คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนปฏิบัติการพัฒนาด้านอ้อย ตามระเบียบวาระอ้อยแห่งชาติ ตามที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายเสนอ โดยไม่ครอบคลุมเรื่องเอทานอล และให้กระทรวงอุตสาหกรรมตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณ ก่อนการดำเนินการต่อไป สำหรับกิจกรรมหรือโครงการใดในแผนปฏิบัติการนี้ที่กำหนดให้มีการดำเนินการ ในปีงบประมาณ 2552 แต่ยังไม่มีงบประมาณรองรับ ให้กระทรวงอุตสาหกรรมประสานงานกับสำนักงบประมาณในการขอแปรญัตติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ 2552 ต่อไป ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอว่า
1. สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี (29 เมษายน 2551) คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ได้จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ระเบียบวาระอ้อยแห่งชาติ : แผนปฏิบัติการพัฒนาด้านอ้อย” เพื่อรับฟังและระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาด้านอ้อยเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2551 โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 1,153 คน ได้แก่ ชาวไร่อ้อย ผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาล ผู้ส่งออกน้ำตาล ผู้ผลิตเอทานอล ผู้ผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร กรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ผู้เข้าร่วมสัมมนาจากหน่วยงานในสังกัด กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงบประมาณ ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษาภาครัฐและเอกชน ทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค สื่อมวลชน และผู้สนใจอื่น ๆ
2. ในการประชุม กอน. เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2551 ได้พิจารณาร่างแผนปฏิบัติการพัฒนาด้านอ้อยฯ อันเป็นผลจากการสัมมนาในข้อ 1และเห็นควรนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการพัฒนาด้านอ้อยฯ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของประเทศให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
3. กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาแล้วเห็นว่า แผนปฏิบัติการพัฒนาด้านอ้อยฯ ครอบคลุมการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตอ้อยครบทุกประเด็น หากได้ดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายจะเป็นการแก้ไขปัญหาการผลิตอ้อยในระยะยาวได้อย่างยั่งยืน ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง มีการสร้างมูลค่า ก่อให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และสร้างรายได้ให้กับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยรวม
แผนปฏิบัติการด้านอ้อย
1. กรอบการพิจารณาที่ส่งผลต่อการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตอ้อย
1.1 อ้อยพันธุ์ดี/ดินและปุ๋ย
1.2 ระบบน้ำ
1.3 เครื่องจักรกลการเกษตรและการเขตกรรม
1.4 การเก็บเกี่ยวและขนส่ง/GIS
1.5 การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม
2. แผนปฏิบัติการพัฒนาด้านอ้อย ระยะ 3 ปี (ปี 2552-2554) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มผลผลิตอ้อย (เฉลี่ยทั่วประเทศ) เป็น 15 ตันต่อไร่ และค่าความหวาน 13 ซี.ซี.เอส. ประกอบด้วย 7 แผนงาน/มาตรการ ดังนี้
2.1 แผนงานการวิจัยและขยายอ้อยพันธุ์ดี 2.2 แผนงานการปรับปรุงบำรุงดินและการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ 2.3 แผนงานการพัฒนาแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำ 2.4 แผนงานการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรและการเขตกรรม 2.5 แผนงานการพัฒนาระบบการเก็บเกี่ยวขนส่งและระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) 2.6 มาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมเอทานอลและการสร้างมูลค่า 2.7 แผนงานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 กรกฎาคม 2551--จบ--
กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอว่า
1. สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี (29 เมษายน 2551) คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ได้จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ระเบียบวาระอ้อยแห่งชาติ : แผนปฏิบัติการพัฒนาด้านอ้อย” เพื่อรับฟังและระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาด้านอ้อยเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2551 โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 1,153 คน ได้แก่ ชาวไร่อ้อย ผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาล ผู้ส่งออกน้ำตาล ผู้ผลิตเอทานอล ผู้ผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร กรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ผู้เข้าร่วมสัมมนาจากหน่วยงานในสังกัด กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงบประมาณ ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษาภาครัฐและเอกชน ทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค สื่อมวลชน และผู้สนใจอื่น ๆ
2. ในการประชุม กอน. เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2551 ได้พิจารณาร่างแผนปฏิบัติการพัฒนาด้านอ้อยฯ อันเป็นผลจากการสัมมนาในข้อ 1และเห็นควรนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการพัฒนาด้านอ้อยฯ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของประเทศให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
3. กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาแล้วเห็นว่า แผนปฏิบัติการพัฒนาด้านอ้อยฯ ครอบคลุมการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตอ้อยครบทุกประเด็น หากได้ดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายจะเป็นการแก้ไขปัญหาการผลิตอ้อยในระยะยาวได้อย่างยั่งยืน ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง มีการสร้างมูลค่า ก่อให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และสร้างรายได้ให้กับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยรวม
แผนปฏิบัติการด้านอ้อย
1. กรอบการพิจารณาที่ส่งผลต่อการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตอ้อย
1.1 อ้อยพันธุ์ดี/ดินและปุ๋ย
1.2 ระบบน้ำ
1.3 เครื่องจักรกลการเกษตรและการเขตกรรม
1.4 การเก็บเกี่ยวและขนส่ง/GIS
1.5 การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม
2. แผนปฏิบัติการพัฒนาด้านอ้อย ระยะ 3 ปี (ปี 2552-2554) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มผลผลิตอ้อย (เฉลี่ยทั่วประเทศ) เป็น 15 ตันต่อไร่ และค่าความหวาน 13 ซี.ซี.เอส. ประกอบด้วย 7 แผนงาน/มาตรการ ดังนี้
2.1 แผนงานการวิจัยและขยายอ้อยพันธุ์ดี 2.2 แผนงานการปรับปรุงบำรุงดินและการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ 2.3 แผนงานการพัฒนาแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำ 2.4 แผนงานการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรและการเขตกรรม 2.5 แผนงานการพัฒนาระบบการเก็บเกี่ยวขนส่งและระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) 2.6 มาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมเอทานอลและการสร้างมูลค่า 2.7 แผนงานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 กรกฎาคม 2551--จบ--