คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. รายงานการยกระดับและพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐเพื่อรองรับการพัฒนาระบบราชการในขั้นต่อไป ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติได้จัดทำหลักเกณฑ์และแนวทางการพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักการและแนวทางดำเนินการดังนี้
1) วัตถุประสงค์ของการดำเนินการ
(1) ยกระดับการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐให้สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
(2) เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐนำไปใช้เป็นแนวทางในการยกระดับคุณภาพการปฏิบัติงานไปสู่ระดับมาตรฐานสากล
(3) เพื่อให้เป็นกรอบในการประเมินตนเองเพื่อพัฒนาองค์การและเป็นฐานสำหรับใช้ประโยชน์ในการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ
2) หลักการดำเนินการ
สร้างความเชื่อมโยงพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐให้สอดคล้องกับทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ รวมทั้ง การดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และการประเมินผลการปฏิบัติงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการใน 4 มิติ
3) กำหนดเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
โดยการนำกรอบการดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 รวมทั้ง หลักเกณฑ์และแนวคิดของรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แก่ Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA) มาศึกษาวิเคราะห์เทียบเพื่อให้ได้เกณฑ์มาตรฐานที่สอดคล้องกับบริบทของระบบราชการไทยและพัฒนาไปสู่ระดับสากลต่อไปได้
ทั้งนี้ ได้นำเครื่องมือนี้มาประยุกต์โดยกำหนดเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ รวม 7 หมวด โดยมีความเชื่อมโยงของเกณฑ์ในแต่ละหมวด ดังนี้ 1. การนำองค์กร 2. การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ 3. การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4. การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ 5. การมุ่งเน้น ทรัพยากรบุคคล 6. การจัดการกระบวนการ 7. ผลลัพธ์การดำเนินการ
4) การดำเนินการ
สำนักงาน ก.พ.ร. ได้เริ่มดำเนินการศึกษาและกำหนดกรอบทิศทางในการพัฒนาคุณภาพการบริหาร จัดการภาครัฐมาตั้งแต่ปี 2547 โดยได้จัดทำเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐเสร็จเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับกำหนดแผนการดำเนินการต่อไป ดังนี้
แผนการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549
- ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพ - จัดวางระบบการดำเนินงานและ - สนับสนุนให้ส่วนราชการนำไป
การบริหารจัดการภาครัฐ การสร้างความพร้อมให้ส่วน ปฏิบัติ
- วางหลักเกณฑ์รางวัล "คุณภาพ ราชการต่างๆ - สนับสนุน ส่งเสริมส่วนราชการ
การบริหารจัดการภาครัฐ" - การสร้างความรู้ความเข้าใจ ให้ยกระดับการปฏิบัติงานเพื่อ
(Public Sector - การเตรียมความพร้อมให้ ขอสมัครเข้ารับรางวัล
Management Quality ส่วนราชการต่างๆ โดยสร้าง - ตรวจประเมิน ตัดสินให้รางวัล
Award - PMQA) ผู้ตรวจประเมินภายในการ - เผยแพร่หน่วยงานที่มีระบบการ
และวิทยากรตัวคุณ บริหารจัดการที่เป็นเลิศเพื่อให้
- เตรียมการวางระบบผู้ประเมิน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปยัง
ภายนอก หน่วยงานอื่นๆ
- สร้างกลไกภายในสำนักงาน
ก.พ.ร.
