คณะรัฐมนตรีพิจารณาแผนการให้ความช่วยเหลือสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 25 ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบแผนการให้ความช่วยเหลือสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 25
2. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินการดังกล่าว วงเงินทั้งสิ้น 98,000,000 บาท ประกอบด้วย การปรับปรุงซ่อมแซมสนามแข่งขันและสนามฝึกซ้อม การพัฒนาบุคลากร และการบริหารโครงการ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) รายงานว่า ได้มอบหมายให้การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ให้ความช่วยเหลือสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ในการเตรียมการและการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 25 พ.ศ. 2552 ในแต่ละด้าน ดังนี้
1. ด้านการบริหารจัดการแข่งขัน ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิไปอบรมให้ความรู้ คำปรึกษา และพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการจัดการแข่งขันผู้บริหารสมาคมกีฬา และเจ้าหน้าที่จัดการแข่งขันฯ
2. ด้านการพัฒนาบุคลากร
2.1 ผู้ตัดสิน ยินดีที่จะส่งผู้ตัดสินของไทยไปอบรมความรู้ให้กับผู้ตัดสินของ สปป. ลาว จำนวน 12 ชนิดกีฬา
2.2 นักวิทยาศาสตร์การกีฬา ได้จัดทำแผนให้บุคลากรด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาของ สปป.ลาว มาฝึกอบรมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา
2.3 ผู้ฝึกสอน และนักกีฬา มีการส่งผู้ฝึกสอน จำนวน 4 คน จาก 4 ชนิดกีฬา คือ เซปัค-ตะกร้อ เทนนิส ยิงธนู และแฮนด์บอล ไปฝึกสอนนักกีฬาของ สปป.ลาว และมีนักกีฬาของ สปป.ลาว มาฝึกซ้อมในประเทศไทย
3. ด้านการปรับปรุง ซ่อมแซมและพัฒนาสนามแข่งขันและสนามฝึกซ้อม ซึ่ง สปป.ลาว ได้ขอรับการสนับสนุนการปรับปรุงสนามแข่งขันที่เวียงจันทน์และหลวงพระบาง ในวงเงิน 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยขอยกเว้นค่าใช้จ่ายสำหรับนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ที่ สปป.ลาว ส่งเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 24 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพด้วยและขอยืมอุปกรณ์สำหรับจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ในชนิดกีฬาที่ สปป.ลาวจะจัดการแข่งขันฯ ทั้งนี้ กก. ได้ดำเนินการ ดังนี้
3.1 ได้หารือกับกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ในกรณีนี้ ซึ่ง กต. ได้ตอบข้อหารือ เห็นสมควรให้การช่วยเหลือในวงเงิน 3-4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยเหตุผลด้านการเมืองระหว่างประเทศและความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน
3.2 ได้อนุมัติให้คณะทำงานเดินทางไปสำรวจข้อมูล ข้อเท็จจริง รวมทั้งสภาพแวดล้อม โครงสร้างพื้นฐานหลัก และโครงสร้างพื้นฐานทางด้านกีฬาของ สปป.ลาว เพื่อพิจารณาการช่วยเหลือ ซึ่งผลการสำรวจข้อมูล และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ดังนี้
3.2.1 โครงสร้างพื้นฐานทางด้านกีฬาที่ สปป.ลาว ได้รับการช่วยเหลือจากประเทศต่าง ๆ แล้ว ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี เวียดนาม และสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (Olympic Council of Asia : OCA)
