คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพลังงานรายงานความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างไทยกับพม่า โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
ตามที่นายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเดินทางไปราชการที่พม่าเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2551 นั้น ต่อมาในวันเดียวกัน ที่กรุงเนปิดอร์ สหภาพพม่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของพม่า (Brig.Gen.Lun Thi) ได้เป็นประธานร่วมและสักขีพยานในพิธีลงนามข้อตกลงเบื้องต้น (Heads of Agreement) ของการซื้อขายก๊าซธรรมชาติจากแปลงสำรวจ M9 ในอ่าวเมาะตะมะ ของพม่า ระหว่าง บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ซื้อก๊าซ ฯ กับ Myanma Oil and Gas Enterprise (MOGE ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงานของพม่า) และ บริษัท ปตท. สผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในฐานะผู้ขายก๊าซร่วม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและผลิตก๊าซ จากแปลงดังกล่าว ขึ้นมาใช้ประโยชน์แก่ประเทศทั้งสองในประมาณปี 2555 ซึ่งการลงนามดังกล่าว มีความสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการจัดหาก๊าซธรรมชาติเข้าสู่ประเทศไทย เพื่อสนองความต้องการก๊าซที่เพิ่มขึ้น และเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศในระยะยาวตามนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา
กระทรวงพลังงานจึงขอรายงานสรุปสาระสำคัญของการจัดหาก๊าซธรรมชาติเพิ่มเติมจากแปลง M9 ในพม่า ต่อคณะรัฐมนตรี ดังนี้
ความเป็นมา
1. นับตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา บริษัท ปตท.สผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (ซึ่งเป็นบริษัทที่ ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ของไทยถือหุ้นทั้งหมด) ได้ลงทุนพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติในสหภาพพม่า เพื่อผลิตก๊าซธรรมชาติส่งขายให้กับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เข้าสู่ประเทศไทยผ่านท่อก๊าซไทย-พม่า จำนวน 2 โครงการ ใน 5 แปลงสำรวจ ซึ่งส่งก๊าซเข้าสู่ไทยในอัตราเฉลี่ย 1,150 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน (ในปี 2550) ได้แก่
1) โครงการพัฒนาแหล่งก๊าซยาดานา (Yadana) ในแปลงสำรวจ M-5 และ M-6 ในอ่าวเมาะตะมะ
* ปตท.สผ. ถือสิทธิในสัมปทาน 25.5% โดยมีบริษัท TOTAL Myanmar เป็นผู้ดำเนินงาน (Operator)
* ปัจจุบันผลิตและส่งก๊าซประมาณ 760 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน (ส่งก๊าซขายเข้าประเทศไทยประมาณ 650 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ที่เหลือส่งขายในพม่า)
* เริ่มการผลิตเมื่อ กรกฎาคม 2541 (1998)
2) โครงการพัฒนาแหล่งก๊าซเยตากุน (Yetagun) ในแปลง M-12 , M-13 และ M-14 ในอ่าวเมาะตะมะ
* ปตท.สผ.ถือสิทธิในสัมปทาน 19.3178% โดยมีบริษัท Petronas Carigali Myanmar เป็นผู้ดำเนินงาน (Operator)
* ปัจจุบันผลิตและส่งก๊าซประมาณ 400 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน (เข้าไทยทั้งหมด)
* เริ่มการผลิตเมื่อ เมษายน 2543 (2000)
