คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการโครงการปักหมุดหมายแนวรังวัดในเขตพื้นที่ป่าไม้ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการเฉพาะพื้นที่ที่มีความสำคัญภายใต้งบประมาณที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ก่อน และให้รับความเห็นเพิ่มเติมของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ให้จัดตั้งคณะกรรมการ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน เพื่อดำเนินการโครงการฯกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) รายงานว่า
1. นโยบายของอดีตรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2548 มอบหมายให้ ทส. รับผิดชอบการจัดการให้ประเทศไทยมีแผนที่ประเทศมาตราส่วน 1 : 4,000 เพื่อแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งเรื่องแนวเขตที่ดินของรัฐกับที่ดินเอกชนและระหว่างหน่วยงานของรัฐ โดย ทส. ได้กำหนดแนวทางการปรับปรุงแนวเขตพื้นที่ป่าไม้ 68 จังหวัด โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่
1.1 ขั้นตอนที่หนึ่ง ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะร่วมกันตรวจสอบข้อมูลและปรับปรุงแนวเขตที่ดินของรัฐในความรับผิดชอบให้ไม่ทับซ้อนกัน ซึ่งการปรับปรุงแนวเขตป่าไม้สามารถดำเนินงานปรับปรุงเขตพื้นที่ป่าไม้แล้วเสร็จ 83,368 ระวาง จากระวางที่ต้องปรับปรุง 85,010 ระวาง คิดเป็นร้อยละ 98.07 ของเป้าหมาย โดยจะแล้วเสร็จในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 จำนวน 65 จังหวัด (ยกเว้นจังหวัดยะลา นราธิวาส ปัตตานี ไม่มีแผนที่มาตราส่วน 1 : 4,000 จึงไม่สามารถปรับปรุงแนวเขตพื้นที่ป่าไม้ได้)
1.2 ขั้นตอนที่สอง ดำเนินการปักหมุดหมายแนวรังวัดหาค่าพิกัดประจำหมุดทุกระยะ 200 เมตร และทุกจุดที่แนวเขตเปลี่ยนทิศทาง
1.3 ขั้นตอนที่สาม เป็นขั้นตอนการแก้ไขกฎหมายและแผนที่
1.4 ขั้นตอนที่สี่ เป็นการรังวัดปักหลักเขตเพื่อแสดงขอบเขตที่ดินของรัฐ โดย ทส. ได้รับงบประมาณปี พ.ศ. 2549-2551 ให้ดำเนินการขั้นตอนที่หนึ่ง ภายใต้โครงการสำรวจจัดทำแนวเขตและฐานข้อมูลทรัพยากรที่ดินของรัฐ โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงแนวเขตที่ดินของรัฐในความรับผิดชอบของหน่วยงานของรัฐที่มีแนวเขตรับผิดชอบทับซ้อนกัน ให้มีแนวเขตที่ชัดเจนตามภารกิจของแต่ละหน่วยงาน ดังนั้น เพื่อให้ประเทศไทยมีแผนที่ประเทศมาตราส่วน 1 : 4,000 ที่แสดงเขตที่ดินทุกประเภท เหลือเพียงแนวเดียว สามารถบังคับใช้ได้ทางกฎหมาย จึงมีความจำเป็นที่ ทส.จะต้องดำเนินการโครงการปักหมุดหมายแนวรังวัดในเขต พื้นที่ป่าไม้ตามขั้นตอนที่สอง เพื่อปักหมุดหมายแนวเขตพื้นที่ป่าไม้ให้มีความชัดเจน พร้อมรังวัดหาค่าพิกัดประจำหมุดก่อนนำผลไปสู่ขั้นตอนการแก้ไขกฎหมายและขั้นตอนการรังวัดปักหลักเขตเพื่อแสดงขอบเขตที่ดินของรัฐอันจะแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินยุติการบุกรุกที่ดินใช้เป็นข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการและแก้ปัญหาทรัพยากรที่ดินป่าไม้ได้อย่างยั่งยืนต่อไป
2. สาระสำคัญของโครงการฯ
2.1 วัตถุประสงค์
2.1.1 เพื่อปักหมุดหมายแนวรังวัดหาค่าพิกัดประจำหมุดแนวเขตพื้นที่ป่าไม้จำนวนไม่น้อยกว่า 375,000 จุด
2.2.2 เพื่อจัดทำแผนที่ต้นฉบับมาตราส่วน 1 : 4,000 และมาตราส่วน 1 : 50,000 แสดง แนวเขตพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมาย พร้อมบัญชีค่าพิกัดแนวเขต
2.2 พื้นที่เป้าหมาย พื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมายใน 65 จังหวัด ยกเว้น จังหวัดยะลา นราธิวาส ปัตตานี ที่ไม่ดำเนินการเนื่องจากไม่มีแผนที่มาตราส่วน 1 : 4,000 สำหรับใช้ในการปรับปรุงแนวเขตพื้นที่ป่าไม้
