คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดสถานที่ที่ใช้ในการควบคุม จำคุก และทุเลาการบังคับโทษจำคุก พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงยุติธรรมเสนอว่า ด้วยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อกำหนดสถานที่ วิธีการควบคุมและมาตรการเพื่อป้องกันการหลบหนีหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นตามมาตรา 89/1 และมาตรา 89/2 (1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกำหนดสถานที่ วิธีการควบคุม การบำบัดรักษาและมาตรการเพื่อป้องกันการหลบหนีหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นตามมาตรา 246 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาความแออัดของเรือนจำและความไม่เหมาะสมกับสภาพของผู้ต้องขังหรือต้องจำคุกบางลักษณะ โดยเฉพาะหญิงมีครรภ์ซึ่งต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างกฎหมายมีดังนี้
1. กำหนดลักษณะของสถานที่ควบคุม และให้ปลัดกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจออกประกาศกระทรวงยุติธรรมจัดตั้งสถานที่ควบคุมดังกล่าวเป็นสถานที่ควบคุมตามกฎกระทรวง และมีอำนาจยุบเลิกสถานที่ควบคุมโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ร่างข้อ 4,5)
2. ผู้ดูแลสถานที่ควบคุมต้องตรวจสอบความถูกต้องของผู้ถูกควบคุมประกอบหมายขังหรือคำสั่งอนุญาตของศาล และต้องจัดแยกผู้ถูกควบคุมตามความเหมาะสม รวมทั้งจัดทำทะเบียนและสมุดประจำตัวผู้ถูกควบคุมทุกรายที่ควบคุมตัวในสถานที่ควบคุม (ร่างข้อ 8,9,10)
3. ผู้ดูแลสถานที่ควบคุมอาจสั่งให้มีการตรวจค้นตู้เก็บของหรือสถานที่ที่อาจมีการซุกซ่อนสิ่งของต้องห้ามเป็นครั้งคราวตามที่เห็นสมควร (ร่างข้อ 12)
4. ในกรณีเหตุฉุกเฉินอันอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตหรือความปลอดภัยของผู้ถูกควบคุมให้ผู้ดูแลสถานที่ควบคุมย้ายผู้ถูกควบคุมไปยังสถานที่ควบคุมอื่น ซึ่งมีสภาพคล้ายคลึงกันหรือเรือนจำที่ใกล้เคียง และแจ้งให้ศาลทราบโดยไม่ชักช้า (ร่างข้อ 13)
5. ผู้ดูแลสถานที่ควบคุมต้องจัดให้เด็กซึ่งติดมากับผู้ถูกควบคุมและเด็กที่คลอดในสถานที่ควบคุมอยู่ภายใต้การเลี้ยงดูของผู้ถูกควบคุมและให้ปฏิบัติต่อเด็กดังกล่าวตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก และในกรณีผู้ถูกควบคุมคลอดบุตรแล้วยังไม่ถึงสามปี ผู้ดูแลสถานที่ควบคุมต้องจัดให้ผู้ถูกควบคุมและบุตรของผู้ถูกควบคุมอยู่ด้วยกัน โดยที่ผู้ถูกควบคุมสามารถเลี้ยงดูบุตรของตนได้ตามความเหมาะสม (ร่างข้อ 15,16)
6. ผู้ดูแลสถานที่ควบคุมต้องจัดให้มีเวรยามรักษาการณ์ เพื่อดูแลผู้ถูกควบคุมตลอดเวลาที่อยู่ในสถานที่ควบคุม และหากพบว่าข้อเท็จจริง หรือพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หรือมีเหตุอันควรแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งเกี่ยวกับการควบคุม ให้ผู้ดูแลสถานที่ควบคุมรายงานข้อเท็จจริงดังกล่าวต่อศาลที่มีคำสั่ง(ร่างข้อ 17,19)
7. ห้ามมิให้ใช้ ตรวน กุญแจมือ หรือโซ่ล่าม แก่ผู้ถูกควบคุม เว้นแต่เมื่อมีเหตุจำเป็น ทั้งนี้ต้องใช้ตามความจำเป็นและได้สัดส่วนกับเหตุที่เกิดขึ้น (ร่างข้อ 18)
8. กำหนดสิ่งของต้องห้ามมิให้ผู้ถูกควบคุมครอบครองหรือนำเข้าไปในสถานที่ควบคุม หากผู้ถูกควบคุมมีเงิน ทรัพย์สินมีค่า หรือเครื่องมือสื่อสารติดตัวมา ให้จัดทำบัญชีฝากทรัพย์สินดังกล่าวแล้วนำทรัพย์สินนั้นเก็บรักษาไว้ในสถานที่ปลอดภัย เพื่อมอบคืนให้ผู้ถูกควบคุมเมื่อได้รับการปล่อยตัว (ร่างข้อ 20,21)
9. ผู้ดูแลสถานที่ควบคุมต้องจัดให้มีการบำบัดรักษาทางจิต โดยจัดให้จิตแพทย์ตรวจและต้องสอบถาม ผู้ถูกควบคุม หากพบว่ามีอาการเจ็บป่วย ซึ่งจะต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว ต้องรีบจัดการให้ผู้ถูกควบคุมได้รับการรักษา รวมทั้งต้องจัดให้มีการดูแลที่เหมาะสมกับสภาพของผู้ถูกควบคุมที่มีครรภ์และผู้ถูกควบคุมที่พึ่งคลอดบุตร (ร่างข้อ 26,27,28)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 กรกฎาคม 2551--จบ--
