คณะรัฐมนตรีเห็นชอบกำหนดให้ “วันเข้าพรรษา” เป็น “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” ตามข้อเสนอของเครือข่ายภาคประชาชน ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายชูศักดิ์ ศิรินิล) เสนอ
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 เครือข่ายภาคประชาชน นำโดย นายสงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าได้ยื่นหนังสือเพื่อขอความอนุเคราะห์เสนอคณะรัฐมนตรี ในการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันอังคารที่ 8 กรกฎาคม 2551 พิจารณากำหนดให้ “วันเข้าพรรษา” เป็น “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” ด้วยเหตุผล ดังนี้
1. สังคมไทยมีวัฒนธรรมอันดีงามจนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่เมื่อถึงช่วงเวลาเข้าพรรษาตลอด 3 เดือน จะตั้งสัจจะอธิษฐาน ลดละเลิกเหล้า เป็นการรักษาศีล 5 และจากการที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) และองค์กรภาคีได้รณรงค์โครงการงดเหล้าเข้าพรรษามาตั้งแต่ปี 2546 พบว่ามีผู้เข้าร่วมโครงการเพิ่มมากขึ้นถึงจากปกติที่เคยมีผู้งดเหล้าเข้าพรรษาร้อยละ 15 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 40-50 โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งหากรัฐบาลรับรองให้มี “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” ยิ่งเป็นการสนับสนุนธรรมเนียมปฏิบัติที่ดีงามนี้ให้ดียิ่งขึ้น
2. จากการสำรวจความคิดเห็นโดยสำนักวิจัยเอแบลโพลล์ ปี 2549 พบว่าประชาชนร้อยละ 88.6 เห็นด้วยกับการกำหนดให้มี “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” 1 วันต่อปี และเห็นว่า “วันเข้าพรรษา” ควรเป็น “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” ร้อยละ 61.6
3. การประกาศเป็นนโยบาย (มติคณะรัฐมนตรี) จะทำให้ความร่วมมือในการรณรงค์มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกระทรวงทางสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 กรกฎาคม 2551--จบ--
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 เครือข่ายภาคประชาชน นำโดย นายสงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าได้ยื่นหนังสือเพื่อขอความอนุเคราะห์เสนอคณะรัฐมนตรี ในการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันอังคารที่ 8 กรกฎาคม 2551 พิจารณากำหนดให้ “วันเข้าพรรษา” เป็น “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” ด้วยเหตุผล ดังนี้
1. สังคมไทยมีวัฒนธรรมอันดีงามจนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่เมื่อถึงช่วงเวลาเข้าพรรษาตลอด 3 เดือน จะตั้งสัจจะอธิษฐาน ลดละเลิกเหล้า เป็นการรักษาศีล 5 และจากการที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) และองค์กรภาคีได้รณรงค์โครงการงดเหล้าเข้าพรรษามาตั้งแต่ปี 2546 พบว่ามีผู้เข้าร่วมโครงการเพิ่มมากขึ้นถึงจากปกติที่เคยมีผู้งดเหล้าเข้าพรรษาร้อยละ 15 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 40-50 โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งหากรัฐบาลรับรองให้มี “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” ยิ่งเป็นการสนับสนุนธรรมเนียมปฏิบัติที่ดีงามนี้ให้ดียิ่งขึ้น
2. จากการสำรวจความคิดเห็นโดยสำนักวิจัยเอแบลโพลล์ ปี 2549 พบว่าประชาชนร้อยละ 88.6 เห็นด้วยกับการกำหนดให้มี “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” 1 วันต่อปี และเห็นว่า “วันเข้าพรรษา” ควรเป็น “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” ร้อยละ 61.6
3. การประกาศเป็นนโยบาย (มติคณะรัฐมนตรี) จะทำให้ความร่วมมือในการรณรงค์มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกระทรวงทางสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 กรกฎาคม 2551--จบ--