คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินการตามญัตติด่วน เรื่อง ให้สภาพิจารณาปัญหาปุ๋ยราคาแพง ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้แจ้งสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พิจารณาและรวบรวมผลการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551 แล้ว สรุปได้ดังนี้
1. สถานการณ์ราคาปุ๋ยเคมี ประเทศไทยมีการใช้ปุ๋ยประมาณปีละ 4 — 4.5 ล้านตัน ปุ๋ยเคมีเกือบทั้งหมดต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ราคานำเข้าจะอิงกับตลาดโลกซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปุ๋ย ราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งส่งผลต่อทั้งราคาวัตถุดิบค่าใช้จ่ายในการผลิตและการตลาด ความต้องการใช้ปุ๋ยในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นจากการขยายพื้นที่ปลูกพืชพลังงานสูงขึ้น ขณะเดียวกันการผลิตปุ๋ยของประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ลดลงเนื่องจากประสบปัญหาภัยธรรมชาติ การห้ามส่งออกและกีดกันการส่งออกโดยเพิ่มภาษีส่งออก ประกอบกับความต้องการใช้ปุ๋ยในประเทศไทยที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากราคาผลผลิตพืชเกษตรในปีที่ผ่านมาราคาสูงขึ้นจูงใจให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยเพิ่มขึ้น ราคาปุ๋ยเคมีในประเทศจึงปรับตัวสูงอย่างต่อเนื่องตามราคาในตลาดโลก
2. แนวทางการแก้ไขปุ๋ยราคาแพง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์ ได้ร่วมมือกันดำเนินมาตรการที่สำคัญเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ดังนี้
2.1 โครงการจัดหาปุ๋ยเคมีนำเข้าจากต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอนุมัติจัดสรรเงินยืมปลอดดอกเบี้ยจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร จำนวน 300 ล้านบาท กำหนดชำระคืน 1 ปี และเงินจ่ายขาดจำนวน 4.5 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบคุณภาพปุ๋ยและค่าบริหารจัดการโครงการ ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานกับประเทศผู้ค้าเพื่อนำเข้าปุ๋ยสูตร 46-0-0 มาจำหน่ายให้เกษตรกรในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาด
2.2 โครงการลดราคาปุ๋ยเคมี กระทรวงพาณิชย์ขอความร่วมมือจากภาคเอกชนจัดหาปุ๋ยเคมีจำนวน 153,500 บาท จำหน่ายให้เกษตรกรรายย่อยผ่านสถาบันเกษตรกรในราคาถูกกว่าท้องตลาดตันละ 200 — 1,000 บาท
2.3 การใช้มาตรการทางกฎหมาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการกำกับ ดูแล การขออนุญาต การขึ้นทะเบียน ตรวจสอบ ควบคุมคุณภาพปุ๋ยเคมีตามพระราชบัญญัติปุ๋ยเคมี พ.ศ. 2550 เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ปุ๋ยเคมีที่มีคุณภาพได้มาตรฐานตามที่ขึ้นทะเบียนไว้ ส่วนกระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการตรวจสอบสต๊อก และราคาปุ๋ยเคมีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 หากมีการขายเกินราคาหรือกักตุนสินค้าจะต้องถูกดำเนินคดีอย่างเข้มงวด และกำหนดมาตรการให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ว่าจ้างผลิตและผู้จำหน่ายที่มีปริมาณจำหน่ายเดือนละ 100 ตัน ขึ้นไป ต้องรายงานปริมาณและสถานที่เก็บเป็นประจำทุกเดือน
2.4 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาปุ๋ยราคาแพง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาปุ๋ยราคาแพง มีหน้าที่ติดตามสถานการณ์ปุ๋ยเคมี ราคา ปริมาณและความต้องการใช้ เพื่อนำเสนอมาตรการแก้ไข โดยเชิญผู้เกี่ยวข้องมาให้ข้อเท็จจริงและความเห็น รวมทั้งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจ มีหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบปุ๋ยและสารเคมีที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ในส่วนกระทรวงพาณิชย์แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาราคาปุ๋ยเคมี เพื่อศึกษาและติดตามภาวะราคาวัตถุดิบ ต้นทุนการผลิตและราคาจำหน่ายปุ๋ยเคมี โดยมีหน่วยงานของ ภาคราชการและเอกชน รวมทั้งตัวแทนเกษตรกรผู้ใช้ร่วมเป็นคณะอนุกรรมการ
2.5 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และรณรงค์ให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อเป็นการปรับปรุงบำรุงดินทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมีสูงขึ้น รวมทั้งได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน เพื่อประหยัดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 กรกฎาคม 2551--จบ--