2.จากการที่พม่ามีศักยภาพปิโตรเลียมในอ่าวเมาะตะมะอีกมาก ประกอบกับ ปตท.สผ. สนใจที่จะขยายการลงทุนในพม่าเพิ่มขึ้น จึงได้ขอและได้รับอนุมัติจากกระทรวงพลังงานของพม่า ให้ได้รับสิทธิในการสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมในแปลงสำรวจเพิ่มขึ้นอีก 5 แปลง ดังนี้ แปลง M-7 และ M-9 (ก.พ.2547) แปลง M-3 และ M-4 (พ.ย. 2547) กับแปลง M-11 (ต.ค 2548) โดยถือสิทธิ 100% ในทั้ง 5 แปลง พร้อมทั้งได้เริ่มลงทุนสำรวจทางธรณีวิทยา/ธรณีฟิสิกส์กับเจาะหลุมสำรวจอย่างจริงจังและต่อเนื่อง (เจาะหลุมสำรวจและประเมินผลไปแล้วรวม 14 หลุม) จนกระทั่งประสบความสำเร็จในการพบก๊าซในแปลง M-9 เป็นแห่งแรกในปี 2549 และต่อมาในปี 2550 สามารถยืนยันปริมาณสำรองก๊าซเบื้องต้น (2P Reserve) ที่ประมาณ 1.57 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ซึ่งเพียงพอที่จะพัฒนาผลิตก๊าซได้ในเชิงพาณิชย์ ในอัตราเฉลี่ย 300 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน เป็นเวลาประมาณ 20 ปี (หมายเหตุ : เมื่อเริ่มการผลิตในเชิงพาณิชย์ MOGE ของพม่ามีสิทธิขอเข้าร่วมลงทุนภายหลังได้ 15-20% และพม่าขอสงวนสิทธิซื้อก๊าซไว้ใช้ภายในประเทศจำนวนขั้นต่ำ 60 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน และขายให้ ปตท. 240 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน)
สาระสำคัญของข้อตกลงเบื้องต้น (HOA)
ข้อตกลงเบื้องต้น Heads of Agreement (HOA) ที่จะนำไปสู่การยกร่างสัญญาซื้อขายก๊าซ (Gas Sales Agreement) เพื่อลงนามในรายละเอียดต่อไปนั้น ประกอบด้วย หลักการสำคัญ ดังนี้
- ก๊าซแปลง M-9 จะผลิตไปยังทั้งประเทศไทยและพม่า
- ปตท. จะมีสิทธิซื้อก๊าซเพิ่มเติม เป็นลำดับแรก ในกรณีที่มีการสำรวจพบก๊าซจากแปลง M-3,M-4, M-7 และ M-11 โดยทั้งนี้ จะต้องแบ่งก๊าซจำนวนหนึ่งเพื่อส่งขายให้ตลาดก๊าซในพม่าด้วย
- ระยะเวลาการซื้อขายประมาณ 20 ปี ปริมาณซื้อขายก๊าซรวมประมาณ 300 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน แบ่งเป็นของตลาดก๊าซพม่าในปริมาณขั้นต่ำ 60 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน และปริมาณ 240 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน เป็นของปตท.
- จุดส่งมอบก๊าซจะเป็นที่ชายแดนไทย-พม่า (บริเวณบ้านอีต่อง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ซึ่งมีแนวท่อก๊าซเดิมตั้งแต่ปี 2541 อยู่แล้ว แต่จะมีการวางท่อก๊าซจากแปลง M-9 ในเขตพม่า มาบรรจบ) โดยจะใช้หลักการของสัญญาเช่นเดียวกับสัญญาปัจจุบันของแหล่งยาดานาและเยตากุน
ประโยชน์ต่อความมั่นคงทางพลังงานของไทย
โดยที่ความต้องการใช้ก๊าซของไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าความต้องการใช้ก๊าซจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ประมาณ 3,600 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ไปอยู่ที่ระดับประมาณ 5,350 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ในปี 2555และจะอยู่ในระดับที่สูงกว่า 7,300 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ในปี 2564 ซึ่งเกินกว่าปริมาณก๊าซที่ ปตท. มีสัญญาซื้อขายอยู่ในปัจจุบัน (จากแหล่งก๊าซ ในอ่าวไทย บนบกบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ JDA ไทย-มาเลเซีย และพม่า) ดังนั้นการที่ไทย (โดย ปตท. และ ปตท.