คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2543 ในประเด็นที่กระทรวงสาธารณสุขยกเลิกการทำสัญญานักเรียนทุนที่ผูกพันให้กระทรวงสาธารณสุขบรรจุเป็นข้าราชการหลังสำเร็จการศึกษา ทุกหลักสูตรตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา และอนุมัติให้กระทรวงสาธารณสุขจัดทำสัญญากับผู้เข้าเรียนพยาบาลตั้งแต่ปีการศึกษา 2548 เป็นต้นไป มีลักษณะเป็นสัญญาผูกพันฝ่ายเดียวหรือสัญญาปลายเปิดที่ไม่มีข้อผูกพันให้กระทรวงสาธารณสุขต้องบรรจุผู้รับทุนเข้ารับราชการเป็นข้าราชการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว โดยให้รับข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการด้วย
สำหรับข้อเสนอเรื่องขอเงินอุดหนุนให้กับนักเรียนทุนพยาบาลศาสตร์ ฯ ให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการตามความเห็นเพิ่มเติมของผู้แทนสำนักงบประมาณที่ชี้แจงเพิ่มเติมว่า สำนักงบประมาณได้ตั้งงบประมาณไว้ในหมวดเงินอุดหนุนจำนวนหนึ่ง ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขสามารถนำมาถัวเฉลี่ยเป็นค่าอาหาร ค่าเครื่องแบบ ค่าที่พักและอื่น ๆ ได้อยู่แล้ว
กระทรวงสาธารณสุขเสนอว่า มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2543 ที่ให้กระทรวงสาธารณสุขยกเลิกการทำสัญญานักเรียนทุนที่ผูกพันให้กระทรวงสาธารณสุขบรรจุเป็นข้าราชการหลังสำเร็จการศึกษาทุกหลักสูตรตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา มีผลให้ในปี พ.ศ. 2548 มีนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2544 สำเร็จการศึกษารุ่นแรกไม่ไปรายงานตัวเข้าปฏิบัติงานในจังหวัดที่กระทรวงสาธารณสุขจัดสรรโควตาให้เข้าศึกษาร้อยละ 30 เกิดผลกระทบต่อการจัดการกำลังคน สาขาพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขอย่างมาก ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2547 ให้กระทรวงสาธารณสุขผลิตพยาบาลเพิ่ม 1,000 คน (เดิมวางแผนไว้ 1,500 คน รวมการผลิตเพิ่ม 1,000 คน เท่ากับ 2,500 คน ต่อปี) โดยได้รับงบประมาณสำหรับเพิ่มการผลิตให้เป็นงบดำเนินการเหมาจ่ายรายหัว จำนวน 28,800 บาท ต่อคนต่อปี ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นไป เป็นระยะเวลา 10 ปี (พ.ศ. 2547-2556) ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำโครงการผลิตพยาบาล 1 ทุน 1 ตำบล โดยจัดสรรโควตาให้นักเรียนระดับตำบลเข้าเรียนปีละ 2,500 คน มุ่งหวังให้ผู้เรียนจบไปแล้วกลับไปทำงานในสถานบริการสุขภาพระดับชุมชน แต่ไม่มีการทำสัญญาผูกพันกับผู้เรียน เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วผู้เรียนสามารถเลือกสถานที่ปฏิบัติงานได้โดยอิสระ หากกระทรวงสาธารณสุขเรียกตัวให้เข้าปฏิบัติงาน ผู้สำเร็จการศึกษาไม่มาตามที่กระทรวงสาธารณสุขเรียกก็ไม่สามารถดำเนินการใด ๆ กับผู้สำเร็จการศึกษาได้ จึงเป็นประเด็นที่ไม่เป็นธรรมกับกระทรวงสาธารณสุข ดังนั้น เพื่อป้องกันภาวะวิกฤติการขาดแคลนพยาบาลและสนับสนุนให้กระทรวง สาธารณสุขมีพยาบาลเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพ เพื่อทดแทนการสูญเสีย และเพิ่มจำนวนพยาบาลในแต่ละปีเพื่อให้กระทรวงสาธารณสุข สามารถตอบสนองนโยบายด้านสุขภาพที่สำคัญของรัฐบาล รวมทั้งเพื่อสร้างแรงจูงใจ และดึงดูดให้พยาบาลที่เข้าศึกษาตามแผนการผลิตพยาบาลของสถาบันพระบรมราชชนก ทั้งการผลิตปกติและการผลิตเพิ่มตามมติคณะรัฐมนตรี ได้เข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานระดับตำบลที่ตนเองได้รับโควตาเข้าศึกษาตามเจตนารมณ์ของโครงการผลิตพยาบาล 1 ทุน 1 ตำบล อย่างแท้จริง ซึ่งจะเกิดผลดีต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน (Quality of life) และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืนและมั่นคงต่อไป จึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กันยายน 2548--จบ--
