คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) พ.ศ. 2547 ดังนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติได้จัดทำโครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาท รักษาทุกโรค) พ.ศ. 2547 โดยสอบถามประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขี้นไป ทุกจังหวัดทั่วประเทศ มีประชาชนที่ตกเป็นตัวอย่างจำนวน 5,800 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 23-29 ธันวาคม 2547 และผลการสำรวจมีสาระสำคัญสรุปดังนี้
1. ความสะดวกในการเลือกใช้บริการสถานพยาบาล ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 75.1 ของผู้ที่เคยใช้บริการ ระบุว่ามีความสะดวกขึ้นเมื่อรัฐขยายให้โรงพยาบาลเอกชนเข้าร่วมโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่วนอีกร้อยละ 24.9 ระบุยังไม่สะดวก
2. คุณภาพชีวิตทางด้านสุขภาพ ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 74.9 ของผู้ที่เคยใช้บริการ ระบุว่า คุณภาพชีวิตทางด้านสุขภาพดีขึ้นหลังจากมีโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่วนอีกร้อยละ 24.1 ระบุว่าเหมือนเดิม และมีร้อยละ 1.0 เห็นว่าแย่ลง
3. มาตรฐานการรักษาพยาบาล ประชาชน ร้อยละ 45.9 ของผู้ที่เคยใช้บริการเห็นว่ายังไม่ได้มาตรฐานเดียวกับสวัสดิการประเภทอื่น ๆ เช่น สวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการ ส่วนผู้ที่เห็นว่ามีมาตรฐานเดียวกัน ร้อยละ 34.1 และผู้ที่ระบุว่าไม่แน่ใจ มีร้อยละ 20.0
4. ปัญหาเรื่องคนไข้มีอาการหนักสถานพยาบาลไม่ส่งต่อ และเรื่องสถานพยาบาลลำดับต่อไปปฏิเสธการรับคนไข้ ประชาชน ร้อยละ 94.0 และร้อยละ 95.4 ของผู้ที่เคยใช้บริการ ระบุว่าไม่เคยประสบปัญหาดังกล่าวข้างต้น มีเพียงร้อยละ 6.0 และร้อยละ 4.6 ที่ระบุว่าเคยประสบปัญหา
5. ความพึงพอใจต่อการรักษาและการบริการของสถานพยาบาลโดยรวม ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 85.2 ของผู้ที่เคยใช้บริการ ระบุว่ามีความพึงพอใจ และร้อยละ 14.8 ไม่พึงพอใจ
6. ค่าใช้จ่ายรายหัวต่อปีที่รัฐจ่ายให้โรงพยาบาล สถานพยาบาลต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการฯ ประชาชน ร้อยละ 54.0 ของผู้ที่เคยใช้บริการ เห็นด้วยกับโรงพยาบาล/ สถานพยาบาลที่ระบุว่าค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอ/น้อยเกินไป ส่วนผู้ที่ไม่เห็นด้วย มีร้อยละ 18.0 และไม่แน่ใจ ร้อยล 28.0
7. ความเข้าใจของประชนเกี่ยวกับการใช้บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประชาชนร้อยละ 65.4 เข้าใจว่าเป็นบัตรที่ใช้รักษาได้ทุกโรค และร้อยละ 34.6 เข้าใจว่ารักษาไม่ได้ทุกโรค
8. การขยายความคุ้มครองให้สามารถใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 79.4 ระบุว่าควรคุ้มครอง ร้อยละ 5.7 ระบุว่าไม่ควรคุ้มครอง อย่างไรก็ตามยังมีประชาชนอีกร้อยละ 14.9 ที่ระบุว่าไม่แน่ใจ
9. การปรับปรุงสวัสดิการทางด้านสุขภาพ ประชาชนร้อยละ 55.1 เห็นว่ารัฐควรจัดให้มีกองทุนประกันสุขภาพเพียงกองทุนเดียว โดยรวมกองทุนประกันสังคม กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ ร้อยละ 23.4 เห็นว่าไม่ควร และยังมีผู้ที่ระบุว่าไม่แน่ใจถึงร้อยละ 21.5
10. ความสำเร็จของโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าในรอบปี 2547 ประชาชนเห็นว่าประสบผลสำเร็จในระดับมาก และปานกลางในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน คือ ร้อยล 45.0 และ ร้อยละ 48.0 ตามลำดับ ส่วนผู้ที่ระบุว่าประสบผลสำเร็จน้อย และไม่ประสบผลสำเร็จ มีเพียงร้อยละ 5.3 และร้อยละ 1.7
11. การปรับปรุงโครงการ ฯ มีประชาชน ร้อยละ 52.1 เห็นว่าควรมีปรับปรุง โดยให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ สถานพยาบาลควรมีมาตรฐานการรักษาพยาบาลสูงกว่าเดิม ร้อยละ 30.2 คุณภาพของยาควรมีมาตรฐานเดียวกัน ร้อยละ 19.2 ควรรักษาได้ทุกโรครวมทั้งอุบัติเหตุ ร้อยละ 7.0 และควรเข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศ ร้อยละ 7.0
