คณะรัฐมนตรีเห็นชอบสนับสนุนการจัดตั้ง ASEAN Minerals Trust Fund โดยมอบหมายให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ตั้งคำของบประมาณเพื่อนำไปใช้เป็นเงินสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนดังกล่าว เป็นจำนวนเงินปีละ 15,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 480,000 บาทต่อปี (อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 32 บาท) ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552 เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาด้วย
กระทรวงอุตสาหกรรมรายงานว่า
1. สืบเนื่องจากผลการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านแร่ธาตุของอาเซียน (ASOMM) ครั้งที่ 8 ซึ่งมีการประชุมเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2550 ณ สหภาพพม่า โดยผลการประชุมดังกล่าวมีความก้าวหน้าในการสร้างความร่วมมือด้านแร่ธาตุในกลุ่ม ASEAN ผ่านโครงการความร่วมมือต่าง ๆ รวมทั้งได้มีการพิจารณาถึงประโยชน์ในการจัดตั้ง ASEAN Minerals Trust Fund และที่ประชุมฯ มีมติให้แต่ละประเทศนำข้อเสนอเรื่องการจัดตั้ง ASEAN Minerals Trust Fund พิจารณาขอความเห็นชอบในการสนับสนุนการจัดตั้งจากรัฐบาล จำนวนเงินที่จะให้การสนับสนุน พร้อมทั้งแจ้งผลให้ประธาน ASOMM (สหภาพพม่า) และสำนักงานเลขาธิการอาเซียนทราบต่อไป
2. การจัดตั้ง ASEAN Minerals Trust Fund และการใช้ประโยชน์จากกองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกองทุนสนับสนุนการดำเนินงานแผนงานโครงการและกิจกรรมความร่วมมือด้านแร่ธาตุของอาเซียน โดยประเทศสมาชิกจ่ายเงินสนับสนุนประเทศละเท่า ๆ กันตามวงเงินและระยะเวลาที่กำหนด และสามารถรับเงินสนับสนุนเพิ่มเติมจากองค์กรหรือประเทศอื่น ๆ ได้ กองทุนดังกล่าวจะฝากให้สำนักงานเลขาธิการอาเซียนเป็นผู้ดูแลการเบิกจ่าย แต่การเบิกจ่ายทุกครั้งจะต้องได้รับความเห็นชอบก่อน และจะมีการรายงานสถานภาพของกองทุนให้ทราบอย่างสม่ำเสมอ โครงการและกิจกรรมที่สามารถขอรับการสนับสนุนจากกองทุนได้แก่ โครงการความร่วมมือเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูลแร่ การค้าและการลงทุนด้านแร่ การพัฒนาทรัพยากรแร่อย่างยั่งยืน และการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรและองค์กรด้านแร่ของประเทศสมาชิก ที่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านแร่ธาตุของอาเซียน
3. กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาแล้วเห็นว่า การจัดตั้ง ASEAN Minerals Trust Fund มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนการสร้างความร่วมมือด้านแร่ธาตุของอาเซียนในทุก ๆ ด้าน ผ่านทางการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบฐานข้อมูลแร่ การส่งเสริมการค้าและการลงทุนด้านแร่ การพัฒนาทรัพยากรแร่อย่างยั่งยืน การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรและองค์กรด้านแร่ของประเทศสมาชิก ตลอดจนการดำเนินโครงการความร่วมมือต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านแร่ธาตุอาเซียน พ.ศ. 2548-2553 ทั้งนี้ การดำเนินงานโครงการต่าง ๆ จะเกิดประโยชน์โดยตรงต่อประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ตั้งแต่การรับทราบข้อมูลด้านแร่ระหว่างกัน การพัฒนาการค้าและการลงทุนเหมืองแร่ระหว่างกัน การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านการผลิตแร่ การใช้ประโยชน์แร่ และการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมจากการประกอบกิจการแร่ ตลอดจนการดำเนินการต่าง ๆ ที่ทำให้กลุ่มประเทศอาเซียนมีความเข้มแข็งและมีอำนาจต่อรองเกี่ยวกับการค้าแร่ในตลาดโลกเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งทั้งหมดตามที่กล่าวมาล้วนส่งผลดีต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของประเทศไทยด้วย ในเบื้องต้นในการจ่ายเงินสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนจากแต่ละประเทศปีละ 15,000 ดอลลาร์สหรัฐ รวม 10 ประเทศ จะมีเงินประมาณปีละ 150,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะเพียงพอสำหรับการดำเนินงานโครงการจัดฝึกอบรมในด้านต่าง ๆ ให้แก่ประเทศสมาชิกก่อน แล้วจึงค่อยขยายเป็นการดำเนินงานโครงการอื่น ๆ ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 กรกฎาคม 2551--จบ--
