1. คณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนากฎหมาย
คณะรัฐมนตรีรับทราบเรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนากฎหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปและให้ได้รับค่าตอบแทน (เบี้ยประชุม) ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้
1. รับทราบการลงนามในร่างคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนากฎหมาย
2. ให้กำหนดค่าตอบแทน (เบี้ยประชุม) ของคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนากฎหมาย และคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการนโยบายแห่งชาติฯ แต่งตั้งเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม ตามอัตรา ดังนี้
2.1 กรรมการ ครั้งละ 2,000 บาท
2.2 อนุกรรมการ ครั้งละ 1,000 บาท
2.3 ประธานกรรมการและประธานอนุกรรมการได้รับเบี้ยประชุมเพิ่มอีก 1 ใน 4 ของอัตราที่กรรมการหรืออนุกรรมการนั้นได้รับโดยเบิกจ่ายจากงบประมาณของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีชี้แจงว่า คณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนากฎหมาย ซึ่งแต่งตั้งในรัฐบาลชุดก่อนจำเป็นต้องคงไว้ เนื่องจากยังมีภารกิจที่จะต้องดำเนินการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายต่อไปให้บรรลุเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาล สมควรที่จะแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนากฎหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามเดิม โดยมีการเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลดังนี้
(1) แต่งตั้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์) เป็นรองประธานกรรมการคนที่ 2 แทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
(2) แต่งตั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นรองประธานกรรมการคนที่ 3 แทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(3) เพิ่มรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) เป็นกรรมการอีก 1 ท่าน
(4) ส่วนอำนาจหน้าที่และวิธีการดำเนินการของคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนากฎหมาย ยังคงเป็นไปตามเดิมตามร่างคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่เสนอให้ข้อ 1
สำหรับการกำหนดค่าตอบแทน (เบี้ยประชุม) นั้น เนื่องจากคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนากฎหมายและคณะอนุกรรมการต่าง ๆ ที่คณะกรรมการนโยบายแห่งชาติฯ แต่งตั้งมีภารกิจที่จะต้องดำเนินการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายซึ่งมีจำนวนมาก และเป็นภารกิจที่สำคัญของรัฐบาลและเร่งด่วน การกำหนด
ค่าตอบแทน (เบี้ยประชุม) ของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการดังกล่าวควรอยู่ในระดับเดียวกับคณะกรรมการพัฒนากฎหมายตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522 ที่ใช้บังคับในปัจจุบัน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เคยมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 43/48 ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548 กำหนดค่าตอบแทน (เบี้ยประชุม) ของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการตามอัตราที่เสนอในข้อ 2
2. คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยผู้นำชุมชนท้องถิ่น
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 112/2548 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยผู้นำชุมชนท้องถิ่นประกอบด้วยผู้นำชุมชนท้องถิ่นจากแต่ละจังหวัด ซึ่งมีผลงานดีเด่นในแต่ละสาขาเป็นที่ยอมรับนับถือในชุมชน ดังต่อไปนี้ 1. เจ้ากรองแก้ว ลังการ์พินธ์ 2. นายเกิด ขันทอง 3. นายคำเดื่อง ภาษี 4. นายจอนิ โอ่โดเชา 5. นายจินดา บุญจันทร์ 6. นายจีระศักดิ์ ท่อทิพย์ 7. นายชารี ตากุด 8. นายชูศักดิ์ หาดพรม 9. นายโชคชัย ลิ้มประดิษฐ์ 10. นายดำรงศักดิ์ ชุมแสงพันธ์ 11. นายดือราแม ดาราแม 12. นายทองคำ แจ่มใส 13. นางทองดี โพธิยอง 14. นายทองแทน เลิศลัทธภรณ์ 15. นายธรรมนูญ เทศอินทร์ 16. นายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว 17. นายบุญเลิศ จงธรรม 18. นายบุญจันทร์ ภูนาเพชร 19. นายประยงค์ รณรงค์ 20. นายประพาส ธรรมศรี 21. นายประเสริฐ สุริยวงศา 22. นายประหยัด โททุมพล 23. นายปรีชา ทองอู๋ 24. นายพยอม ประไพพงษ์ 25. นายพันทิพย์ บุตรตาด
26. นางนิตยา พร้อมพอชื่นบุญ 27. นายพิทยพันธ์ แวะศรีภา 28. นายฝนไท ชาวหินฟ้า 29. นายมนัส ชนะสิทธิ์ 30. นางมาเรียม สาเมาะ 31. นายมะดามิง อารียู 32. นายมั่น สามสี 33. นางมุกดา อินต๊ะสาร 34. นายลัภย์ หนูประดิษฐ์ 35. นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม 36. นายหวัง วงศ์กระโซ่ 37. นายสน รูปสูง 38. นายสมคิด สิริวัฒนกุล 39. นายสายสวัสดิ์ สมานพงษ์ 40. นายสังคม เจริญทรัพย์ 41. นายสิทธิชัย คำพันธ์ 42. นายสุรินทร์ กิจนิตย์ชีว์ 43. นายสุรินทร์ อินจง 44. นายอนุศิษฎ์ ธำรงรัตนศิลป์ 45. นางพิสมัย ชูศักดิ์ 46. นายอำนาจ หมายยอดกลาง 47. นายอัมพร ด้วงปาน 48. นายอัษฎางค์ สีหราช 49. นายธงชัย คงคาลัย และ 50. นายพรหมา สุวรรณศรี
โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. เสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาและการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม การประกอบอาชีพ การแก้ปัญหาความยากจน คุณภาพชีวิตชุมชน สาธารณสุขชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม วิถีชีวิต การพัฒนาเยาวชน การส่งเสริมคุณธรรม และการพัฒนาค่านิยมต่อนายกรัฐมนตรี
2. ยกร่างกฎ ระเบียบ หรือแนวทางพัฒนาการจัดตั้งองค์กรผู้นำชุมชนท้องถิ่นในระดับชาติและระดับอื่น ๆ ให้เป็นองค์กรถาวร
3. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2548 เป็นต้นไป
3. ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ 227/2548 เรื่อง แต่งตั้งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จำนวน 2 ราย ดังนี้
1. พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี นายทหารพ้นราชการ เป็น ปษ.รมว.กห.
