คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่ง ดิเรกคุณาภรณ์ (ฉบับที่ . .) พ.ศ. . . . . ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้แก้ไขเพิ่มเติมตามประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6.2 (ฝ่ายกฎหมาย) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน ที่เห็นว่าการแข่งขันฝีมือแรงงาน เป็นมาตรการหนึ่งในการเพิ่มศักยภาพให้แรงงานมีทักษะฝีมือทัดเทียมมาตรฐานสากล และมีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศอันเป็นการสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ประกอบกับปัจจุบันได้มีการแข่งขันฝีมือแรงงานในระดับต่าง ๆ ทั้งระดับชาติ ระดับอาเซียน และระดับโลก โดยผู้แข่งขันฝีมือแรงงานไทยจะได้รับรางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศ อยู่เนือง ๆ ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้ที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ จึงสมควรได้รับการพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้มีการประกวดหรือแข่งขันในระดับชาติและนานาชาติหลายกิจกรรมด้วยกัน ดังนั้น เพื่อให้บุคคลที่มีผลงานหรือกระทำความดีความชอบหรือมีผลงานดีเด่นที่ได้รับรางวัลหรือการยกย่องระดับชาติและระดับนานาชาติในลักษณะเดียวกับผู้เข้าแข่งขันฝีมือแรงงานได้รับการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 33 ของพระราชกฤษฎีกาฯ ให้ครอบคลุมบุคคลดังกล่าวด้วย และให้รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับการกำหนดให้หน่วยงานที่รับบริจาคออกหนังสือรับรองแสดงการบริจาคทุกครั้งที่มีการบริจาคนั้น ควรเพิ่มข้อกำหนดเกี่ยวกับระยะเวลาให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วให้ดำเนินการต่อไปได้
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีชี้แจงว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ตามกรอบแนวทางการพัฒนากฎหมายในเชิงกระบวนการของคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ทันสมัยและเหมาะสมกับสถานการณ์ โดยรับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับกฎหมายลดภาระและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปด้วยความรวดเร็วมีแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน และลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 28 ธันวาคม 2547 และ วันที่ 22 มีนาคม 2548 ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่ง ดิเรกคุณาภรณ์ (ฉบับที่ . .) พ.ศ. . . . . มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดหลักเกณฑ์การลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองแสดงรายการบริจาคทรัพย์สินให้สอดคล้องกับภารกิจและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและเปลี่ยนแปลงไป
2. ให้คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อกลั่นกรองตรวจสอบหรือดำเนินการอื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
3. กำหนดให้หน่วยงานที่ได้รับบริจาคทรัพย์สินมีหน้าที่พิจารณาออกหนังสือรับรองแสดงรายการการบริจาคทรัพย์สินให้แก่ผู้บริจาคในทุกครั้งที่มีการบริจาค
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 สิงหาคม 2548--จบ--
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีชี้แจงว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ตามกรอบแนวทางการพัฒนากฎหมายในเชิงกระบวนการของคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ทันสมัยและเหมาะสมกับสถานการณ์ โดยรับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับกฎหมายลดภาระและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปด้วยความรวดเร็วมีแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน และลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 28 ธันวาคม 2547 และ วันที่ 22 มีนาคม 2548 ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่ง ดิเรกคุณาภรณ์ (ฉบับที่ . .) พ.ศ. . . . . มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดหลักเกณฑ์การลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองแสดงรายการบริจาคทรัพย์สินให้สอดคล้องกับภารกิจและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและเปลี่ยนแปลงไป
2. ให้คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อกลั่นกรองตรวจสอบหรือดำเนินการอื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
3. กำหนดให้หน่วยงานที่ได้รับบริจาคทรัพย์สินมีหน้าที่พิจารณาออกหนังสือรับรองแสดงรายการการบริจาคทรัพย์สินให้แก่ผู้บริจาคในทุกครั้งที่มีการบริจาค
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 สิงหาคม 2548--จบ--