คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงสาธารณสุขรายงานสรุปการประเมินผลงานมหกรรมรวมพลังสร้างสุขภาพครั้งที่ 4 “รวมพลคนเหลือง-ฟ้า ออกกำลังกายห่างไกลบุหรี่” เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสงานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2548 ณ บริเวณ ท้องสนามหลวง ดังนี้
1. สรุปผลการดำเนินงานรวมพลังสร้างสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 รวมพลคนเหลือง-ฟ้า ออกกำลังกาย ห่างไกลบุหรี่ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ระหว่างวันที่ 13-20 พฤศจิกายน 2548 สรุปผลการดำเนินการ ดังนี้
1.1 การลงนามถวายสัจจะอธิษฐาน เริ่มด้วยนายกรัฐมนตรีลงนามเป็นท่านแรกที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2548 แล้วเปิดให้ประชาชนในทุกจังหวัดลงนามในระหว่างวันที่ 13-15 พฤศจิกายน 2548 จังหวัดได้คัดเลือกตัวแทนในการวิ่งธง จังหวัดละ 50 คนและรวบรวมรายชื่อผู้ถวายสัจจะอธิษฐาน ส่งให้ผู้แทนภาค 4 ภาค ในแต่ละสายในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2548 และผู้แทนภาค มอบรายชื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ณ กระทรวงสาธารณสุข ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2548 มีประชาชนทุกเพศ ทุกวัยร่วมลงนามถวายสัจจะอธิษฐานจะลด ละไม่สูบบุหรี่ ทั้งหมด จำนวน 9.7 ล้านชื่อ ประกอบด้วย ภาคเหนือ 2,724,417 ราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3,198,792 ราย ภาคกลางและตะวันออก1,759,057 ราย และภาคใต้ 1,300,000 ราย หน่วยงานส่วนกลางและกรุงเทพมหานคร 800,000 รายชื่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้นำรายชื่อมอบให้กับนพ.สุชัย เจริญรัตนกุล รองนายกรัฐมนตรี ประธานในพิธีถวายสัจจะอธิษฐานในงานรวมพลังสร้างสุขภาพแห่งชาติ ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2548 เพื่อนำขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต่อไป ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2548 เป็นวันจัดงานมหกรรมรวมพลังสร้างสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 4 มีผู้มาลงทะเบียนออกกำลังกาย ณ ท้องสนามหลวง จำนวน 81,825 ราย (ข้อมูลกองสุขศึกษา) เกินกว่าเป้าหมายร้อยละ 63.6
1.2 กระทรวงสาธารณสุขจะดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่อง ในการรณรงค์เพื่อให้ประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนไทย หลีกเลี่ยงการติด และการเสพบุหรี่และสิ่งเสพติดอื่น ๆ ด้วยการส่งเสริมให้ออกกำลังกายจนเป็นนิสัย ทั้งนี้ผลการดำเนินงานด้านโครงการค่ายเยาวชนไทยรุ่นใหม่ ห่างไกลบุหรี่ ( Smart Camp)ได้อย่างน้อย ๆ 1 ค่ายต่อ 1 อำเภอดำเนินการได้รวม 67 จังหวัด และจังหวัดที่ดำเนินการครบทุกอำเภอมี 25 จังหวัด ในระยะต่อไปจะสอดแทรกกิจกรรมให้คำปรึกษาการลด ละ เลิก บุหรี่ ใน Friend corner และคลินิกอดบุหรี่ของสถานบริการ