2. น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ นายทหารกองหนุน เป็น ลก.รมว.กห.
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป
4. ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งกระทรวงการต่างประเทศ ที่ 243/2548 เรื่อง แต่งตั้งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยแต่งตั้งให้ พลเอก รัตนะ เฉลิมแสนยากร ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
5. ที่ปรึกษารัฐมนตรี และผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งกระทรวงคมนาคม ที่ 105/2548 เรื่อง แต่งตั้งที่ปรึกษารัฐมนตรี และผู้ช่วย เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จำนวน 2 ราย ดังนี้
1. นายรณฤทธิชัย คานเขต เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
(นายภูมิธรรม เวชยชัย)
2. นายเฉลิมชัย จีนะวิจารณะ เป็น ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ปฏิบัติราชการในหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงคมนาคม
(นายภูมิธรรม เวชยชัย)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
6. ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 179/2548 เรื่อง แต่งตั้งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยแต่งตั้งนายทองหล่อ พลโคตร เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
7. ข้าราชการการเมือง กระทรวงมหาดไทย
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 177/2548 และคำสั่งกระทรวงมหาดไทย 178/2548 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2548 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 5 ราย ดังนี้
1. นายปกรณ์ บูรณุปกรณ์ เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
2. นายบุญลือ ประเสริฐโสภา เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
3. นายอำนวย คลังผา เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4. นายสุรชัย เบ้าจรรยา เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
(นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช)
5. นายอนันต์ สุขสันต์ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
(นายสมชาย สุนทรวัฒน์)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป
8. ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ 32/2548 ลงวันที่ 28 มีนาคม 2548 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 รายดังนี้
1. นายสุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์ เป็น ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร
2. นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ เป็น เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร
ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป
9. ข้าราชการเมือง
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 106/2548 และ 108/2548 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ตามลำดับดังนี้ โดยแต่งตั้ง 1.นายอุดม ไกรวัตนุสสรณ์ ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรี นายจาตุรนต์ ฉายแสง) 2. นายเอกภาพ พลซื่อ ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรี พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์) และรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 107/2548 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 รายดังนี้
1. นายนิมิตร นนทพันธาวาทย์ เป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี
(รองนายกรัฐมนตรี นายจาตุรนต์ ฉายแสง)
2. นายฉัตรชัย เอียสกุล เป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี
(รองนายกรัฐมนตรี นายวิษณุ เครืองาม)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
10. กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี (นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช) เสนอให้แต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีเพิ่มเติม โดยมีรายชื่อดังนี้ 1. นายสมใจนึก เองตระกูล 2. นายปลอดประสพ สุรัสวดี 3. นายไพจิตร เทียนไพฑูรย์ 4. นายชาติชาย พุคยาภรณ์ 5.พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา 6. นายคณวัฒน์ วศินสังวร
ทั้งนี้ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในคำสั่งแต่งตั้งและมอบหมายให้เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง เป็นต้นไป
11. ข้าราชการกระทรวงอุตสาหกรรม
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอให้แต่งตั้ง นายรณรงค์ รักษ์กุลชน รองเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (นักบริหาร 9) สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป สำหรับการนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะได้ดำเนินการต่อไป
12. ประธานกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแทนประธานกรรมการฯ ที่ขอลาออก
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอให้แต่งตั้งนายพนัส สิมะเสถียร เป็นประธานกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแทนนายทนง พิทยะ ที่ได้ลาออก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป
13. ข้าราชการการเมือง ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 110/3548 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จำนวน 11 ราย ดังนี้ 1. นายชื่นชอบ คงอุดม 2. นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ 3. นายกมล บันไดเพชร 4. นายเสริมสุข เหลาหชัยอรุณ 5. นายสานิต ว่องสัธนพงศ์ 6. นายจำรัส เวียงสงค์ 7. นายมุข สุไลมาน 8. นายพรเทพ วิสุทธิ์วัฒนศักดิ์ 9. นายเวียง วรเชษฐ์ 10. นายยุทธศิลป์ ฐาปนะกุล 11. นายสิทธิรัตน์ รัตนาวิจารณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
