คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูฝน ครั้งที่ 6 ช่วงวันที่ 17-23 มิถุนายน 2551 ประกอบด้วย สถานการณ์อุทกภัย สถานการณ์น้ำ ผลกระทบด้านการเกษตร และการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร สรุปได้ดังนี้
สถานการณ์อุทกภัย
จังหวัดชัยนาท มีพื้นที่น้ำท่วม 1 อำเภอ คือ อำเภอหันคา ตำบลวังไก่เถื่อน และ ตำบลบ้านเชี่ยน ระดับน้ำท่วมสูงเฉลี่ย 0.50-0.60 เมตร
จังหวัดอ่างทอง มีน้ำท่วมพื้นที่การเกษตร 2 อำเภอ คือ อำเภอโพธิ์ทอง อำเภอแสวงหา ระดับน้ำท่วมสูงเฉลี่ย 0.30 เมตร หากไม่มีฝนตก คาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 1 สัปดาห์
จังหวัดสุพรรณบุรี มีพื้นที่ 7 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอบางปลาม้า อำเภอสองพี่น้อง อำเภออู่ทอง อำเภอเดิมบางนางบวช อำเภอสามชุก และอำเภอดอนเจดีย์ ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 0.20-1.00 เมตร ทั้งนี้ หากไม่มีฝนตกเพิ่มในพื้นที่ คาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 1 สัปดาห์
สถานการณ์น้ำ
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ (23 มิถุนายน 2551) มีปริมาณน้ำในอ่างฯทั้งหมด 41,443 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 61 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 18,129 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 26 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2550 (44,807 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 3,364 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 5 ของความจุอ่างฯ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเฉลี่ยทั้งปี 38,221 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำไหลลงอ่าง ฯ วันนี้ 107.0 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯสะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ถึง วันนี้ จำนวน 9,266 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น ร้อยละ 24 ของค่าเฉลี่ยทั้งปี)
อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 6,562 และ 4,349 ล้านลูกบาศก์เมตรตามลำดับ หรือคิดเป็นร้อยละ 49 และ 46 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯ รวมกัน จำนวน 10,911 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 47 ของความจุอ่างฯ ทั้งสอง ปริมาตรน้ำใช้การได้รวม 4,261 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 26 ของความจุอ่างฯ
อ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 330 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 34 ของความจุอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ 327 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 34 ของความจุอ่างฯ
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 2 อ่างฯ คือ อ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงฯ จังหวัดเชียงใหม่ อ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ คิดเป็นร้อยละ 21, 29 ของความจุอ่างฯ ตามลำดับ
อ่างเก็บน้ำ จังหวัด ปริมาตรน้ำในอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ปริมาณน้ำ
ปริมาตรน้ำ %ความจุอ่างฯ ปริมาตรน้ำ %ความจุอ่างฯ เฉลี่ยทั้งปี วันนี้ สะสม รับได้อีก
ล้านลบ.ม. ล้าน ล้าน ลบ.ม. ล้านลบ.ม. ตั้งแต่
ลบ.ม. 1 ม.ค. 51
1) แม่กวงฯ เชียงใหม่ 55 21 41 16 186 0.3 27 208
2) บางพระ ชลบุรี 34 29 19 16 44 - 5 83
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 3 อ่าง คือ อ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี อ่างเก็บน้ำประแสร์ จังหวัดระยอง และอ่างเก็บน้ำบางลาง จังหวัดยะลา มีปริมาตรน้ำในอ่างฯคิดเป็นร้อยละ 81, 82 และ 81 ของความจุอ่างฯ ตามลำดับ
