เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม
ในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษและทางยกระดับอุตราภิมุข บางช่วงไปเป็นของการทางพิเศษ
แห่งประเทศไทย พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษและทางยกระดับอุตราภิมุข บางช่วงไปเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการายงานว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติโอนสาธารณสมบัติของแผ่นดินในท้องที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรี อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เขตคลองสามวา เขตสายไหม เขตบางเขน เขตคันนายาว เขตสะพานสูง เขตประเวศ เขตลาดกระบัง เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร อำเภอบางพลี อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอพานทอง และอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ให้แก่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกาโอนทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่เป็นทางยกระดับอุตราภิมุข บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 สายดินแดง — รังสิต และบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 สายกรุงเทพมหานคร — แม่สาย (เขตแดน) ในท้องที่เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร และอำเภอลำลูกกา อำเภอธัญบุรี อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ให้แก่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ที่กระทรวงคมนาคมเสนอตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548 แล้วเห็นว่า เรื่องนี้ควรดำเนินการโดยโอนอำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ ข้าราชการ ลูกจ้าง และกิจการบริหารเกี่ยวกับทางหลวงที่จะโอน จึงได้ยกร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษและทางยกระดับอุตราภิมุข บางช่วงไปเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... แทนร่างพระราชบัญญัติและร่างพระราชกฤษฎีกา ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้พิจารณาเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว และยืนยันให้ดำเนินการต่อไป โดยร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรมทางหลวงฯ มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดให้โอนอำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ และกิจการบริหารของกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษและทางยกระดับอุตราภิมุข บางช่วง ดังต่อไปนี้ ให้แก่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
(1) ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร — บ้านฉาง ตอนกรุงเทพมหานคร — ทางแยก ต่างระดับบางพระ ระหว่าง กม. 0 + 000 — กม. 78 + 872 รวมทางแยกไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 ระหว่าง กม. 0 + 000 — กม. 2 + 880 โดยรวมถึงทางแยกต่างระดับบนทางหลวงพิเศษช่วงดังกล่าวทั้งที่ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จและกำลังดำเนินการก่อสร้าง
(2) ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ตอนบางปะอิน — บางพลี ระหว่าง กม. 0 + 000 — กม. 65 + 325 โดยรวมถึงทางแยกต่างระดับบนทางหลวงพิเศษช่วงดังกล่าวที่ดำเนินการแล้วเสร็จและกำลังดำเนินการก่อสร้าง
(3) ทางยกระดับอุตราภิมุขเฉพาะส่วนที่กรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง
2. กำหนดข้อยกเว้นการโอน รวม 5 กรณี
3. กำหนดให้กรมทางหลวงโอนสิทธิการใช้ประโยชน์ในอาคารศูนย์ควบคุมทางยกระดับอุตราภิมุขและที่ดินเฉพาะส่วนอันเป็นที่ตั้งของอาคารดังกล่าวให้แก่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย จนกว่าจะหมดความจำเป็น ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกำหนด
4. ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำซึ่งได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่ายของสำนักก่อสร้างทางที่ 2 เฉพาะกลุ่มงานทางหลวงพิเศษ และข้าราชการหรือลูกจ้างประจำที่ถูกยืมตัวมาช่วยปฏิบัติงานในกลุ่มงานดังกล่าวก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เลือกไปทำงานกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ โดยแจ้งความจำนงต่ออธิบดีกรมทางหลวงภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และการทางพิเศษแห่งประเทศไทยต้องรับข้าราชการหรือลูกจ้าง ผู้นั้นเป็นพนักงานหรือลูกจ้าง โดยต้องแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ได้รับอยู่เดิมด้วย และรองรับให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้าง รวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เท่ากับที่เคยได้รับอยู่ในระหว่าง รอการบรรจุและแต่งตั้งด้วย
5. กำหนดสิทธิเกี่ยวกับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการและลูกจ้างประจำที่ไปเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย โดยกรณีของข้าราชการ ให้ถือว่าเป็นการให้ออกจากราชการเพราะทางราชการเลิกหรือยุบตำแหน่ง และมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แล้วแต่กรณี ส่วนกรณีของลูกจ้างประจำ ให้ถือว่าเป็นการให้ออกจากงานเพราะทางราชการ ยุบตำแหน่งหรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด และให้ได้รับบำเหน็จตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 19 กรกฎาคม 2548--จบ--
ในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษและทางยกระดับอุตราภิมุข บางช่วงไปเป็นของการทางพิเศษ
แห่งประเทศไทย พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษและทางยกระดับอุตราภิมุข บางช่วงไปเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการายงานว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติโอนสาธารณสมบัติของแผ่นดินในท้องที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรี อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เขตคลองสามวา เขตสายไหม เขตบางเขน เขตคันนายาว เขตสะพานสูง เขตประเวศ เขตลาดกระบัง เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร อำเภอบางพลี อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอพานทอง และอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ให้แก่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกาโอนทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่เป็นทางยกระดับอุตราภิมุข บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 สายดินแดง — รังสิต และบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 สายกรุงเทพมหานคร — แม่สาย (เขตแดน) ในท้องที่เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร และอำเภอลำลูกกา อำเภอธัญบุรี อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ให้แก่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ที่กระทรวงคมนาคมเสนอตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548 แล้วเห็นว่า เรื่องนี้ควรดำเนินการโดยโอนอำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ ข้าราชการ ลูกจ้าง และกิจการบริหารเกี่ยวกับทางหลวงที่จะโอน จึงได้ยกร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษและทางยกระดับอุตราภิมุข บางช่วงไปเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... แทนร่างพระราชบัญญัติและร่างพระราชกฤษฎีกา ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้พิจารณาเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว และยืนยันให้ดำเนินการต่อไป โดยร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรมทางหลวงฯ มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดให้โอนอำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ และกิจการบริหารของกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษและทางยกระดับอุตราภิมุข บางช่วง ดังต่อไปนี้ ให้แก่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
(1) ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร — บ้านฉาง ตอนกรุงเทพมหานคร — ทางแยก ต่างระดับบางพระ ระหว่าง กม. 0 + 000 — กม. 78 + 872 รวมทางแยกไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 ระหว่าง กม. 0 + 000 — กม. 2 + 880 โดยรวมถึงทางแยกต่างระดับบนทางหลวงพิเศษช่วงดังกล่าวทั้งที่ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จและกำลังดำเนินการก่อสร้าง
(2) ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ตอนบางปะอิน — บางพลี ระหว่าง กม. 0 + 000 — กม. 65 + 325 โดยรวมถึงทางแยกต่างระดับบนทางหลวงพิเศษช่วงดังกล่าวที่ดำเนินการแล้วเสร็จและกำลังดำเนินการก่อสร้าง
(3) ทางยกระดับอุตราภิมุขเฉพาะส่วนที่กรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง
2. กำหนดข้อยกเว้นการโอน รวม 5 กรณี
3. กำหนดให้กรมทางหลวงโอนสิทธิการใช้ประโยชน์ในอาคารศูนย์ควบคุมทางยกระดับอุตราภิมุขและที่ดินเฉพาะส่วนอันเป็นที่ตั้งของอาคารดังกล่าวให้แก่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย จนกว่าจะหมดความจำเป็น ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกำหนด
4. ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำซึ่งได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่ายของสำนักก่อสร้างทางที่ 2 เฉพาะกลุ่มงานทางหลวงพิเศษ และข้าราชการหรือลูกจ้างประจำที่ถูกยืมตัวมาช่วยปฏิบัติงานในกลุ่มงานดังกล่าวก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เลือกไปทำงานกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ โดยแจ้งความจำนงต่ออธิบดีกรมทางหลวงภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และการทางพิเศษแห่งประเทศไทยต้องรับข้าราชการหรือลูกจ้าง ผู้นั้นเป็นพนักงานหรือลูกจ้าง โดยต้องแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ได้รับอยู่เดิมด้วย และรองรับให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้าง รวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เท่ากับที่เคยได้รับอยู่ในระหว่าง รอการบรรจุและแต่งตั้งด้วย
5. กำหนดสิทธิเกี่ยวกับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการและลูกจ้างประจำที่ไปเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย โดยกรณีของข้าราชการ ให้ถือว่าเป็นการให้ออกจากราชการเพราะทางราชการเลิกหรือยุบตำแหน่ง และมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แล้วแต่กรณี ส่วนกรณีของลูกจ้างประจำ ให้ถือว่าเป็นการให้ออกจากงานเพราะทางราชการ ยุบตำแหน่งหรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด และให้ได้รับบำเหน็จตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 19 กรกฎาคม 2548--จบ--