คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย โดยประสานการปฏิบัติงานกับจังหวัดที่มีสภาวะฝนตกหนัก และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน สรุปการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย และสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นรวมทั้งผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน (ข้อมูลถึงวันที่ 20 มิถุนายน 2551) ดังนี้
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัย (ระหว่างวันที่ 10 พฤษภาคม - 20 มิถุนายน 2551)
1.1 สาเหตุการเกิด เนื่องจากร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงพาดผ่าน ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมในบางจังหวัด ประชาชนประสบความเดือดร้อน และทรัพย์สินได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก
1.2 พื้นที่ประสบภัย รวม 13 จังหวัด 58 อำเภอ 296 ตำบล 1,332 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดน่าน กำแพงเพชร อุทัยธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ชัยนาท สุพรรณบุรี จันทบุรี นครราชสีมา หนองคาย สุราษฎร์ธานี ชุมพร และจังหวัดพังงา
1.3 ความเสียหาย
1) ราษฎรเดือดร้อน 323,801 คน 71,764 ครัวเรือน
2) ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 202 หลัง ถนน 656 สาย สะพาน 28 แห่ง ฝาย 34 แห่ง ท่อระบายน้ำ 83 แห่ง อ่างเก็บน้ำ 1 แห่ง ทำนบกั้นน้ำ 15 แห่ง ยานยนต์ 1 คัน บ่อปลา 504 บ่อ ปศุสัตว์ 327 ตัว สัตว์ปีก 498 ตัว พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วม 394,467 ไร่
1.4 มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น 216,781,480 บาท
1.5 สถานการณ์ภัยปัจจุบัน ในขณะนี้สถานการณ์อุทกภัยได้คลี่คลายแล้ว 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่าน กำแพงเพชร อุทัยธานี พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท จันทบุรี นครราชสีมา สุราษฎร์ธานี ชุมพร และจังหวัดพังงา แต่ยังคงมีน้ำท่วมขัง จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดหนองคาย อ่างทอง และจังหวัดสุพรรณบุรี สรุปได้ดังนี้
1) จังหวัดหนองคาย เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2551 ได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง วัดได้ 260.6 มม. ที่อำเภอบึงกาฬ ทำให้เกิดน้ำท่วมในเขต อำเภอบึงกาฬ ตำบลวิศิษฐ์ (หมู่ที่ 7) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.00 ม. โดยอำเภอบึงกาฬและองค์การบริหารส่วนตำบล ได้เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง คาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 2-3 วัน
2) จังหวัดอ่างทอง ยังคงมีน้ำท่วมพื้นที่การเกษตรในอำเภอโพธิ์ทอง อำเภอแสวงหา และอำเภอวิเศษชัยชาญ พื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 25,500 ไร่ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.40 ม.
3) จังหวัดสุพรรณบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรเป็นบริเวณกว้างใน 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอบางปลาม้า อำเภอสองพี่น้อง อำเภออู่ทอง อำเภอเดิมบางนางบวช และอำเภอสามชุก พื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 144,448 ไร่ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-1.00 ม.
