คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการค้าระหว่างประเทศของไทยในระยะ 8 เดือนแรกของปี 2548 (มกราคม — สิงหาคม) ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอดังนี้
1. การส่งออก การส่งออกเดือนสิงหาคม มีมูลค่า 10,181.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ถึงร้อยละ 24.9 โดยการส่งออกขยายตัวในอัตราสูงอย่างต่อเนื่องทั้งสินค้าอุตสาหกรรม และสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมการเกษตร ร้อยละ 20.7 และ 16.1 ตามลำดับ
การส่งออกในระยะ 8 เดือน (ม.ค.-ส.ค.) มีมูลค่า 71,529.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 15.1 เป็นการขยายตัวของสินค้าอุตสาหกรรม ร้อยละ 15.8 และสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรม การเกษตร ร้อยละ 5.5 โดยการส่งออกขยายตัวทั้งตลาดใหม่ และตลาดหลัก ร้อยละ 22.3 และ 10.9 ตามลำดับ ตลาดที่ขยายตัวสูงได้แก่ อินเดีย ลาตินอเมริกา ออสเตรเลีย จีน
2. ดัชนีราคาส่งออก
ดัชนีราคาส่งออกเดือนสิงหาคม 2548 เท่ากับ 113.3 (ปี 2543 เท่ากับ 100) เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม ร้อยละ 0.2 และเพิ่มจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.6 เนื่องจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ไดัแก่ ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารทะเลกระป๋อง น้ำตาลทราย และน้ำมันดิบ
ดัชนีราคาส่งออกเฉลี่ย 8 เดือน (ม.ค.-ส.ค.) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.6
3. การนำเข้า
การนำเข้าเดือนสิงหาคม มีมูลค่า 10,171 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม ร้อยละ 5.9 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 21.2 สินค้าสำคัญที่มีการนำเข้าสูงได้แก่ สินค้าเชื้อเพลิง เครื่องจักรกล เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์และทองคำ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.4, 10.7, 37.0, 42.0, 46.3 และ 390.4 ตามลำดับ
การนำเข้าในระยะ 8 เดือน (ม.ค.-ส.ค.) มีมูลค่า 79,757.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 29.0 สินค้านำเข้าที่ขยายตัวในอัตราสูงได้แก่ สินค้าเชื้อเพลิง อาวุธยุทธปัจจัยสินค้าทุน และวัตถุดิบ/กึ่งสำเร็จรูป เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.4,44.5,28.8 และ 21.3 ตามลำดับ
4. แนวโน้มการส่งออกและนำเข้า ในช่วง 4 เดือนหลังของปี 2548 (ก.ย. — ธ.ค. 48)
การส่งออกในช่วง 4 เดือนหลัง คาดว่ามีมูลค่า 44,307 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 28.8 เนื่องจากเป็นช่วงที่การส่งออกมากที่สุด ซึ่งจะทำให้การส่งออกทั้งปี บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 20 คิดเป็นมูลค่า 115,837 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ
การนำเข้าในช่วง 4 เดือนหลัง กระทรวงพาณิชย์ ได้ขอความร่วมมือจากผู้นำเข้าสินค้าสำคัญ เช่น น้ำมันดิบ เหล็ก ทองคำ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องจักร และตามโครงการลงทุนขนาดใหญ่ เพื่อบริหารจัดการการนำเข้า โดยขอให้นำเข้าสินค้าตามความจำเป็นและเหมาะสมกับการผลิต ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดดุลการค้าของไทยได้ต่อไป
5. ดุลการค้า
ดุลการค้าเดือนสิงหาคม เกินดุลเป็นครั้งแรกในรอบปี มีมูลค่า 9.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนในการขยายการส่งออกและการบริหารจัดการการนำเข้า โดยใน 8 เดือน (ม.ค.-ส.ค.) ขาดดุล 8,227.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ สำหรับในช่วง 4 เดือนหลังคาดว่าจะขาดดุลลดลงเป็นลำดับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กันยายน 2548--จบ--