5) กลไกการดำเนินงาน
ในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐเห็นควรกำหนดกลไกการดำเนินงานดังนี้
- คณะกรรมการกำกับการดำเนินงาน มีหน้าที่กำหนดนโยบายและแนวทางการดำเนินงานตลอดทั้งกำกับการดำเนินงานเกี่ยวกับการยกระดับและพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ รวมทั้งให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานดังกล่าว
- คณะผู้ตรวจประเมิน มีหน้าที่ตรวจประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานตามเกณฑ์ที่กำหนด
- หน่วยงานสนับสนุน (สำนักงาน ก.พ.ร.) มีหน้าที่สนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานในเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้กิจกรรมและงานต่าง ๆ เป็นไปตามระบบนี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 มิถุนายน 2548--จบ--
1) วัตถุประสงค์ของการดำเนินการ
(1) ยกระดับการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐให้สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
(2) เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐนำไปใช้เป็นแนวทางในการยกระดับคุณภาพการปฏิบัติงานไปสู่ระดับมาตรฐานสากล
(3) เพื่อให้เป็นกรอบในการประเมินตนเองเพื่อพัฒนาองค์การและเป็นฐานสำหรับใช้ประโยชน์ในการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ
2) หลักการดำเนินการ
สร้างความเชื่อมโยงพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐให้สอดคล้องกับทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ รวมทั้ง การดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และการประเมินผลการปฏิบัติงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการใน 4 มิติ
3) กำหนดเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
โดยการนำกรอบการดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 รวมทั้ง หลักเกณฑ์และแนวคิดของรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แก่ Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA) มาศึกษาวิเคราะห์เทียบเพื่อให้ได้เกณฑ์มาตรฐานที่สอดคล้องกับบริบทของระบบราชการไทยและพัฒนาไปสู่ระดับสากลต่อไปได้
ทั้งนี้ ได้นำเครื่องมือนี้มาประยุกต์โดยกำหนดเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ รวม 7 หมวด โดยมีความเชื่อมโยงของเกณฑ์ในแต่ละหมวด ดังนี้ 1. การนำองค์กร 2. การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ 3. การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4. การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ 5. การมุ่งเน้น ทรัพยากรบุคคล 6. การจัดการกระบวนการ 7. ผลลัพธ์การดำเนินการ
4) การดำเนินการ
สำนักงาน ก.พ.ร. ได้เริ่มดำเนินการศึกษาและกำหนดกรอบทิศทางในการพัฒนาคุณภาพการบริหาร จัดการภาครัฐมาตั้งแต่ปี 2547 โดยได้จัดทำเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐเสร็จเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับกำหนดแผนการดำเนินการต่อไป ดังนี้
แผนการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549
- ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพ - จัดวางระบบการดำเนินงานและ - สนับสนุนให้ส่วนราชการนำไป
การบริหารจัดการภาครัฐ การสร้างความพร้อมให้ส่วน ปฏิบัติ
- วางหลักเกณฑ์รางวัล "คุณภาพ ราชการต่างๆ - สนับสนุน ส่งเสริมส่วนราชการ
การบริหารจัดการภาครัฐ" - การสร้างความรู้ความเข้าใจ ให้ยกระดับการปฏิบัติงานเพื่อ
(Public Sector - การเตรียมความพร้อมให้ ขอสมัครเข้ารับรางวัล
Management Quality ส่วนราชการต่างๆ โดยสร้าง - ตรวจประเมิน ตัดสินให้รางวัล
Award - PMQA) ผู้ตรวจประเมินภายในการ - เผยแพร่หน่วยงานที่มีระบบการ
และวิทยากรตัวคุณ บริหารจัดการที่เป็นเลิศเพื่อให้
- เตรียมการวางระบบผู้ประเมิน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปยัง
ภายนอก หน่วยงานอื่นๆ
- สร้างกลไกภายในสำนักงาน
ก.พ.ร.
5) กลไกการดำเนินงาน
ในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐเห็นควรกำหนดกลไกการดำเนินงานดังนี้
- คณะกรรมการกำกับการดำเนินงาน มีหน้าที่กำหนดนโยบายและแนวทางการดำเนินงานตลอดทั้งกำกับการดำเนินงานเกี่ยวกับการยกระดับและพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ รวมทั้งให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานดังกล่าว
- คณะผู้ตรวจประเมิน มีหน้าที่ตรวจประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานตามเกณฑ์ที่กำหนด
- หน่วยงานสนับสนุน (สำนักงาน ก.พ.ร.) มีหน้าที่สนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานในเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้กิจกรรมและงานต่าง ๆ เป็นไปตามระบบนี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 มิถุนายน 2548--จบ--