การให้ความช่วยเหลือในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี
1) กรมชลประทาน จังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 80 เครื่อง และเครื่องผลักดันน้ำ จำนวน 7 เครื่อง เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง และได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ จำนวน 20 เครื่อง บริเวณสะพานสำโรง-ลานตากฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เพื่อเร่งผลักดันน้ำในแม่น้ำท่าจีนลงสู่ทะเลให้เร็วขึ้น รวมทั้งประตูระบายน้ำพระยาบรรลือ ได้รับน้ำจากแม่น้ำท่าจีนผ่านคลองพระยาบรรลือลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่ประตูระบายน้ำสิงหนาท ซึ่งจะส่งผลให้น้ำที่ท่วมขังพื้นที่การเกษตรในจังหวัดสุพรรณบุรี ที่อยู่ตอนบนลดลงด้วย
2) จังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้วางกระสอบทราย และทำคันดินเป็นแนวป้องกันน้ำท่วม พร้อมเร่งสำรวจความเสียหายพื้นที่การเกษตรที่ได้รับความเสียหาย เพื่อให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป
1.6 การให้ความช่วยเหลือของจังหวัด อำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1) สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดเจ้าหน้าที่เร่งสำรวจความเสียหายเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 (งบ 50 ล้านบาท) แล้ว
2) กรมชลประทาน ได้ส่งเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลือพื้นที่ประสบสถานการณ์อุทกภัยตามจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้ จังหวัดกำแพงเพชร 3 เครื่อง พระนครศรีอยุธยา 1 เครื่อง ชัยนาท 1 เครื่อง อ่างทอง 32 เครื่อง อุทัยธานี 3 เครื่อง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 25 เครื่อง และเครื่องผลักดันน้ำ 7 เครื่อง จังหวัดนครปฐม เครื่องผลักดันน้ำ 20 เครื่อง และจังหวัดนครราชสีมา เครื่องสูบน้ำ 4 เครื่อง และเครื่องผลักดันน้ำ 9 เครื่อง
2. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 19-25 มิถุนายน 2551
2.1 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศในช่วงระหว่างวันที่ 19-21 มิถุนายน 2551 หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมเวียดนามตอนบน และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลาง ปกคลุมประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกชุกกับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 22-25 มิถุนายน 2551 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยด้านตะวันตกและชายฝั่งภาคตะวันออกมีฝนตกชุกต่อเนื่อง สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้นในระยะนี้ ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ระมัดระวังอันตรายจากสภาวะฝนตกหนัก อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก และในช่วงวันที่ 22-25 มิถุนายน 2551 ชาวเรือในทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ขอให้ระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือไว้ด้วย
2.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนให้จังหวัดภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออก และภาคใต้ เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่มจากสภาวะฝนตกหนักที่อาจจะเกิดขึ้น โดยให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต และจังหวัดที่อาจจะได้รับผลกระทบ แจ้งเตือนประชาชนให้ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้ และให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยเมื่อเกิดสถานการณ์ขึ้นได้อย่างทันต่อเหตุการณ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 มิถุนายน 2551--จบ--
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัย (ระหว่างวันที่ 10 พฤษภาคม - 20 มิถุนายน 2551)
1.1 สาเหตุการเกิด เนื่องจากร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงพาดผ่าน ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมในบางจังหวัด ประชาชนประสบความเดือดร้อน และทรัพย์สินได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก
1.2 พื้นที่ประสบภัย รวม 13 จังหวัด 58 อำเภอ 296 ตำบล 1,332 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดน่าน กำแพงเพชร อุทัยธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ชัยนาท สุพรรณบุรี จันทบุรี นครราชสีมา หนองคาย สุราษฎร์ธานี ชุมพร และจังหวัดพังงา
1.3 ความเสียหาย
1) ราษฎรเดือดร้อน 323,801 คน 71,764 ครัวเรือน
2) ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 202 หลัง ถนน 656 สาย สะพาน 28 แห่ง ฝาย 34 แห่ง ท่อระบายน้ำ 83 แห่ง อ่างเก็บน้ำ 1 แห่ง ทำนบกั้นน้ำ 15 แห่ง ยานยนต์ 1 คัน บ่อปลา 504 บ่อ ปศุสัตว์ 327 ตัว สัตว์ปีก 498 ตัว พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วม 394,467 ไร่
1.4 มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น 216,781,480 บาท
1.5 สถานการณ์ภัยปัจจุบัน ในขณะนี้สถานการณ์อุทกภัยได้คลี่คลายแล้ว 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่าน กำแพงเพชร อุทัยธานี พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท จันทบุรี นครราชสีมา สุราษฎร์ธานี ชุมพร และจังหวัดพังงา แต่ยังคงมีน้ำท่วมขัง จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดหนองคาย อ่างทอง และจังหวัดสุพรรณบุรี สรุปได้ดังนี้
1) จังหวัดหนองคาย เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2551 ได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง วัดได้ 260.6 มม. ที่อำเภอบึงกาฬ ทำให้เกิดน้ำท่วมในเขต อำเภอบึงกาฬ ตำบลวิศิษฐ์ (หมู่ที่ 7) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.00 ม. โดยอำเภอบึงกาฬและองค์การบริหารส่วนตำบล ได้เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง คาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 2-3 วัน
2) จังหวัดอ่างทอง ยังคงมีน้ำท่วมพื้นที่การเกษตรในอำเภอโพธิ์ทอง อำเภอแสวงหา และอำเภอวิเศษชัยชาญ พื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 25,500 ไร่ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.40 ม.
3) จังหวัดสุพรรณบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรเป็นบริเวณกว้างใน 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอบางปลาม้า อำเภอสองพี่น้อง อำเภออู่ทอง อำเภอเดิมบางนางบวช และอำเภอสามชุก พื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 144,448 ไร่ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-1.00 ม.
การให้ความช่วยเหลือในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี
1) กรมชลประทาน จังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 80 เครื่อง และเครื่องผลักดันน้ำ จำนวน 7 เครื่อง เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง และได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ จำนวน 20 เครื่อง บริเวณสะพานสำโรง-ลานตากฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เพื่อเร่งผลักดันน้ำในแม่น้ำท่าจีนลงสู่ทะเลให้เร็วขึ้น รวมทั้งประตูระบายน้ำพระยาบรรลือ ได้รับน้ำจากแม่น้ำท่าจีนผ่านคลองพระยาบรรลือลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่ประตูระบายน้ำสิงหนาท ซึ่งจะส่งผลให้น้ำที่ท่วมขังพื้นที่การเกษตรในจังหวัดสุพรรณบุรี ที่อยู่ตอนบนลดลงด้วย
2) จังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้วางกระสอบทราย และทำคันดินเป็นแนวป้องกันน้ำท่วม พร้อมเร่งสำรวจความเสียหายพื้นที่การเกษตรที่ได้รับความเสียหาย เพื่อให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป
1.6 การให้ความช่วยเหลือของจังหวัด อำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1) สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดเจ้าหน้าที่เร่งสำรวจความเสียหายเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 (งบ 50 ล้านบาท) แล้ว
2) กรมชลประทาน ได้ส่งเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลือพื้นที่ประสบสถานการณ์อุทกภัยตามจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้ จังหวัดกำแพงเพชร 3 เครื่อง พระนครศรีอยุธยา 1 เครื่อง ชัยนาท 1 เครื่อง อ่างทอง 32 เครื่อง อุทัยธานี 3 เครื่อง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 25 เครื่อง และเครื่องผลักดันน้ำ 7 เครื่อง จังหวัดนครปฐม เครื่องผลักดันน้ำ 20 เครื่อง และจังหวัดนครราชสีมา เครื่องสูบน้ำ 4 เครื่อง และเครื่องผลักดันน้ำ 9 เครื่อง
2. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 19-25 มิถุนายน 2551
2.1 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศในช่วงระหว่างวันที่ 19-21 มิถุนายน 2551 หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมเวียดนามตอนบน และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลาง ปกคลุมประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกชุกกับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 22-25 มิถุนายน 2551 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยด้านตะวันตกและชายฝั่งภาคตะวันออกมีฝนตกชุกต่อเนื่อง สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้นในระยะนี้ ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ระมัดระวังอันตรายจากสภาวะฝนตกหนัก อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก และในช่วงวันที่ 22-25 มิถุนายน 2551 ชาวเรือในทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ขอให้ระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือไว้ด้วย
2.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนให้จังหวัดภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออก และภาคใต้ เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่มจากสภาวะฝนตกหนักที่อาจจะเกิดขึ้น โดยให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต และจังหวัดที่อาจจะได้รับผลกระทบ แจ้งเตือนประชาชนให้ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้ และให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยเมื่อเกิดสถานการณ์ขึ้นได้อย่างทันต่อเหตุการณ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 มิถุนายน 2551--จบ--