คณะรัฐมนตรีพิจารณาการดำเนินงานโครงการเปลี่ยนระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. รับทราบผลการดำเนินงานของสำนักงานกำกับและบริหารโครงการเปลี่ยนระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ และทุกส่วนราชการที่ได้นำระบบการบริหารการเงินการคลังแบบอิเล็กทรอนิกส์ออกใช้ปฏิบัติราชการทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547 แบบ Online-Real time และให้ส่วนราชการเบิกจ่ายตรงในระบบ GFMIS เพียงระบบเดียวตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2548 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2546 เรียบร้อยแล้ว
2. เห็นชอบให้กำหนดเป็นนโยบายหลัก ให้ผู้บริหารของทุกส่วนราชการร่วมรับผิดชอบ และดูแลการปฏิบัติและการดำเนินงานในระบบการบริหารการเงินการคลังแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ให้เป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยจะต้องทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) แผนการเบิกจ่าย (Disbursement Plan) ตั้งแต่งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2549 โดยให้สำนักงบประมาณเป็นผู้รับผิดชอบในระดับมหภาค และให้กระทรวงการคลังจัดทำแผนบริหารเงินคงคลัง (Treasury Management) ที่สอดคล้องต่อไป
3. เห็นชอบการปรับเพิ่มวงเงินลงทุน ที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ลงทุนให้ก่อน จากจำนวน 1,400,000,000 บาท ตามปริมาณงานและขอบเขตที่เพิ่มขึ้นจริงเป็น 1,569,908,000 บาท และให้สำนักงบประมาณจัดสรรค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม วงเงิน 316,144,047 บาท ค่าบำรุงรักษา 100,070,318 บาท และค่าธรรมเนียมธนาคารตามที่จ่ายจริงในปี 2548 และ 2549 ด้วย
ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงานกำกับและบริหารโครงการ GFMIS (สังกัด สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี) ทำสัญญากับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) รับมอบระบบ ชดเชยการลงทุนค่าใช้จ่ายการดำเนินการ การบำรุงรักษาและค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอื่น ๆ ตามที่สำนักงบประมาณจะเห็นชอบ โดยยกเว้นไม่ต้องนำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 มาบังคับใช้
4. เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน กรรมการประกอบด้วย รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และนายวิษณุ เครืองาม) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โดยมีเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นเลขานุการ ทำหน้าที่กำกับการบริหาร การดำเนินการ และการพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ และให้พิจารณาการจัดตั้งกลไกของรัฐรับผิดชอบระบบงานบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์(GFMIS) ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อไปด้วย
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี รายงานว่า
1. การก่อสร้างระบบ GFMIS ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้จัดสร้างระบบและเครือข่ายที่ประกอบด้วย ศูนย์คอมพิวเตอร์หลัก ศูนย์คอมพิวเตอร์สำรอง และเครือข่ายโทรคมนาคมแบบ Online-Real time เชื่อมโยงส่วนราชการและองค์กรที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศแบบ Virtual Private Network และติดตั้งชุดปฏิบัติการเบิกจ่ายตรงให้ทุกส่วนราชการ 1,141 หน่วย หน่วยติดตามตรวจสอบและประเมินผล 100 หน่วยของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินผู้บริหารในระดับประเทศและกระทรวงรวม 1,241 หน่วย