สำหรับข้อเสนอเรื่องขอเงินอุดหนุนให้กับนักเรียนทุนพยาบาลศาสตร์ ฯ ให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการตามความเห็นเพิ่มเติมของผู้แทนสำนักงบประมาณที่ชี้แจงเพิ่มเติมว่า สำนักงบประมาณได้ตั้งงบประมาณไว้ในหมวดเงินอุดหนุนจำนวนหนึ่ง ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขสามารถนำมาถัวเฉลี่ยเป็นค่าอาหาร ค่าเครื่องแบบ ค่าที่พักและอื่น ๆ ได้อยู่แล้ว
กระทรวงสาธารณสุขเสนอว่า มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2543 ที่ให้กระทรวงสาธารณสุขยกเลิกการทำสัญญานักเรียนทุนที่ผูกพันให้กระทรวงสาธารณสุขบรรจุเป็นข้าราชการหลังสำเร็จการศึกษาทุกหลักสูตรตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา มีผลให้ในปี พ.ศ. 2548 มีนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2544 สำเร็จการศึกษารุ่นแรกไม่ไปรายงานตัวเข้าปฏิบัติงานในจังหวัดที่กระทรวงสาธารณสุขจัดสรรโควตาให้เข้าศึกษาร้อยละ 30 เกิดผลกระทบต่อการจัดการกำลังคน สาขาพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขอย่างมาก ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2547 ให้กระทรวงสาธารณสุขผลิตพยาบาลเพิ่ม 1,000 คน (เดิมวางแผนไว้ 1,500 คน รวมการผลิตเพิ่ม 1,000 คน เท่ากับ 2,500 คน ต่อปี) โดยได้รับงบประมาณสำหรับเพิ่มการผลิตให้เป็นงบดำเนินการเหมาจ่ายรายหัว จำนวน 28,800 บาท ต่อคนต่อปี ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นไป เป็นระยะเวลา 10 ปี (พ.ศ. 2547-2556) ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำโครงการผลิตพยาบาล 1 ทุน 1 ตำบล โดยจัดสรรโควตาให้นักเรียนระดับตำบลเข้าเรียนปีละ 2,500 คน มุ่งหวังให้ผู้เรียนจบไปแล้วกลับไปทำงานในสถานบริการสุขภาพระดับชุมชน แต่ไม่มีการทำสัญญาผูกพันกับผู้เรียน เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วผู้เรียนสามารถเลือกสถานที่ปฏิบัติงานได้โดยอิสระ หากกระทรวงสาธารณสุขเรียกตัวให้เข้าปฏิบัติงาน ผู้สำเร็จการศึกษาไม่มาตามที่กระทรวงสาธารณสุขเรียกก็ไม่สามารถดำเนินการใด ๆ กับผู้สำเร็จการศึกษาได้ จึงเป็นประเด็นที่ไม่เป็นธรรมกับกระทรวงสาธารณสุข ดังนั้น เพื่อป้องกันภาวะวิกฤติการขาดแคลนพยาบาลและสนับสนุนให้กระทรวง สาธารณสุขมีพยาบาลเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพ เพื่อทดแทนการสูญเสีย และเพิ่มจำนวนพยาบาลในแต่ละปีเพื่อให้กระทรวงสาธารณสุข สามารถตอบสนองนโยบายด้านสุขภาพที่สำคัญของรัฐบาล รวมทั้งเพื่อสร้างแรงจูงใจ และดึงดูดให้พยาบาลที่เข้าศึกษาตามแผนการผลิตพยาบาลของสถาบันพระบรมราชชนก ทั้งการผลิตปกติและการผลิตเพิ่มตามมติคณะรัฐมนตรี ได้เข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานระดับตำบลที่ตนเองได้รับโควตาเข้าศึกษาตามเจตนารมณ์ของโครงการผลิตพยาบาล 1 ทุน 1 ตำบล อย่างแท้จริง ซึ่งจะเกิดผลดีต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน (Quality of life) และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืนและมั่นคงต่อไป จึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กันยายน 2548--จบ--