คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินโครงการจัดการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารเพื่อสนองงานตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปีงบประมาณ 2552-2556 ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอขอแปรญัตติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 และให้กระทรวงศึกษาธิการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมทั้งพิจารณาความซ้ำซ้อนของงบประมาณและพื้นที่ดำเนินงานของโครงการอื่น ๆ ดัวย
กระทรวงศึกษาธิการรายงานว่า
1. กระทรวงศึกษาธิการได้นำเสนอโครงการจัดการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารเพื่อสนองงานตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ด้วยเหตุผลและความจำเป็น ดังนี้
1.1 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระเมตตาและมีความห่วงใยต่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่า โดยเฉพาะต่อเด็กและเยาวชนผู้ยากไร้ในถิ่นทุรกันดาร ซึ่งในระหว่างตามเสด็จพระราชดำเนินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในถิ่นทุรกันดารทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย และจากการทรงปฏิบัติหน้าที่สนองพระเดชพระคุณ ทรงพบเห็นปัญหาต่าง ๆ ของประชาชน อาทิ ความยากจน การขาดแคลนอาหาร โรคภัยไข้เจ็บ การขาดโอกาสทางการศึกษา รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
1.2 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชหฤทัยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร และทรงให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพอนามัยของเด็กและเยาวชน เพื่อให้สามารถพัฒนาร่างกายและสติปัญญาให้พร้อมในการศึกษาเล่าเรียนต่อไป โดยทรงมุ่งมั่นให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางของชุมชน เพราะเมื่อเด็กและเยาวชนได้ศึกษาเล่าเรียน ผู้ปกครองก็จะได้มีโอกาสในการเรียนรู้ด้วย
1.3 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงมีพระราชดำริในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในด้านอื่นด้วย และได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเริ่มตั้งแต่แผนระยะที่ 1(พ.ศ.2535 - 2539) จนกระทั่งถึงปัจจุบัน คือแผนระยะที่ 4 (พ.ศ.2550 - 2554) โดยมีกลุ่มเป้าหมายตามโครงการคือ กลุ่มเด็กและเยาวชนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารทั้งในระบบและนอกระบบ พื้นที่เป้าหมาย คือ พื้นที่ที่อยู่ตามบริเวณชายแดนห่างไกลการคมนาคม พื้นที่ที่ยังมีความขาดแคลนหรือยังขาดโอกาส การดำเนินงานพัฒนานั้น นอกจากจะดำเนินงานในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนแล้ว ยังดำเนินงานในโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา ศูนย์การเรียนในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (ศูนย์การเรียนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” (ศศช.) และศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยมอแกน) โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสายสามัญศึกษา และสถาบันการศึกษาปอเนาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้
1.4 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานความช่วยเหลือในการดำเนินงานดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง โดยพระราชทานทุนทรัพย์สนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน (การก่อสร้างอาคารเรียน ห้องพักครู โรงอาหาร ห้องน้ำ ห้องส้วม และการปรับปรุงอาคารเรียน) ด้านการเรียนการสอน (การจัดหาอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน) ด้านโภชนาการ (อาหารกลางวันสำหรับเด็ก และอาหารเสริม (นม) และด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ (ค่าตอบแทนครูในช่วงแรก และสวัสดิการต่าง ๆ สำหรับครู ได้แก่ ทุนสนับสนุนการเรียนต่อของครู เบี้ยกันดาร และการพัฒนาคุณภาพครู) รวมทั้งทรงดำเนินกิจการร้านภูฟ้า 11 สาขา เพื่อรับซื้อวัสดุและสินค้าจากชาวบ้านแล้วนำมาจำหน่าย เพื่อนำรายได้มาช่วยเหลือด้านการศึกษาของประชาชนในถิ่นทุรกันดารต่อไป
1.5 ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้จัดทำโครงการจัดการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารเพื่อสนองงานตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อแบ่งเบาพระราชภาระและสนองงานตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในอันที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนต่อไป
2. โครงการจัดการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร เพื่อสนองงานตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้
2.1 วัตถุประสงค์
2.1.1 เพื่อสนองงานตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
2.1.2 เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นการบูรณาการที่สามารถนำไปใช้กับชีวิตจริง
2.1.3 เพื่อพัฒนาปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร
2.2 เป้าหมาย
2.2.1 เชิงประมาณ
(1) จัดการศึกษาในศูนย์การเรียนชุมชนสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 277 แห่ง
(2) จัดการศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 169 แห่ง
(3) จัดการศึกษาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 190 แห่ง
(4) จัดการศึกษาในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสายสามัญศึกษา จำนวน 13 แห่ง
2.2.2 เชิงคุณภาพ
(1) เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารในพื้นที่ทรงงานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องและทัดเทียมกับเด็กและเยาวชนทั่วไปอย่างมีประสิทธิภาพ
(2) ชุมชนในถิ่นทุรกันดารในพื้นที่ทรงงานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2.3 พื้นที่เป้าหมายในการพัฒนา
2.3.1 ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยมอแกนและหมู่บ้านในเขตบริการการศึกษา
2.3.2 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและหมู่บ้านในเขตบริการการศึกษา