14. ข้าราชการการเมือง กระทรวงยุติธรรม
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งกระทรวงยุติธรรม ที่ 140/2548 เรื่อง แต่งตั้งที่ปรึกษารัฐมนตรี และเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม จำนวน 2 ราย ดังนี้
1. นายประเชิญ ติยะปัญจนิตย์ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
2. นายธนกร นันที เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป
15. ข้าราชการระดับ 11 กระทรวงมหาดไทย
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอให้แต่งตั้ง นายสุจริต ปัจฉิมนันท์ อธิบดีกรมการปกครอง (นักบริหาร 10) ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง (นักบริหาร 11) สำนักงานปลัดกระทรวง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
สำหรับการนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้ง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะได้ดำเนินการต่อไป
16. ข้าราชการการเมือง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ 25/2548 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง โดยแต่งตั้ง พ.ญ. พรพิชญ์ พัฒนกุลเลิศ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนายพงศ์พิช รุ่งเป้า เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
17. ผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
คณะรัฐมนตรีรับทราบการแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ดังนี้
1. นายอดิศร เพียงเกษ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
2. นายภูมิธรรม เวชยชัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
18. การเลือกกรรมการตุลาการศาลปกครองผู้ทรงคุณวุฒิ ตามมาตรา 279 วรรคหนึ่ง (3) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้เสนอชื่อพล.ต.ท. ธีระวุฒิ บุตรศรีภูมิ เป็นประธานกรรมการตุลาการศาลปกครอง ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2548 เป็นต้นไป
19. คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 104/2548 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ โดยมีองค์ประกอบ อำนาจหน้าที่ และวิธีการดำเนินงานดังต่อไปนี้
ก. องค์ประกอบ ให้มีคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ดังนี้
1. นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานกรรมการ 2. นายประเวศ วะสี เป็นรองประธานกรรมการ ภาคประชาสังคม ในพื้นที่ 3. พลเอก ณรงค์ เด่นอุดม เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 4. นายเนตร จันทรัศมีเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 5.นายบัญชา พงษ์พานิช เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 6. นายประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 7. นายปิยะ กิจถาวร เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 8. นางสาวเพชรดาว โต๊ะมีนา เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 9. นางมัรยัม สาเม๊าะ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 10. นายมูหัมมัด อาดำ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 11. นางรัตติยา สาและ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 12. นายวรวิทย์ บารู เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 13.นายแวดือราแม มะมิงจิ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 14. นายอนันต์ชัย ไทยประทาน เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 15. นายอิสมาอีล ลุตฟี่ จะปะกียา เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 16. นายอับดุลเราะแม เจะแซ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 17. นายอับดุลเร๊าะห์มาน อับดุลสมัด เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 18. นายอัฮหมัดสมบูรณ์ บัวหลวง เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ภาคประชาสังคม นอกพื้นที่ 19. นายชัยวัฒน์ สถาอานันท์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 20. นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 21. นางสาวนารี เจริญผลพิริยะ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 22. นายพิชัย รัตนพล เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 23. นายพิภพ ธงไชย เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 24. นายไพศาล พรหมยงค์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 25. พระไพศาล วิสาโล เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 26. นายมารค ตามไท เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 27. นายศรีศักร วัลลิโภดม เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 28. นางเสาวนีย์ จิตต์หมวด เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 29. นายอัมมาร สยามวาลา เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ภาคการเมือง 30. นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 31. นายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 32.พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 33.นายประเสริฐ พงษ์สุวรรณสิริ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 34. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 35. นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 36. นายโสภณ สุภาพงษ์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ภาคราชการ 37.นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 38. นางจิราพร บุนนาค เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 39. นางพรนิภา ลิมปพยอม เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 40.นายวิชัย เทียนถาวร เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 41. พลโท ไวพจน์ ศรีนวล เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 42. นายศิระชัย โชติรัตน์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 43. พลตำรวจโท สมศักดิ์ แขวงโสภา เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 44. พลเอก สิริชัย ธัญญสิริ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 45. นายสุจริต ปัจฉิมนันท์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ฝ่ายเลขานุการ 46.เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นกรรมการและเลขานุการ 47. นายโคทม อารียาเป็นกรรมการและเลขานุการร่วม 48. นายสุริชัย หวันแก้ว เป็นกรรมการและเลขานุการร่วม
