เรื่อง บันทึกความเข้าใจด้านความร่วมมือเชิงพันธมิตรระยะยาวในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ (Developing long-term
partnership through knowledge sharing)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ลงนามบันทึกความเข้าใจเชิงวิชาการในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) และให้จัดทำแผนปฏิบัติการ และการสนับสนุนงบประมาณสมทบในกรณีที่ต้องมีการแลกเปลี่ยนบุคลากรของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อการฝึกอบรมและการปฏิบัติงานในระยะต่อไป ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้ การสนับสนุนงบประมาณสมทบในกรณีที่ต้องมีการแลกเปลี่ยนบุคลากรของ สศช. เพื่อการฝึกอบรมและการปฏิบัติงานในระยะต่อไปให้เป็นไปตามความจำเป็นโดยประหยัด โดยค่าใช้จ่ายงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2551 ให้ สศช. ปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีไปดำเนินการ ส่วนค่าใช้จ่ายที่จะต้องใช้ในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป ให้ สศช. เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังและกระทรวงอุตสาหกรรมไปพิจารณาด้วย
สรุปสาระสำคัญของบันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC)
1. วัตถุประสงค์ เพื่อให้ความร่วมมือเชิงพันธมิตรทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่าง สศช. และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่นในการทำงานร่วมกันเพื่อสนับสนุนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมบนพื้นฐานการแบ่งปันองค์ความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งพัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์ต่าง ๆ ในประเด็นการพัฒนาที่สำคัญ
2. แนวทางการดำเนินงาน ประกอบด้วย
2.1 สศช. และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่นจะร่วมกันเลือกประเด็นศึกษาที่ สอดคล้องและสะท้อนความต้องการการพัฒนาของประเทศ
2.2 ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่นจะนำเสนอประเด็นที่ทางญี่ปุ่นมีความเชี่ยวชาญ เพื่อให้สามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่มาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2.3 การศึกษาในประเด็นต่าง ๆ จะต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับสถาบันการศึกษาและภาคเอกชนของทั้งสองประเทศ เพื่อให้สามารถนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่มีอยู่เฉพาะทางมาประยุกต์ใช้เป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาประเทศ
2.4 การดำเนินงานจะต้องอยู่บนหลักการความร่วมมือเชิงพันธมิตร ซึ่งต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันการทำงานซ้ำซ้อนและส่งเสริมการเรียนรู้และแนวทางการทำงานร่วมกัน เช่น การเผยแพร่ การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ สศช.และการแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ระหว่างสองหน่วยงาน เป็นต้น
3. กรอบความร่วมมือเชิงวิชาการระหว่าง สศช.และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น ประกอบด้วย
3.1 การเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้านอุตสาหกรรม โดยศึกษาแนวทางการปรับปรุงระบบโลจิสติกส์ การพัฒนาทักษะของบุคลากรในด้านอุตสาหกรรม และการศึกษาวิจัย (Reserch and Development : R&D) เพื่อสนับสนุนภาคเอกชน
3.2 การกระจายความเจริญของประชาชนในชนบท โดยการสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจชุมชน การสนับสนุนการศึกษาในแต่ละภูมิภาค รวมทั้งส่งเสริมการกระจายอำนาจอย่างเป็นรูปธรรม
3.3 การพัฒนาระบบการเงิน โดยศึกษาแนวทางการพัฒนาสถาบันการเงิน และส่งเสริมการเพิ่ม บทบาทภาคเอกชน (Public Private Partnership : PPP)
3.4 การปรับปรุงระบบการคุ้มครองทางสังคม โดยศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบสวัสดิการ และส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้บริการสำหรับประชาชนทุกกลุ่ม
3.5 การให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดลอมโดยศึกษาแนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับปัญหาโลกร้อนและภัยธรรมชาติต่างๆ
4. ขอบเขตความรับผิดชอบ
บันทึกความเข้าใจดังกล่าวจะไม่มีผลผูกพันกับ สศช. และ JBIC ในเรื่องการสนับสนุนกิจกรรม และโครงการใด ๆ โดยทั้ง 2 หน่วยงานสามารถเสนอให้มีการหารือในเรื่องการสนับสนุนทางการเงิน หรือทางวิชาการที่จำเป็นในการดำเนินกิจกรรมหรือโครงการ อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 หน่วยงานมีสิทธิในการพิจารณาให้การสนับสนุนบนพื้นฐานของนโยบาย และกระบวนการของแต่ละหน่วยงาน ทั้งนี้ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง 2 หน่วยงานจะเป็นไปตามนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลของทั้ง 2 หน่วยงาน
5. การเปลี่ยนแปลงและการยกเลิกบันทึกความเข้าใจความร่วมมือเชิงวิชาการ
บันทึกความเข้าใจระหว่าง สศช. และ JBIC ฉบับนี้สามารถปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกได้ทุกช่วงเวลา โดยทั้ง 2 หน่วยงานต้องตกลงร่วมกันในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก ทั้งนี้ สศช. หรือ JBIC สามารถร้องขอเป็นลายลักษณ์อักษรให้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิก บันทึกความเข้าใจเป็นการล่วงหน้าเป็นเวลา 3 เดือน โดยการยกเลิกบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ จะไม่มีผลกระทบต่อกิจกรรมหรือแผนงานที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้ตกลงร่วมกันก่อนหน้าวันยกเลิกบันทึกความเข้าใจ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 กรกฎาคม 2551--จบ--
