คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือแต่งตั้งคณะผู้แทนไทยสำหรับการประชุมใหญ่สหภาพสากลไปรษณีย์ สมัยที่ 24 ระหว่างวันที่ 23 กรกฎาคม — 12 สิงหาคม 2551 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ ส่วนการมอบอำนาจเต็มให้แก่หัวหน้าคณะและรองหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการร่วมอภิปราย ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ลงมติและลงนามในกรรมสารสุดท้าย ให้ดำเนินการตามความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรายงานว่า
1. สหภาพสากลไปรษณีย์(Universal Postal Union: UPU) เป็นองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2417 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดระบบงานการให้บริการและปรับปรุงกิจการไปรษณีย์ระหว่างประเทศให้ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นตลอดจนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศด้านกิจการไปรษณีย์ การดำเนินงานของสหภาพสากลไปรษณีย์ ประกอบด้วยองค์กรสำคัญ คือ ที่ประชุมใหญ่(Congress) สภาบริหาร (Council of Administration) สภาปฏิบัติการไปรษณีย์ (Postal Operations Council) และสำนักงานระหว่างประเทศ (International Bureau) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเบิร์น สมาพันธรัฐสวิส ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งสิ้น 191 ประเทศ โดยประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกสหภาพ ฯ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2428
2. สหภาพ ฯ จะจัดให้มีการประชุมใหญ่ทุก 4 ปี ซึ่งจะมีการพิจารณากำหนดนโยบายและแผนการดำเนินงานของสหภาพ ฯ สำหรับระยะเวลา 4 ปี ข้างหน้า และจะมีการเลือกตั้งตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ ของสหภาพ ฯ ได้แก่ เลขาธิการ (Director General) รองเลขาธิการ (Deputy Director General) สมาชิกสภาบริหาร (Council of Administration: CA) สมาชิกสภาปฏิบัติการไปรษณีย์ (Postal Operations Council: POC) และการเลือกประเทศเจ้าภาพสำหรับการประชุมใหญ่สมัยต่อไป นอกจากนี้จะมีการพิจารณาข้อเสนอของประเทศสมาชิกสหภาพ ฯ ซึ่งขอแก้ไข /เพิ่มเติมรายละเอียดในเอกสารสำคัญต่าง ๆ ได้แก่ ธรรมนูญและกฎข้อบังคับทั่วไป (Constitutions and General Regulations) อนุสัญญาสากลไปรษณีย์ (Convention) และข้อตกลงว่าด้วยการบริการการเงินไปรษณีย์ (Agreement on Postal Payment Services) ซึ่งในระหว่างการประชุม หากที่ประชุมใหญ่ได้มีมติให้มีการแก้ไข/เพิ่มเติมเอกสารต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว หัวหน้าคณะผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มของประเทศสมาชิกจะต้องลงนามรับรองการแก้ไข/ เพิ่มเติมในเอกสารต่าง ๆ และภายหลังจากการประชุมแต่ละประเทศจะต้องให้สัตยาบันต่อเอกสารที่มีการแก้ไขด้วย ทั้งนี้ หากประเทศสมาชิกใดไม่เห็นด้วยกับการขอแก้ไขธรรมนูญ และกฎข้อบังคับทั่วไป อนุสัญญาสากลไปรษณีย์และ/หรือข้อตกลงว่าด้วยการบริการการเงินไปรษณีย์ในส่วนใด ผู้แทนประเทศนั้นสามารถขอทำข้อสงวนสำหรับการแก้ไข /เพิ่มเติมในส่วนนั้นได้ ซึ่งเอกสารสำคัญต่าง ๆ ของสหภาพ ฯ มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการด้านไปรษณีย์ สรุปได้ดังนี้
2.1 ธรรมนูญและกฎข้อบังคับทั่วไป เป็นเอกสารเกี่ยวกับการจัดตั้งสหภาพ ฯ ความหมายของสหภาพ ฯ ความเป็นมาในการจัดตั้งและวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง โครงสร้างองค์กร ตำแหน่งต่าง ๆ ในสหภาพ และการดำเนินงานขององค์กรในสหภาพ ฯ เช่น การเลือกตั้งเลขาธิการและรองเลขาธิการ การเลือกตั้งสมาชิกสภาบริหารและสภาปฏิบัติการไปรษณีย์
2.2 อนุสัญญาสากลไปรษณีย์ เป็นบทบัญญัติว่าด้วยความร่วมมือที่เกี่ยวกับไปรษณีย์ภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์ของประเทศสมาชิก
2.3 ข้อตกลงว่าด้วยการบริการการเงินไปรษณีย์ เป็นข้อตกลงความร่วมมือเกี่ยวกับการให้บริการการเงินไปรษณีย์