2.3.3 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนและหมู่บ้านในเขตบริการการศึกษา
2.3.4 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสายสามัญศึกษา
2.3.5 พื้นที่อื่น ๆ ตามพระราชประสงค์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 กรกฎาคม 2551--จบ--
กระทรวงศึกษาธิการรายงานว่า
1. กระทรวงศึกษาธิการได้นำเสนอโครงการจัดการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารเพื่อสนองงานตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ด้วยเหตุผลและความจำเป็น ดังนี้
1.1 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระเมตตาและมีความห่วงใยต่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่า โดยเฉพาะต่อเด็กและเยาวชนผู้ยากไร้ในถิ่นทุรกันดาร ซึ่งในระหว่างตามเสด็จพระราชดำเนินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในถิ่นทุรกันดารทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย และจากการทรงปฏิบัติหน้าที่สนองพระเดชพระคุณ ทรงพบเห็นปัญหาต่าง ๆ ของประชาชน อาทิ ความยากจน การขาดแคลนอาหาร โรคภัยไข้เจ็บ การขาดโอกาสทางการศึกษา รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
1.2 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชหฤทัยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร และทรงให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพอนามัยของเด็กและเยาวชน เพื่อให้สามารถพัฒนาร่างกายและสติปัญญาให้พร้อมในการศึกษาเล่าเรียนต่อไป โดยทรงมุ่งมั่นให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางของชุมชน เพราะเมื่อเด็กและเยาวชนได้ศึกษาเล่าเรียน ผู้ปกครองก็จะได้มีโอกาสในการเรียนรู้ด้วย
1.3 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงมีพระราชดำริในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในด้านอื่นด้วย และได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเริ่มตั้งแต่แผนระยะที่ 1(พ.ศ.2535 - 2539) จนกระทั่งถึงปัจจุบัน คือแผนระยะที่ 4 (พ.ศ.2550 - 2554) โดยมีกลุ่มเป้าหมายตามโครงการคือ กลุ่มเด็กและเยาวชนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารทั้งในระบบและนอกระบบ พื้นที่เป้าหมาย คือ พื้นที่ที่อยู่ตามบริเวณชายแดนห่างไกลการคมนาคม พื้นที่ที่ยังมีความขาดแคลนหรือยังขาดโอกาส การดำเนินงานพัฒนานั้น นอกจากจะดำเนินงานในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนแล้ว ยังดำเนินงานในโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา ศูนย์การเรียนในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (ศูนย์การเรียนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” (ศศช.) และศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยมอแกน) โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสายสามัญศึกษา และสถาบันการศึกษาปอเนาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้
1.4 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานความช่วยเหลือในการดำเนินงานดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง โดยพระราชทานทุนทรัพย์สนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน (การก่อสร้างอาคารเรียน ห้องพักครู โรงอาหาร ห้องน้ำ ห้องส้วม และการปรับปรุงอาคารเรียน) ด้านการเรียนการสอน (การจัดหาอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน) ด้านโภชนาการ (อาหารกลางวันสำหรับเด็ก และอาหารเสริม (นม) และด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ (ค่าตอบแทนครูในช่วงแรก และสวัสดิการต่าง ๆ สำหรับครู ได้แก่ ทุนสนับสนุนการเรียนต่อของครู เบี้ยกันดาร และการพัฒนาคุณภาพครู) รวมทั้งทรงดำเนินกิจการร้านภูฟ้า 11 สาขา เพื่อรับซื้อวัสดุและสินค้าจากชาวบ้านแล้วนำมาจำหน่าย เพื่อนำรายได้มาช่วยเหลือด้านการศึกษาของประชาชนในถิ่นทุรกันดารต่อไป
1.5 ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้จัดทำโครงการจัดการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารเพื่อสนองงานตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อแบ่งเบาพระราชภาระและสนองงานตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในอันที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนต่อไป
2. โครงการจัดการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร เพื่อสนองงานตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้
2.1 วัตถุประสงค์
2.1.1 เพื่อสนองงานตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
2.1.2 เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นการบูรณาการที่สามารถนำไปใช้กับชีวิตจริง
2.1.3 เพื่อพัฒนาปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร
2.2 เป้าหมาย
2.2.1 เชิงประมาณ
(1) จัดการศึกษาในศูนย์การเรียนชุมชนสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 277 แห่ง
(2) จัดการศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 169 แห่ง
(3) จัดการศึกษาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 190 แห่ง
(4) จัดการศึกษาในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสายสามัญศึกษา จำนวน 13 แห่ง
2.2.2 เชิงคุณภาพ
(1) เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารในพื้นที่ทรงงานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องและทัดเทียมกับเด็กและเยาวชนทั่วไปอย่างมีประสิทธิภาพ
(2) ชุมชนในถิ่นทุรกันดารในพื้นที่ทรงงานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2.3 พื้นที่เป้าหมายในการพัฒนา
2.3.1 ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยมอแกนและหมู่บ้านในเขตบริการการศึกษา
2.3.2 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและหมู่บ้านในเขตบริการการศึกษา
2.3.3 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนและหมู่บ้านในเขตบริการการศึกษา
2.3.4 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสายสามัญศึกษา
2.3.5 พื้นที่อื่น ๆ ตามพระราชประสงค์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 กรกฎาคม 2551--จบ--