กระทรวงยุติธรรมเสนอว่า ด้วยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อกำหนดสถานที่ วิธีการควบคุมและมาตรการเพื่อป้องกันการหลบหนีหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นตามมาตรา 89/1 และมาตรา 89/2 (1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกำหนดสถานที่ วิธีการควบคุม การบำบัดรักษาและมาตรการเพื่อป้องกันการหลบหนีหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นตามมาตรา 246 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาความแออัดของเรือนจำและความไม่เหมาะสมกับสภาพของผู้ต้องขังหรือต้องจำคุกบางลักษณะ โดยเฉพาะหญิงมีครรภ์ซึ่งต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างกฎหมายมีดังนี้
1. กำหนดลักษณะของสถานที่ควบคุม และให้ปลัดกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจออกประกาศกระทรวงยุติธรรมจัดตั้งสถานที่ควบคุมดังกล่าวเป็นสถานที่ควบคุมตามกฎกระทรวง และมีอำนาจยุบเลิกสถานที่ควบคุมโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ร่างข้อ 4,5)
2. ผู้ดูแลสถานที่ควบคุมต้องตรวจสอบความถูกต้องของผู้ถูกควบคุมประกอบหมายขังหรือคำสั่งอนุญาตของศาล และต้องจัดแยกผู้ถูกควบคุมตามความเหมาะสม รวมทั้งจัดทำทะเบียนและสมุดประจำตัวผู้ถูกควบคุมทุกรายที่ควบคุมตัวในสถานที่ควบคุม (ร่างข้อ 8,9,10)
3. ผู้ดูแลสถานที่ควบคุมอาจสั่งให้มีการตรวจค้นตู้เก็บของหรือสถานที่ที่อาจมีการซุกซ่อนสิ่งของต้องห้ามเป็นครั้งคราวตามที่เห็นสมควร (ร่างข้อ 12)
4. ในกรณีเหตุฉุกเฉินอันอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตหรือความปลอดภัยของผู้ถูกควบคุมให้ผู้ดูแลสถานที่ควบคุมย้ายผู้ถูกควบคุมไปยังสถานที่ควบคุมอื่น ซึ่งมีสภาพคล้ายคลึงกันหรือเรือนจำที่ใกล้เคียง และแจ้งให้ศาลทราบโดยไม่ชักช้า (ร่างข้อ 13)
5. ผู้ดูแลสถานที่ควบคุมต้องจัดให้เด็กซึ่งติดมากับผู้ถูกควบคุมและเด็กที่คลอดในสถานที่ควบคุมอยู่ภายใต้การเลี้ยงดูของผู้ถูกควบคุมและให้ปฏิบัติต่อเด็กดังกล่าวตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก และในกรณีผู้ถูกควบคุมคลอดบุตรแล้วยังไม่ถึงสามปี ผู้ดูแลสถานที่ควบคุมต้องจัดให้ผู้ถูกควบคุมและบุตรของผู้ถูกควบคุมอยู่ด้วยกัน โดยที่ผู้ถูกควบคุมสามารถเลี้ยงดูบุตรของตนได้ตามความเหมาะสม (ร่างข้อ 15,16)
6. ผู้ดูแลสถานที่ควบคุมต้องจัดให้มีเวรยามรักษาการณ์ เพื่อดูแลผู้ถูกควบคุมตลอดเวลาที่อยู่ในสถานที่ควบคุม และหากพบว่าข้อเท็จจริง หรือพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หรือมีเหตุอันควรแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งเกี่ยวกับการควบคุม ให้ผู้ดูแลสถานที่ควบคุมรายงานข้อเท็จจริงดังกล่าวต่อศาลที่มีคำสั่ง(ร่างข้อ 17,19)
7. ห้ามมิให้ใช้ ตรวน กุญแจมือ หรือโซ่ล่าม แก่ผู้ถูกควบคุม เว้นแต่เมื่อมีเหตุจำเป็น ทั้งนี้ต้องใช้ตามความจำเป็นและได้สัดส่วนกับเหตุที่เกิดขึ้น (ร่างข้อ 18)
8. กำหนดสิ่งของต้องห้ามมิให้ผู้ถูกควบคุมครอบครองหรือนำเข้าไปในสถานที่ควบคุม หากผู้ถูกควบคุมมีเงิน ทรัพย์สินมีค่า หรือเครื่องมือสื่อสารติดตัวมา ให้จัดทำบัญชีฝากทรัพย์สินดังกล่าวแล้วนำทรัพย์สินนั้นเก็บรักษาไว้ในสถานที่ปลอดภัย เพื่อมอบคืนให้ผู้ถูกควบคุมเมื่อได้รับการปล่อยตัว (ร่างข้อ 20,21)
9. ผู้ดูแลสถานที่ควบคุมต้องจัดให้มีการบำบัดรักษาทางจิต โดยจัดให้จิตแพทย์ตรวจและต้องสอบถาม ผู้ถูกควบคุม หากพบว่ามีอาการเจ็บป่วย ซึ่งจะต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว ต้องรีบจัดการให้ผู้ถูกควบคุมได้รับการรักษา รวมทั้งต้องจัดให้มีการดูแลที่เหมาะสมกับสภาพของผู้ถูกควบคุมที่มีครรภ์และผู้ถูกควบคุมที่พึ่งคลอดบุตร (ร่างข้อ 26,27,28)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 กรกฎาคม 2551--จบ--