สผ.) สามารถบรรลุข้อตกลงที่จัดหาก๊าซเพิ่มเติมจากแหล่งก๊าซแปลง M-9 ในพม่าได้เพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 240 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน เริ่มในปี 2555 (จากอัตราการซื้อขายก๊าซจาก 2 โครงการเดิมในพม่า ซึ่งปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 1,100 — 1,200 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน) นั้น ก็จะเกิดประโยชน์แก่ประเทศไทยในระยะยาว ในด้านความมั่นคงของการจัดหาก๊าซธรรมชาติเพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นทุก ๆ ปี (หมายเหตุ : ก๊าซธรรมชาติ 240 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน จะสามารถนำไปเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าให้แก่โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมขนาดใหญ่ได้ ประมาณ 2 โรง กำลังผลิตไฟฟ้ารวม 1,600 เมกะวัตต์)
นอกจากนี้โครงการ M9 ยังเป็นการผลิตก๊าซเพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศพม่าเอง และสร้างงานและความเจริญทางเศรษฐกิจแก่พม่า รวมทั้งเสริมสร้างและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าให้แน่นแฟ้นขึ้นอีกด้วย
อนึ่ง ความสำเร็จของข้อตกลง ฯ ดังกล่าว เกิดขึ้นภายหลังจากที่ นายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปเยือนพม่าอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2551 พร้อมทั้งได้หยิบยกเรื่องความร่วมมือซื้อขายก๊าซธรรมชาติระหว่างทั้งสองขึ้นหารือกับนายกรัฐมนตรีของพม่าด้วยซึ่งช่วยทำให้การเจรจาของ ปตท. และ ปตท.สผ. กับ MOGE ตั้งแต่ปี 2549 เพื่อให้มีการลงทุนและพัฒนาแหล่งก๊าซจากแปลง M-9 นี้ สามารถได้ข้อยุติเมื่อเดือนพฤษภาคม 2551 ที่ผ่านมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของพม่าจึงได้มีหนังสือมาเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ไปเป็นประธานร่วมในพิธีลงนามดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 มิถุนายน 2551--จบ--
ตามที่นายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเดินทางไปราชการที่พม่าเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2551 นั้น ต่อมาในวันเดียวกัน ที่กรุงเนปิดอร์ สหภาพพม่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของพม่า (Brig.Gen.Lun Thi) ได้เป็นประธานร่วมและสักขีพยานในพิธีลงนามข้อตกลงเบื้องต้น (Heads of Agreement) ของการซื้อขายก๊าซธรรมชาติจากแปลงสำรวจ M9 ในอ่าวเมาะตะมะ ของพม่า ระหว่าง บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ซื้อก๊าซ ฯ กับ Myanma Oil and Gas Enterprise (MOGE ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงานของพม่า) และ บริษัท ปตท. สผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในฐานะผู้ขายก๊าซร่วม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและผลิตก๊าซ จากแปลงดังกล่าว ขึ้นมาใช้ประโยชน์แก่ประเทศทั้งสองในประมาณปี 2555 ซึ่งการลงนามดังกล่าว มีความสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการจัดหาก๊าซธรรมชาติเข้าสู่ประเทศไทย เพื่อสนองความต้องการก๊าซที่เพิ่มขึ้น และเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศในระยะยาวตามนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา
กระทรวงพลังงานจึงขอรายงานสรุปสาระสำคัญของการจัดหาก๊าซธรรมชาติเพิ่มเติมจากแปลง M9 ในพม่า ต่อคณะรัฐมนตรี ดังนี้
ความเป็นมา
1. นับตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา บริษัท ปตท.สผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (ซึ่งเป็นบริษัทที่ ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ของไทยถือหุ้นทั้งหมด) ได้ลงทุนพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติในสหภาพพม่า เพื่อผลิตก๊าซธรรมชาติส่งขายให้กับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เข้าสู่ประเทศไทยผ่านท่อก๊าซไทย-พม่า จำนวน 2 โครงการ ใน 5 แปลงสำรวจ ซึ่งส่งก๊าซเข้าสู่ไทยในอัตราเฉลี่ย 1,150 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน (ในปี 2550) ได้แก่
1) โครงการพัฒนาแหล่งก๊าซยาดานา (Yadana) ในแปลงสำรวจ M-5 และ M-6 ในอ่าวเมาะตะมะ
* ปตท.สผ. ถือสิทธิในสัมปทาน 25.5% โดยมีบริษัท TOTAL Myanmar เป็นผู้ดำเนินงาน (Operator)
* ปัจจุบันผลิตและส่งก๊าซประมาณ 760 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน (ส่งก๊าซขายเข้าประเทศไทยประมาณ 650 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ที่เหลือส่งขายในพม่า)
* เริ่มการผลิตเมื่อ กรกฎาคม 2541 (1998)
2) โครงการพัฒนาแหล่งก๊าซเยตากุน (Yetagun) ในแปลง M-12 , M-13 และ M-14 ในอ่าวเมาะตะมะ
* ปตท.สผ.ถือสิทธิในสัมปทาน 19.3178% โดยมีบริษัท Petronas Carigali Myanmar เป็นผู้ดำเนินงาน (Operator)
* ปัจจุบันผลิตและส่งก๊าซประมาณ 400 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน (เข้าไทยทั้งหมด)
* เริ่มการผลิตเมื่อ เมษายน 2543 (2000)
2.จากการที่พม่ามีศักยภาพปิโตรเลียมในอ่าวเมาะตะมะอีกมาก ประกอบกับ ปตท.สผ. สนใจที่จะขยายการลงทุนในพม่าเพิ่มขึ้น จึงได้ขอและได้รับอนุมัติจากกระทรวงพลังงานของพม่า ให้ได้รับสิทธิในการสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมในแปลงสำรวจเพิ่มขึ้นอีก 5 แปลง ดังนี้ แปลง M-7 และ M-9 (ก.พ.2547) แปลง M-3 และ M-4 (พ.ย. 2547) กับแปลง M-11 (ต.ค 2548) โดยถือสิทธิ 100% ในทั้ง 5 แปลง พร้อมทั้งได้เริ่มลงทุนสำรวจทางธรณีวิทยา/ธรณีฟิสิกส์กับเจาะหลุมสำรวจอย่างจริงจังและต่อเนื่อง (เจาะหลุมสำรวจและประเมินผลไปแล้วรวม 14 หลุม) จนกระทั่งประสบความสำเร็จในการพบก๊าซในแปลง M-9 เป็นแห่งแรกในปี 2549 และต่อมาในปี 2550 สามารถยืนยันปริมาณสำรองก๊าซเบื้องต้น (2P Reserve) ที่ประมาณ 1.57 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ซึ่งเพียงพอที่จะพัฒนาผลิตก๊าซได้ในเชิงพาณิชย์ ในอัตราเฉลี่ย 300 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน เป็นเวลาประมาณ 20 ปี (หมายเหตุ : เมื่อเริ่มการผลิตในเชิงพาณิชย์ MOGE ของพม่ามีสิทธิขอเข้าร่วมลงทุนภายหลังได้ 15-20% และพม่าขอสงวนสิทธิซื้อก๊าซไว้ใช้ภายในประเทศจำนวนขั้นต่ำ 60 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน และขายให้ ปตท. 240 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน)
สาระสำคัญของข้อตกลงเบื้องต้น (HOA)
ข้อตกลงเบื้องต้น Heads of Agreement (HOA) ที่จะนำไปสู่การยกร่างสัญญาซื้อขายก๊าซ (Gas Sales Agreement) เพื่อลงนามในรายละเอียดต่อไปนั้น ประกอบด้วย หลักการสำคัญ ดังนี้
- ก๊าซแปลง M-9 จะผลิตไปยังทั้งประเทศไทยและพม่า
- ปตท. จะมีสิทธิซื้อก๊าซเพิ่มเติม เป็นลำดับแรก ในกรณีที่มีการสำรวจพบก๊าซจากแปลง M-3,M-4, M-7 และ M-11 โดยทั้งนี้ จะต้องแบ่งก๊าซจำนวนหนึ่งเพื่อส่งขายให้ตลาดก๊าซในพม่าด้วย
- ระยะเวลาการซื้อขายประมาณ 20 ปี ปริมาณซื้อขายก๊าซรวมประมาณ 300 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน แบ่งเป็นของตลาดก๊าซพม่าในปริมาณขั้นต่ำ 60 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน และปริมาณ 240 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน เป็นของปตท.
