คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการการชดเชยให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศล ตามมติคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศล ครั้งที่ 1/2551 (4) วันที่ 27 พฤษภาคม 2551 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) ประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศลเสนอ จำนวน 2,379 แปลง ในอัตราไร่ละ 32,000 บาท โดยงบประมาณค่าใช้จ่ายสำหรับเป็นค่าชดเชยให้แก่ราษฎร วงเงินรวม 224,497,912 บาท โดยในโอกาสแรกให้ใช้จ่ายจากเงินเหลือจ่ายของปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ของกรมชลประทานก่อน และหากไม่เพียงพอให้จัดทำรายละเอียด และขอตกลงกับสำนักงบประมาณ เพื่อใช้จ่ายจากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ส่วนการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการจ่ายเงินเพื่อตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงินให้มีคลังจังหวัดในพื้นที่ร่วมด้วย ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง และการเร่งรัดการดำเนินการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ส่วนที่เหลือตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้พิจารณาดำเนินการด้วย
รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) ประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศลรายงานว่า
1. สำนักนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศล โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) เป็นประธานกรรมการ ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้ประชุมเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2546 เพื่อกำหนดกรอบวิธีการและแนวทางในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนมีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศลรวม 3 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์และจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อมอบหมายให้ดำเนินการตรวจสอบการครอบครองและทำประโยชน์ของราษฎรที่ได้รับผลกระทบ และต่อมาได้แต่งตั้งรองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) รองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) และรองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) เป็นประธานกรรมการ ตามลำดับ ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาของโครงการดังกล่าวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เรียบร้อยและเหมาะสม
2. คณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศลที่มีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ฯ) เป็นประธาน ได้ประชุมเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2550 มีมติเห็นชอบผลการตรวจสอบผู้มีสิทธิรับเงินค่าชดเชยตามที่คณะอนุกรรมการฯ ทั้ง 3 จังหวัดเสนอ และให้เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติจ่ายค่าชดเชยให้แก่ราษฎรจำนวน 2,330 แปลง(1,693 ราย) เนื้อที่รวม 7,066-2-96.41 ไร่ ในอัตราไร่ละ 32,000 บาท พร้อมแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการจ่ายเงินโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการจ่ายเงินค่าชดเชยให้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิและจำนวนเงินค่าชดเชย ส่วนการจ่ายเงินให้ดำเนินการจ่ายโดยวิธีโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร (จ่ายตรง) และให้ถือความเห็นของคณะกรรมการชุดนี้เป็นหลักฐานในการจ่ายเงิน ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2550 อนุมัติให้จ่ายเงินค่าชดเชยแก่ราษฎรตามที่คณะกรรมการแก้ไขฯ เสนอ
3. ต่อมา คณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศลที่มีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ฯ) เป็นประธาน ได้ประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาฯ ครั้งที่ 1/2551 (4) เมื่อวันอังคารที่ 27 พฤษภาคม 2551 มีมติเห็นชอบผลการตรวจสอบผู้มีสิทธิรับเงินค่าชดเชยตามที่คณะอนุกรรมการฯ ทั้ง 3 จังหวัดเสนอ ดังนี้