2. สรุปผลการประเมินผลการสำรวจพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและความพึงพอใจต่อการจัดงานมหกรรมรวมพลังสร้างสุขภาพครั้งที่ 4 “รวมพลคนเหลือง — ฟ้า ออกกำลังกานห่างไกลบุหรี่” เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี สรุปได้ดังนี้
การสำรวจครั้งนี้เป็นการใช้แบบสัมภาษณ์ประชาชนที่มาร่วมงานมหกรรม ณ บริเวณท้องสนามหลวง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกาย การรับรู้ผลกระทบของการออกกำลังกายต่อสุขภาพ และ สำรวจความพึงพอใจของประชาชน ที่มาร่วมงานต่อการจัดงานมหกรรมรวมพลังสร้างเสริมสุขภาพครั้งที่ 4 จำนวนตัวอย่างที่สำรวจ คือ ประชาชนที่มาร่วมงานมหกรรม ณ บริเวณท้องสนามหลวง รวมทั้งสิ้น 3,500 ตัวอย่าง โดยอาสาสมัครเก็บข้อมูลรวมทั้งสิ้น 100 ท่าน และผู้ดูแลควบคุม การเก็บข้อมูล รวม 20 ท่าน การสำรวจเริ่มเวลา 9.30 -15.30 น. ผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสำรวจ
1. ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่เป็นประชาชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมในงานมหกรรม ร้อยละ 38.3 และ ประชาชนผู้สนใจ/ตั้งใจเข้าชมงาน ร้อยละ 30.8
2. ผู้ตอบแบบสำรวจ ร้อยละ 76 เป็นเพศหญิง
3. อายุเฉลี่ยคือ 40 ปี โดยอายุอยู่ระหว่าง 9 - 86 ปี
4. ร้อยละ 62.7 มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ในเกณฑ์ปกติ และมีผู้ที่อยู่ในภาวะโรคอ้วน ร้อยละ 4
5. สถานภาพสมรส ส่วนใหญ่สมรสแล้ว ร้อยละ 47.5 รองลงมาคือ โสด ร้อยละ 42.2
6. ร้อยละ 98 ของผู้ตอบแบบสอบถามได้รับการศึกษา โดยมีสัดส่วนของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับประถม สูงสุด ร้อยละ 30.7 รองลงมาคือ ระดับ ปริญญาตรี ร้อยละ 24.7
7. ร้อยละ 70 ทำงาน โดยเป็นเจ้าของกิจการในสัดส่วนมากที่สุด ร้อยละ 17.1
8. รายได้ของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 5,000-10,000 บาท ต่อเดือน
สถานะสุขภาพของผู้ตอบแบบสำรวจ
1. สถานะสุขภาพโดยรวมเมื่อเทียบกับคนวัยเดียวกันอยู่ในเกณฑ์ดี ร้อยละ 51.9 และดีมากร้อยละ 12.2
2. สัดส่วนของตัวอย่างที่มีการเจ็บป่วยในรอบปีที่ผ่านมาใกล้เคียงกับกลุ่มที่สุขภาพดีไม่เจ็บป่วย ร้อยละ 47.9 และร้อยละ 52.1 ตามลำดับ
3. ในกลุ่มที่ตอบว่ามีการเจ็บป่วยในรอบปีที่ผ่านมา กว่าร้อยละ 64 เป็นการเจ็บป่วยแบบปัจจุบัน ร้อยละ 29 เจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัว และ ร้อยละ 7 เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง
การรับรู้ส่วนบุคคลต่อการออกกำลังกาย
1. ร้อยละ 90 เห็นด้วยถึงเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า การไม่ออกกำลังกายทำให้ร่างกายอ่อนแอเจ็บป่วยง่าย