3. สหภาพสากลไปรษณีย์ได้มีหนังสือเชิญประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมใหญ่สหภาพสากลไปรษณีย์ สมัยที่ 24 โดยขอให้มีหนังสือแต่งตั้งผู้แทน (Credentials) ซึ่งลงนามโดยประมุขของรัฐ นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยใน Credentials จะต้องระบุ 1) การมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) แก่คณะผู้แทน 2) มอบอำนาจให้คณะผู้แทนเป็นตัวแทนของรัฐบาลโดยไม่มีข้อจำกัด หรือ 3) มอบหมายให้คณะผู้แทนหรือผู้แทนที่ระบุเป็นการเฉพาะให้มีสิทธิ์ลงนามในกรรมสารสุดท้าย (Final Acts) ซึ่งในการประชุมครั้งนี้จะมีการเลือกตั้งตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ ของสหภาพ ฯ และการเลือกประเทศเจ้าภาพสำหรับการประชุมใหญ่ ฯ สมัยที่ 25 (Host Country for 25th Congress) ในปี ค.ศ.2012
4. การประชุมดังกล่าว ไม่มีประเด็นเกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 190 ทั้งนี้ เนื่องจากเอกสารสำคัญต่างๆ ที่อาจจะมีการพิจารณาแก้ไขและลงนามในระหว่างการประชุมใหญ่ของสภาพ ฯ นั้น ไม่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขต ซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา และไม่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง รวมทั้งไม่มีผลผูกพันด้านการค้าการลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ
เพื่อให้การพิจารณาประเด็นต่าง ๆ ในระหว่างการประชุมดังกล่าวเป็นไปด้วยความรอบคอบ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงได้เสนอให้มีผู้บริหารระดับสูงและผู้แทนของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้แทนบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด และผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมในองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยสำหรับการประชุมใหญ่ดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศมีความเห็นว่า เอกสารที่จำเป็นต่อการเข้าร่วมการประชุมและการลงนามในกรรมสารสุดท้ายดังกล่าวข้างต้น คือ หนังสือแต่งตั้งผู้แทน (Credentials) เท่านั้น ดังนั้น กระทรวงการต่างประเทศไม่จำเป็นต้องออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) อีกฉบับหนึ่ง ส่วนกรรมสารสุดท้ายหากมีการลงนามโดยหัวหน้าคณะผู้แทนไทยก็จำเป็นต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอความเห็นชอบและขออนุมัติคณะรัฐมนตรีให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการมีหนังสือหรือตราสารแจ้งการเห็นชอบ (Notice/Instrument of Approval) ต่อไปในภายหลัง และเห็นว่า การออกหนังสือแต่งตั้งผู้แทนไม่มีประเด็นเกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 กรกฎาคม 2551--จบ--
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรายงานว่า
1. สหภาพสากลไปรษณีย์(Universal Postal Union: UPU) เป็นองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2417 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดระบบงานการให้บริการและปรับปรุงกิจการไปรษณีย์ระหว่างประเทศให้ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นตลอดจนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศด้านกิจการไปรษณีย์ การดำเนินงานของสหภาพสากลไปรษณีย์ ประกอบด้วยองค์กรสำคัญ คือ ที่ประชุมใหญ่(Congress) สภาบริหาร (Council of Administration) สภาปฏิบัติการไปรษณีย์ (Postal Operations Council) และสำนักงานระหว่างประเทศ (International Bureau) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเบิร์น สมาพันธรัฐสวิส ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งสิ้น 191 ประเทศ โดยประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกสหภาพ ฯ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2428
2. สหภาพ ฯ จะจัดให้มีการประชุมใหญ่ทุก 4 ปี ซึ่งจะมีการพิจารณากำหนดนโยบายและแผนการดำเนินงานของสหภาพ ฯ สำหรับระยะเวลา 4 ปี ข้างหน้า และจะมีการเลือกตั้งตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ ของสหภาพ ฯ ได้แก่ เลขาธิการ (Director General) รองเลขาธิการ (Deputy Director General) สมาชิกสภาบริหาร (Council of Administration: CA) สมาชิกสภาปฏิบัติการไปรษณีย์ (Postal Operations Council: POC) และการเลือกประเทศเจ้าภาพสำหรับการประชุมใหญ่สมัยต่อไป นอกจากนี้จะมีการพิจารณาข้อเสนอของประเทศสมาชิกสหภาพ ฯ ซึ่งขอแก้ไข /เพิ่มเติมรายละเอียดในเอกสารสำคัญต่าง ๆ ได้แก่ ธรรมนูญและกฎข้อบังคับทั่วไป (Constitutions and General Regulations) อนุสัญญาสากลไปรษณีย์ (Convention) และข้อตกลงว่าด้วยการบริการการเงินไปรษณีย์ (Agreement on Postal Payment Services) ซึ่งในระหว่างการประชุม หากที่ประชุมใหญ่ได้มีมติให้มีการแก้ไข/เพิ่มเติมเอกสารต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว หัวหน้าคณะผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มของประเทศสมาชิกจะต้องลงนามรับรองการแก้ไข/ เพิ่มเติมในเอกสารต่าง ๆ และภายหลังจากการประชุมแต่ละประเทศจะต้องให้สัตยาบันต่อเอกสารที่มีการแก้ไขด้วย ทั้งนี้ หากประเทศสมาชิกใดไม่เห็นด้วยกับการขอแก้ไขธรรมนูญ และกฎข้อบังคับทั่วไป อนุสัญญาสากลไปรษณีย์และ/หรือข้อตกลงว่าด้วยการบริการการเงินไปรษณีย์ในส่วนใด ผู้แทนประเทศนั้นสามารถขอทำข้อสงวนสำหรับการแก้ไข /เพิ่มเติมในส่วนนั้นได้ ซึ่งเอกสารสำคัญต่าง ๆ ของสหภาพ ฯ มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการด้านไปรษณีย์ สรุปได้ดังนี้
2.1 ธรรมนูญและกฎข้อบังคับทั่วไป เป็นเอกสารเกี่ยวกับการจัดตั้งสหภาพ ฯ ความหมายของสหภาพ ฯ ความเป็นมาในการจัดตั้งและวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง โครงสร้างองค์กร ตำแหน่งต่าง ๆ ในสหภาพ และการดำเนินงานขององค์กรในสหภาพ ฯ เช่น การเลือกตั้งเลขาธิการและรองเลขาธิการ การเลือกตั้งสมาชิกสภาบริหารและสภาปฏิบัติการไปรษณีย์
2.2 อนุสัญญาสากลไปรษณีย์ เป็นบทบัญญัติว่าด้วยความร่วมมือที่เกี่ยวกับไปรษณีย์ภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์ของประเทศสมาชิก
2.3 ข้อตกลงว่าด้วยการบริการการเงินไปรษณีย์ เป็นข้อตกลงความร่วมมือเกี่ยวกับการให้บริการการเงินไปรษณีย์
3. สหภาพสากลไปรษณีย์ได้มีหนังสือเชิญประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมใหญ่สหภาพสากลไปรษณีย์ สมัยที่ 24 โดยขอให้มีหนังสือแต่งตั้งผู้แทน (Credentials) ซึ่งลงนามโดยประมุขของรัฐ นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยใน Credentials จะต้องระบุ 1) การมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) แก่คณะผู้แทน 2) มอบอำนาจให้คณะผู้แทนเป็นตัวแทนของรัฐบาลโดยไม่มีข้อจำกัด หรือ 3) มอบหมายให้คณะผู้แทนหรือผู้แทนที่ระบุเป็นการเฉพาะให้มีสิทธิ์ลงนามในกรรมสารสุดท้าย (Final Acts) ซึ่งในการประชุมครั้งนี้จะมีการเลือกตั้งตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ ของสหภาพ ฯ และการเลือกประเทศเจ้าภาพสำหรับการประชุมใหญ่ ฯ สมัยที่ 25 (Host Country for 25th Congress) ในปี ค.ศ.2012
4. การประชุมดังกล่าว ไม่มีประเด็นเกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 190 ทั้งนี้ เนื่องจากเอกสารสำคัญต่างๆ ที่อาจจะมีการพิจารณาแก้ไขและลงนามในระหว่างการประชุมใหญ่ของสภาพ ฯ นั้น ไม่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขต ซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา และไม่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง รวมทั้งไม่มีผลผูกพันด้านการค้าการลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ
เพื่อให้การพิจารณาประเด็นต่าง ๆ ในระหว่างการประชุมดังกล่าวเป็นไปด้วยความรอบคอบ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงได้เสนอให้มีผู้บริหารระดับสูงและผู้แทนของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้แทนบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด และผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมในองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยสำหรับการประชุมใหญ่ดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศมีความเห็นว่า เอกสารที่จำเป็นต่อการเข้าร่วมการประชุมและการลงนามในกรรมสารสุดท้ายดังกล่าวข้างต้น คือ หนังสือแต่งตั้งผู้แทน (Credentials) เท่านั้น ดังนั้น กระทรวงการต่างประเทศไม่จำเป็นต้องออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) อีกฉบับหนึ่ง ส่วนกรรมสารสุดท้ายหากมีการลงนามโดยหัวหน้าคณะผู้แทนไทยก็จำเป็นต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอความเห็นชอบและขออนุมัติคณะรัฐมนตรีให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการมีหนังสือหรือตราสารแจ้งการเห็นชอบ (Notice/Instrument of Approval) ต่อไปในภายหลัง และเห็นว่า การออกหนังสือแต่งตั้งผู้แทนไม่มีประเด็นเกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 กรกฎาคม 2551--จบ--