3.2.2 การขอความช่วยเหลือการปรับปรุงสนามกีฬา สำหรับสนามกีฬาเดิมที่ สปป.ลาวมีอยู่ ไม่สามารถใช้ในการจัดการแข่งขันได้ต้องมีการปรับปรุงทั้งสิ้น ซึ่งจากการสำรวจสภาพสนามทั้งหมด คณะทำงานได้เสนอให้ สปป.ลาวปรับแนวความคิดในการใช้สนามแข่งขันและฝึกซ้อมใหม่ โดยสามารถบรรจุชนิดกีฬาเกือบทั้งหมดให้มาแข่งขันที่กรุงเวียงจันทน์ สำหรับที่สุวรรณเขต และหลวงพระบางมีการแข่งขันแห่งละ 1 ชนิดกีฬา เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งการจัดการแข่งขัน การซ่อมแซม ปรับปรุงสนามและการบริหารจัดการฯ โดยการปรับการใช้สนามดังกล่าว ทาง สปป.ลาวเห็นด้วยในหลักการและยอมรับการปรับปรุงสนามกีฬาเพียงแห่งเดียว คือ ที่สนามกีฬาแห่งชาติลาวเดิม (สนามกรีฑา สนามฟุตบอล สนามเทนนิส) ซึ่งหมดสภาพการใช้งานแล้ว รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ซึ่งหากประเทศไทยให้ความช่วยเหลือในการปรับปรุงจะคืนสภาพและมีขีดความสามารถสูงสุดกว่าเดิม โดยจะเป็นถาวรวัตถุและเป็นประวัติศาสตร์ที่จะแสดงถึงมิตรภาพความสัมพันธ์ ไทย-ลาว ในอนาคตอีกยาวนาน
3.2.3 การพัฒนาบุคลากรและองค์ความรู้ได้ประเมินและวิเคราะห์ขีดความสามารถและศักยภาพของบุคลากรของ สปป.ลาว ในการจัดการแข่งขันเกมส์ระดับนานาชาติ เห็นว่า สปป.ลาว ยังขาดทั้งองค์ความรู้ในการบริหารจัดการ และประสบการณ์การจัดการแข่งขันที่ไม่เคยจัดการแข่งขันมหกรรมกีฬานานาชาติมาก่อน โดยที่วิทยาการและการบริหารจัดการทางด้านกีฬาได้ก้าวหน้าไปมากแล้ว ซึ่ง สปป.ลาว ก็ยอมรับในประเด็นที่จะต้องมีการพัฒนาและเห็นว่าจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากประเทศไทย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 กรกฎาคม 2551--จบ--
1. เห็นชอบแผนการให้ความช่วยเหลือสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 25
2. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินการดังกล่าว วงเงินทั้งสิ้น 98,000,000 บาท ประกอบด้วย การปรับปรุงซ่อมแซมสนามแข่งขันและสนามฝึกซ้อม การพัฒนาบุคลากร และการบริหารโครงการ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) รายงานว่า ได้มอบหมายให้การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ให้ความช่วยเหลือสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ในการเตรียมการและการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 25 พ.ศ. 2552 ในแต่ละด้าน ดังนี้
1. ด้านการบริหารจัดการแข่งขัน ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิไปอบรมให้ความรู้ คำปรึกษา และพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการจัดการแข่งขันผู้บริหารสมาคมกีฬา และเจ้าหน้าที่จัดการแข่งขันฯ
2. ด้านการพัฒนาบุคลากร
2.1 ผู้ตัดสิน ยินดีที่จะส่งผู้ตัดสินของไทยไปอบรมความรู้ให้กับผู้ตัดสินของ สปป. ลาว จำนวน 12 ชนิดกีฬา
2.2 นักวิทยาศาสตร์การกีฬา ได้จัดทำแผนให้บุคลากรด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาของ สปป.ลาว มาฝึกอบรมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา
2.3 ผู้ฝึกสอน และนักกีฬา มีการส่งผู้ฝึกสอน จำนวน 4 คน จาก 4 ชนิดกีฬา คือ เซปัค-ตะกร้อ เทนนิส ยิงธนู และแฮนด์บอล ไปฝึกสอนนักกีฬาของ สปป.ลาว และมีนักกีฬาของ สปป.ลาว มาฝึกซ้อมในประเทศไทย