2. ส่วนใหญ่รับรู้ถึงประโยชน์ของการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- โดยการรับรู้ว่าการออกกำลังกายสม่ำเสมอช่วยให้ร่างกายแข็งแรงมีสัดส่วนสูงที่สุด ร้อยละ 97
- และการรับรู้ว่าการออกกำลังกายช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้มีสัดส่วนน้อยที่สุดคือ ร้อยละ 67
- ส่วนการรับรู้ว่า การออกกำลังกายช่วยลดละ เลิก บุหรี่ มีสัดส่วนร้อยละ 76
- มากกว่าร้อยละ 70 ไม่เห็นด้วยถึงไม่เห็นด้วยที่สุดว่าการออกกำลังกาย ทำให้เสียเวลาในการทำงาน หรือเสียเวลาในการเที่ยวสนุกสนาน/ทำกิจกรรมอย่างอื่น หรือ ทำให้เสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอุปกรณ์กีฬาเพิ่มขึ้น
3. ร้อยละ 60 มีความมั่นใจถึงมั่นใจมากที่สุดว่า สามารถออกกำลังกายได้อย่างสม่ำเสมอ ร้อยละ 26 มั่นใจ 50%และ ร้อยละ 13 ไม่มีความมั่นใจ
ปัจจัยกระตุ้นพฤติกรรมสร้างสุขภาพ
1. ร้อยละ 34 เพิ่งมาร่วมงานครั้งนี้เป็นครั้งแรก และ ร้อยละ 64 เคยมาร่วมงานมากกว่า 1 ครั้งขึ้นไป
2. ร้อยละ 59 ให้ความเห็นว่างานมหกรรมสามารถกระตุ้นให้กลับไปออกกำลังกายเป็นประจำ มีเพียงร้อยละ 2 ที่ตอบว่าไม่ได้เลย
3. สัดส่วนของผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่ได้เป็นสมาชิกชมรมสร้างสุขภาพมากกว่า ผู้ที่เป็น เล็กน้อย ร้อยละ 54.8 และ 45.2 ตามลำดับ
4. สำหรับผู้ที่ตอบว่าเป็นสมาชิกชมรมสร้างสุขภาพ ร้อยละ 93 เห็นด้วยว่าการเป็นสมาชิกชมรมกระตุ้น/ จูงใจให้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง โดยระยะเวลาเฉลี่ยที่คนเหล่านี้เป็นสมาชิกชมรม คือ 2 ปี
การออกกำลังกายและผลกระทบของการออกกำลังกาย
1. ร้อยละ 87 ออกกำลังกายในปัจจุบัน โดยเป็นการเต้นแอโรบิคในสัดส่วนสูงที่สุดคือ ร้อยละ 57 และ รำมวยจีน/โยคะ/ไม้พลอง น้อยที่สุดร้อยละ 3.6
2. ร้อยละ 84.5 ให้ความเห็นว่าเหตุที่มาออกกำลังกายเพราะทำให้สุขภาพดี และร้อยละ 34 ออกกำลังกายทุกวัน
3. ในผู้ที่ออกกำลังกายส่วนใหญ่ ระยะเวลาที่ออกกำลังกายในแต่ละครั้ง มากกว่า หรือ เท่ากับ 30-60 นาที (ร้อยละ 64)
4. สำหรับผู้ที่ออกกำลังกาย เกินร้อยละ 80 ตอบว่าไม่เคย สูบบุหรี่/ดื่มสุรา/ใช้สารเสพติด หรือ เล่นการพนัน และในผู้ที่เคย สูบบุหรี่/ดื่มสุรา/ใช้สารเสพติด หรือเล่นการพนัน (ร้อยละ 20) โดยเฉลี่ยเมื่อออกกำลังกายแล้วกว่า ร้อยละ 73 ของคนกลุ่มนี้สามารถลดหรือเลิกพฤติกรรมเหล่านี้ได้โดยเด็ดขาด
5. โดยเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 80 ให้ความเห็นว่าการออกกำลังกายทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น ความเครียด ลดลง และอาการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เป็นอยู่ดีขึ้น
ความพึงพอใจในการจัดงานมหกรรม
1. ความพึงพอใจมากที่สุด3 ลำดับแรกคือ สถานที่จัดงาน (ร้อยละ 62.7) ระบบเสียงในงาน (ร้อยละ 52.1) และกิจกรรมบนเวที (ร้อยละ 49.7)
