คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์) เป็นประธานกรรมการ ที่เห็นชอบร่างบทแก้ไขความตกลงการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวแห่งอาเซียน (The Amendments to the Agreement Establishing the ASEAN Promotion Centre on Trade, Investment and Tourism) ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และอนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศออกตราสารการยอมรับและดำเนินการยื่นตราสารการยอมรับต่อรัฐบาลญี่ปุ่นและสำนักเลขาธิการอาเซียนตามบทบัญญัติของความตกลงฯ ต่อไป
กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า
1. ในการประชุมสุดยอดอาเซียน — ญี่ปุ่น ครั้งที่ 10 ณ เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อเดือนมกราคม 2550 ผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนและญี่ปุ่น ได้เห็นชอบข้อเสนอแนะของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและสั่งการรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเร่งรัดให้เกิดการปฏิรูปศูนย์ส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวแห่งอาเซียน หรือศูนย์ฯ อาเซียน — ญี่ปุ่น ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นได้ยกร่างบทแก้ไขความตกลงฯ ตามแนวทางของผู้เชี่ยวชาญและร่างบทแก้ไขความตกลงดังกล่าวได้รับความเห็นชอบในระดับหัวหน้างานส่งเสริมการส่งออกของสมาชิกอาเซียนทุกประเทศเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550
สรุปสาระสำคัญที่มีการแก้ไข ดังนี้
1.1 ริเริ่มแนวทางส่งเสริมการลงทุนและท่องเที่ยวระหว่างกัน (two-way promotion) กล่าวคือ แต่เดิมเป็นการส่งเสริมให้ญี่ปุ่นมาลงทุนในไทยและอาเซียน แต่บทแก้ไขฯ ได้กำหนดเรื่องการส่งเสริมให้อาเซียนไปลงทุนในญี่ปุ่นด้วย ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของกระทรวงพาณิชย์ในการพัฒนาผู้ประกอบการสู่ความเป็นสากลเพื่อเพิ่มขีดความ สามารถในการแข่งขันด้านการค้าระหว่างประเทศ และสามารถขยายฐานการส่งออกได้เป็นไปตามเจตนารมณ์แรกเริ่มของการก่อตั้งศูนย์ฯ ซึ่งคือการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมและขยายการส่งออกจากไทยและอาเซียนไปยังญี่ปุ่น
1.2 เพิ่มเติมงานส่งเสริมการแลกเปลี่ยนบุคลากรภาคธุรกิจ ซึ่งจะส่งผลดีเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจอันดียิ่งขึ้นระหว่างภาครัฐกับเอกชน ตลอดจนสร้างเครือข่ายธุรกิจระหว่างภาคเอกชนของประเทศสมาชิก
1.3 ปรับสัดส่วนเงินสมทบอุดหนุนศูนย์ฯ จากเดิมญี่ปุ่นจ่าย 9 ส่วน อาเซียนจ่าย 1 ส่วน (หรือ 9 : 1) เป็น 7 : 1 คือ ญี่ปุ่นจ่าย 7 ส่วน เป็นเงิน 460,429,375 เยน และสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ รวมกันจ่าย 1 ส่วน เป็นเงิน 65,775,630 เยน (เท่ากับญี่ปุ่นจ่ายสมทบร้อยละ 87.5 และอาเซียนร้อยละ 12.5) ซึ่งแต่เดิมญี่ปุ่นจ่าย 473,585,000 เยน และอาเซียนจ่าย 52,620,000 เยน สำหรับประเทศไทยเดิมจ่ายสมทบปีละ 5,262,000 เยน (หรือประมาณ 1.6 ล้านบาท อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 100 เยน เท่ากับ 31 บาท) เมื่อปรับสัดส่วนใหม่จะต้องจ่ายเพิ่มขึ้นอีก 1,315,563 เยน (หรือประมาณ 0.4 ล้านบาท) รวมเป็น 2 ล้านบาทต่อปี โดยสมาชิกอาเซียนจ่ายเท่ากันทุกประเทศ
2. ญี่ปุ่นและประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องดำเนินการตามกฎหมายภายในของแต่ละประเทศเพื่อรับรองร่างบทแก้ไขความตกลงฯ นี้ให้เป็นพันธกรณีระหว่างประเทศ ในส่วนของประเทศไทยจะต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เนื่องจากมีการแก้ไขสาระสำคัญในความตกลงฯ และมีพันธกรณีใหม่เกิดขึ้น ทั้งนี้ ร่างบทแก้ไขความตกลงฯ จะมีผลใช้บังคับทันทีที่ทุกประเทศได้ดำเนินการยื่นตราสารการยอมรับ (Instruments of Acceptance) ต่อผู้เก็บรักษาตราสารคือรัฐบาลญี่ปุ่นและสำนักเลขาธิการอาเซียนแล้ว (Depository Authorities)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 กรกฎาคม 2551--จบ--
กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า
1. ในการประชุมสุดยอดอาเซียน — ญี่ปุ่น ครั้งที่ 10 ณ เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อเดือนมกราคม 2550 ผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนและญี่ปุ่น ได้เห็นชอบข้อเสนอแนะของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและสั่งการรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเร่งรัดให้เกิดการปฏิรูปศูนย์ส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวแห่งอาเซียน หรือศูนย์ฯ อาเซียน — ญี่ปุ่น ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นได้ยกร่างบทแก้ไขความตกลงฯ ตามแนวทางของผู้เชี่ยวชาญและร่างบทแก้ไขความตกลงดังกล่าวได้รับความเห็นชอบในระดับหัวหน้างานส่งเสริมการส่งออกของสมาชิกอาเซียนทุกประเทศเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550
สรุปสาระสำคัญที่มีการแก้ไข ดังนี้
1.1 ริเริ่มแนวทางส่งเสริมการลงทุนและท่องเที่ยวระหว่างกัน (two-way promotion) กล่าวคือ แต่เดิมเป็นการส่งเสริมให้ญี่ปุ่นมาลงทุนในไทยและอาเซียน แต่บทแก้ไขฯ ได้กำหนดเรื่องการส่งเสริมให้อาเซียนไปลงทุนในญี่ปุ่นด้วย ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของกระทรวงพาณิชย์ในการพัฒนาผู้ประกอบการสู่ความเป็นสากลเพื่อเพิ่มขีดความ สามารถในการแข่งขันด้านการค้าระหว่างประเทศ และสามารถขยายฐานการส่งออกได้เป็นไปตามเจตนารมณ์แรกเริ่มของการก่อตั้งศูนย์ฯ ซึ่งคือการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมและขยายการส่งออกจากไทยและอาเซียนไปยังญี่ปุ่น
1.2 เพิ่มเติมงานส่งเสริมการแลกเปลี่ยนบุคลากรภาคธุรกิจ ซึ่งจะส่งผลดีเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจอันดียิ่งขึ้นระหว่างภาครัฐกับเอกชน ตลอดจนสร้างเครือข่ายธุรกิจระหว่างภาคเอกชนของประเทศสมาชิก
1.3 ปรับสัดส่วนเงินสมทบอุดหนุนศูนย์ฯ จากเดิมญี่ปุ่นจ่าย 9 ส่วน อาเซียนจ่าย 1 ส่วน (หรือ 9 : 1) เป็น 7 : 1 คือ ญี่ปุ่นจ่าย 7 ส่วน เป็นเงิน 460,429,375 เยน และสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ รวมกันจ่าย 1 ส่วน เป็นเงิน 65,775,630 เยน (เท่ากับญี่ปุ่นจ่ายสมทบร้อยละ 87.5 และอาเซียนร้อยละ 12.5) ซึ่งแต่เดิมญี่ปุ่นจ่าย 473,585,000 เยน และอาเซียนจ่าย 52,620,000 เยน สำหรับประเทศไทยเดิมจ่ายสมทบปีละ 5,262,000 เยน (หรือประมาณ 1.6 ล้านบาท อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 100 เยน เท่ากับ 31 บาท) เมื่อปรับสัดส่วนใหม่จะต้องจ่ายเพิ่มขึ้นอีก 1,315,563 เยน (หรือประมาณ 0.4 ล้านบาท) รวมเป็น 2 ล้านบาทต่อปี โดยสมาชิกอาเซียนจ่ายเท่ากันทุกประเทศ
2. ญี่ปุ่นและประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องดำเนินการตามกฎหมายภายในของแต่ละประเทศเพื่อรับรองร่างบทแก้ไขความตกลงฯ นี้ให้เป็นพันธกรณีระหว่างประเทศ ในส่วนของประเทศไทยจะต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เนื่องจากมีการแก้ไขสาระสำคัญในความตกลงฯ และมีพันธกรณีใหม่เกิดขึ้น ทั้งนี้ ร่างบทแก้ไขความตกลงฯ จะมีผลใช้บังคับทันทีที่ทุกประเทศได้ดำเนินการยื่นตราสารการยอมรับ (Instruments of Acceptance) ต่อผู้เก็บรักษาตราสารคือรัฐบาลญี่ปุ่นและสำนักเลขาธิการอาเซียนแล้ว (Depository Authorities)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 กรกฎาคม 2551--จบ--