คณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักเกณฑ์การกำหนดค่าตอบแทนสำหรับกำลังคนด้านสาธารณสุขซึ่งประกอบด้วยสายงานแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ และกลุ่มสหสาขาวิชาชีพ ของคณะกรรมการเพื่อพิจารณารายละเอียดการกำหนดค่าตอบแทนสำหรับกำลังคนตามที่สำนักงานก.พ. เสนอ สรุปดังนี้
1. เงื่อนไขการจ่ายตอบแทนสำหรับกำลังคนด้านสาธารณสุข
1.1 งบประมาณที่ใช้สำหรับการปรับค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุขจะเบิกจ่ายจากงบประมาณ จำนวน 2,875 ล้านบาท ของปีงบประมาณ 2548 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้วจะครอบคลุมเฉพาะกำลังคนด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐที่ได้รับเงินเดือนจากงบบุคลากร โดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547
1.2 คุณสมบัติกำลังคนด้านสาธารณสุขที่จะมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนที่กำหนดขึ้นใหม่นี้ จะต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาและได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะจากสภาวิชาชีพหรือคณะกรรมการประกอบวิชาชีพ โดยใบอนุญาตดังกล่าวไม่ถูกเพิกถอน หรืออยู่ระหว่างการพักใช้หรือหมดอายุ ซึ่งต้องใช้วุฒิการศึกษาดังกล่าวปฏิบัติงานให้บริการด้านสุขภาพแบบองค์รวมหรืองานด้านใดด้านหนึ่ง ได้แก่ ด้านรักษาพยาบาล ด้านส่งเสริมสุขภาพ ด้านควบคุมป้องกันโรค (รวมงานคุ้มครองผู้บริโภค) และด้านฟื้นฟูสภาพ
2. ค่าตอบแทนสำหรับกำลังคนด้านสาธารณสุขที่กำหนดขึ้นใหม่
2.1 หลักการจ่ายค่าตอบแทน
(1) ค่าตอบแทนด้วยเหตุพิเศษตามลักษณะงานเป็นค่าตอบแทนสำหรับกำลังคนด้านสาธารณสุขที่ต้องปฏิบัติงานซึ่งมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากลักษณะงานในสายงานอื่น ๆ กล่าวคือ เป็นงานที่มีภาระหน้าที่ความรับผิดชอบสูง มีปัญหาการสูญเสียออกจากระบบราชการมาก มีความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน รวมทั้งเป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถ สมรรถนะ และทักษะเฉพาะในการปฏิบัติงานโดยบุคคลอื่นปฏิบัติงานแทนไม่ได้ ทั้งนี้คณะกรรมการฯ ได้จำแนกการจ่ายค่าตอบแทนในแต่ละสายงานตามความขาดแคลนและตามลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติของผู้ดำรงตำแหน่งในแต่ละกลุ่มสายงาน โดยการจำแนกลักษณะงานดังกล่าวได้พิจารณาร่วมกับผู้แทนจากองค์กรวิชาชีพต่าง ๆ แล้ว
(2) ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษเป็นค่าตอบแทนที่จ่ายเพื่อจูงใจให้ข้าราชการปฏิบัติงานในพื้นที่ที่ขาดแคลน หรือทุรกันดาร
2.2 การกำหนดอัตราค่าตอบแทน
ประเภทค่าตอบแทน สายงาน/กลุ่มงาน อัตรา(บาท/เดือน)
1.ค่าตอบแทนด้วยเหตุพิเศษ แพทย์ 5,000-15,000
ตามลักษณะงาน ทันตแพทย์ 5,000-15,000
เภสัชกร 1,500-3,000
พยาบาลวิชาชีพ 1,000-2,000
กลุ่มสหวิชาชีพ 1,000
2.ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานใน
พื้นที่พิเศษ
2.1 ค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมา แพทย์ ปรับเพิ่มจาก 2,200 เป็น 5,000
จ่ายสำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานใน ทันตแพทย์ ปรับเพิ่มจาก 2,200 เป็น 5,000
พื้นที่ปกติเกินกว่า 3 ปีขึ้นไป เภสัชกร ปรับเพิ่มจาก 1,900 เป็น 2,500
2.2 ค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมา แพทย์ 10,000
จ่ายสำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานใน ทันตแพทย์ 10,000
พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน เภสัชกร 5,000
ภาคใต้ พยาบาลวิชาชีพ 1,000
2.3 วิธีการจ่ายค่าตอบแทน
(1) ค่าตอบแทนด้วยเหตุพิเศษตามลักษณะงานเป็นค่าตอบแทนที่กำหนดตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. และกระทรวงการคลังกำหนด
(2) ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษเป็นค่าตอบแทนที่กำหนดในระเบียบการเบิกจ่าย ฯ ซึ่งกระทรวงการคลังกำหนด
3. การบริหารจัดการค่าตอบแทน เสนอขอแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุข และคณะอนุกรรมการพิจารณาพื้นที่พิเศษสำหรับค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย เพื่อทบทวนหลักเกณฑ์ ประเภท และอัตราการจ่ายค่าตอบแทนโดยให้มีการทบทวนทุก 2 ปี โดยในปีแรกของการเริ่มจ่ายให้ทบทวนเมื่อครบ 1 ปี
4. เป้าหมายการปรับค่าตอบแทน ขออนุมัติในหลักการให้มีการปรับอัตราการจ่ายค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุขให้มีค่าตอบแทนรวมประมาณ ร้อยละ 60-80 ของสายวิชาชีพเดียวกันในภาคเอกชน
ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในลักษณะเดียวกับกำลังคนด้านสาธารณสุขดังกล่าว ซึ่งได้รับผลกระทบจาก การปรับค่าตอบแทนในครั้งนี้ให้ได้รับความเป็นธรรม จึงขอให้นำหลักการของค่าตอบแทนนี้ไปใช้ด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 พฤษภาคม 2548--จบ--
1. เงื่อนไขการจ่ายตอบแทนสำหรับกำลังคนด้านสาธารณสุข
1.1 งบประมาณที่ใช้สำหรับการปรับค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุขจะเบิกจ่ายจากงบประมาณ จำนวน 2,875 ล้านบาท ของปีงบประมาณ 2548 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้วจะครอบคลุมเฉพาะกำลังคนด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐที่ได้รับเงินเดือนจากงบบุคลากร โดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547
1.2 คุณสมบัติกำลังคนด้านสาธารณสุขที่จะมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนที่กำหนดขึ้นใหม่นี้ จะต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาและได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะจากสภาวิชาชีพหรือคณะกรรมการประกอบวิชาชีพ โดยใบอนุญาตดังกล่าวไม่ถูกเพิกถอน หรืออยู่ระหว่างการพักใช้หรือหมดอายุ ซึ่งต้องใช้วุฒิการศึกษาดังกล่าวปฏิบัติงานให้บริการด้านสุขภาพแบบองค์รวมหรืองานด้านใดด้านหนึ่ง ได้แก่ ด้านรักษาพยาบาล ด้านส่งเสริมสุขภาพ ด้านควบคุมป้องกันโรค (รวมงานคุ้มครองผู้บริโภค) และด้านฟื้นฟูสภาพ
2. ค่าตอบแทนสำหรับกำลังคนด้านสาธารณสุขที่กำหนดขึ้นใหม่
2.1 หลักการจ่ายค่าตอบแทน
(1) ค่าตอบแทนด้วยเหตุพิเศษตามลักษณะงานเป็นค่าตอบแทนสำหรับกำลังคนด้านสาธารณสุขที่ต้องปฏิบัติงานซึ่งมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากลักษณะงานในสายงานอื่น ๆ กล่าวคือ เป็นงานที่มีภาระหน้าที่ความรับผิดชอบสูง มีปัญหาการสูญเสียออกจากระบบราชการมาก มีความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน รวมทั้งเป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถ สมรรถนะ และทักษะเฉพาะในการปฏิบัติงานโดยบุคคลอื่นปฏิบัติงานแทนไม่ได้ ทั้งนี้คณะกรรมการฯ ได้จำแนกการจ่ายค่าตอบแทนในแต่ละสายงานตามความขาดแคลนและตามลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติของผู้ดำรงตำแหน่งในแต่ละกลุ่มสายงาน โดยการจำแนกลักษณะงานดังกล่าวได้พิจารณาร่วมกับผู้แทนจากองค์กรวิชาชีพต่าง ๆ แล้ว
(2) ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษเป็นค่าตอบแทนที่จ่ายเพื่อจูงใจให้ข้าราชการปฏิบัติงานในพื้นที่ที่ขาดแคลน หรือทุรกันดาร
2.2 การกำหนดอัตราค่าตอบแทน
ประเภทค่าตอบแทน สายงาน/กลุ่มงาน อัตรา(บาท/เดือน)
1.ค่าตอบแทนด้วยเหตุพิเศษ แพทย์ 5,000-15,000
ตามลักษณะงาน ทันตแพทย์ 5,000-15,000
เภสัชกร 1,500-3,000
พยาบาลวิชาชีพ 1,000-2,000
กลุ่มสหวิชาชีพ 1,000
2.ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานใน
พื้นที่พิเศษ
2.1 ค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมา แพทย์ ปรับเพิ่มจาก 2,200 เป็น 5,000
จ่ายสำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานใน ทันตแพทย์ ปรับเพิ่มจาก 2,200 เป็น 5,000
พื้นที่ปกติเกินกว่า 3 ปีขึ้นไป เภสัชกร ปรับเพิ่มจาก 1,900 เป็น 2,500
2.2 ค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมา แพทย์ 10,000
จ่ายสำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานใน ทันตแพทย์ 10,000
พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน เภสัชกร 5,000
ภาคใต้ พยาบาลวิชาชีพ 1,000
2.3 วิธีการจ่ายค่าตอบแทน
(1) ค่าตอบแทนด้วยเหตุพิเศษตามลักษณะงานเป็นค่าตอบแทนที่กำหนดตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. และกระทรวงการคลังกำหนด
(2) ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษเป็นค่าตอบแทนที่กำหนดในระเบียบการเบิกจ่าย ฯ ซึ่งกระทรวงการคลังกำหนด
3. การบริหารจัดการค่าตอบแทน เสนอขอแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุข และคณะอนุกรรมการพิจารณาพื้นที่พิเศษสำหรับค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย เพื่อทบทวนหลักเกณฑ์ ประเภท และอัตราการจ่ายค่าตอบแทนโดยให้มีการทบทวนทุก 2 ปี โดยในปีแรกของการเริ่มจ่ายให้ทบทวนเมื่อครบ 1 ปี
4. เป้าหมายการปรับค่าตอบแทน ขออนุมัติในหลักการให้มีการปรับอัตราการจ่ายค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุขให้มีค่าตอบแทนรวมประมาณ ร้อยละ 60-80 ของสายวิชาชีพเดียวกันในภาคเอกชน
ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในลักษณะเดียวกับกำลังคนด้านสาธารณสุขดังกล่าว ซึ่งได้รับผลกระทบจาก การปรับค่าตอบแทนในครั้งนี้ให้ได้รับความเป็นธรรม จึงขอให้นำหลักการของค่าตอบแทนนี้ไปใช้ด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 พฤษภาคม 2548--จบ--