2. ความพึงพอใจน้อยที่สุด 3 ลำดับแรก คือ ความพอเพียงของห้องสุขา (ร้อยละ 37.5) ความพอเพียงของสถานที่จอดรถ ( ร้อยละ 33.2) และ ความพอเพียงของจุดบริการน้ำดื่ม (ร้อยละ 32)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 ธันวาคม 2548--จบ--
1. สรุปผลการดำเนินงานรวมพลังสร้างสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 รวมพลคนเหลือง-ฟ้า ออกกำลังกาย ห่างไกลบุหรี่ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ระหว่างวันที่ 13-20 พฤศจิกายน 2548 สรุปผลการดำเนินการ ดังนี้
1.1 การลงนามถวายสัจจะอธิษฐาน เริ่มด้วยนายกรัฐมนตรีลงนามเป็นท่านแรกที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2548 แล้วเปิดให้ประชาชนในทุกจังหวัดลงนามในระหว่างวันที่ 13-15 พฤศจิกายน 2548 จังหวัดได้คัดเลือกตัวแทนในการวิ่งธง จังหวัดละ 50 คนและรวบรวมรายชื่อผู้ถวายสัจจะอธิษฐาน ส่งให้ผู้แทนภาค 4 ภาค ในแต่ละสายในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2548 และผู้แทนภาค มอบรายชื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ณ กระทรวงสาธารณสุข ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2548 มีประชาชนทุกเพศ ทุกวัยร่วมลงนามถวายสัจจะอธิษฐานจะลด ละไม่สูบบุหรี่ ทั้งหมด จำนวน 9.7 ล้านชื่อ ประกอบด้วย ภาคเหนือ 2,724,417 ราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3,198,792 ราย ภาคกลางและตะวันออก1,759,057 ราย และภาคใต้ 1,300,000 ราย หน่วยงานส่วนกลางและกรุงเทพมหานคร 800,000 รายชื่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้นำรายชื่อมอบให้กับนพ.สุชัย เจริญรัตนกุล รองนายกรัฐมนตรี ประธานในพิธีถวายสัจจะอธิษฐานในงานรวมพลังสร้างสุขภาพแห่งชาติ ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2548 เพื่อนำขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต่อไป ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2548 เป็นวันจัดงานมหกรรมรวมพลังสร้างสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 4 มีผู้มาลงทะเบียนออกกำลังกาย ณ ท้องสนามหลวง จำนวน 81,825 ราย (ข้อมูลกองสุขศึกษา) เกินกว่าเป้าหมายร้อยละ 63.6
1.2 กระทรวงสาธารณสุขจะดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่อง ในการรณรงค์เพื่อให้ประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนไทย หลีกเลี่ยงการติด และการเสพบุหรี่และสิ่งเสพติดอื่น ๆ ด้วยการส่งเสริมให้ออกกำลังกายจนเป็นนิสัย ทั้งนี้ผลการดำเนินงานด้านโครงการค่ายเยาวชนไทยรุ่นใหม่ ห่างไกลบุหรี่ ( Smart Camp)ได้อย่างน้อย ๆ 1 ค่ายต่อ 1 อำเภอดำเนินการได้รวม 67 จังหวัด และจังหวัดที่ดำเนินการครบทุกอำเภอมี 25 จังหวัด ในระยะต่อไปจะสอดแทรกกิจกรรมให้คำปรึกษาการลด ละ เลิก บุหรี่ ใน Friend corner และคลินิกอดบุหรี่ของสถานบริการ