- จุดส่งมอบก๊าซจะเป็นที่ชายแดนไทย-พม่า (บริเวณบ้านอีต่อง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ซึ่งมีแนวท่อก๊าซเดิมตั้งแต่ปี 2541 อยู่แล้ว แต่จะมีการวางท่อก๊าซจากแปลง M-9 ในเขตพม่า มาบรรจบ) โดยจะใช้หลักการของสัญญาเช่นเดียวกับสัญญาปัจจุบันของแหล่งยาดานาและเยตากุน
ประโยชน์ต่อความมั่นคงทางพลังงานของไทย
โดยที่ความต้องการใช้ก๊าซของไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าความต้องการใช้ก๊าซจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ประมาณ 3,600 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ไปอยู่ที่ระดับประมาณ 5,350 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ในปี 2555และจะอยู่ในระดับที่สูงกว่า 7,300 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ในปี 2564 ซึ่งเกินกว่าปริมาณก๊าซที่ ปตท. มีสัญญาซื้อขายอยู่ในปัจจุบัน (จากแหล่งก๊าซ ในอ่าวไทย บนบกบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ JDA ไทย-มาเลเซีย และพม่า) ดังนั้นการที่ไทย (โดย ปตท. และ ปตท.สผ.) สามารถบรรลุข้อตกลงที่จัดหาก๊าซเพิ่มเติมจากแหล่งก๊าซแปลง M-9 ในพม่าได้เพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 240 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน เริ่มในปี 2555 (จากอัตราการซื้อขายก๊าซจาก 2 โครงการเดิมในพม่า ซึ่งปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 1,100 — 1,200 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน) นั้น ก็จะเกิดประโยชน์แก่ประเทศไทยในระยะยาว ในด้านความมั่นคงของการจัดหาก๊าซธรรมชาติเพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นทุก ๆ ปี (หมายเหตุ : ก๊าซธรรมชาติ 240 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน จะสามารถนำไปเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าให้แก่โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมขนาดใหญ่ได้ ประมาณ 2 โรง กำลังผลิตไฟฟ้ารวม 1,600 เมกะวัตต์)
นอกจากนี้โครงการ M9 ยังเป็นการผลิตก๊าซเพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศพม่าเอง และสร้างงานและความเจริญทางเศรษฐกิจแก่พม่า รวมทั้งเสริมสร้างและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าให้แน่นแฟ้นขึ้นอีกด้วย
อนึ่ง ความสำเร็จของข้อตกลง ฯ ดังกล่าว เกิดขึ้นภายหลังจากที่ นายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปเยือนพม่าอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2551 พร้อมทั้งได้หยิบยกเรื่องความร่วมมือซื้อขายก๊าซธรรมชาติระหว่างทั้งสองขึ้นหารือกับนายกรัฐมนตรีของพม่าด้วยซึ่งช่วยทำให้การเจรจาของ ปตท. และ ปตท.สผ. กับ MOGE ตั้งแต่ปี 2549 เพื่อให้มีการลงทุนและพัฒนาแหล่งก๊าซจากแปลง M-9 นี้ สามารถได้ข้อยุติเมื่อเดือนพฤษภาคม 2551 ที่ผ่านมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของพม่าจึงได้มีหนังสือมาเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ไปเป็นประธานร่วมในพิธีลงนามดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 มิถุนายน 2551--จบ--