2. การเบิกจ่ายโดยระบบ GFMIS ปัจจุบันการบริหารการเงินการคลังของประเทศ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ด้านการรับ-จ่าย โอนเงิน สำหรับปีงบประมาณ 2548 เงินเหลื่อมปีและเงินฝากคลังนอกงบประมาณทั้ง 3 ประเภทมีการเชื่อมโยงกันอย่างสมบูรณ์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547 ขณะเดียวกันทุกส่วนราชการได้ยกเลิกการปฏิบัติคู่ขนาน และกรมบัญชีกลางก็ได้ยกเลิกเอกสารฎีกา ทำให้ส่วนราชการใช้วิธีเบิกจ่ายตรงในระบบ GFMIS เพียงระบบเดียวได้ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2548 เป็นต้นมา
3. ข้อมูลในระบบ GFMIS ได้มีการจัดระบบข้อมูลเพื่อการบริหารการเงินการคลังของประเทศไว้ 5 ด้านคือ
(1) ข้อมูลภาพรวมการบริหารการเงินการคลังของประเทศในรูปแบบการจัดทำงบการเงิน เช่น งบทดรอง (Trial Balance) และงบดุล (Balance Sheet) ประมาณการเงินสดจากยอดรับ-จ่าย เงินคงคลังบัญชีที่ 1 (Cash Flow) ผลการจัดเก็บรายได้ ผลการเบิกจ่ายงบประมาณ งบเหลื่อมปีเงินนอกงบประมาณ และแยกเป็นรายหน่วยงาน สถานะหนี้สาธารณะและเงินคงคลัง เป็นต้น
(2) ข้อมูลเปรียบเทียบผลการเบิกจ่าย ปีปัจจุบัน เงินเหลื่อมปี เงินนอกงบประมาณ โดยจำแนกทั้งด้านปริมาณและสัดส่วน รายจ่ายส่วนกลางและภูมิภาค เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และควบคุมลดต้นทุนค่าใช้จ่ายตามภารกิจ กิจกรรม ยุทธศาสตร์ และการจัดทำบัญชีต้นทุนการบริหาร
(3) ข้อมูลผลการจัดเก็บและนำส่งรายได้แผ่นดินของหน่วยงานจัดเก็บ เชื่อมโยงแผนการบริหารดุลเงินสด และแผนบริหารเงินคงคลัง
(4) ข้อมูลผลการจัดซื้อจัดจ้าง จำแนกตามรหัส ตามหมวดสินค้า รายละเอียดคู่สัญญาและการขึ้นทะเบียนผู้ขาย ซึ่งปัจจุบันมีผู้ขายลงทะเบียนในระบบกว่า 80,000 ราย เปรียบเทียบทุกส่วนราชการ เพื่อความโปร่งใสและกำหนดราคาเฉลี่ย และราคากลางเพื่อสร้างมาตรฐานการจัดซื้อและควบคุมรายจ่าย
(5) ข้อมูลผลการบริหารทรัพยากรบุคคลสำหรับข้าราชการที่สังกัด ก.พ. จำแนกตามระดับเงินเดือน วุฒิ และรายละเอียดที่สำคัญ เพื่อสร้างฐานข้อมูลข้าราชการให้เป็นมาตรฐานกลางเดียวกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการปฏิบัติราชการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 มิถุนายน 2548--จบ--
1. รับทราบผลการดำเนินงานของสำนักงานกำกับและบริหารโครงการเปลี่ยนระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ และทุกส่วนราชการที่ได้นำระบบการบริหารการเงินการคลังแบบอิเล็กทรอนิกส์ออกใช้ปฏิบัติราชการทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547 แบบ Online-Real time และให้ส่วนราชการเบิกจ่ายตรงในระบบ GFMIS เพียงระบบเดียวตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2548 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2546 เรียบร้อยแล้ว
2. เห็นชอบให้กำหนดเป็นนโยบายหลัก ให้ผู้บริหารของทุกส่วนราชการร่วมรับผิดชอบ และดูแลการปฏิบัติและการดำเนินงานในระบบการบริหารการเงินการคลังแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ให้เป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยจะต้องทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) แผนการเบิกจ่าย (Disbursement Plan) ตั้งแต่งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2549 โดยให้สำนักงบประมาณเป็นผู้รับผิดชอบในระดับมหภาค และให้กระทรวงการคลังจัดทำแผนบริหารเงินคงคลัง (Treasury Management) ที่สอดคล้องต่อไป
3. เห็นชอบการปรับเพิ่มวงเงินลงทุน ที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ลงทุนให้ก่อน จากจำนวน 1,400,000,000 บาท ตามปริมาณงานและขอบเขตที่เพิ่มขึ้นจริงเป็น 1,569,908,000 บาท และให้สำนักงบประมาณจัดสรรค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม วงเงิน 316,144,047 บาท ค่าบำรุงรักษา 100,070,318 บาท และค่าธรรมเนียมธนาคารตามที่จ่ายจริงในปี 2548 และ 2549 ด้วย
ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงานกำกับและบริหารโครงการ GFMIS (สังกัด สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี) ทำสัญญากับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) รับมอบระบบ ชดเชยการลงทุนค่าใช้จ่ายการดำเนินการ การบำรุงรักษาและค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอื่น ๆ ตามที่สำนักงบประมาณจะเห็นชอบ โดยยกเว้นไม่ต้องนำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 มาบังคับใช้
4. เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน กรรมการประกอบด้วย รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และนายวิษณุ เครืองาม) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โดยมีเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นเลขานุการ ทำหน้าที่กำกับการบริหาร การดำเนินการ และการพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ และให้พิจารณาการจัดตั้งกลไกของรัฐรับผิดชอบระบบงานบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์(GFMIS) ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อไปด้วย
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี รายงานว่า
1. การก่อสร้างระบบ GFMIS ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้จัดสร้างระบบและเครือข่ายที่ประกอบด้วย ศูนย์คอมพิวเตอร์หลัก ศูนย์คอมพิวเตอร์สำรอง และเครือข่ายโทรคมนาคมแบบ Online-Real time เชื่อมโยงส่วนราชการและองค์กรที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศแบบ Virtual Private Network และติดตั้งชุดปฏิบัติการเบิกจ่ายตรงให้ทุกส่วนราชการ 1,141 หน่วย หน่วยติดตามตรวจสอบและประเมินผล 100 หน่วยของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินผู้บริหารในระดับประเทศและกระทรวงรวม 1,241 หน่วย
2. การเบิกจ่ายโดยระบบ GFMIS ปัจจุบันการบริหารการเงินการคลังของประเทศ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ด้านการรับ-จ่าย โอนเงิน สำหรับปีงบประมาณ 2548 เงินเหลื่อมปีและเงินฝากคลังนอกงบประมาณทั้ง 3 ประเภทมีการเชื่อมโยงกันอย่างสมบูรณ์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547 ขณะเดียวกันทุกส่วนราชการได้ยกเลิกการปฏิบัติคู่ขนาน และกรมบัญชีกลางก็ได้ยกเลิกเอกสารฎีกา ทำให้ส่วนราชการใช้วิธีเบิกจ่ายตรงในระบบ GFMIS เพียงระบบเดียวได้ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2548 เป็นต้นมา
3. ข้อมูลในระบบ GFMIS ได้มีการจัดระบบข้อมูลเพื่อการบริหารการเงินการคลังของประเทศไว้ 5 ด้านคือ
(1) ข้อมูลภาพรวมการบริหารการเงินการคลังของประเทศในรูปแบบการจัดทำงบการเงิน เช่น งบทดรอง (Trial Balance) และงบดุล (Balance Sheet) ประมาณการเงินสดจากยอดรับ-จ่าย เงินคงคลังบัญชีที่ 1 (Cash Flow) ผลการจัดเก็บรายได้ ผลการเบิกจ่ายงบประมาณ งบเหลื่อมปีเงินนอกงบประมาณ และแยกเป็นรายหน่วยงาน สถานะหนี้สาธารณะและเงินคงคลัง เป็นต้น
(2) ข้อมูลเปรียบเทียบผลการเบิกจ่าย ปีปัจจุบัน เงินเหลื่อมปี เงินนอกงบประมาณ โดยจำแนกทั้งด้านปริมาณและสัดส่วน รายจ่ายส่วนกลางและภูมิภาค เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และควบคุมลดต้นทุนค่าใช้จ่ายตามภารกิจ กิจกรรม ยุทธศาสตร์ และการจัดทำบัญชีต้นทุนการบริหาร
(3) ข้อมูลผลการจัดเก็บและนำส่งรายได้แผ่นดินของหน่วยงานจัดเก็บ เชื่อมโยงแผนการบริหารดุลเงินสด และแผนบริหารเงินคงคลัง
(4) ข้อมูลผลการจัดซื้อจัดจ้าง จำแนกตามรหัส ตามหมวดสินค้า รายละเอียดคู่สัญญาและการขึ้นทะเบียนผู้ขาย ซึ่งปัจจุบันมีผู้ขายลงทะเบียนในระบบกว่า 80,000 ราย เปรียบเทียบทุกส่วนราชการ เพื่อความโปร่งใสและกำหนดราคาเฉลี่ย และราคากลางเพื่อสร้างมาตรฐานการจัดซื้อและควบคุมรายจ่าย
(5) ข้อมูลผลการบริหารทรัพยากรบุคคลสำหรับข้าราชการที่สังกัด ก.พ. จำแนกตามระดับเงินเดือน วุฒิ และรายละเอียดที่สำคัญ เพื่อสร้างฐานข้อมูลข้าราชการให้เป็นมาตรฐานกลางเดียวกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการปฏิบัติราชการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 มิถุนายน 2548--จบ--