คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติเรือไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติเรือไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. แก้ไขบทนิยามคำว่า “การค้าในน่านน้ำไทย” ให้ครอบคลุมถึงธุรกิจทางน้ำในด้านอื่น ๆ รวมถึงการให้บริการหรือให้เช่าเรือด้วย เพื่อให้การควบคุมการทำการค้าในน่านน้ำไทยในด้านต่าง ๆ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (ร่างมาตรา 3 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 5)
2. กำหนดให้เรือทุกประเภทต้องจดทะเบียนเป็นเรือไทย และยกเว้นให้เรือที่ต้องมีประจำเรือใหญ่ตามกฎข้อบังคับการตรวจเรือและเรือที่มีขนาดต่ำกว่าหนึ่งเศษหนึ่งส่วนสองตันกรอสไม่ต้องจดทะเบียนเป็นเรือไทย แต่ให้ถือว่าเป็นเรือไทย (ร่างมาตรา 4 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 8 และร่างมาตรา 5 ยกเลิกมาตรา 9)
3. กำหนดให้การขอจดทะเบียนเป็นเรือไทย วิธีการจดทะเบียน การออกใบทะเบียนและสมุดทะเบียนเรือไทย เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และให้กำหนดรายการต่าง ๆ ของสมุดทะเบียนเรือไทยในกฎกระทรวง นอกจากนี้ ได้กำหนดให้นายทะเบียนเรือเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อการซื้อขายเรือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ร่างมาตรา 6 ร่างมาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 10 และมาตรา 14 และร่างมาตรา 9 เพิ่มมาตรา 27/1)
4. กำหนดให้ผู้ควบคุมเรือคนใหม่นำบัญชีรายชื่อคนประจำเรือกับประกาศนียบัตรหรือใบอนุญาตประจำตัวไปแสดงต่อเจ้าท่าเรือหรือนายทะเบียนเรือหรือเจ้าพนักงานกงสุลไทย แล้วแต่กรณี และยกเลิกการให้อำนาจรัฐมนตรียกเว้น หลักเกณฑ์การเปลี่ยนตัวผู้ควบคุมเรือ (ร่างมาตรา 8 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 20) นอกจากนี้ ได้กำหนดให้อัตราส่วนของคนประจำเรือที่มีสัญชาติไทยเป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่สำหรับเรือที่ได้จดทะเบียนตามมาตรา 7 ซึ่งเป็นเรือสำหรับทำการค้าในน่านน้ำไทยต้องมีผู้ควบคุมเรือเป็นผู้มีสัญชาติไทยเท่านั้น และยกเลิกการให้อำนาจอธิบดียกเว้นหลักเกณฑ์เรื่องอัตราส่วนคนประจำเรือ (ร่างมาตรา 16 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 50)
5.กำหนดให้เรือที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือไทยจะใช้ชื่อต่างจากที่ได้จดทะเบียนไว้ไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนเรือ โดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการใช้ชื่อเรือและการเปลี่ยนชื่อเรือ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และยกเลิกมาตรา 39 และมาตรา 46 เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวไม่มีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน และแก้ไขชื่อหมวด 5 ให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติภายในหมวด (ร่างมาตรา 11 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 38 ร่างมาตรา 12 ยกเลิกมาตรา 39 และร่างมาตรา 15 ยกเลิกมาตรา 46 และร่างมาตรา 10 แก้ไขชื่อหมวด 5)
6. กำหนดเหตุที่ทำให้การจดทะเบียนเป็นเรือไทยสิ้นไปให้ชัดเจน คือ กรณีมีเหตุใดเหตุหนึ่งตามมาตรา 22 กรณีที่เจ้าของเรือแสดงความประสงค์ขอเลิกใช้ทะเบียนเรือและกรณีที่เรือไม่ได้รับใบอนุญาตใช้เรือตั้งแต่สามปีขึ้นไป และกำหนดว่าเมื่อการจดทะเบียนเป็นเรือไทยสิ้นไปแล้ว ให้นายทะเบียนเรือมีคำสั่งถอนทะเบียนเรือและให้จำหน่ายทะเบียนเรือออกจากสมุดทะเบียน รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์การออกใบรับรองการถอนทะเบียนเรือ (ร่างมาตรา 13 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 45 และร่างมาตรา 14 เพิ่มมาตรา 45/1 และร่างมาตรา 17 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 57 ตรี)
7. ปรับปรุงอัตราโทษในบทบัญญัติบางมาตราให้สูงขึ้น และเพิ่มฐานความผิดเกี่ยวกับการส่งคืนใบทะเบียน (ร่างมาตรา 18 ร่างมาตรา 19 และร่างมาตรา 20 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 63 มาตรา 65 และมาตรา 66)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 กรกฎาคม 2551--จบ--
ร่างพระราชบัญญัติเรือไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. แก้ไขบทนิยามคำว่า “การค้าในน่านน้ำไทย” ให้ครอบคลุมถึงธุรกิจทางน้ำในด้านอื่น ๆ รวมถึงการให้บริการหรือให้เช่าเรือด้วย เพื่อให้การควบคุมการทำการค้าในน่านน้ำไทยในด้านต่าง ๆ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (ร่างมาตรา 3 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 5)
2. กำหนดให้เรือทุกประเภทต้องจดทะเบียนเป็นเรือไทย และยกเว้นให้เรือที่ต้องมีประจำเรือใหญ่ตามกฎข้อบังคับการตรวจเรือและเรือที่มีขนาดต่ำกว่าหนึ่งเศษหนึ่งส่วนสองตันกรอสไม่ต้องจดทะเบียนเป็นเรือไทย แต่ให้ถือว่าเป็นเรือไทย (ร่างมาตรา 4 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 8 และร่างมาตรา 5 ยกเลิกมาตรา 9)
3. กำหนดให้การขอจดทะเบียนเป็นเรือไทย วิธีการจดทะเบียน การออกใบทะเบียนและสมุดทะเบียนเรือไทย เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และให้กำหนดรายการต่าง ๆ ของสมุดทะเบียนเรือไทยในกฎกระทรวง นอกจากนี้ ได้กำหนดให้นายทะเบียนเรือเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อการซื้อขายเรือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ร่างมาตรา 6 ร่างมาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 10 และมาตรา 14 และร่างมาตรา 9 เพิ่มมาตรา 27/1)
4. กำหนดให้ผู้ควบคุมเรือคนใหม่นำบัญชีรายชื่อคนประจำเรือกับประกาศนียบัตรหรือใบอนุญาตประจำตัวไปแสดงต่อเจ้าท่าเรือหรือนายทะเบียนเรือหรือเจ้าพนักงานกงสุลไทย แล้วแต่กรณี และยกเลิกการให้อำนาจรัฐมนตรียกเว้น หลักเกณฑ์การเปลี่ยนตัวผู้ควบคุมเรือ (ร่างมาตรา 8 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 20) นอกจากนี้ ได้กำหนดให้อัตราส่วนของคนประจำเรือที่มีสัญชาติไทยเป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่สำหรับเรือที่ได้จดทะเบียนตามมาตรา 7 ซึ่งเป็นเรือสำหรับทำการค้าในน่านน้ำไทยต้องมีผู้ควบคุมเรือเป็นผู้มีสัญชาติไทยเท่านั้น และยกเลิกการให้อำนาจอธิบดียกเว้นหลักเกณฑ์เรื่องอัตราส่วนคนประจำเรือ (ร่างมาตรา 16 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 50)
5.กำหนดให้เรือที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือไทยจะใช้ชื่อต่างจากที่ได้จดทะเบียนไว้ไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนเรือ โดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการใช้ชื่อเรือและการเปลี่ยนชื่อเรือ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และยกเลิกมาตรา 39 และมาตรา 46 เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวไม่มีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน และแก้ไขชื่อหมวด 5 ให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติภายในหมวด (ร่างมาตรา 11 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 38 ร่างมาตรา 12 ยกเลิกมาตรา 39 และร่างมาตรา 15 ยกเลิกมาตรา 46 และร่างมาตรา 10 แก้ไขชื่อหมวด 5)
6. กำหนดเหตุที่ทำให้การจดทะเบียนเป็นเรือไทยสิ้นไปให้ชัดเจน คือ กรณีมีเหตุใดเหตุหนึ่งตามมาตรา 22 กรณีที่เจ้าของเรือแสดงความประสงค์ขอเลิกใช้ทะเบียนเรือและกรณีที่เรือไม่ได้รับใบอนุญาตใช้เรือตั้งแต่สามปีขึ้นไป และกำหนดว่าเมื่อการจดทะเบียนเป็นเรือไทยสิ้นไปแล้ว ให้นายทะเบียนเรือมีคำสั่งถอนทะเบียนเรือและให้จำหน่ายทะเบียนเรือออกจากสมุดทะเบียน รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์การออกใบรับรองการถอนทะเบียนเรือ (ร่างมาตรา 13 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 45 และร่างมาตรา 14 เพิ่มมาตรา 45/1 และร่างมาตรา 17 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 57 ตรี)
7. ปรับปรุงอัตราโทษในบทบัญญัติบางมาตราให้สูงขึ้น และเพิ่มฐานความผิดเกี่ยวกับการส่งคืนใบทะเบียน (ร่างมาตรา 18 ร่างมาตรา 19 และร่างมาตรา 20 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 63 มาตรา 65 และมาตรา 66)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 กรกฎาคม 2551--จบ--