คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้กระทรวงการคลังอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 3 แห่ง ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้พิจารณาขยายระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนทางการเงินจากเดิมกำหนดชำระคืนในวันที่ 31 กรกฎาคม 2551 เป็นกำหนดชำระคืนในวันที่ 31 ธันวาคม 2553 เพื่อช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ รวมทั้งสิ้น 3,128 ล้านบาท ดังนี้
1. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ในวงเงิน 1,058 ล้านบาท
2. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในวงเงิน 1,800 ล้านบาท
3. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ในวงเงิน 270 ล้านบาท
กระทรวงการคลังรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้พิจารณาขยายระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนทางการเงินอัตราดอกเบี้ยต่ำแก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อนำไปให้กู้ยืมแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยครอบคลุมถึงผู้ได้รับความช่วยเหลือเดิมหรือผู้ขอรับความช่วยเหลือรายใหม่ที่ประสงค์จะลงทุนประกอบกิจการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จากเดิมกำหนดชำระคืนในวันที่ 31 กรกฎาคม 2551 เป็นกำหนดชำระคืนสิ้นปี 2553 และสถาบันการเงินเฉพาะกิจยังมีความจำเป็นที่จะต้องขอรับการสนับสนุนทางการเงินจาก ธปท. ดังกล่าว
ซึ่งเป็นการขยายระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ลูกค้าของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ยังคงประสบปัญหาเรื่องเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินการและยังมีความประสงค์ที่จะขอรับความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 3 แห่ง เป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่และมีกระทรวงการคลังเป็นผู้อาวัล เพื่อนำไปใช้เป็นหลักประกันในการกู้เงินจากธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ดังนี้
1. เงื่อนไขการกู้เงิน
- วงเงินกู้ ธปท. ให้การสนับสนุนแก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ดังนี้
ธสน. จำนวนเงินไม่เกิน 1,058 ล้านบาท
ธ.ก.ส. จำนวนเงินไม่เกิน 1,800 ล้านบาท
ธพว. จำนวนเงินไม่เกิน 270 ล้านบาท
- เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นผู้ออกและมีกระทรวงการคลังเป็นผู้อาวัล
- กำหนดชำระคืนไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2553
- อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปี
2. สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะเบิกเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรับซื้อไว้เป็นงวด ๆ ตามจำนวนเงินที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ให้กู้ยืมแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
3. ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเรียกเก็บดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในอัตราไม่เกิน 1.50 ต่อปี
กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่า การขยายระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ยังคงประสบปัญหาเรื่องเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการอันเนื่องมากจากความไม่สงบในพื้นที่ดังกล่าว และมีความประสงค์ที่จะขอรับความช่วยเหลือทางการเงินอย่างต่อเนื่องจะเป็นการบรรเทาภาระทางการเงินสำหรับสินเชื่อคงค้างที่มีอยู่ในปัจจุบัน และเพื่อให้ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีเงินทุนหมุนเวียนจากแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำไปใช้ในการฟื้นฟูกิจการและดำเนินการต่อไปได้ และเพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจดังกล่าว สามารถให้สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้การให้ความช่วยเหลือทางการเงินจาก ธปท. ได้ ด้วยวิธีการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 3 แห่ง เป็นผู้ออก และมีกระทรวงการคลังเป็นผู้อาวัล
ทั้งนี้ การค้ำประกันเงินกู้ของกระทรวงการคลังได้บัญญัติไว้ตามนัยมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ซึ่งเงินกู้ที่กระทรวงการคลังจะค้ำประกันในครั้งนี้ จำนวน 3,128 ล้านบาท เมื่อรวมกับจำนวนเงินกู้ที่กระทรวงการคลังได้ค้ำประกันไปแล้วในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 (ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550 — มีนาคม 2551) จำนวน 175,076.68 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.74 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2551 ซึ่งอยู่ภายใต้วงเงินที่จะสามารถค้ำประกันได้ และโดยที่ ธสน. ธ.ก.ส. และ ธพว. เป็นรัฐวิสาหกิจที่มิได้ประกอบกิจการอันเป็นสาธารณูปโภค แต่ก็มิได้มีผลประกอบการขาดทุนติดต่อกันเกิน 3 ปี ประกอบกับพระราชบัญญัติ ธสน. ธ.ก.ส. และ ธ.พ.ว. กำหนดให้รัฐบาลค้ำประกันเงินกู้ที่ธนาคารกู้ยืมจากแหล่งให้กู้ยืมในต่างประเทศหรือภายในประเทศ เมื่อรวมกับต้นเงินกู้ที่การค้ำประกันของรัฐบาลยังค้างอยู่ ต้องไม่เกิน 12 เท่า ของเงินกองทุนของธนาคาร ซึ่งการอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินของ ธสน. ธ.ก.ส และ ธ.พ.ว. รวมทั้งสิ้นจำนวน 3,124 ล้านบาท จึงไม่เกินวงเงินที่กระทรวงการคลังจะสามารถค้ำประกันได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 กรกฎาคม 2551--จบ--
1. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ในวงเงิน 1,058 ล้านบาท
2. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในวงเงิน 1,800 ล้านบาท
3. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ในวงเงิน 270 ล้านบาท
กระทรวงการคลังรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้พิจารณาขยายระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนทางการเงินอัตราดอกเบี้ยต่ำแก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อนำไปให้กู้ยืมแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยครอบคลุมถึงผู้ได้รับความช่วยเหลือเดิมหรือผู้ขอรับความช่วยเหลือรายใหม่ที่ประสงค์จะลงทุนประกอบกิจการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จากเดิมกำหนดชำระคืนในวันที่ 31 กรกฎาคม 2551 เป็นกำหนดชำระคืนสิ้นปี 2553 และสถาบันการเงินเฉพาะกิจยังมีความจำเป็นที่จะต้องขอรับการสนับสนุนทางการเงินจาก ธปท. ดังกล่าว
ซึ่งเป็นการขยายระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ลูกค้าของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ยังคงประสบปัญหาเรื่องเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินการและยังมีความประสงค์ที่จะขอรับความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 3 แห่ง เป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่และมีกระทรวงการคลังเป็นผู้อาวัล เพื่อนำไปใช้เป็นหลักประกันในการกู้เงินจากธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ดังนี้
1. เงื่อนไขการกู้เงิน
- วงเงินกู้ ธปท. ให้การสนับสนุนแก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ดังนี้
ธสน. จำนวนเงินไม่เกิน 1,058 ล้านบาท
ธ.ก.ส. จำนวนเงินไม่เกิน 1,800 ล้านบาท
ธพว. จำนวนเงินไม่เกิน 270 ล้านบาท
- เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นผู้ออกและมีกระทรวงการคลังเป็นผู้อาวัล
- กำหนดชำระคืนไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2553
- อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปี
2. สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะเบิกเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรับซื้อไว้เป็นงวด ๆ ตามจำนวนเงินที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ให้กู้ยืมแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
3. ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเรียกเก็บดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในอัตราไม่เกิน 1.50 ต่อปี
กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่า การขยายระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ยังคงประสบปัญหาเรื่องเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการอันเนื่องมากจากความไม่สงบในพื้นที่ดังกล่าว และมีความประสงค์ที่จะขอรับความช่วยเหลือทางการเงินอย่างต่อเนื่องจะเป็นการบรรเทาภาระทางการเงินสำหรับสินเชื่อคงค้างที่มีอยู่ในปัจจุบัน และเพื่อให้ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีเงินทุนหมุนเวียนจากแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำไปใช้ในการฟื้นฟูกิจการและดำเนินการต่อไปได้ และเพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจดังกล่าว สามารถให้สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้การให้ความช่วยเหลือทางการเงินจาก ธปท. ได้ ด้วยวิธีการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 3 แห่ง เป็นผู้ออก และมีกระทรวงการคลังเป็นผู้อาวัล
ทั้งนี้ การค้ำประกันเงินกู้ของกระทรวงการคลังได้บัญญัติไว้ตามนัยมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ซึ่งเงินกู้ที่กระทรวงการคลังจะค้ำประกันในครั้งนี้ จำนวน 3,128 ล้านบาท เมื่อรวมกับจำนวนเงินกู้ที่กระทรวงการคลังได้ค้ำประกันไปแล้วในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 (ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550 — มีนาคม 2551) จำนวน 175,076.68 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.74 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2551 ซึ่งอยู่ภายใต้วงเงินที่จะสามารถค้ำประกันได้ และโดยที่ ธสน. ธ.ก.ส. และ ธพว. เป็นรัฐวิสาหกิจที่มิได้ประกอบกิจการอันเป็นสาธารณูปโภค แต่ก็มิได้มีผลประกอบการขาดทุนติดต่อกันเกิน 3 ปี ประกอบกับพระราชบัญญัติ ธสน. ธ.ก.ส. และ ธ.พ.ว. กำหนดให้รัฐบาลค้ำประกันเงินกู้ที่ธนาคารกู้ยืมจากแหล่งให้กู้ยืมในต่างประเทศหรือภายในประเทศ เมื่อรวมกับต้นเงินกู้ที่การค้ำประกันของรัฐบาลยังค้างอยู่ ต้องไม่เกิน 12 เท่า ของเงินกองทุนของธนาคาร ซึ่งการอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินของ ธสน. ธ.ก.ส และ ธ.พ.ว. รวมทั้งสิ้นจำนวน 3,124 ล้านบาท จึงไม่เกินวงเงินที่กระทรวงการคลังจะสามารถค้ำประกันได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 กรกฎาคม 2551--จบ--