อ่างเก็บน้ำ จังหวัด ปริมาตรน้ำในอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ปริมาณ
น้ำรับได้
ปริมาตรน้ำ % ความจุ ปริมาตรน้ำ % เฉลี่ยทั้งปี วันนี้ สะสม อีก
ล้าน ลบ.ม. อ่างฯ ล้าน ลบ.ม. ความจุ ล้าน ล้าน ตั้งแต่
อ่างฯ ลบ.ม. ลบ.ม. 1 ม.ค. 51
1) ศรีนครินทร์ กาญจนบุรี 14,367 81 4,092 23 4,339 3.4 946 3,381
2) ประแสร์ ระยอง 204 82 184 74 295 - 67 42
3) บางลาง ยะลา 1,184 81 924 64 1,545 1.9 756 270
2. สภาพน้ำท่า
แม่น้ำปิง สถานี P.7A ที่สะพานบ้านห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร และสถานี P.17 บ้านท่างิ้ว อ.บรรพตพิสัย
จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
แม่น้ำวัง สถานี W.4A บ้านวังหมัน อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มทรงตัว
แม่น้ำยม สถานี Y.1C สะพานบ้านน้ำโค้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ และสถานี Y.4 สะพานตลาดธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มลดลง และสถานี Y.17 บ้านสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มทรงตัว
แม่น้ำน่าน สถานี N.5A สะพาน เอกาทศรถ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก และสถานี N.67 สะพานบ้านเกยไชย อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
แม่น้ำชี สถานี K91 บ้านหนองขนอน อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และสถานี E.20A บ้านฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำมูล สถานี M.6A บ้านสะตึก อำเภอสะตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
แม่น้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) 689 ลบ.ม.ต่อวินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 45 ลบ.ม.ต่อวินาที) ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา (C.13) 619 ลบ.ม.ต่อวินาที(เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 21 ลบ.ม.ต่อวินาที) โดยมีระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา +16.30 เมตร.(รทก.) ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา + 9.89 เมตร.(รทก.) รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันออก 171 ลบ.ม. ต่อวินาที (เท่ากับเมื่อวาน) รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันตก 97 ลบ.ม. ต่อวินาที (เท่ากับเมื่อวาน) เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปริมาณน้ำระบาย 197 ลบ.ม.ต่อวินาที(ลดลงจากเมื่อวาน 4 ลบ.ม. ต่อวินาที ) เขื่อนพระรามหก ปริมาณน้ำไหลผ่าน 243 ลบ.ม.ต่อวินาที(เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 7 ลบ.ม.ต่อวินาที) ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ผลกระทบด้านการเกษตร ช่วงวันที่ 1 พฤษภาคม — 12 มิถุนายน 2551
อุทกภัย พื้นที่ประสบภัยรวม 31 จังหวัดได้แก่ ภาคเหนือ 12 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัด ภาคกลาง 5 จังหวัด ภาคตะวันออก 5 จังหวัด ภาคตะวันตก 1 จังหวัด และภาคใต้ 3 จังหวัด
ด้านพืช 29 จังหวัด เกษตรกร 38,347 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 399,190 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 275,260 ไร่ พืชไร่ 110,724 ไร่ พืชสวน 13,206 ไร่
ด้านปศุสัตว์ 7 จังหวัด เกษตรกร 2,239 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 56,961 แบ่งเป็น โค-กระบือ 5,952 ตัว สุกร—แพะ-แกะ 2,228 ตัว สัตว์ปีก 48,781 ตัว
ด้านประมง 11 จังหวัด เกษตรกร 1,256 ราย บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 918 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 687.27 ไร่ กระชังเลี้ยงสัตว์น้ำ 1,906 กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 37,469
การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร
1. การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ
กรมชลประทานได้ส่งเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลืออุทกภัยตามจังหวัดต่างๆ 9 จังหวัด รวม จำนวน 75 เครื่อง และเครื่องผลักดันน้ำ 16 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร 3 เครื่อง ชัยนาท 1 เครื่อง อุทัยธานี 3 เครื่อง ลพบุรี 2 เครื่อง สิงห์บุรี 4 เครื่อง พระนครศรีอยุธยา 1 เครื่อง อ่างทอง 32 เครื่อง นครราชสีมา 4 เครื่อง (เครื่องผลักดันน้ำ 9 เครื่อง) สุพรรณบุรี 25 เครื่อง(เครื่องผลักดันน้ำ 7 เครื่อง)
2. การปฏิบัติการฝนหลวง
สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ได้เริ่มตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง ประจำปี 2551 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 เป็นต้นมา เพื่อปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรและเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่าไม้ในภาคต่างๆ รวมทั้งช่วยลดปริมาณการใช้น้ำจากเขื่อนต่างๆ โดยมีการตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงได้ปฏิบัติการ จำนวน 4 ศูนย์ (4 หน่วย และ 2 ฐานเติมสารฝนหลวง) ดังนี้
1) ภาคเหนือตอนบน หน่วยฯ เชียงใหม่
2) ภาคกลาง หน่วยฯ ลพบุรี ฐานเติมสารฝนหลวงจังหวัดนครสวรรค์
3) ภาคตะวันออก หน่วยฯ ระยอง และฐานเติมสารฝนหลวงจังหวัดสระแก้ว
4) ภาคใต้ตอนบน หน่วยฯ หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ผลการปฏิบัติการฝนหลวงในรอบสัปดาห์ (ช่วงวันที่ 13-19 มิ.ย. 2551) ขึ้นบินปฏิบัติการจำนวน 7 วัน 85 เที่ยวบิน มีฝนตก วัดปริมาณน้ำฝนได้ 146 สถานี ปริมาณน้ำฝน 0.1-158.8 มิลลิเมตร ในพื้นที่ 27 จังหวัด
ผลการปฏิบัติการฝนหลวงสะสม ตั้งแต่ตั้งหน่วยฯ (ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. — 19 มิ.ย. 2551) ขึ้นบินปฏิบัติการรวม จำนวน 130 วัน 2,863 เที่ยวบิน มีฝนตกรวม วัดปริมาณน้ำฝนได้ 805 สถานี (จากสถานีวัดฝนรวมทั้งหมด 1,149 สถานี) ปริมาณน้ำฝน 0.1-221.9 มิลลิเมตรในพื้นที่ 69 จังหวัด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 มิถุนายน 2551--จบ--
สถานการณ์อุทกภัย
จังหวัดชัยนาท มีพื้นที่น้ำท่วม 1 อำเภอ คือ อำเภอหันคา ตำบลวังไก่เถื่อน และ ตำบลบ้านเชี่ยน ระดับน้ำท่วมสูงเฉลี่ย 0.50-0.60 เมตร
จังหวัดอ่างทอง มีน้ำท่วมพื้นที่การเกษตร 2 อำเภอ คือ อำเภอโพธิ์ทอง อำเภอแสวงหา ระดับน้ำท่วมสูงเฉลี่ย 0.30 เมตร หากไม่มีฝนตก คาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 1 สัปดาห์
จังหวัดสุพรรณบุรี มีพื้นที่ 7 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอบางปลาม้า อำเภอสองพี่น้อง อำเภออู่ทอง อำเภอเดิมบางนางบวช อำเภอสามชุก และอำเภอดอนเจดีย์ ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 0.20-1.00 เมตร ทั้งนี้ หากไม่มีฝนตกเพิ่มในพื้นที่ คาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 1 สัปดาห์
สถานการณ์น้ำ
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ (23 มิถุนายน 2551) มีปริมาณน้ำในอ่างฯทั้งหมด 41,443 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 61 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 18,129 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 26 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2550 (44,807 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 3,364 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 5 ของความจุอ่างฯ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเฉลี่ยทั้งปี 38,221 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำไหลลงอ่าง ฯ วันนี้ 107.0 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯสะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ถึง วันนี้ จำนวน 9,266 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น ร้อยละ 24 ของค่าเฉลี่ยทั้งปี)
อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 6,562 และ 4,349 ล้านลูกบาศก์เมตรตามลำดับ หรือคิดเป็นร้อยละ 49 และ 46 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯ รวมกัน จำนวน 10,911 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 47 ของความจุอ่างฯ ทั้งสอง ปริมาตรน้ำใช้การได้รวม 4,261 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 26 ของความจุอ่างฯ
อ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 330 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 34 ของความจุอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ 327 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 34 ของความจุอ่างฯ
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 2 อ่างฯ คือ อ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงฯ จังหวัดเชียงใหม่ อ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ คิดเป็นร้อยละ 21, 29 ของความจุอ่างฯ ตามลำดับ
อ่างเก็บน้ำ จังหวัด ปริมาตรน้ำในอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ปริมาณน้ำ
ปริมาตรน้ำ %ความจุอ่างฯ ปริมาตรน้ำ %ความจุอ่างฯ เฉลี่ยทั้งปี วันนี้ สะสม รับได้อีก
ล้านลบ.ม. ล้าน ล้าน ลบ.ม. ล้านลบ.ม. ตั้งแต่
ลบ.ม. 1 ม.ค. 51
1) แม่กวงฯ เชียงใหม่ 55 21 41 16 186 0.3 27 208
2) บางพระ ชลบุรี 34 29 19 16 44 - 5 83
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 3 อ่าง คือ อ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี อ่างเก็บน้ำประแสร์ จังหวัดระยอง และอ่างเก็บน้ำบางลาง จังหวัดยะลา มีปริมาตรน้ำในอ่างฯคิดเป็นร้อยละ 81, 82 และ 81 ของความจุอ่างฯ ตามลำดับ
อ่างเก็บน้ำ จังหวัด ปริมาตรน้ำในอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ปริมาณ
น้ำรับได้
ปริมาตรน้ำ % ความจุ ปริมาตรน้ำ % เฉลี่ยทั้งปี วันนี้ สะสม อีก
ล้าน ลบ.ม. อ่างฯ ล้าน ลบ.ม. ความจุ ล้าน ล้าน ตั้งแต่
อ่างฯ ลบ.ม. ลบ.ม. 1 ม.ค. 51
1) ศรีนครินทร์ กาญจนบุรี 14,367 81 4,092 23 4,339 3.4 946 3,381
2) ประแสร์ ระยอง 204 82 184 74 295 - 67 42
3) บางลาง ยะลา 1,184 81 924 64 1,545 1.9 756 270
2. สภาพน้ำท่า
แม่น้ำปิง สถานี P.7A ที่สะพานบ้านห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร และสถานี P.17 บ้านท่างิ้ว อ.บรรพตพิสัย
จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
แม่น้ำวัง สถานี W.4A บ้านวังหมัน อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มทรงตัว
แม่น้ำยม สถานี Y.1C สะพานบ้านน้ำโค้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ และสถานี Y.4 สะพานตลาดธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มลดลง และสถานี Y.17 บ้านสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มทรงตัว
แม่น้ำน่าน สถานี N.5A สะพาน เอกาทศรถ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก และสถานี N.67 สะพานบ้านเกยไชย อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
แม่น้ำชี สถานี K91 บ้านหนองขนอน อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และสถานี E.20A บ้านฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำมูล สถานี M.6A บ้านสะตึก อำเภอสะตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
