปนี้
2.1 กรณีเป็นกำลังพล กอ.รมน. เห็นควรมอบอำนาจให้แม่ทัพภาคที่ 4 เป็นผู้ลงนามรับรองผลการปฏิบัติงาน
2.2 กรณีที่ไม่ได้เป็นกำลังพล กอ.รมน. เห็นควรมอบให้ผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้เป็นผู้ลงนามรับรองการปฏิบัติงาน
2.2.1 ผู้ว่าราชการจังหวัด สำหรับข้าราชการพนักงาน ลูกจ้างของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การมหาชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐที่ทำหน้าที่อย่างทหารตำรวจ
2.2.2 ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า สำหรับข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่จังหวัดนั้น ๆ เว้นแต่ข้าราชการตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดให้ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเป็นผู้ลงนามรับรองผลการปฏิบัติงาน
2.2.3 ผู้บังคับหน่วยระดับกรมหรือเทียบเท่าขึ้นไป สำหรับข้าราชการทหารที่ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
3. ขั้นตอนการเสนอขอพระราชทาน
3.1 กรณีเป็นกำลังพล กอ.รมน. ใช้คำสั่งแต่งตั้งให้เป็นกำลังพล กอ.รมน. ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 207/2549 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2549 เป็นหลักฐานประกอบการพิจารณาเสนอขอพระราชทาน ฯ โดยมีขั้นตอน ดังนี้
3.1.1 ให้ กอ.รมน. อำเภอหรือหน่วยงานที่สังกัดหน่วยขึ้นตรงต่อ กอ.รมน. ภาค 4 รวบรวมรายชื่อและกลั่นกรองตรวจสอบคุณสมบัติของกำลังพล กอ.รมน. ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 1 พร้อมเอกสารประกอบการเสนอขอพระราชทาน ฯ เสนอไปยัง กอ.รมน. จังหวัดหรือหน่วยขึ้นตรงต่อ กอ.รมน. ภาค 4
3.1.2 ให้ ผอ.รมน. จังหวัดหรือผู้บังคับบัญชาหน่วยขึ้นตรงต่อ กอ.รมน. ภาค 4 พิจารณากลั่นกรองและตรวจสอบคุณสมบัติผู้ขอพระราชทานฯ แล้วเสนอรายชื่อผู้สมควรได้รับพระราชทาน ฯ ไปยัง กอ.รมน. ภาค 4 พร้อมเอกสารประกอบการเสนอขอพระราชทาน ฯ
3.1.3 ให้ กอ.รมน. ภาค 4 พิจารณากลั่นกรองและตรวจสอบคุณสมบัติผู้เสนอขอพระราชทาน ฯ ตามที่ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรจังหวัดหรือผู้บังคับบัญชาหน่วยขึ้นตรงเสนอเพื่อเสนอแม่ทัพภาคที่ 4 พิจารณาลงนามรับรองผลการปฏิบัติราชการในบัญชีสรุปผลการปฏิบัติราชการชายแดน (ชด.1) (กรณีที่รัฐมนตรีเจ้าสังกัดได้มอบอำนาจการลงนามรับรองผลการปฏิบัติงานแล้ว) และจัดส่งเอกสารประกอบการเสนอขอพระราชทาน ฯ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
3.2 กรณีไม่ได้เป็นกำลังพล กอ.รมน. ใช้คำสั่งของหน่วยงานของรัฐต้นสังกัดที่แต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ประจำในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นหลักฐานประกอบการพิจารณาเสนอขอพระราชทานฯ ทั้งนี้ การนับระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่เพื่อใช้ประกอบการเสนอขอพระราชทานฯ ต้องไม่ก่อนวันที่ 30 ตุลาคม 2549 โดยมีขั้นตอนการดำเนินการจำแนกตามประเภทผู้ขอพระราชทานฯ ดังนี้
3.2.1 เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนยกเว้นข้าราชการตำรวจและทหาร (ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือองค์การมหาชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐที่ทำหน้าที่อย่างทหารตำรวจ)
(1) ให้ส่วนราชการระดับอำเภอ เทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลรวบรวมรายชื่อเจ้าหน้าที่ในสังกัดที่มีคุณสมบัติตามข้อ 1 พร้อมเอกสารประกอบการเสนอขอพระราชทานฯ เสนอนายอำเภอแห่งท้องที่เพื่อพิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติและรวบรวมรายชื่อผู้ขอพระราชทานเหรียญราชการชายแดนพร้อมเอกสารประกอบการเสนอขอพระราชทาน ฯ เสนอไปยังสำนักงานจังหวัด
สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในราชการส่วนภูมิภาคระดับจังหวัด ราชการส่วนกลาง (ศูนย์ เขต หรือส่วนราชการที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น) องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลเมือง เทศบาลนคร หน่วยงานรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ให้หน่วยงานดังกล่าวตรวจสอบคุณสมบัติและรวบรวมรายชื่อเจ้าหน้าที่ในสังกัดที่ขอพระราชทานเหรียญราชการชายแดนโดยตรงไปยังสำนักงานจังหวัด
(2) ให้สำนักงานจังหวัด ทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองและตรวจสอบคุณสมบัติผู้ขอพระราชทานเหรียญราชการชายแดนตามข้อ 3.2.1 (1) และเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาลงนามรับรองผลการปฏิบัติงานผู้ขอพระราชทาน ฯ (กรณีที่รัฐมนตรีเจ้าสังกัดได้มอบอำนาจให้ลงนามรับรองผลการปฏิบัติงาน)
(3) ให้สำนักงานจังหวัดรวบรวมรายชื่อผู้สมควรได้รับพระราชทานเหรียญราชการชายแดนพร้อมเอกสารประกอบการเสนอขอพระราชทาน ไปยังกระทรวงมหาดไทย เพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
3.2.2 ข้าราชการตำรวจ (ข้าราชการตำรวจหรือผู้ปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ)
(1) ให้ผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดระดับกองกำกับการขึ้นไปในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้รวบรวมรายชื่อและตรวจสอบคุณสมบัติของข้าราชการตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในเขตรับผิดชอบของตนซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ 1 พร้อมเอกสารประกอบการเสนอขอพระราชทานฯ เสนอไปยังศูนย์ปฏิบัติการตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า
สำหรับข้าราชการตำรวจหรือผู้ปฏิบัติงานในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัด ให้สถานีตำรวจภูธรรวบรวมรายชื่อและกลั่นกรองตรวจสอบคุณสมบัติของข้าราชการตำรวจหรือผู้ปฏิบัติงานในสังกัดพร้อมเอกสารประกอบการเสนอขอพระราชทานฯ เสนอไปยังตำรวจภูธรจังหวัด
(2) ให้ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจแห่งชาติส่วนหน้าหรือตำรวจภูธรจังหวัดพิจารณากลั่นกรองและตรวจสอบคุณสมบัติผู้ขอพระราชทานเหรียญราชการชายแดนตามข้อ 3.2.2 (1) และเสนอผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจแห่งชาติส่วนหน้าหรือผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดแล้วแต่กรณี พิจารณาลงนามรับรองผลการปฏิบัติงานผู้ขอพระราชทานฯ (กรณีที่รัฐมนตรีเจ้าสังกัดได้มอบอำนาจให้ลงนามรับรองผลการปฏิบัติงาน)
(3) ให้ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจแห่งชาติส่วนหน้าหรือตำรวจภูธรจังหวัดรวบรวมรายชื่อผู้สมควรได้รับพระราชทานเหรียญราชการชายแดนพร้อมเอกสารประกอบการเสนอขอพระราชทานฯ ไปยังกระทรวงมหาดไทยเพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
3.2.3 ข้าราชการทหาร (ข้าราชการทหารหรือผู้ปฏิบัติงานในสังกัดกระทรววงกลาโหม)
(1) ให้ผู้บังคับบัญชาหน่วยทหารที่ขึ้นตรงต่อหน่วยบังคับระดับกรม หรือเทียบเท่าขึ้นไป รวบรวมรายชื่อและกลั่นกรองตรวจสอบคุณสมบัติของทหารที่ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในเขตรับผิดชอบของตนซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ 1 พร้อมเอกสารประกอบการเสนอขอพระราชทาน ฯ เสนอไปยังหน่วยทหารระดับกรมหรือเทียบเท่าขึ้นไป
(2) ให้หน่วยทหารระดับกรมหรือเทียบเท่าขึ้นไปพิจารณากลั่นกรองและตรวจสอบคุณสมบัติผู้ขอพระราชทานเหรียญราชการชายแดนตามข้อ 3.2.3 (1) และเสนอผู้บังคับหน่วยระดับกรมหรือเทียบเท่าขึ้นไป พิจารณาลงนามรับรองผลการปฏิบัติงานผู้ขอพระราชทานฯ (กรณีที่รัฐมนตรีเจ้าสังกัดได้มอบอำนาจให้ลงนามรับรองผลการปฏิบัติงาน)
(3) ให้หน่วยทหารระดับกรมหรือเทียบเท่าขึ้นไปรวบรวมรายชื่อผู้สมควรได้รับพระราชทานเหรียญราชการชายแดนพร้อมเอกสารประกอบการเสนอขอพระราชทานฯ ไปยังกระทรวงมหาดไทยเพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 มิถุนายน 2551--จบ--
กระทรวงมหาดไทยพิจารณาคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 207/2549 เรื่อง การบริหารราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้กำหนดโครงสร้างการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้วเสนอว่า เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนเป็นการสร้างแรงจูงใจให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐอื่นที่มีความรู้ความสามารถไปปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐให้เกิดผลสัมฤทธิ์ จึงได้พิจารณาให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกคน ซึ่งเป็นผู้ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในโครงสร้างศูนย์อำนวยการหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา 17 และมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 (คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 207/2549 เรื่อง การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2549) ได้รับสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับการขอพระราชทานเหรียญราชการชายแดนตามรายละเอียดแนวทางและขั้นตอนการเสนอขอพระราชทานเหรียญราชการชายแดน ดังนี้
1. คุณสมบัติผู้ขอพระราชทาน
1.1 เป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกำลังพล กอ.รมน. หรือเป็นผู้ได้รับคำสั่งจากหน่วยงานของรัฐต้นสังกัดให้ปฏิบัติหน้าที่ประจำในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ไม่ได้เป็นกำลังพล กอ.รมน.) ตามโครงสร้างศูนย์อำนวยการหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่จัดตั้งขึ้นตามาตรา 17 และ 26 แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551
1.2 มีระยะเวลาปฏิบัติหน้าที่ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ได้รับคำสั่ง (ต้องไม่ก่อนวันที่ 30 ตุลาคม 2547) เว้นแต่เป็นผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่นตามนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือได้รับบาดเจ็บจากการกระทำของผู้ก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
1.3 เป็นผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานสมความมุ่งหมายของทางราชการตามนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และรัฐมนตรีเจ้าสังกัดรับรองผลการปฏิบัติงาน กล่าวคือ มีการรายงานผลการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุน ป้องกันและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทางราชการตามนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในแบบสรุปผลการปฏิบัติราชการชายแดน (ชด.1) และมีการลงนามรับรองผลการปฏิบัติงานโดยรัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือผู้ที่รัฐมนตรีได้มอบอำนาจให้ลงนามรับรองแทน
1.4 เป็นผู้ที่มีความประพฤติเรียบร้อย อยู่ในระเบียบวินัยอันดีหรือเป็นผู้ไม่เคยกระทำความเสื่อมเสียอย่างใด ๆ ตลอดเวลาที่ปฏิบัติราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้
2. การลงนามรับรองในแบบสรุปผลการปฏิบัติราชการชายแดน (ชด.1)
โดยที่ข้อ 4 ของระเบียบว่าด้วยการขอพระราชทานเหรียญราชการชายแดน สิทธิของผู้ได้รับพระราชทานและการเรียกเหรียญ และบัตรเหรียญราชการชายแดนคืน พ.ศ. 2511 กำหนดให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้รับรองผลงานของผู้ขอพระราชทานเหรียญราชการชายแดนในแบบสรุปผลการปฏิบัติราชการชายแดน (ชด.1) ในการนี้ เพื่อให้การเสนอขอพระราชทานเหรียญราชการชายแดนให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพและถูกต้องตามระเบียบว่าด้วยการขอพระราชทานเหรียญราชการชายแดนฯ พ.ศ. 2511 จึงเห็นควรเสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัดพิจารณามอบอำนาจในการลงนามรับรองผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในสังกัดที่ปฏิบัติหน้าที่ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในแบบสรุปผลการปฏิบัติราชการชายแดน (ชด.1) ดังต่อไปนี้