ข. อำนาจหน้าที่
1. หน้าที่ ให้คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1.1 เสนอแนะนโยบาย มาตรการ กลไก และวิธีการสร้างสมานฉันท์และสันติสุขในสังคมไทย โดยเฉพาะในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการสร้างความยุติธรรม ลดความไม่เข้าใจระหว่างกลุ่มคนที่มีความแตกต่างหลากหลาย ขจัดเงื่อนไขและป้องกันปัญหาความรุนแรง และสร้างสามัคคีธรรมให้เกิดขึ้นในชาติ
1.2 ศึกษา วิจัย และตรวจสอบสาเหตุ และขอบเขตของความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งบริบทของการก่อปัญหา ตลอดจนบทบาทของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ทั้งในและนอกพื้นที่ดังกล่าว
1.3 พัฒนากระบวนการฟื้นคืนสมานฉันท์ในสังคม กระบวนการป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และความรุนแรง รวมทั้งเผยแพร่กระบวนการดังกล่าวให้แพร่หลายในหมู่สาธารณชน
1.4 ให้การศึกษาและเรียนรู้แก่สาธารณชน โดยให้ตระหนักถึงผลของความรุนแรง ความเกลียดชัง ตลอดจนความจำเป็นและประโยชน์ของการใช้สันติวิธีแก้ปัญหาความรุนแรง พร้อมกับส่งเสริมความยุติธรรมในสังคมอันเป็นพลังสร้างความสมานฉันท์ในชาติ โดยเคารพความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรม
1.5 เสนอรายงานของคณะกรรมการต่อนายกรัฐมนตรี รายงานดังกล่าวเมื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรีแล้ว ให้เผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ทันที
2. อำนาจ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ลุล่วงไปด้วยดี ให้คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์
แห่งชาติ มีอำนาจดังนี้
2.1 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือบุคคลเพื่อมอบหมายให้ดำเนินการใด ตามที่คณะกรรมการกำหนด
2.2 เชิญข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ของรัฐ และบุคคลมาให้ข้อมูล หรือแสดงความคิดเห็นต่อคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน หรือให้ส่งข้อมูลหรือความเห็นเป็นหนังสือมาเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน
2.3 เรียกให้หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ส่งเอกสาร หรือวัตถุที่เป็นของหรืออยู่ในความครอบครองของหน่วยงานนั้น ๆ มาเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน
2.4 จัดให้มีการศึกษา วิจัย หรือหาข้อเท็จจริงในเรื่องต่าง ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
2.5 จัดการประชุม สัมมนา เวทีสาธารณะ การสานเสวนา และการรับฟังความคิดเห็นของบุคคลทั้งในและนอกพื้นที่สามจังหวัดดังกล่าว
2.6 ขอความร่วมมือในการสื่อสารกับสังคมผ่านสื่อสารมวลชน โดยเฉพาะสื่อสารมวลชนของรัฐ
2.7 ดำเนินการอื่นที่จำเป็นเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่บรรลุผล
ค. วิธีดำเนินการ
1. เพื่อให้คณะกรรมการดำเนินการได้โดยอิสระ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทุกคน ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือไม่ก็ตาม แสดงความคิดเห็นได้โดยอิสระปราศจากอาณัติผูกพันของหน่วยงานที่สังกัดอยู่
2. ในการจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะ ให้คณะกรรมการดำเนินการสังเคราะห์ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับปัญหาความรุนแรง และสามารถให้บุคคลต่าง ๆ จากทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะต่อคณะกรรมการ
3. ในการพิจารณาของคณะกรรมการ ให้นำปัญหาของทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นปัญหาของผู้ก่อความรุนแรง เหยื่อของความรุนแรง เจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้ได้รับผลกระทบอื่นมาคำนึงโดยรอบด้าน
4. ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรให้คณะกรรมการให้ความเห็นหรือข้อเสนอแนะอื่นนอกเหนือจากที่ระบุในคำสั่งนี้ ให้กรรมการและเลขานุการแจ้งให้ประธานกรรมการทราบเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
5. ในกรณีที่ประธานกรรมการเห็นสมควรที่จะเสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะใด ๆ ต่อนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีก่อนการเสนอรายงานตาม 1.5 ให้กรรมการและเลขานุการนำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป
6. ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศทำหน้าที่เป็นหน่วยธุรการของคณะกรรมการ และให้มีหน่วยธุรการของคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานอื่นอีกตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
7. เบี้ยประชุมประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ กรรมการและเลขานุการร่วม ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 โดยให้เบิกจ่ายจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
8. ให้สำนักงบประมาณจัดสรรเงินงบประมาณในลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไป ให้พอเพียงกับการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 29 มีนาคม 2548--จบ--
คณะรัฐมนตรีรับทราบเรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนากฎหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปและให้ได้รับค่าตอบแทน (เบี้ยประชุม) ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้