1. การส่งออก การส่งออกเดือนสิงหาคม มีมูลค่า 10,181.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ถึงร้อยละ 24.9 โดยการส่งออกขยายตัวในอัตราสูงอย่างต่อเนื่องทั้งสินค้าอุตสาหกรรม และสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมการเกษตร ร้อยละ 20.7 และ 16.1 ตามลำดับ
การส่งออกในระยะ 8 เดือน (ม.ค.-ส.ค.) มีมูลค่า 71,529.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 15.1 เป็นการขยายตัวของสินค้าอุตสาหกรรม ร้อยละ 15.8 และสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรม การเกษตร ร้อยละ 5.5 โดยการส่งออกขยายตัวทั้งตลาดใหม่ และตลาดหลัก ร้อยละ 22.3 และ 10.9 ตามลำดับ ตลาดที่ขยายตัวสูงได้แก่ อินเดีย ลาตินอเมริกา ออสเตรเลีย จีน
2. ดัชนีราคาส่งออก
ดัชนีราคาส่งออกเดือนสิงหาคม 2548 เท่ากับ 113.3 (ปี 2543 เท่ากับ 100) เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม ร้อยละ 0.2 และเพิ่มจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.6 เนื่องจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ไดัแก่ ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารทะเลกระป๋อง น้ำตาลทราย และน้ำมันดิบ
ดัชนีราคาส่งออกเฉลี่ย 8 เดือน (ม.ค.-ส.ค.) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.6
3. การนำเข้า
การนำเข้าเดือนสิงหาคม มีมูลค่า 10,171 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม ร้อยละ 5.9 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 21.2 สินค้าสำคัญที่มีการนำเข้าสูงได้แก่ สินค้าเชื้อเพลิง เครื่องจักรกล เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์และทองคำ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.4, 10.7, 37.0, 42.0, 46.3 และ 390.4 ตามลำดับ
การนำเข้าในระยะ 8 เดือน (ม.ค.-ส.ค.) มีมูลค่า 79,757.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 29.0 สินค้านำเข้าที่ขยายตัวในอัตราสูงได้แก่ สินค้าเชื้อเพลิง อาวุธยุทธปัจจัยสินค้าทุน และวัตถุดิบ/กึ่งสำเร็จรูป เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.4,44.5,28.8 และ 21.3 ตามลำดับ
4. แนวโน้มการส่งออกและนำเข้า ในช่วง 4 เดือนหลังของปี 2548 (ก.ย. — ธ.ค. 48)
การส่งออกในช่วง 4 เดือนหลัง คาดว่ามีมูลค่า 44,307 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 28.8 เนื่องจากเป็นช่วงที่การส่งออกมากที่สุด ซึ่งจะทำให้การส่งออกทั้งปี บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 20 คิดเป็นมูลค่า 115,837 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ
การนำเข้าในช่วง 4 เดือนหลัง กระทรวงพาณิชย์ ได้ขอความร่วมมือจากผู้นำเข้าสินค้าสำคัญ เช่น น้ำมันดิบ เหล็ก ทองคำ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องจักร และตามโครงการลงทุนขนาดใหญ่ เพื่อบริหารจัดการการนำเข้า โดยขอให้นำเข้าสินค้าตามความจำเป็นและเหมาะสมกับการผลิต ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดดุลการค้าของไทยได้ต่อไป
5. ดุลการค้า
ดุลการค้าเดือนสิงหาคม เกินดุลเป็นครั้งแรกในรอบปี มีมูลค่า 9.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนในการขยายการส่งออกและการบริหารจัดการการนำเข้า โดยใน 8 เดือน (ม.ค.-ส.ค.) ขาดดุล 8,227.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ สำหรับในช่วง 4 เดือนหลังคาดว่าจะขาดดุลลดลงเป็นลำดับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กันยายน 2548--จบ--