partnership through knowledge sharing)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ลงนามบันทึกความเข้าใจเชิงวิชาการในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) และให้จัดทำแผนปฏิบัติการ และการสนับสนุนงบประมาณสมทบในกรณีที่ต้องมีการแลกเปลี่ยนบุคลากรของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อการฝึกอบรมและการปฏิบัติงานในระยะต่อไป ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้ การสนับสนุนงบประมาณสมทบในกรณีที่ต้องมีการแลกเปลี่ยนบุคลากรของ สศช. เพื่อการฝึกอบรมและการปฏิบัติงานในระยะต่อไปให้เป็นไปตามความจำเป็นโดยประหยัด โดยค่าใช้จ่ายงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2551 ให้ สศช. ปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีไปดำเนินการ ส่วนค่าใช้จ่ายที่จะต้องใช้ในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป ให้ สศช. เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังและกระทรวงอุตสาหกรรมไปพิจารณาด้วย
สรุปสาระสำคัญของบันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC)
1. วัตถุประสงค์ เพื่อให้ความร่วมมือเชิงพันธมิตรทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่าง สศช. และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่นในการทำงานร่วมกันเพื่อสนับสนุนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมบนพื้นฐานการแบ่งปันองค์ความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งพัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์ต่าง ๆ ในประเด็นการพัฒนาที่สำคัญ
2. แนวทางการดำเนินงาน ประกอบด้วย
2.1 สศช. และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่นจะร่วมกันเลือกประเด็นศึกษาที่ สอดคล้องและสะท้อนความต้องการการพัฒนาของประเทศ
2.2 ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่นจะนำเสนอประเด็นที่ทางญี่ปุ่นมีความเชี่ยวชาญ เพื่อให้สามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่มาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2.3 การศึกษาในประเด็นต่าง ๆ จะต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับสถาบันการศึกษาและภาคเอกชนของทั้งสองประเทศ เพื่อให้สามารถนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่มีอยู่เฉพาะทางมาประยุกต์ใช้เป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาประเทศ
2.4 การดำเนินงานจะต้องอยู่บนหลักการความร่วมมือเชิงพันธมิตร ซึ่งต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันการทำงานซ้ำซ้อนและส่งเสริมการเรียนรู้และแนวทางการทำงานร่วมกัน เช่น การเผยแพร่ การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ สศช.และการแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ระหว่างสองหน่วยงาน เป็นต้น
3. กรอบความร่วมมือเชิงวิชาการระหว่าง สศช.และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น ประกอบด้วย
3.1 การเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้านอุตสาหกรรม โดยศึกษาแนวทางการปรับปรุงระบบโลจิสติกส์ การพัฒนาทักษะของบุคลากรในด้านอุตสาหกรรม และการศึกษาวิจัย (Reserch and Development : R&D) เพื่อสนับสนุนภาคเอกชน
3.2 การกระจายความเจริญของประชาชนในชนบท โดยการสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจชุมชน การสนับสนุนการศึกษาในแต่ละภูมิภาค รวมทั้งส่งเสริมการกระจายอำนาจอย่างเป็นรูปธรรม
3.3 การพัฒนาระบบการเงิน โดยศึกษาแนวทางการพัฒนาสถาบันการเงิน และส่งเสริมการเพิ่ม บทบาทภาคเอกชน (Public Private Partnership : PPP)
3.4 การปรับปรุงระบบการคุ้มครองทางสังคม โดยศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบสวัสดิการ และส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้บริการสำหรับประชาชนทุกกลุ่ม
3.5 การให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดลอมโดยศึกษาแนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับปัญหาโลกร้อนและภัยธรรมชาติต่างๆ
4. ขอบเขตความรับผิดชอบ
บันทึกความเข้าใจดังกล่าวจะไม่มีผลผูกพันกับ สศช. และ JBIC ในเรื่องการสนับสนุนกิจกรรม และโครงการใด ๆ โดยทั้ง 2 หน่วยงานสามารถเสนอให้มีการหารือในเรื่องการสนับสนุนทางการเงิน หรือทางวิชาการที่จำเป็นในการดำเนินกิจกรรมหรือโครงการ อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 หน่วยงานมีสิทธิในการพิจารณาให้การสนับสนุนบนพื้นฐานของนโยบาย และกระบวนการของแต่ละหน่วยงาน ทั้งนี้ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง 2 หน่วยงานจะเป็นไปตามนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลของทั้ง 2 หน่วยงาน
5. การเปลี่ยนแปลงและการยกเลิกบันทึกความเข้าใจความร่วมมือเชิงวิชาการ
บันทึกความเข้าใจระหว่าง สศช. และ JBIC ฉบับนี้สามารถปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกได้ทุกช่วงเวลา โดยทั้ง 2 หน่วยงานต้องตกลงร่วมกันในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก ทั้งนี้ สศช. หรือ JBIC สามารถร้องขอเป็นลายลักษณ์อักษรให้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิก บันทึกความเข้าใจเป็นการล่วงหน้าเป็นเวลา 3 เดือน โดยการยกเลิกบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ จะไม่มีผลกระทบต่อกิจกรรมหรือแผนงานที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้ตกลงร่วมกันก่อนหน้าวันยกเลิกบันทึกความเข้าใจ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 กรกฎาคม 2551--จบ--