1. รับทราบการลงนามในร่างคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนากฎหมาย
2. ให้กำหนดค่าตอบแทน (เบี้ยประชุม) ของคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนากฎหมาย และคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการนโยบายแห่งชาติฯ แต่งตั้งเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม ตามอัตรา ดังนี้
2.1 กรรมการ ครั้งละ 2,000 บาท
2.2 อนุกรรมการ ครั้งละ 1,000 บาท
2.3 ประธานกรรมการและประธานอนุกรรมการได้รับเบี้ยประชุมเพิ่มอีก 1 ใน 4 ของอัตราที่กรรมการหรืออนุกรรมการนั้นได้รับโดยเบิกจ่ายจากงบประมาณของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีชี้แจงว่า คณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนากฎหมาย ซึ่งแต่งตั้งในรัฐบาลชุดก่อนจำเป็นต้องคงไว้ เนื่องจากยังมีภารกิจที่จะต้องดำเนินการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายต่อไปให้บรรลุเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาล สมควรที่จะแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนากฎหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามเดิม โดยมีการเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลดังนี้
(1) แต่งตั้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์) เป็นรองประธานกรรมการคนที่ 2 แทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
(2) แต่งตั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นรองประธานกรรมการคนที่ 3 แทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(3) เพิ่มรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) เป็นกรรมการอีก 1 ท่าน
(4) ส่วนอำนาจหน้าที่และวิธีการดำเนินการของคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนากฎหมาย ยังคงเป็นไปตามเดิมตามร่างคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่เสนอให้ข้อ 1
สำหรับการกำหนดค่าตอบแทน (เบี้ยประชุม) นั้น เนื่องจากคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนากฎหมายและคณะอนุกรรมการต่าง ๆ ที่คณะกรรมการนโยบายแห่งชาติฯ แต่งตั้งมีภารกิจที่จะต้องดำเนินการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายซึ่งมีจำนวนมาก และเป็นภารกิจที่สำคัญของรัฐบาลและเร่งด่วน การกำหนด
ค่าตอบแทน (เบี้ยประชุม) ของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการดังกล่าวควรอยู่ในระดับเดียวกับคณะกรรมการพัฒนากฎหมายตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522 ที่ใช้บังคับในปัจจุบัน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เคยมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 43/48 ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548 กำหนดค่าตอบแทน (เบี้ยประชุม) ของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการตามอัตราที่เสนอในข้อ 2
2. คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยผู้นำชุมชนท้องถิ่น
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 112/2548 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยผู้นำชุมชนท้องถิ่นประกอบด้วยผู้นำชุมชนท้องถิ่นจากแต่ละจังหวัด ซึ่งมีผลงานดีเด่นในแต่ละสาขาเป็นที่ยอมรับนับถือในชุมชน ดังต่อไปนี้ 1. เจ้ากรองแก้ว ลังการ์พินธ์ 2. นายเกิด ขันทอง 3. นายคำเดื่อง ภาษี 4. นายจอนิ โอ่โดเชา 5. นายจินดา บุญจันทร์ 6. นายจีระศักดิ์ ท่อทิพย์ 7. นายชารี ตากุด 8. นายชูศักดิ์ หาดพรม 9. นายโชคชัย ลิ้มประดิษฐ์ 10. นายดำรงศักดิ์ ชุมแสงพันธ์ 11. นายดือราแม ดาราแม 12. นายทองคำ แจ่มใส 13. นางทองดี โพธิยอง 14. นายทองแทน เลิศลัทธภรณ์ 15. นายธรรมนูญ เทศอินทร์ 16. นายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว 17. นายบุญเลิศ จงธรรม 18. นายบุญจันทร์ ภูนาเพชร 19. นายประยงค์ รณรงค์ 20. นายประพาส ธรรมศรี 21. นายประเสริฐ สุริยวงศา 22. นายประหยัด โททุมพล 23. นายปรีชา ทองอู๋ 24. นายพยอม ประไพพงษ์ 25. นายพันทิพย์ บุตรตาด
26. นางนิตยา พร้อมพอชื่นบุญ 27. นายพิทยพันธ์ แวะศรีภา 28. นายฝนไท ชาวหินฟ้า 29. นายมนัส ชนะสิทธิ์ 30. นางมาเรียม สาเมาะ 31. นายมะดามิง อารียู 32. นายมั่น สามสี 33. นางมุกดา อินต๊ะสาร 34. นายลัภย์ หนูประดิษฐ์ 35. นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม 36. นายหวัง วงศ์กระโซ่ 37. นายสน รูปสูง 38. นายสมคิด สิริวัฒนกุล 39. นายสายสวัสดิ์ สมานพงษ์ 40. นายสังคม เจริญทรัพย์ 41. นายสิทธิชัย คำพันธ์ 42. นายสุรินทร์ กิจนิตย์ชีว์ 43. นายสุรินทร์ อินจง 44. นายอนุศิษฎ์ ธำรงรัตนศิลป์ 45. นางพิสมัย ชูศักดิ์ 46. นายอำนาจ หมายยอดกลาง 47. นายอัมพร ด้วงปาน 48. นายอัษฎางค์ สีหราช 49. นายธงชัย คงคาลัย และ 50. นายพรหมา สุวรรณศรี
โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. เสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาและการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม การประกอบอาชีพ การแก้ปัญหาความยากจน คุณภาพชีวิตชุมชน สาธารณสุขชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม วิถีชีวิต การพัฒนาเยาวชน การส่งเสริมคุณธรรม และการพัฒนาค่านิยมต่อนายกรัฐมนตรี
2. ยกร่างกฎ ระเบียบ หรือแนวทางพัฒนาการจัดตั้งองค์กรผู้นำชุมชนท้องถิ่นในระดับชาติและระดับอื่น ๆ ให้เป็นองค์กรถาวร
3. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2548 เป็นต้นไป
3. ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ 227/2548 เรื่อง แต่งตั้งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จำนวน 2 ราย ดังนี้
1. พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี นายทหารพ้นราชการ เป็น ปษ.รมว.กห.
