เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานตามโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ 50
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ 50 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้
1. เรื่องเดิม
1.1 โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาส ทรงครองราชย์ ปีที่ 50 เกิดขึ้นด้วยพระราชกระแสรับสั่งของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2535 ซึ่งทรงห่วงใยปัญหาการขาดแคลนน้ำและป่าไม้ถูกทำลาย จึงทรงรับสั่งให้หามาตรการหยุดยั้งการทำลายป่าและเร่งฟื้นฟูบำรุงต้นน้ำลำธาร ดังนั้น ในปี พ.ศ.2537 รัฐบาลจึงได้อัญเชิญพระราชกระแสของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มาเป็นแนวทางในการจัดทำโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ 50 โดยมีเป้าหมายปลูกป่าในพื้นที่อนุรักษ์ที่มีสภาพเสื่อมโทรม จำนวน 5 ล้านไร่ โดยการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน โดยจะดำเนินการเองหรือร่วมบริจาคเงินสมทบเข้ากองทุนปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2537 อนุมัติให้ดำเนินงานตามโครงการฯ ในระยะแรก ใช้เวลาดำเนินงาน 3 ปี เริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2537-2539
1.2 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2540 เห็นชอบและอนุมัติให้ขยายระยะเวลาดำเนินงานของโครงการฯ ต่อไปอีก 6 ปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 - 2545 อันสืบเนื่องมาจากการดำเนินงานของโครงการฯ ยังไม่บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ และยังมีภาคเอกชนจำนวนมากที่ขอเข้าร่วมโครงการฯ แล้วยังไม่ได้เข้าดำเนินการและ บางรายก็อยู่ในระหว่างดำเนินการ ยังไม่แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์ ซึ่งจากการขยายระยะเวลาการปลูกป่าออกมาอีก 6 ปี จนถึงปี พ.ศ.2545 ทำให้สามารถดำเนินการปลูกป่านอกเขตป่าอนุรักษ์ได้ครบตามเป้าหมาย จำนวน 50,000 กม. เนื้อที่ 700,000 ไร่ แต่การปลูกป่าในเขตป่าอนุรักษ์ยังไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย 5 ล้านไร่ ตามที่กำหนดไว้ โดยสามารถดำเนินการได้เพียง 3.4 ล้านไร่ เหลือเป้าหมาย ที่จะต้องเข้าดำเนินการอีกประมาณ 1.6 ล้านไร่
1.3 คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2545 ให้ขยายระยะเวลาการดำเนินงานตามโครงการฯ ระยะที่ 3 ออกไปอีก 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 - พ.ศ.2550 รวมทั้งให้ผลการดำเนินงานจากการเข้าร่วมโครงการของภาคเอกชน มีผลต่อการขอลดหย่อนภาษีได้ด้วย
2. ข้อเท็จจริง
2.1 ขณะนี้โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ 50 (ระยะที่ 1-3) ระยะเวลาโครงการตั้งแต่ พ.ศ.2537-2550 รวมระยะเวลา 14 ปี ได้สิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการโครงการแล้ว ผู้ร่วมโครงการจากทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ได้ร่วมกันปลูกเสริมสภาพป่าตามธรรมชาติ รวมทั้งฟื้นตัวขึ้นเองตามสภาพป่าตามธรรมชาติในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่มีสภาพเสื่อมโทรม ได้ครบถ้วนตามเป้าหมาย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ ซึ่งมีผลงานการปลูกป่า รวมจำนวนพื้นที่ 5,116,276,.46 ไร่ ประกอบด้วย
2.1.1 การปลูกป่าในเขตพื้นที่อนุรักษ์ รวมจำนวน 2,681,307.65 ไร่ ดังนี้
(1) ผู้ร่วมโครงการฯ ดำเนินการปลูกและบำรุงป่า โดยออกค่าใช้จ่ายเองรวม 3 ปี และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช รับมอบมาดูแลต่อไปโดยบำรุงป่าจนครบ 10 ปี รวมจำนวน 2,070,41.65 ไร่
(2) ปลูกป่าโดยกองทุน จำนวน 159,913 ไร่
(3) ปลูกป่าโดยเงินบูรณะทรัพย์สิน (เงินชดเชย) จำนวน 1,741 ไร่
(4) โดยเงินงบประมาณของ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
ดำเนินกิจกรรมปลูกเสริมป่าและฟื้นฟูสภาพตามธรรมชาติ จำนวน 439,050 ไร่ และการปลูกฟื้นฟูสภาพป่า จำนวน10,184 ไร่
2.1.2 พื้นที่เป้าหมายแปลงปลูกป่าฟื้นฟูสภาพป่าได้เองตามธรรมชาติ เกิดจากการเฝ้าระวังมิให้ราษฎรเข้าบุกรุกพื้นที่ เฝ้าระวังไฟป่าและการทำแนวกันไฟอย่างต่อเนื่อง ทำให้พื้นที่ป่าฟื้นคืนสภาพเอง มีลูกไม้และแม่ไม้ค่อนข้างหนาแน่น รวมจำนวน 2,434,968.81 ไร่
2.1.3 การปลูกป่านอกเขตอนุรักษ์ ประกอบด้วย
(1) การปลูกสองข้างทาง และสองฝั่งแม่น้ำ รวม 94,435,.69 กิโลเมตร
(2) การปลูกในวัด เขตชุมชน และอื่น ๆ 1,414,130.17 ไร่
(3) ปลูกโดยเงินกองทุน 1,044 ไร่ และ 3,860 ต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 กรกฎาคม 2551--จบ--
เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ 50
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ 50 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้
1. เรื่องเดิม
1.1 โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาส ทรงครองราชย์ ปีที่ 50 เกิดขึ้นด้วยพระราชกระแสรับสั่งของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2535 ซึ่งทรงห่วงใยปัญหาการขาดแคลนน้ำและป่าไม้ถูกทำลาย จึงทรงรับสั่งให้หามาตรการหยุดยั้งการทำลายป่าและเร่งฟื้นฟูบำรุงต้นน้ำลำธาร ดังนั้น ในปี พ.ศ.2537 รัฐบาลจึงได้อัญเชิญพระราชกระแสของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มาเป็นแนวทางในการจัดทำโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ 50 โดยมีเป้าหมายปลูกป่าในพื้นที่อนุรักษ์ที่มีสภาพเสื่อมโทรม จำนวน 5 ล้านไร่ โดยการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน โดยจะดำเนินการเองหรือร่วมบริจาคเงินสมทบเข้ากองทุนปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2537 อนุมัติให้ดำเนินงานตามโครงการฯ ในระยะแรก ใช้เวลาดำเนินงาน 3 ปี เริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2537-2539
1.2 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2540 เห็นชอบและอนุมัติให้ขยายระยะเวลาดำเนินงานของโครงการฯ ต่อไปอีก 6 ปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 - 2545 อันสืบเนื่องมาจากการดำเนินงานของโครงการฯ ยังไม่บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ และยังมีภาคเอกชนจำนวนมากที่ขอเข้าร่วมโครงการฯ แล้วยังไม่ได้เข้าดำเนินการและ บางรายก็อยู่ในระหว่างดำเนินการ ยังไม่แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์ ซึ่งจากการขยายระยะเวลาการปลูกป่าออกมาอีก 6 ปี จนถึงปี พ.ศ.2545 ทำให้สามารถดำเนินการปลูกป่านอกเขตป่าอนุรักษ์ได้ครบตามเป้าหมาย จำนวน 50,000 กม. เนื้อที่ 700,000 ไร่ แต่การปลูกป่าในเขตป่าอนุรักษ์ยังไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย 5 ล้านไร่ ตามที่กำหนดไว้ โดยสามารถดำเนินการได้เพียง 3.4 ล้านไร่ เหลือเป้าหมาย ที่จะต้องเข้าดำเนินการอีกประมาณ 1.6 ล้านไร่
1.3 คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2545 ให้ขยายระยะเวลาการดำเนินงานตามโครงการฯ ระยะที่ 3 ออกไปอีก 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 - พ.ศ.2550 รวมทั้งให้ผลการดำเนินงานจากการเข้าร่วมโครงการของภาคเอกชน มีผลต่อการขอลดหย่อนภาษีได้ด้วย
2. ข้อเท็จจริง
2.1 ขณะนี้โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ 50 (ระยะที่ 1-3) ระยะเวลาโครงการตั้งแต่ พ.ศ.2537-2550 รวมระยะเวลา 14 ปี ได้สิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการโครงการแล้ว ผู้ร่วมโครงการจากทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ได้ร่วมกันปลูกเสริมสภาพป่าตามธรรมชาติ รวมทั้งฟื้นตัวขึ้นเองตามสภาพป่าตามธรรมชาติในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่มีสภาพเสื่อมโทรม ได้ครบถ้วนตามเป้าหมาย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ ซึ่งมีผลงานการปลูกป่า รวมจำนวนพื้นที่ 5,116,276,.46 ไร่ ประกอบด้วย
2.1.1 การปลูกป่าในเขตพื้นที่อนุรักษ์ รวมจำนวน 2,681,307.65 ไร่ ดังนี้
(1) ผู้ร่วมโครงการฯ ดำเนินการปลูกและบำรุงป่า โดยออกค่าใช้จ่ายเองรวม 3 ปี และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช รับมอบมาดูแลต่อไปโดยบำรุงป่าจนครบ 10 ปี รวมจำนวน 2,070,41.65 ไร่
(2) ปลูกป่าโดยกองทุน จำนวน 159,913 ไร่
(3) ปลูกป่าโดยเงินบูรณะทรัพย์สิน (เงินชดเชย) จำนวน 1,741 ไร่
(4) โดยเงินงบประมาณของ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
ดำเนินกิจกรรมปลูกเสริมป่าและฟื้นฟูสภาพตามธรรมชาติ จำนวน 439,050 ไร่ และการปลูกฟื้นฟูสภาพป่า จำนวน10,184 ไร่
2.1.2 พื้นที่เป้าหมายแปลงปลูกป่าฟื้นฟูสภาพป่าได้เองตามธรรมชาติ เกิดจากการเฝ้าระวังมิให้ราษฎรเข้าบุกรุกพื้นที่ เฝ้าระวังไฟป่าและการทำแนวกันไฟอย่างต่อเนื่อง ทำให้พื้นที่ป่าฟื้นคืนสภาพเอง มีลูกไม้และแม่ไม้ค่อนข้างหนาแน่น รวมจำนวน 2,434,968.81 ไร่
2.1.3 การปลูกป่านอกเขตอนุรักษ์ ประกอบด้วย
(1) การปลูกสองข้างทาง และสองฝั่งแม่น้ำ รวม 94,435,.69 กิโลเมตร
(2) การปลูกในวัด เขตชุมชน และอื่น ๆ 1,414,130.17 ไร่
(3) ปลูกโดยเงินกองทุน 1,044 ไร่ และ 3,860 ต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 กรกฎาคม 2551--จบ--