2.3 ระยะเวลาดำเนินงาน กำหนดระยะเวลาการดำเนินงานตามโครงการ 1 ปี โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมป่าไม้ ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาแล้วเห็นว่า โครงการปักหมุดหมายแนวรังวัดในเขตพื้นที่ป่าไม้มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2551-2554) โดยเฉพาะในประเด็นยุทธศาสตร์การสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการพัฒนาที่ยั่งยืน และเป็นไปตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 กรกฎาคม 2551--จบ--
1. นโยบายของอดีตรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2548 มอบหมายให้ ทส. รับผิดชอบการจัดการให้ประเทศไทยมีแผนที่ประเทศมาตราส่วน 1 : 4,000 เพื่อแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งเรื่องแนวเขตที่ดินของรัฐกับที่ดินเอกชนและระหว่างหน่วยงานของรัฐ โดย ทส. ได้กำหนดแนวทางการปรับปรุงแนวเขตพื้นที่ป่าไม้ 68 จังหวัด โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่
1.1 ขั้นตอนที่หนึ่ง ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะร่วมกันตรวจสอบข้อมูลและปรับปรุงแนวเขตที่ดินของรัฐในความรับผิดชอบให้ไม่ทับซ้อนกัน ซึ่งการปรับปรุงแนวเขตป่าไม้สามารถดำเนินงานปรับปรุงเขตพื้นที่ป่าไม้แล้วเสร็จ 83,368 ระวาง จากระวางที่ต้องปรับปรุง 85,010 ระวาง คิดเป็นร้อยละ 98.07 ของเป้าหมาย โดยจะแล้วเสร็จในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 จำนวน 65 จังหวัด (ยกเว้นจังหวัดยะลา นราธิวาส ปัตตานี ไม่มีแผนที่มาตราส่วน 1 : 4,000 จึงไม่สามารถปรับปรุงแนวเขตพื้นที่ป่าไม้ได้)
1.2 ขั้นตอนที่สอง ดำเนินการปักหมุดหมายแนวรังวัดหาค่าพิกัดประจำหมุดทุกระยะ 200 เมตร และทุกจุดที่แนวเขตเปลี่ยนทิศทาง
1.3 ขั้นตอนที่สาม เป็นขั้นตอนการแก้ไขกฎหมายและแผนที่
1.4 ขั้นตอนที่สี่ เป็นการรังวัดปักหลักเขตเพื่อแสดงขอบเขตที่ดินของรัฐ โดย ทส. ได้รับงบประมาณปี พ.ศ. 2549-2551 ให้ดำเนินการขั้นตอนที่หนึ่ง ภายใต้โครงการสำรวจจัดทำแนวเขตและฐานข้อมูลทรัพยากรที่ดินของรัฐ โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงแนวเขตที่ดินของรัฐในความรับผิดชอบของหน่วยงานของรัฐที่มีแนวเขตรับผิดชอบทับซ้อนกัน ให้มีแนวเขตที่ชัดเจนตามภารกิจของแต่ละหน่วยงาน ดังนั้น เพื่อให้ประเทศไทยมีแผนที่ประเทศมาตราส่วน 1 : 4,000 ที่แสดงเขตที่ดินทุกประเภท เหลือเพียงแนวเดียว สามารถบังคับใช้ได้ทางกฎหมาย จึงมีความจำเป็นที่ ทส.จะต้องดำเนินการโครงการปักหมุดหมายแนวรังวัดในเขต พื้นที่ป่าไม้ตามขั้นตอนที่สอง เพื่อปักหมุดหมายแนวเขตพื้นที่ป่าไม้ให้มีความชัดเจน พร้อมรังวัดหาค่าพิกัดประจำหมุดก่อนนำผลไปสู่ขั้นตอนการแก้ไขกฎหมายและขั้นตอนการรังวัดปักหลักเขตเพื่อแสดงขอบเขตที่ดินของรัฐอันจะแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินยุติการบุกรุกที่ดินใช้เป็นข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการและแก้ปัญหาทรัพยากรที่ดินป่าไม้ได้อย่างยั่งยืนต่อไป
2. สาระสำคัญของโครงการฯ
2.1 วัตถุประสงค์
2.1.1 เพื่อปักหมุดหมายแนวรังวัดหาค่าพิกัดประจำหมุดแนวเขตพื้นที่ป่าไม้จำนวนไม่น้อยกว่า 375,000 จุด
2.2.2 เพื่อจัดทำแผนที่ต้นฉบับมาตราส่วน 1 : 4,000 และมาตราส่วน 1 : 50,000 แสดง แนวเขตพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมาย พร้อมบัญชีค่าพิกัดแนวเขต
2.2 พื้นที่เป้าหมาย พื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมายใน 65 จังหวัด ยกเว้น จังหวัดยะลา นราธิวาส ปัตตานี ที่ไม่ดำเนินการเนื่องจากไม่มีแผนที่มาตราส่วน 1 : 4,000 สำหรับใช้ในการปรับปรุงแนวเขตพื้นที่ป่าไม้
2.3 ระยะเวลาดำเนินงาน กำหนดระยะเวลาการดำเนินงานตามโครงการ 1 ปี โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมป่าไม้ ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาแล้วเห็นว่า โครงการปักหมุดหมายแนวรังวัดในเขตพื้นที่ป่าไม้มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2551-2554) โดยเฉพาะในประเด็นยุทธศาสตร์การสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการพัฒนาที่ยั่งยืน และเป็นไปตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 กรกฎาคม 2551--จบ--