2. น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ นายทหารกองหนุน เป็น ลก.รมว.กห.
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป
4. ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งกระทรวงการต่างประเทศ ที่ 243/2548 เรื่อง แต่งตั้งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยแต่งตั้งให้ พลเอก รัตนะ เฉลิมแสนยากร ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
5. ที่ปรึกษารัฐมนตรี และผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งกระทรวงคมนาคม ที่ 105/2548 เรื่อง แต่งตั้งที่ปรึกษารัฐมนตรี และผู้ช่วย เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จำนวน 2 ราย ดังนี้
1. นายรณฤทธิชัย คานเขต เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
(นายภูมิธรรม เวชยชัย)
2. นายเฉลิมชัย จีนะวิจารณะ เป็น ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ปฏิบัติราชการในหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงคมนาคม
(นายภูมิธรรม เวชยชัย)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
6. ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 179/2548 เรื่อง แต่งตั้งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยแต่งตั้งนายทองหล่อ พลโคตร เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
7. ข้าราชการการเมือง กระทรวงมหาดไทย
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 177/2548 และคำสั่งกระทรวงมหาดไทย 178/2548 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2548 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 5 ราย ดังนี้
1. นายปกรณ์ บูรณุปกรณ์ เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
2. นายบุญลือ ประเสริฐโสภา เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
3. นายอำนวย คลังผา เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4. นายสุรชัย เบ้าจรรยา เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
(นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช)
5. นายอนันต์ สุขสันต์ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
(นายสมชาย สุนทรวัฒน์)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป
8. ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ 32/2548 ลงวันที่ 28 มีนาคม 2548 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 รายดังนี้
1. นายสุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์ เป็น ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร
2. นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ เป็น เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร
ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป
9. ข้าราชการเมือง
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 106/2548 และ 108/2548 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ตามลำดับดังนี้ โดยแต่งตั้ง 1.นายอุดม ไกรวัตนุสสรณ์ ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรี นายจาตุรนต์ ฉายแสง) 2. นายเอกภาพ พลซื่อ ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรี พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์) และรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 107/2548 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 รายดังนี้
1. นายนิมิตร นนทพันธาวาทย์ เป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี
(รองนายกรัฐมนตรี นายจาตุรนต์ ฉายแสง)
2. นายฉัตรชัย เอียสกุล เป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี
(รองนายกรัฐมนตรี นายวิษณุ เครืองาม)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
10. กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี (นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช) เสนอให้แต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีเพิ่มเติม โดยมีรายชื่อดังนี้ 1. นายสมใจนึก เองตระกูล 2. นายปลอดประสพ สุรัสวดี 3. นายไพจิตร เทียนไพฑูรย์ 4. นายชาติชาย พุคยาภรณ์ 5.พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา 6. นายคณวัฒน์ วศินสังวร
ทั้งนี้ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในคำสั่งแต่งตั้งและมอบหมายให้เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง เป็นต้นไป
11. ข้าราชการกระทรวงอุตสาหกรรม
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอให้แต่งตั้ง นายรณรงค์ รักษ์กุลชน รองเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (นักบริหาร 9) สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป สำหรับการนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะได้ดำเนินการต่อไป
12. ประธานกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแทนประธานกรรมการฯ ที่ขอลาออก
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอให้แต่งตั้งนายพนัส สิมะเสถียร เป็นประธานกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแทนนายทนง พิทยะ ที่ได้ลาออก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป
13. ข้าราชการการเมือง ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 110/3548 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จำนวน 11 ราย ดังนี้ 1. นายชื่นชอบ คงอุดม 2. นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ 3. นายกมล บันไดเพชร 4. นายเสริมสุข เหลาหชัยอรุณ 5. นายสานิต ว่องสัธนพงศ์ 6. นายจำรัส เวียงสงค์ 7. นายมุข สุไลมาน 8. นายพรเทพ วิสุทธิ์วัฒนศักดิ์ 9. นายเวียง วรเชษฐ์ 10. นายยุทธศิลป์ ฐาปนะกุล 11. นายสิทธิรัตน์ รัตนาวิจารณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