3.1 ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศล จำนวน 2,379 แปลง ที่ได้ผ่านการตรวจสอบจากคณะทำงานระดับอำเภอ ตามขั้นตอนที่คณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศล ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 82/2546 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2546 ได้ประชุมกำหนดวิธีการหลักเกณฑ์การตรวจสอบไว้เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2546 รวม 9 ขั้นตอน โดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศ ปี พ.ศ. 2531 ประกอบ ซึ่งเป็นกรณีมีร่องรอยการทำประโยชน์และไม่มีผู้ใดคัดค้าน และผ่านความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศลระดับจังหวัด รวมทั้งผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศลแล้ว เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้มีการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ราษฎรจำนวน 2,379 แปลง เนื้อที่ 7,015-2-23.90 ไร่ ในอัตราไร่ละ 32,000 บาท (กรณีที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ) เนื่องจากเป็นอัตราที่เคยจ่ายตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2540 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2542 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 224,497,912 บาท ตามบัญชีรายละเอียดผลการตรวจสอบร่องรอยการทำประโยชน์ที่ดินที่ได้รับผลกระทบฯ ทั้ง 3 จังหวัด และขออนุมัติใช้เงินงบกลางให้กรมชลประทานนำมาใช้จ่ายเพื่อการนี้
3.2 เพื่อให้การจ่ายเงินค่าชดเชยเป็นไปอย่างถูกต้อง โปร่งใส และมิให้มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบจากราษฎร เห็นควรให้คณะกรรมการกำกับดูแลการจ่ายเงิน ทำหน้าที่กำกับดูแลการจ่ายเงินและจำนวนเงินค่าชดเชยให้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิและจำนวนเงินค่าชดเชยเพื่อให้เป็นไปตามบัญชีรายละเอียดผลการตรวจสอบฯ ซึ่งคณะกรรมการกำกับดูแลการจ่ายเงิน ประกอบด้วย 1) ผู้ว่าราชการจังหวัด ประธานกรรมการ 2) เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด กรรมการ 3) อัยการจังหวัด กรรมการ 4) นายอำเภอท้องที่ กรรมการ 5) ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด กรรมการ 6) ผู้อำนวยการกองกฎหมายและที่ดิน กรมชลประทาน กรรมการ 7) ผู้อำนวยการโครงการชลประทาน กรรมการและเลขานุการ ในการจ่ายเงินเห็นสมควรจ่ายโดยวิธีโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร (จ่ายตรง) ตามบัญชีรายชื่อบุคคล ผู้มีสิทธิโดยถือความเห็นของคณะกรรมการชุดนี้เป็นหลักฐานในการจ่ายเงิน ซึ่งเป็นไปเช่นเดียวกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2550
4. ส่วนที่เหลืออีกจำนวน 6,590 แปลง (จากทั้งหมด 11,299 แปลง) ยังไม่สามารถนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้ได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างการตรวจสอบพิสูจน์สิทธิและพิจารณาของคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศลในระดับจังหวัด (ศรีสะเกษ สุรินทร์ และร้อยเอ็ด) ต่อเมื่อดำเนินการครบถ้วนทุกขั้นตอนแล้วจึงจะนำเสนอให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศลพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อจะได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 กรกฎาคม 2551--จบ--
รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) ประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศลรายงานว่า
1. สำนักนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศล โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) เป็นประธานกรรมการ ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้ประชุมเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2546 เพื่อกำหนดกรอบวิธีการและแนวทางในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนมีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศลรวม 3 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์และจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อมอบหมายให้ดำเนินการตรวจสอบการครอบครองและทำประโยชน์ของราษฎรที่ได้รับผลกระทบ และต่อมาได้แต่งตั้งรองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) รองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) และรองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) เป็นประธานกรรมการ ตามลำดับ ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาของโครงการดังกล่าวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เรียบร้อยและเหมาะสม
2. คณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศลที่มีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ฯ) เป็นประธาน ได้ประชุมเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2550 มีมติเห็นชอบผลการตรวจสอบผู้มีสิทธิรับเงินค่าชดเชยตามที่คณะอนุกรรมการฯ ทั้ง 3 จังหวัดเสนอ และให้เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติจ่ายค่าชดเชยให้แก่ราษฎรจำนวน 2,330 แปลง(1,693 ราย) เนื้อที่รวม 7,066-2-96.41 ไร่ ในอัตราไร่ละ 32,000 บาท พร้อมแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการจ่ายเงินโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการจ่ายเงินค่าชดเชยให้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิและจำนวนเงินค่าชดเชย ส่วนการจ่ายเงินให้ดำเนินการจ่ายโดยวิธีโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร (จ่ายตรง) และให้ถือความเห็นของคณะกรรมการชุดนี้เป็นหลักฐานในการจ่ายเงิน ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2550 อนุมัติให้จ่ายเงินค่าชดเชยแก่ราษฎรตามที่คณะกรรมการแก้ไขฯ เสนอ
3. ต่อมา คณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศลที่มีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ฯ) เป็นประธาน ได้ประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาฯ ครั้งที่ 1/2551 (4) เมื่อวันอังคารที่ 27 พฤษภาคม 2551 มีมติเห็นชอบผลการตรวจสอบผู้มีสิทธิรับเงินค่าชดเชยตามที่คณะอนุกรรมการฯ ทั้ง 3 จังหวัดเสนอ ดังนี้
3.1 ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศล จำนวน 2,379 แปลง ที่ได้ผ่านการตรวจสอบจากคณะทำงานระดับอำเภอ ตามขั้นตอนที่คณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศล ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 82/2546 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2546 ได้ประชุมกำหนดวิธีการหลักเกณฑ์การตรวจสอบไว้เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2546 รวม 9 ขั้นตอน โดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศ ปี พ.ศ. 2531 ประกอบ ซึ่งเป็นกรณีมีร่องรอยการทำประโยชน์และไม่มีผู้ใดคัดค้าน และผ่านความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศลระดับจังหวัด รวมทั้งผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศลแล้ว เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้มีการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ราษฎรจำนวน 2,379 แปลง เนื้อที่ 7,015-2-23.90 ไร่ ในอัตราไร่ละ 32,000 บาท (กรณีที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ) เนื่องจากเป็นอัตราที่เคยจ่ายตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2540 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2542 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 224,497,912 บาท ตามบัญชีรายละเอียดผลการตรวจสอบร่องรอยการทำประโยชน์ที่ดินที่ได้รับผลกระทบฯ ทั้ง 3 จังหวัด และขออนุมัติใช้เงินงบกลางให้กรมชลประทานนำมาใช้จ่ายเพื่อการนี้
3.2 เพื่อให้การจ่ายเงินค่าชดเชยเป็นไปอย่างถูกต้อง โปร่งใส และมิให้มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบจากราษฎร เห็นควรให้คณะกรรมการกำกับดูแลการจ่ายเงิน ทำหน้าที่กำกับดูแลการจ่ายเงินและจำนวนเงินค่าชดเชยให้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิและจำนวนเงินค่าชดเชยเพื่อให้เป็นไปตามบัญชีรายละเอียดผลการตรวจสอบฯ ซึ่งคณะกรรมการกำกับดูแลการจ่ายเงิน ประกอบด้วย 1) ผู้ว่าราชการจังหวัด ประธานกรรมการ 2) เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด กรรมการ 3) อัยการจังหวัด กรรมการ 4) นายอำเภอท้องที่ กรรมการ 5) ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด กรรมการ 6) ผู้อำนวยการกองกฎหมายและที่ดิน กรมชลประทาน กรรมการ 7) ผู้อำนวยการโครงการชลประทาน กรรมการและเลขานุการ ในการจ่ายเงินเห็นสมควรจ่ายโดยวิธีโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร (จ่ายตรง) ตามบัญชีรายชื่อบุคคล ผู้มีสิทธิโดยถือความเห็นของคณะกรรมการชุดนี้เป็นหลักฐานในการจ่ายเงิน ซึ่งเป็นไปเช่นเดียวกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2550
4. ส่วนที่เหลืออีกจำนวน 6,590 แปลง (จากทั้งหมด 11,299 แปลง) ยังไม่สามารถนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้ได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างการตรวจสอบพิสูจน์สิทธิและพิจารณาของคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศลในระดับจังหวัด (ศรีสะเกษ สุรินทร์ และร้อยเอ็ด) ต่อเมื่อดำเนินการครบถ้วนทุกขั้นตอนแล้วจึงจะนำเสนอให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศลพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อจะได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 กรกฎาคม 2551--จบ--