2.1 กรณีเป็นกำลังพล กอ.รมน. เห็นควรมอบอำนาจให้แม่ทัพภาคที่ 4 เป็นผู้ลงนามรับรองผลการปฏิบัติงาน
2.2 กรณีที่ไม่ได้เป็นกำลังพล กอ.รมน. เห็นควรมอบให้ผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้เป็นผู้ลงนามรับรองการปฏิบัติงาน
2.2.1 ผู้ว่าราชการจังหวัด สำหรับข้าราชการพนักงาน ลูกจ้างของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การมหาชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐที่ทำหน้าที่อย่างทหารตำรวจ
2.2.2 ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า สำหรับข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่จังหวัดนั้น ๆ เว้นแต่ข้าราชการตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดให้ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเป็นผู้ลงนามรับรองผลการปฏิบัติงาน
2.2.3 ผู้บังคับหน่วยระดับกรมหรือเทียบเท่าขึ้นไป สำหรับข้าราชการทหารที่ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
3. ขั้นตอนการเสนอขอพระราชทาน
3.1 กรณีเป็นกำลังพล กอ.รมน. ใช้คำสั่งแต่งตั้งให้เป็นกำลังพล กอ.รมน. ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 207/2549 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2549 เป็นหลักฐานประกอบการพิจารณาเสนอขอพระราชทาน ฯ โดยมีขั้นตอน ดังนี้
3.1.1 ให้ กอ.รมน. อำเภอหรือหน่วยงานที่สังกัดหน่วยขึ้นตรงต่อ กอ.รมน. ภาค 4 รวบรวมรายชื่อและกลั่นกรองตรวจสอบคุณสมบัติของกำลังพล กอ.รมน. ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 1 พร้อมเอกสารประกอบการเสนอขอพระราชทาน ฯ เสนอไปยัง กอ.รมน. จังหวัดหรือหน่วยขึ้นตรงต่อ กอ.รมน. ภาค 4
3.1.2 ให้ ผอ.รมน. จังหวัดหรือผู้บังคับบัญชาหน่วยขึ้นตรงต่อ กอ.รมน. ภาค 4 พิจารณากลั่นกรองและตรวจสอบคุณสมบัติผู้ขอพระราชทานฯ แล้วเสนอรายชื่อผู้สมควรได้รับพระราชทาน ฯ ไปยัง กอ.รมน. ภาค 4 พร้อมเอกสารประกอบการเสนอขอพระราชทาน ฯ
3.1.3 ให้ กอ.รมน. ภาค 4 พิจารณากลั่นกรองและตรวจสอบคุณสมบัติผู้เสนอขอพระราชทาน ฯ ตามที่ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรจังหวัดหรือผู้บังคับบัญชาหน่วยขึ้นตรงเสนอเพื่อเสนอแม่ทัพภาคที่ 4 พิจารณาลงนามรับรองผลการปฏิบัติราชการในบัญชีสรุปผลการปฏิบัติราชการชายแดน (ชด.1) (กรณีที่รัฐมนตรีเจ้าสังกัดได้มอบอำนาจการลงนามรับรองผลการปฏิบัติงานแล้ว) และจัดส่งเอกสารประกอบการเสนอขอพระราชทาน ฯ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
3.2 กรณีไม่ได้เป็นกำลังพล กอ.รมน. ใช้คำสั่งของหน่วยงานของรัฐต้นสังกัดที่แต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ประจำในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นหลักฐานประกอบการพิจารณาเสนอขอพระราชทานฯ ทั้งนี้ การนับระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่เพื่อใช้ประกอบการเสนอขอพระราชทานฯ ต้องไม่ก่อนวันที่ 30 ตุลาคม 2549 โดยมีขั้นตอนการดำเนินการจำแนกตามประเภทผู้ขอพระราชทานฯ ดังนี้
3.2.1 เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนยกเว้นข้าราชการตำรวจและทหาร (ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือองค์การมหาชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐที่ทำหน้าที่อย่างทหารตำรวจ)
(1) ให้ส่วนราชการระดับอำเภอ เทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลรวบรวมรายชื่อเจ้าหน้าที่ในสังกัดที่มีคุณสมบัติตามข้อ 1 พร้อมเอกสารประกอบการเสนอขอพระราชทานฯ เสนอนายอำเภอแห่งท้องที่เพื่อพิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติและรวบรวมรายชื่อผู้ขอพระราชทานเหรียญราชการชายแดนพร้อมเอกสารประกอบการเสนอขอพระราชทาน ฯ เสนอไปยังสำนักงานจังหวัด
สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในราชการส่วนภูมิภาคระดับจังหวัด ราชการส่วนกลาง (ศูนย์ เขต หรือส่วนราชการที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น) องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลเมือง เทศบาลนคร หน่วยงานรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ให้หน่วยงานดังกล่าวตรวจสอบคุณสมบัติและรวบรวมรายชื่อเจ้าหน้าที่ในสังกัดที่ขอพระราชทานเหรียญราชการชายแดนโดยตรงไปยังสำนักงานจังหวัด
(2) ให้สำนักงานจังหวัด ทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองและตรวจสอบคุณสมบัติผู้ขอพระราชทานเหรียญราชการชายแดนตามข้อ 3.2.1 (1) และเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาลงนามรับรองผลการปฏิบัติงานผู้ขอพระราชทาน ฯ (กรณีที่รัฐมนตรีเจ้าสังกัดได้มอบอำนาจให้ลงนามรับรองผลการปฏิบัติงาน)
(3) ให้สำนักงานจังหวัดรวบรวมรายชื่อผู้สมควรได้รับพระราชทานเหรียญราชการชายแดนพร้อมเอกสารประกอบการเสนอขอพระราชทาน ไปยังกระทรวงมหาดไทย เพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
3.2.2 ข้าราชการตำรวจ (ข้าราชการตำรวจหรือผู้ปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ)
(1) ให้ผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดระดับกองกำกับการขึ้นไปในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้รวบรวมรายชื่อและตรวจสอบคุณสมบัติของข้าราชการตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในเขตรับผิดชอบของตนซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ 1 พร้อมเอกสารประกอบการเสนอขอพระราชทานฯ เสนอไปยังศูนย์ปฏิบัติการตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า
สำหรับข้าราชการตำรวจหรือผู้ปฏิบัติงานในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัด ให้สถานีตำรวจภูธรรวบรวมรายชื่อและกลั่นกรองตรวจสอบคุณสมบัติของข้าราชการตำรวจหรือผู้ปฏิบัติงานในสังกัดพร้อมเอกสารประกอบการเสนอขอพระราชทานฯ เสนอไปยังตำรวจภูธรจังหวัด
(2) ให้ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจแห่งชาติส่วนหน้าหรือตำรวจภูธรจังหวัดพิจารณากลั่นกรองและตรวจสอบคุณสมบัติผู้ขอพระราชทานเหรียญราชการชายแดนตามข้อ 3.2.2 (1) และเสนอผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจแห่งชาติส่วนหน้าหรือผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดแล้วแต่กรณี พิจารณาลงนามรับรองผลการปฏิบัติงานผู้ขอพระราชทานฯ (กรณีที่รัฐมนตรีเจ้าสังกัดได้มอบอำนาจให้ลงนามรับรองผลการปฏิบัติงาน)
(3) ให้ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจแห่งชาติส่วนหน้าหรือตำรวจภูธรจังหวัดรวบรวมรายชื่อผู้สมควรได้รับพระราชทานเหรียญราชการชายแดนพร้อมเอกสารประกอบการเสนอขอพระราชทานฯ ไปยังกระทรวงมหาดไทยเพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
3.2.3 ข้าราชการทหาร (ข้าราชการทหารหรือผู้ปฏิบัติงานในสังกัดกระทรววงกลาโหม)
(1) ให้ผู้บังคับบัญชาหน่วยทหารที่ขึ้นตรงต่อหน่วยบังคับระดับกรม หรือเทียบเท่าขึ้นไป รวบรวมรายชื่อและกลั่นกรองตรวจสอบคุณสมบัติของทหารที่ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในเขตรับผิดชอบของตนซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ 1 พร้อมเอกสารประกอบการเสนอขอพระราชทาน ฯ เสนอไปยังหน่วยทหารระดับกรมหรือเทียบเท่าขึ้นไป
(2) ให้หน่วยทหารระดับกรมหรือเทียบเท่าขึ้นไปพิจารณากลั่นกรองและตรวจสอบคุณสมบัติผู้ขอพระราชทานเหรียญราชการชายแดนตามข้อ 3.2.3 (1) และเสนอผู้บังคับหน่วยระดับกรมหรือเทียบเท่าขึ้นไป พิจารณาลงนามรับรองผลการปฏิบัติงานผู้ขอพระราชทานฯ (กรณีที่รัฐมนตรีเจ้าสังกัดได้มอบอำนาจให้ลงนามรับรองผลการปฏิบัติงาน)
(3) ให้หน่วยทหารระดับกรมหรือเทียบเท่าขึ้นไปรวบรวมรายชื่อผู้สมควรได้รับพระราชทานเหรียญราชการชายแดนพร้อมเอกสารประกอบการเสนอขอพระราชทานฯ ไปยังกระทรวงมหาดไทยเพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 มิถุนายน 2551--จบ--