3. ด้านการปรับปรุง ซ่อมแซมและพัฒนาสนามแข่งขันและสนามฝึกซ้อม ซึ่ง สปป.ลาว ได้ขอรับการสนับสนุนการปรับปรุงสนามแข่งขันที่เวียงจันทน์และหลวงพระบาง ในวงเงิน 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยขอยกเว้นค่าใช้จ่ายสำหรับนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ที่ สปป.ลาว ส่งเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 24 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพด้วยและขอยืมอุปกรณ์สำหรับจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ในชนิดกีฬาที่ สปป.ลาวจะจัดการแข่งขันฯ ทั้งนี้ กก. ได้ดำเนินการ ดังนี้
3.1 ได้หารือกับกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ในกรณีนี้ ซึ่ง กต. ได้ตอบข้อหารือ เห็นสมควรให้การช่วยเหลือในวงเงิน 3-4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยเหตุผลด้านการเมืองระหว่างประเทศและความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน
3.2 ได้อนุมัติให้คณะทำงานเดินทางไปสำรวจข้อมูล ข้อเท็จจริง รวมทั้งสภาพแวดล้อม โครงสร้างพื้นฐานหลัก และโครงสร้างพื้นฐานทางด้านกีฬาของ สปป.ลาว เพื่อพิจารณาการช่วยเหลือ ซึ่งผลการสำรวจข้อมูล และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ดังนี้
3.2.1 โครงสร้างพื้นฐานทางด้านกีฬาที่ สปป.ลาว ได้รับการช่วยเหลือจากประเทศต่าง ๆ แล้ว ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี เวียดนาม และสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (Olympic Council of Asia : OCA)
3.2.2 การขอความช่วยเหลือการปรับปรุงสนามกีฬา สำหรับสนามกีฬาเดิมที่ สปป.ลาวมีอยู่ ไม่สามารถใช้ในการจัดการแข่งขันได้ต้องมีการปรับปรุงทั้งสิ้น ซึ่งจากการสำรวจสภาพสนามทั้งหมด คณะทำงานได้เสนอให้ สปป.ลาวปรับแนวความคิดในการใช้สนามแข่งขันและฝึกซ้อมใหม่ โดยสามารถบรรจุชนิดกีฬาเกือบทั้งหมดให้มาแข่งขันที่กรุงเวียงจันทน์ สำหรับที่สุวรรณเขต และหลวงพระบางมีการแข่งขันแห่งละ 1 ชนิดกีฬา เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งการจัดการแข่งขัน การซ่อมแซม ปรับปรุงสนามและการบริหารจัดการฯ โดยการปรับการใช้สนามดังกล่าว ทาง สปป.ลาวเห็นด้วยในหลักการและยอมรับการปรับปรุงสนามกีฬาเพียงแห่งเดียว คือ ที่สนามกีฬาแห่งชาติลาวเดิม (สนามกรีฑา สนามฟุตบอล สนามเทนนิส) ซึ่งหมดสภาพการใช้งานแล้ว รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ซึ่งหากประเทศไทยให้ความช่วยเหลือในการปรับปรุงจะคืนสภาพและมีขีดความสามารถสูงสุดกว่าเดิม โดยจะเป็นถาวรวัตถุและเป็นประวัติศาสตร์ที่จะแสดงถึงมิตรภาพความสัมพันธ์ ไทย-ลาว ในอนาคตอีกยาวนาน
3.2.3 การพัฒนาบุคลากรและองค์ความรู้ได้ประเมินและวิเคราะห์ขีดความสามารถและศักยภาพของบุคลากรของ สปป.ลาว ในการจัดการแข่งขันเกมส์ระดับนานาชาติ เห็นว่า สปป.ลาว ยังขาดทั้งองค์ความรู้ในการบริหารจัดการ และประสบการณ์การจัดการแข่งขันที่ไม่เคยจัดการแข่งขันมหกรรมกีฬานานาชาติมาก่อน โดยที่วิทยาการและการบริหารจัดการทางด้านกีฬาได้ก้าวหน้าไปมากแล้ว ซึ่ง สปป.ลาว ก็ยอมรับในประเด็นที่จะต้องมีการพัฒนาและเห็นว่าจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากประเทศไทย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 กรกฎาคม 2551--จบ--