2. สรุปผลการประเมินผลการสำรวจพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและความพึงพอใจต่อการจัดงานมหกรรมรวมพลังสร้างสุขภาพครั้งที่ 4 “รวมพลคนเหลือง — ฟ้า ออกกำลังกานห่างไกลบุหรี่” เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี สรุปได้ดังนี้
การสำรวจครั้งนี้เป็นการใช้แบบสัมภาษณ์ประชาชนที่มาร่วมงานมหกรรม ณ บริเวณท้องสนามหลวง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกาย การรับรู้ผลกระทบของการออกกำลังกายต่อสุขภาพ และ สำรวจความพึงพอใจของประชาชน ที่มาร่วมงานต่อการจัดงานมหกรรมรวมพลังสร้างเสริมสุขภาพครั้งที่ 4 จำนวนตัวอย่างที่สำรวจ คือ ประชาชนที่มาร่วมงานมหกรรม ณ บริเวณท้องสนามหลวง รวมทั้งสิ้น 3,500 ตัวอย่าง โดยอาสาสมัครเก็บข้อมูลรวมทั้งสิ้น 100 ท่าน และผู้ดูแลควบคุม การเก็บข้อมูล รวม 20 ท่าน การสำรวจเริ่มเวลา 9.30 -15.30 น. ผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสำรวจ
1. ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่เป็นประชาชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมในงานมหกรรม ร้อยละ 38.3 และ ประชาชนผู้สนใจ/ตั้งใจเข้าชมงาน ร้อยละ 30.8
2. ผู้ตอบแบบสำรวจ ร้อยละ 76 เป็นเพศหญิง
3. อายุเฉลี่ยคือ 40 ปี โดยอายุอยู่ระหว่าง 9 - 86 ปี
4. ร้อยละ 62.7 มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ในเกณฑ์ปกติ และมีผู้ที่อยู่ในภาวะโรคอ้วน ร้อยละ 4
5. สถานภาพสมรส ส่วนใหญ่สมรสแล้ว ร้อยละ 47.5 รองลงมาคือ โสด ร้อยละ 42.2
6. ร้อยละ 98 ของผู้ตอบแบบสอบถามได้รับการศึกษา โดยมีสัดส่วนของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับประถม สูงสุด ร้อยละ 30.7 รองลงมาคือ ระดับ ปริญญาตรี ร้อยละ 24.7
7. ร้อยละ 70 ทำงาน โดยเป็นเจ้าของกิจการในสัดส่วนมากที่สุด ร้อยละ 17.1
8. รายได้ของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 5,000-10,000 บาท ต่อเดือน
สถานะสุขภาพของผู้ตอบแบบสำรวจ
1. สถานะสุขภาพโดยรวมเมื่อเทียบกับคนวัยเดียวกันอยู่ในเกณฑ์ดี ร้อยละ 51.9 และดีมากร้อยละ 12.2
2. สัดส่วนของตัวอย่างที่มีการเจ็บป่วยในรอบปีที่ผ่านมาใกล้เคียงกับกลุ่มที่สุขภาพดีไม่เจ็บป่วย ร้อยละ 47.9 และร้อยละ 52.1 ตามลำดับ
3. ในกลุ่มที่ตอบว่ามีการเจ็บป่วยในรอบปีที่ผ่านมา กว่าร้อยละ 64 เป็นการเจ็บป่วยแบบปัจจุบัน ร้อยละ 29 เจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัว และ ร้อยละ 7 เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง
การรับรู้ส่วนบุคคลต่อการออกกำลังกาย
1. ร้อยละ 90 เห็นด้วยถึงเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า การไม่ออกกำลังกายทำให้ร่างกายอ่อนแอเจ็บป่วยง่าย
2. ส่วนใหญ่รับรู้ถึงประโยชน์ของการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- โดยการรับรู้ว่าการออกกำลังกายสม่ำเสมอช่วยให้ร่างกายแข็งแรงมีสัดส่วนสูงที่สุด ร้อยละ 97