14. ข้าราชการการเมือง กระทรวงยุติธรรม
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งกระทรวงยุติธรรม ที่ 140/2548 เรื่อง แต่งตั้งที่ปรึกษารัฐมนตรี และเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม จำนวน 2 ราย ดังนี้
1. นายประเชิญ ติยะปัญจนิตย์ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
2. นายธนกร นันที เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป
15. ข้าราชการระดับ 11 กระทรวงมหาดไทย
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอให้แต่งตั้ง นายสุจริต ปัจฉิมนันท์ อธิบดีกรมการปกครอง (นักบริหาร 10) ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง (นักบริหาร 11) สำนักงานปลัดกระทรวง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
สำหรับการนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้ง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะได้ดำเนินการต่อไป
16. ข้าราชการการเมือง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ 25/2548 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง โดยแต่งตั้ง พ.ญ. พรพิชญ์ พัฒนกุลเลิศ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนายพงศ์พิช รุ่งเป้า เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
17. ผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
คณะรัฐมนตรีรับทราบการแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ดังนี้
1. นายอดิศร เพียงเกษ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
2. นายภูมิธรรม เวชยชัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
18. การเลือกกรรมการตุลาการศาลปกครองผู้ทรงคุณวุฒิ ตามมาตรา 279 วรรคหนึ่ง (3) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้เสนอชื่อพล.ต.ท. ธีระวุฒิ บุตรศรีภูมิ เป็นประธานกรรมการตุลาการศาลปกครอง ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2548 เป็นต้นไป
19. คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 104/2548 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ โดยมีองค์ประกอบ อำนาจหน้าที่ และวิธีการดำเนินงานดังต่อไปนี้
ก. องค์ประกอบ ให้มีคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ดังนี้
1. นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานกรรมการ 2. นายประเวศ วะสี เป็นรองประธานกรรมการ ภาคประชาสังคม ในพื้นที่ 3. พลเอก ณรงค์ เด่นอุดม เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 4. นายเนตร จันทรัศมีเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 5.นายบัญชา พงษ์พานิช เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 6. นายประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 7. นายปิยะ กิจถาวร เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 8. นางสาวเพชรดาว โต๊ะมีนา เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 9. นางมัรยัม สาเม๊าะ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 10. นายมูหัมมัด อาดำ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 11. นางรัตติยา สาและ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 12. นายวรวิทย์ บารู เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 13.นายแวดือราแม มะมิงจิ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 14. นายอนันต์ชัย ไทยประทาน เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 15. นายอิสมาอีล ลุตฟี่ จะปะกียา เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 16. นายอับดุลเราะแม เจะแซ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 17. นายอับดุลเร๊าะห์มาน อับดุลสมัด เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 18. นายอัฮหมัดสมบูรณ์ บัวหลวง เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ภาคประชาสังคม นอกพื้นที่ 19. นายชัยวัฒน์ สถาอานันท์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 20. นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 21. นางสาวนารี เจริญผลพิริยะ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 22. นายพิชัย รัตนพล เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 23. นายพิภพ ธงไชย เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 24. นายไพศาล พรหมยงค์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 25. พระไพศาล วิสาโล เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 26. นายมารค ตามไท เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 27. นายศรีศักร วัลลิโภดม เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 28. นางเสาวนีย์ จิตต์หมวด เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 29. นายอัมมาร สยามวาลา เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ภาคการเมือง 30. นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 31. นายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 32.พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 33.นายประเสริฐ พงษ์สุวรรณสิริ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 34. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 35. นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 36. นายโสภณ สุภาพงษ์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ภาคราชการ 37.นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 38. นางจิราพร บุนนาค เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 39. นางพรนิภา ลิมปพยอม เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 40.นายวิชัย เทียนถาวร เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 41. พลโท ไวพจน์ ศรีนวล เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 42. นายศิระชัย โชติรัตน์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 43. พลตำรวจโท สมศักดิ์ แขวงโสภา เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 44. พลเอก สิริชัย ธัญญสิริ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 45. นายสุจริต ปัจฉิมนันท์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ฝ่ายเลขานุการ 46.เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นกรรมการและเลขานุการ 47. นายโคทม อารียาเป็นกรรมการและเลขานุการร่วม 48. นายสุริชัย หวันแก้ว เป็นกรรมการและเลขานุการร่วม