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พิจารณาและรวบรวมผลการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551 แล้ว สรุปได้ดังนี้
1. สถานการณ์ราคาปุ๋ยเคมี ประเทศไทยมีการใช้ปุ๋ยประมาณปีละ 4 — 4.5 ล้านตัน ปุ๋ยเคมีเกือบทั้งหมดต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ราคานำเข้าจะอิงกับตลาดโลกซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปุ๋ย ราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งส่งผลต่อทั้งราคาวัตถุดิบค่าใช้จ่ายในการผลิตและการตลาด ความต้องการใช้ปุ๋ยในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นจากการขยายพื้นที่ปลูกพืชพลังงานสูงขึ้น ขณะเดียวกันการผลิตปุ๋ยของประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ลดลงเนื่องจากประสบปัญหาภัยธรรมชาติ การห้ามส่งออกและกีดกันการส่งออกโดยเพิ่มภาษีส่งออก ประกอบกับความต้องการใช้ปุ๋ยในประเทศไทยที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากราคาผลผลิตพืชเกษตรในปีที่ผ่านมาราคาสูงขึ้นจูงใจให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยเพิ่มขึ้น ราคาปุ๋ยเคมีในประเทศจึงปรับตัวสูงอย่างต่อเนื่องตามราคาในตลาดโลก
2. แนวทางการแก้ไขปุ๋ยราคาแพง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์ ได้ร่วมมือกันดำเนินมาตรการที่สำคัญเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ดังนี้
2.1 โครงการจัดหาปุ๋ยเคมีนำเข้าจากต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอนุมัติจัดสรรเงินยืมปลอดดอกเบี้ยจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร จำนวน 300 ล้านบาท กำหนดชำระคืน 1 ปี และเงินจ่ายขาดจำนวน 4.5 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบคุณภาพปุ๋ยและค่าบริหารจัดการโครงการ ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานกับประเทศผู้ค้าเพื่อนำเข้าปุ๋ยสูตร 46-0-0 มาจำหน่ายให้เกษตรกรในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาด
2.2 โครงการลดราคาปุ๋ยเคมี กระทรวงพาณิชย์ขอความร่วมมือจากภาคเอกชนจัดหาปุ๋ยเคมีจำนวน 153,500 บาท จำหน่ายให้เกษตรกรรายย่อยผ่านสถาบันเกษตรกรในราคาถูกกว่าท้องตลาดตันละ 200 — 1,000 บาท
2.3 การใช้มาตรการทางกฎหมาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการกำกับ ดูแล การขออนุญาต การขึ้นทะเบียน ตรวจสอบ ควบคุมคุณภาพปุ๋ยเคมีตามพระราชบัญญัติปุ๋ยเคมี พ.ศ. 2550 เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ปุ๋ยเคมีที่มีคุณภาพได้มาตรฐานตามที่ขึ้นทะเบียนไว้ ส่วนกระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการตรวจสอบสต๊อก และราคาปุ๋ยเคมีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 หากมีการขายเกินราคาหรือกักตุนสินค้าจะต้องถูกดำเนินคดีอย่างเข้มงวด และกำหนดมาตรการให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ว่าจ้างผลิตและผู้จำหน่ายที่มีปริมาณจำหน่ายเดือนละ 100 ตัน ขึ้นไป ต้องรายงานปริมาณและสถานที่เก็บเป็นประจำทุกเดือน
2.4 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาปุ๋ยราคาแพง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาปุ๋ยราคาแพง มีหน้าที่ติดตามสถานการณ์ปุ๋ยเคมี ราคา ปริมาณและความต้องการใช้ เพื่อนำเสนอมาตรการแก้ไข โดยเชิญผู้เกี่ยวข้องมาให้ข้อเท็จจริงและความเห็น รวมทั้งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจ มีหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบปุ๋ยและสารเคมีที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ในส่วนกระทรวงพาณิชย์แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาราคาปุ๋ยเคมี เพื่อศึกษาและติดตามภาวะราคาวัตถุดิบ ต้นทุนการผลิตและราคาจำหน่ายปุ๋ยเคมี โดยมีหน่วยงานของ ภาคราชการและเอกชน รวมทั้งตัวแทนเกษตรกรผู้ใช้ร่วมเป็นคณะอนุกรรมการ
2.5 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และรณรงค์ให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อเป็นการปรับปรุงบำรุงดินทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมีสูงขึ้น รวมทั้งได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน เพื่อประหยัดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 กรกฎาคม 2551--จบ--