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--
1. ความสะดวกในการเลือกใช้บริการสถานพยาบาล ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 75.1 ของผู้ที่เคยใช้บริการ ระบุว่ามีความสะดวกขึ้นเมื่อรัฐขยายให้โรงพยาบาลเอกชนเข้าร่วมโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่วนอีกร้อยละ 24.9 ระบุยังไม่สะดวก
2. คุณภาพชีวิตทางด้านสุขภาพ ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 74.9 ของผู้ที่เคยใช้บริการ ระบุว่า คุณภาพชีวิตทางด้านสุขภาพดีขึ้นหลังจากมีโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่วนอีกร้อยละ 24.1 ระบุว่าเหมือนเดิม และมีร้อยละ 1.0 เห็นว่าแย่ลง
3. มาตรฐานการรักษาพยาบาล ประชาชน ร้อยละ 45.9 ของผู้ที่เคยใช้บริการเห็นว่ายังไม่ได้มาตรฐานเดียวกับสวัสดิการประเภทอื่น ๆ เช่น สวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการ ส่วนผู้ที่เห็นว่ามีมาตรฐานเดียวกัน ร้อยละ 34.1 และผู้ที่ระบุว่าไม่แน่ใจ มีร้อยละ 20.0
4. ปัญหาเรื่องคนไข้มีอาการหนักสถานพยาบาลไม่ส่งต่อ และเรื่องสถานพยาบาลลำดับต่อไปปฏิเสธการรับคนไข้ ประชาชน ร้อยละ 94.0 และร้อยละ 95.4 ของผู้ที่เคยใช้บริการ ระบุว่าไม่เคยประสบปัญหาดังกล่าวข้างต้น มีเพียงร้อยละ 6.0 และร้อยละ 4.6 ที่ระบุว่าเคยประสบปัญหา
5. ความพึงพอใจต่อการรักษาและการบริการของสถานพยาบาลโดยรวม ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 85.2 ของผู้ที่เคยใช้บริการ ระบุว่ามีความพึงพอใจ และร้อยละ 14.8 ไม่พึงพอใจ
6. ค่าใช้จ่ายรายหัวต่อปีที่รัฐจ่ายให้โรงพยาบาล สถานพยาบาลต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการฯ ประชาชน ร้อยละ 54.0 ของผู้ที่เคยใช้บริการ เห็นด้วยกับโรงพยาบาล/ สถานพยาบาลที่ระบุว่าค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอ/น้อยเกินไป ส่วนผู้ที่ไม่เห็นด้วย มีร้อยละ 18.0 และไม่แน่ใจ ร้อยล 28.0
7. ความเข้าใจของประชนเกี่ยวกับการใช้บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประชาชนร้อยละ 65.4 เข้าใจว่าเป็นบัตรที่ใช้รักษาได้ทุกโรค และร้อยละ 34.6 เข้าใจว่ารักษาไม่ได้ทุกโรค
8. การขยายความคุ้มครองให้สามารถใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 79.4 ระบุว่าควรคุ้มครอง ร้อยละ 5.7 ระบุว่าไม่ควรคุ้มครอง อย่างไรก็ตามยังมีประชาชนอีกร้อยละ 14.9 ที่ระบุว่าไม่แน่ใจ
9. การปรับปรุงสวัสดิการทางด้านสุขภาพ ประชาชนร้อยละ 55.1 เห็นว่ารัฐควรจัดให้มีกองทุนประกันสุขภาพเพียงกองทุนเดียว โดยรวมกองทุนประกันสังคม กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ ร้อยละ 23.4 เห็นว่าไม่ควร และยังมีผู้ที่ระบุว่าไม่แน่ใจถึงร้อยละ 21.5
10. ความสำเร็จของโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าในรอบปี 2547 ประชาชนเห็นว่าประสบผลสำเร็จในระดับมาก และปานกลางในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน คือ ร้อยล 45.0 และ ร้อยละ 48.0 ตามลำดับ ส่วนผู้ที่ระบุว่าประสบผลสำเร็จน้อย และไม่ประสบผลสำเร็จ มีเพียงร้อยละ 5.3 และร้อยละ 1.7
11. การปรับปรุงโครงการ ฯ มีประชาชน ร้อยละ 52.1 เห็นว่าควรมีปรับปรุง โดยให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ สถานพยาบาลควรมีมาตรฐานการรักษาพยาบาลสูงกว่าเดิม ร้อยละ 30.2 คุณภาพของยาควรมีมาตรฐานเดียวกัน ร้อยละ 19.2 ควรรักษาได้ทุกโรครวมทั้งอุบัติเหตุ ร้อยละ 7.0 และควรเข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศ ร้อยละ 7.0
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--