- และการรับรู้ว่าการออกกำลังกายช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้มีสัดส่วนน้อยที่สุดคือ ร้อยละ 67
- ส่วนการรับรู้ว่า การออกกำลังกายช่วยลดละ เลิก บุหรี่ มีสัดส่วนร้อยละ 76
- มากกว่าร้อยละ 70 ไม่เห็นด้วยถึงไม่เห็นด้วยที่สุดว่าการออกกำลังกาย ทำให้เสียเวลาในการทำงาน หรือเสียเวลาในการเที่ยวสนุกสนาน/ทำกิจกรรมอย่างอื่น หรือ ทำให้เสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอุปกรณ์กีฬาเพิ่มขึ้น
3. ร้อยละ 60 มีความมั่นใจถึงมั่นใจมากที่สุดว่า สามารถออกกำลังกายได้อย่างสม่ำเสมอ ร้อยละ 26 มั่นใจ 50%และ ร้อยละ 13 ไม่มีความมั่นใจ
ปัจจัยกระตุ้นพฤติกรรมสร้างสุขภาพ
1. ร้อยละ 34 เพิ่งมาร่วมงานครั้งนี้เป็นครั้งแรก และ ร้อยละ 64 เคยมาร่วมงานมากกว่า 1 ครั้งขึ้นไป
2. ร้อยละ 59 ให้ความเห็นว่างานมหกรรมสามารถกระตุ้นให้กลับไปออกกำลังกายเป็นประจำ มีเพียงร้อยละ 2 ที่ตอบว่าไม่ได้เลย
3. สัดส่วนของผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่ได้เป็นสมาชิกชมรมสร้างสุขภาพมากกว่า ผู้ที่เป็น เล็กน้อย ร้อยละ 54.8 และ 45.2 ตามลำดับ
4. สำหรับผู้ที่ตอบว่าเป็นสมาชิกชมรมสร้างสุขภาพ ร้อยละ 93 เห็นด้วยว่าการเป็นสมาชิกชมรมกระตุ้น/ จูงใจให้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง โดยระยะเวลาเฉลี่ยที่คนเหล่านี้เป็นสมาชิกชมรม คือ 2 ปี
การออกกำลังกายและผลกระทบของการออกกำลังกาย
1. ร้อยละ 87 ออกกำลังกายในปัจจุบัน โดยเป็นการเต้นแอโรบิคในสัดส่วนสูงที่สุดคือ ร้อยละ 57 และ รำมวยจีน/โยคะ/ไม้พลอง น้อยที่สุดร้อยละ 3.6
2. ร้อยละ 84.5 ให้ความเห็นว่าเหตุที่มาออกกำลังกายเพราะทำให้สุขภาพดี และร้อยละ 34 ออกกำลังกายทุกวัน
3. ในผู้ที่ออกกำลังกายส่วนใหญ่ ระยะเวลาที่ออกกำลังกายในแต่ละครั้ง มากกว่า หรือ เท่ากับ 30-60 นาที (ร้อยละ 64)
4. สำหรับผู้ที่ออกกำลังกาย เกินร้อยละ 80 ตอบว่าไม่เคย สูบบุหรี่/ดื่มสุรา/ใช้สารเสพติด หรือ เล่นการพนัน และในผู้ที่เคย สูบบุหรี่/ดื่มสุรา/ใช้สารเสพติด หรือเล่นการพนัน (ร้อยละ 20) โดยเฉลี่ยเมื่อออกกำลังกายแล้วกว่า ร้อยละ 73 ของคนกลุ่มนี้สามารถลดหรือเลิกพฤติกรรมเหล่านี้ได้โดยเด็ดขาด
5. โดยเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 80 ให้ความเห็นว่าการออกกำลังกายทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น ความเครียด ลดลง และอาการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เป็นอยู่ดีขึ้น
ความพึงพอใจในการจัดงานมหกรรม
1. ความพึงพอใจมากที่สุด3 ลำดับแรกคือ สถานที่จัดงาน (ร้อยละ 62.7) ระบบเสียงในงาน (ร้อยละ 52.1) และกิจกรรมบนเวที (ร้อยละ 49.7)
2. ความพึงพอใจน้อยที่สุด 3 ลำดับแรก คือ ความพอเพียงของห้องสุขา (ร้อยละ 37.5) ความพอเพียงของสถานที่จอดรถ ( ร้อยละ 33.2) และ ความพอเพียงของจุดบริการน้ำดื่ม (ร้อยละ 32)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 ธันวาคม 2548--จบ--