คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราในการจ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงยุติธรรมเสนอว่า เนื่องจากแนวทางในการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ผู้เสียหายและจำเลยตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 ในปัจจุบันยังมีความคลาดเคลื่อนและเข้าใจผิดในหลักการการให้ความช่วยเหลืออยู่มาก ทำให้บางกรณีมีการจ่ายค่าตอบแทนในอัตราที่ไม่เหมาะสม หรือในบางกรณีมีการกำหนดอัตราขั้นต่ำไว้ซึ่งจะส่งผลกระทบต่องบประมาณของรัฐโดยไม่จำเป็น นอกจากนั้น ยังมีขั้นตอนการพิจารณาดำเนินการที่ใช้ระยะเวลามาก ดังนั้น สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราการจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าวเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างกฎหมายมีดังนี้
1. ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราในการจ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2546 (ร่างข้อ 1)
2. กำหนดหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการต้องคำนึงถึงในการพิจารณาจ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหายในคดีอาญา และให้คณะกรรมการจ่ายค่าตอบแทนภายใต้หลักเกณฑ์ดังกล่าวในกรณีต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับนี้ (ร่างข้อ 4 — 5)
3. กำหนดให้คณะกรรมการจ่ายค่าตอบแทนกรณีผู้เสียหายในคดีอาญาถึงแก่ความตาย (ร่างข้อ 5)
4. กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาจ่ายค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา และให้คณะกรรมการจ่ายค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายภายใต้หลักเกณฑ์ดังกล่าวในกรณีต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับนี้ (ร่างข้อ 6 — 7)
5. กำหนดให้คณะกรรมการจ่ายค่าทดแทนให้แก่จำเลยในคดีอาญาที่ถึงแก่ความตาย โดยความตายดังกล่าวเป็นผลโดยตรงจากการถูกดำเนินคดี (ร่างข้อ 8)
6. กำหนดให้สำนักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญาดำเนินการขออนุมัติเบิกจ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิ (ร่างข้อ 9)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 กรกฎาคม 2551--จบ--
กระทรวงยุติธรรมเสนอว่า เนื่องจากแนวทางในการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ผู้เสียหายและจำเลยตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 ในปัจจุบันยังมีความคลาดเคลื่อนและเข้าใจผิดในหลักการการให้ความช่วยเหลืออยู่มาก ทำให้บางกรณีมีการจ่ายค่าตอบแทนในอัตราที่ไม่เหมาะสม หรือในบางกรณีมีการกำหนดอัตราขั้นต่ำไว้ซึ่งจะส่งผลกระทบต่องบประมาณของรัฐโดยไม่จำเป็น นอกจากนั้น ยังมีขั้นตอนการพิจารณาดำเนินการที่ใช้ระยะเวลามาก ดังนั้น สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราการจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าวเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างกฎหมายมีดังนี้
1. ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราในการจ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2546 (ร่างข้อ 1)
2. กำหนดหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการต้องคำนึงถึงในการพิจารณาจ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหายในคดีอาญา และให้คณะกรรมการจ่ายค่าตอบแทนภายใต้หลักเกณฑ์ดังกล่าวในกรณีต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับนี้ (ร่างข้อ 4 — 5)
3. กำหนดให้คณะกรรมการจ่ายค่าตอบแทนกรณีผู้เสียหายในคดีอาญาถึงแก่ความตาย (ร่างข้อ 5)
4. กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาจ่ายค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา และให้คณะกรรมการจ่ายค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายภายใต้หลักเกณฑ์ดังกล่าวในกรณีต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับนี้ (ร่างข้อ 6 — 7)
5. กำหนดให้คณะกรรมการจ่ายค่าทดแทนให้แก่จำเลยในคดีอาญาที่ถึงแก่ความตาย โดยความตายดังกล่าวเป็นผลโดยตรงจากการถูกดำเนินคดี (ร่างข้อ 8)
6. กำหนดให้สำนักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญาดำเนินการขออนุมัติเบิกจ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิ (ร่างข้อ 9)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 กรกฎาคม 2551--จบ--