กระทรวงอุตสาหกรรมรายงานว่า
1. สืบเนื่องจากผลการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านแร่ธาตุของอาเซียน (ASOMM) ครั้งที่ 8 ซึ่งมีการประชุมเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2550 ณ สหภาพพม่า โดยผลการประชุมดังกล่าวมีความก้าวหน้าในการสร้างความร่วมมือด้านแร่ธาตุในกลุ่ม ASEAN ผ่านโครงการความร่วมมือต่าง ๆ รวมทั้งได้มีการพิจารณาถึงประโยชน์ในการจัดตั้ง ASEAN Minerals Trust Fund และที่ประชุมฯ มีมติให้แต่ละประเทศนำข้อเสนอเรื่องการจัดตั้ง ASEAN Minerals Trust Fund พิจารณาขอความเห็นชอบในการสนับสนุนการจัดตั้งจากรัฐบาล จำนวนเงินที่จะให้การสนับสนุน พร้อมทั้งแจ้งผลให้ประธาน ASOMM (สหภาพพม่า) และสำนักงานเลขาธิการอาเซียนทราบต่อไป
2. การจัดตั้ง ASEAN Minerals Trust Fund และการใช้ประโยชน์จากกองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกองทุนสนับสนุนการดำเนินงานแผนงานโครงการและกิจกรรมความร่วมมือด้านแร่ธาตุของอาเซียน โดยประเทศสมาชิกจ่ายเงินสนับสนุนประเทศละเท่า ๆ กันตามวงเงินและระยะเวลาที่กำหนด และสามารถรับเงินสนับสนุนเพิ่มเติมจากองค์กรหรือประเทศอื่น ๆ ได้ กองทุนดังกล่าวจะฝากให้สำนักงานเลขาธิการอาเซียนเป็นผู้ดูแลการเบิกจ่าย แต่การเบิกจ่ายทุกครั้งจะต้องได้รับความเห็นชอบก่อน และจะมีการรายงานสถานภาพของกองทุนให้ทราบอย่างสม่ำเสมอ โครงการและกิจกรรมที่สามารถขอรับการสนับสนุนจากกองทุนได้แก่ โครงการความร่วมมือเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูลแร่ การค้าและการลงทุนด้านแร่ การพัฒนาทรัพยากรแร่อย่างยั่งยืน และการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรและองค์กรด้านแร่ของประเทศสมาชิก ที่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านแร่ธาตุของอาเซียน
3. กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาแล้วเห็นว่า การจัดตั้ง ASEAN Minerals Trust Fund มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนการสร้างความร่วมมือด้านแร่ธาตุของอาเซียนในทุก ๆ ด้าน ผ่านทางการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบฐานข้อมูลแร่ การส่งเสริมการค้าและการลงทุนด้านแร่ การพัฒนาทรัพยากรแร่อย่างยั่งยืน การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรและองค์กรด้านแร่ของประเทศสมาชิก ตลอดจนการดำเนินโครงการความร่วมมือต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านแร่ธาตุอาเซียน พ.ศ. 2548-2553 ทั้งนี้ การดำเนินงานโครงการต่าง ๆ จะเกิดประโยชน์โดยตรงต่อประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ตั้งแต่การรับทราบข้อมูลด้านแร่ระหว่างกัน การพัฒนาการค้าและการลงทุนเหมืองแร่ระหว่างกัน การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านการผลิตแร่ การใช้ประโยชน์แร่ และการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมจากการประกอบกิจการแร่ ตลอดจนการดำเนินการต่าง ๆ ที่ทำให้กลุ่มประเทศอาเซียนมีความเข้มแข็งและมีอำนาจต่อรองเกี่ยวกับการค้าแร่ในตลาดโลกเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งทั้งหมดตามที่กล่าวมาล้วนส่งผลดีต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของประเทศไทยด้วย ในเบื้องต้นในการจ่ายเงินสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนจากแต่ละประเทศปีละ 15,000 ดอลลาร์สหรัฐ รวม 10 ประเทศ จะมีเงินประมาณปีละ 150,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะเพียงพอสำหรับการดำเนินงานโครงการจัดฝึกอบรมในด้านต่าง ๆ ให้แก่ประเทศสมาชิกก่อน แล้วจึงค่อยขยายเป็นการดำเนินงานโครงการอื่น ๆ ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 กรกฎาคม 2551--จบ--