ข. อำนาจหน้าที่
1. หน้าที่ ให้คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1.1 เสนอแนะนโยบาย มาตรการ กลไก และวิธีการสร้างสมานฉันท์และสันติสุขในสังคมไทย โดยเฉพาะในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการสร้างความยุติธรรม ลดความไม่เข้าใจระหว่างกลุ่มคนที่มีความแตกต่างหลากหลาย ขจัดเงื่อนไขและป้องกันปัญหาความรุนแรง และสร้างสามัคคีธรรมให้เกิดขึ้นในชาติ
1.2 ศึกษา วิจัย และตรวจสอบสาเหตุ และขอบเขตของความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งบริบทของการก่อปัญหา ตลอดจนบทบาทของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ทั้งในและนอกพื้นที่ดังกล่าว
1.3 พัฒนากระบวนการฟื้นคืนสมานฉันท์ในสังคม กระบวนการป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และความรุนแรง รวมทั้งเผยแพร่กระบวนการดังกล่าวให้แพร่หลายในหมู่สาธารณชน
1.4 ให้การศึกษาและเรียนรู้แก่สาธารณชน โดยให้ตระหนักถึงผลของความรุนแรง ความเกลียดชัง ตลอดจนความจำเป็นและประโยชน์ของการใช้สันติวิธีแก้ปัญหาความรุนแรง พร้อมกับส่งเสริมความยุติธรรมในสังคมอันเป็นพลังสร้างความสมานฉันท์ในชาติ โดยเคารพความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรม
1.5 เสนอรายงานของคณะกรรมการต่อนายกรัฐมนตรี รายงานดังกล่าวเมื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรีแล้ว ให้เผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ทันที
2. อำนาจ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ลุล่วงไปด้วยดี ให้คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์
แห่งชาติ มีอำนาจดังนี้
2.1 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือบุคคลเพื่อมอบหมายให้ดำเนินการใด ตามที่คณะกรรมการกำหนด
2.2 เชิญข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ของรัฐ และบุคคลมาให้ข้อมูล หรือแสดงความคิดเห็นต่อคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน หรือให้ส่งข้อมูลหรือความเห็นเป็นหนังสือมาเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน
2.3 เรียกให้หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ส่งเอกสาร หรือวัตถุที่เป็นของหรืออยู่ในความครอบครองของหน่วยงานนั้น ๆ มาเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน
2.4 จัดให้มีการศึกษา วิจัย หรือหาข้อเท็จจริงในเรื่องต่าง ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
2.5 จัดการประชุม สัมมนา เวทีสาธารณะ การสานเสวนา และการรับฟังความคิดเห็นของบุคคลทั้งในและนอกพื้นที่สามจังหวัดดังกล่าว
2.6 ขอความร่วมมือในการสื่อสารกับสังคมผ่านสื่อสารมวลชน โดยเฉพาะสื่อสารมวลชนของรัฐ
2.7 ดำเนินการอื่นที่จำเป็นเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่บรรลุผล
ค. วิธีดำเนินการ
1. เพื่อให้คณะกรรมการดำเนินการได้โดยอิสระ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทุกคน ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือไม่ก็ตาม แสดงความคิดเห็นได้โดยอิสระปราศจากอาณัติผูกพันของหน่วยงานที่สังกัดอยู่
2. ในการจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะ ให้คณะกรรมการดำเนินการสังเคราะห์ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับปัญหาความรุนแรง และสามารถให้บุคคลต่าง ๆ จากทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะต่อคณะกรรมการ
3. ในการพิจารณาของคณะกรรมการ ให้นำปัญหาของทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นปัญหาของผู้ก่อความรุนแรง เหยื่อของความรุนแรง เจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้ได้รับผลกระทบอื่นมาคำนึงโดยรอบด้าน
4. ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรให้คณะกรรมการให้ความเห็นหรือข้อเสนอแนะอื่นนอกเหนือจากที่ระบุในคำสั่งนี้ ให้กรรมการและเลขานุการแจ้งให้ประธานกรรมการทราบเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
5. ในกรณีที่ประธานกรรมการเห็นสมควรที่จะเสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะใด ๆ ต่อนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีก่อนการเสนอรายงานตาม 1.5 ให้กรรมการและเลขานุการนำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป
6. ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศทำหน้าที่เป็นหน่วยธุรการของคณะกรรมการ และให้มีหน่วยธุรการของคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานอื่นอีกตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
7. เบี้ยประชุมประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ กรรมการและเลขานุการร่วม ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 โดยให้เบิกจ่ายจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
8. ให้สำนักงบประมาณจัดสรรเงินงบประมาณในลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไป ให้พอเพียงกับการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 29 มีนาคม 2548--จบ--