แม่น้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) 689 ลบ.ม.ต่อวินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 45 ลบ.ม.ต่อวินาที) ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา (C.13) 619 ลบ.ม.ต่อวินาที(เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 21 ลบ.ม.ต่อวินาที) โดยมีระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา +16.30 เมตร.(รทก.) ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา + 9.89 เมตร.(รทก.) รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันออก 171 ลบ.ม. ต่อวินาที (เท่ากับเมื่อวาน) รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันตก 97 ลบ.ม. ต่อวินาที (เท่ากับเมื่อวาน) เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปริมาณน้ำระบาย 197 ลบ.ม.ต่อวินาที(ลดลงจากเมื่อวาน 4 ลบ.ม. ต่อวินาที ) เขื่อนพระรามหก ปริมาณน้ำไหลผ่าน 243 ลบ.ม.ต่อวินาที(เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 7 ลบ.ม.ต่อวินาที) ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ผลกระทบด้านการเกษตร ช่วงวันที่ 1 พฤษภาคม — 12 มิถุนายน 2551
อุทกภัย พื้นที่ประสบภัยรวม 31 จังหวัดได้แก่ ภาคเหนือ 12 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัด ภาคกลาง 5 จังหวัด ภาคตะวันออก 5 จังหวัด ภาคตะวันตก 1 จังหวัด และภาคใต้ 3 จังหวัด
ด้านพืช 29 จังหวัด เกษตรกร 38,347 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 399,190 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 275,260 ไร่ พืชไร่ 110,724 ไร่ พืชสวน 13,206 ไร่
ด้านปศุสัตว์ 7 จังหวัด เกษตรกร 2,239 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 56,961 แบ่งเป็น โค-กระบือ 5,952 ตัว สุกร—แพะ-แกะ 2,228 ตัว สัตว์ปีก 48,781 ตัว
ด้านประมง 11 จังหวัด เกษตรกร 1,256 ราย บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 918 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 687.27 ไร่ กระชังเลี้ยงสัตว์น้ำ 1,906 กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 37,469
การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร
1. การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ
กรมชลประทานได้ส่งเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลืออุทกภัยตามจังหวัดต่างๆ 9 จังหวัด รวม จำนวน 75 เครื่อง และเครื่องผลักดันน้ำ 16 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร 3 เครื่อง ชัยนาท 1 เครื่อง อุทัยธานี 3 เครื่อง ลพบุรี 2 เครื่อง สิงห์บุรี 4 เครื่อง พระนครศรีอยุธยา 1 เครื่อง อ่างทอง 32 เครื่อง นครราชสีมา 4 เครื่อง (เครื่องผลักดันน้ำ 9 เครื่อง) สุพรรณบุรี 25 เครื่อง(เครื่องผลักดันน้ำ 7 เครื่อง)
2. การปฏิบัติการฝนหลวง
สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ได้เริ่มตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง ประจำปี 2551 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 เป็นต้นมา เพื่อปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรและเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่าไม้ในภาคต่างๆ รวมทั้งช่วยลดปริมาณการใช้น้ำจากเขื่อนต่างๆ โดยมีการตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงได้ปฏิบัติการ จำนวน 4 ศูนย์ (4 หน่วย และ 2 ฐานเติมสารฝนหลวง) ดังนี้
1) ภาคเหนือตอนบน หน่วยฯ เชียงใหม่
2) ภาคกลาง หน่วยฯ ลพบุรี ฐานเติมสารฝนหลวงจังหวัดนครสวรรค์
3) ภาคตะวันออก หน่วยฯ ระยอง และฐานเติมสารฝนหลวงจังหวัดสระแก้ว
4) ภาคใต้ตอนบน หน่วยฯ หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ผลการปฏิบัติการฝนหลวงในรอบสัปดาห์ (ช่วงวันที่ 13-19 มิ.ย. 2551) ขึ้นบินปฏิบัติการจำนวน 7 วัน 85 เที่ยวบิน มีฝนตก วัดปริมาณน้ำฝนได้ 146 สถานี ปริมาณน้ำฝน 0.1-158.8 มิลลิเมตร ในพื้นที่ 27 จังหวัด
ผลการปฏิบัติการฝนหลวงสะสม ตั้งแต่ตั้งหน่วยฯ (ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. — 19 มิ.ย. 2551) ขึ้นบินปฏิบัติการรวม จำนวน 130 วัน 2,863 เที่ยวบิน มีฝนตกรวม วัดปริมาณน้ำฝนได้ 805 สถานี (จากสถานีวัดฝนรวมทั้งหมด 1,149 สถานี) ปริมาณน้ำฝน 0.1-221.9 มิลลิเมตรในพื้นที่ 69 จังหวัด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 มิถุนายน 2551--จบ--