คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฏีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงการคลังเสนอว่า ได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขร่างพระราชกฤษฏีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. .... ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข สำนักงาน ก.พ. สำนักงบประมาณ และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีตามประเด็นข้อสังเกตของส่วนราชการดังกล่าวแล้ว จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฏีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. .... มีดังนี้
1. กำหนดให้ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัว มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของทางราชการและเอกชน โดยการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของราชการให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่กระทรวงการคลังอาจกำหนดอัตราให้เบิกได้ต่ำกว่าจำนวนที่ได้จ่ายจริงก็ได้ สำหรับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลเอกชนให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด (ร่างมาตรา 8)
2. กำหนดให้ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวมีสิทธิเลือกใช้สิทธิในการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฏีกาหรือเลือกใช้สิทธิจากหน่วยอื่น อย่างใดอย่างหนึ่งในกรณีที่เลือกใช้สิทธิตามพระราชกฤษฏีกานี้ ให้กระทรวงการคลังมีสิทธิเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานอื่น แต่ไม่เกินค่ารักษาพยาบาลตามภาระหน้าที่ที่หน่วยงานอื่นต้องจ่าย ในกรณีที่ ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวได้ทำสัญญาประกันภัยคุ้มครองการรักษาพยาบาลยังคงมีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลตาม พระราชกฤษฏีกานี้ (ร่างมาตรา 9, 10 และ 17)
3. กำหนดให้ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวของผู้มีสิทธิที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลแต่สถานพยาบาลไม่มียา เลือดและส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทน น้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ออกซิเจน อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคจำหน่าย หรือไม่อาจให้การตรวจทางห้องทดลองหรือเอกซเรย์แก่ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวของผู้มีสิทธิได้ เมื่อผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวของผู้มีสิทธิได้ซื้อยา เลือดและส่วนประกอบของเลือด หรือสารทดแทน น้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ออกซิเจน อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค หรือตรวจทางห้องทดลอง หรือเอกซเรย์ จากสถานที่อื่นให้นำมาเบิกได้ (ร่างมาตรา 13)
4. กำหนดให้ผู้มีสิทธิมีหน้าที่ในการรายงาน ให้ข้อมูล และรับรองความถูกต้องของข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องในฐานข้อมูลของผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวของผู้มีสิทธิ และให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดของผู้มีสิทธิมีหน้าที่ในการตรวจสอบความถูกต้องของฐานข้อมูลผู้มีสิทธิและมีอำนาจในการเรียกเอกสารต่าง ๆ จากผู้มีสิทธิ เพื่อใช้ในการจัดทำฐานข้อมูลผู้มีสิทธิ (ร่างมาตรา 14, มาตรา 21 และมาตรา 22)
5. กำหนดให้ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ที่ไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน ในต่างประเทศ และเดินทางไปต่างประเทศชั่วคราว ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าว มีสิทธิได้รับสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ขณะที่อยู่ในต่างประเทศ (ร่างมาตรา 24)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 กรกฎาคม 2551--จบ--
กระทรวงการคลังเสนอว่า ได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขร่างพระราชกฤษฏีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. .... ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข สำนักงาน ก.พ. สำนักงบประมาณ และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีตามประเด็นข้อสังเกตของส่วนราชการดังกล่าวแล้ว จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฏีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. .... มีดังนี้
1. กำหนดให้ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัว มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของทางราชการและเอกชน โดยการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของราชการให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่กระทรวงการคลังอาจกำหนดอัตราให้เบิกได้ต่ำกว่าจำนวนที่ได้จ่ายจริงก็ได้ สำหรับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลเอกชนให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด (ร่างมาตรา 8)
2. กำหนดให้ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวมีสิทธิเลือกใช้สิทธิในการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฏีกาหรือเลือกใช้สิทธิจากหน่วยอื่น อย่างใดอย่างหนึ่งในกรณีที่เลือกใช้สิทธิตามพระราชกฤษฏีกานี้ ให้กระทรวงการคลังมีสิทธิเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานอื่น แต่ไม่เกินค่ารักษาพยาบาลตามภาระหน้าที่ที่หน่วยงานอื่นต้องจ่าย ในกรณีที่ ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวได้ทำสัญญาประกันภัยคุ้มครองการรักษาพยาบาลยังคงมีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลตาม พระราชกฤษฏีกานี้ (ร่างมาตรา 9, 10 และ 17)
3. กำหนดให้ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวของผู้มีสิทธิที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลแต่สถานพยาบาลไม่มียา เลือดและส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทน น้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ออกซิเจน อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคจำหน่าย หรือไม่อาจให้การตรวจทางห้องทดลองหรือเอกซเรย์แก่ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวของผู้มีสิทธิได้ เมื่อผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวของผู้มีสิทธิได้ซื้อยา เลือดและส่วนประกอบของเลือด หรือสารทดแทน น้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ออกซิเจน อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค หรือตรวจทางห้องทดลอง หรือเอกซเรย์ จากสถานที่อื่นให้นำมาเบิกได้ (ร่างมาตรา 13)
4. กำหนดให้ผู้มีสิทธิมีหน้าที่ในการรายงาน ให้ข้อมูล และรับรองความถูกต้องของข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องในฐานข้อมูลของผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวของผู้มีสิทธิ และให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดของผู้มีสิทธิมีหน้าที่ในการตรวจสอบความถูกต้องของฐานข้อมูลผู้มีสิทธิและมีอำนาจในการเรียกเอกสารต่าง ๆ จากผู้มีสิทธิ เพื่อใช้ในการจัดทำฐานข้อมูลผู้มีสิทธิ (ร่างมาตรา 14, มาตรา 21 และมาตรา 22)
5. กำหนดให้ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ที่ไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน ในต่างประเทศ และเดินทางไปต่างประเทศชั่วคราว ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าว มีสิทธิได้รับสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ขณะที่อยู่ในต่างประเทศ (ร่างมาตรา 24)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 กรกฎาคม 2551--จบ--