คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รองประธานกรรมการอำนวยการฯ ทำการแทนประธานกรรมการอำนวยการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาจากธรณีพิบัติใน 6 จังหวัด ภาคใต้เสนอ รายงานผลการดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรณีพิบัติใน 6 จังหวัดภาคใต้ตามภารกิจของรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรณีพิบัติในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ รวม 3 ภารกิจ คือ ภารกิจในฐานะเจ้าภาพรับผิดชอบเกี่ยวกับการจ่ายเงินชดเชย ช่วยเหลือ เยียวยา การสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของผู้ประสบภัยและผู้ได้รับผลกระทบจากธรณีพิบัติ ภารกิจในฐานะประธานกรรมการอำนวยการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาจากธรณีพิบัติภัย 6 จังหวัดภาคใต้ และภารกิจในฐานะประธานกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ภารกิจในฐานะเป็นเจ้าภาพรับผิดชอบการใช้จ่ายเงินเพื่อชดเชย ช่วยเหลือ เยียวยาการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของผู้ประสบภัยและผู้ได้รับผลกระทบจากธรณีพิบัติภัย
รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการฯ ได้เร่งรัดให้มีการใช้จ่ายเงิน ทั้งจากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และเงินกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยซึ่งเป็นการช่วยเหลือ เยียวยาการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินในลักษณะการช่วยเหลือเร่งด่วนเฉพาะหน้าให้กับผู้ประสบภัยและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากธรณีพิบัติ โดยหน่วยงานต่าง ๆ ได้ดำเนินการช่วยเหลือเสร็จสิ้นไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสามารถสรุปเฉพาะรายการที่สำคัญ ดังนี้
(1) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่เสียชีวิต สูญหาย บาดเจ็บ และผู้ว่างงาน รวมจำนวน 33,733 ราย เป็นเงิน 127,463,000 บาท
(2) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ดำเนินการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นค่าขนย้ายศพ ค่าทำศพ ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ช่วยเหลือญาติผู้ประสบภัย ช่วยเหลือเงินยังชีพ ช่วยเหลือค่าเช่าบ้านพักอาศัย และกรณีทรัพย์สินเสียหาย เช่น ที่อยู่อาศัย เครื่องมือประกอบอาชีพ เครื่องนุ่งห่ม ของใช้ประจำวัน เป็นต้น รวมจำนวน 117,301 ราย เป็นเงิน 579,150,505 บาท
(3) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ดำเนินการเพื่อช่วยเหลือนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ โดยดำเนินการส่งศพผู้เสียชีวิตกลับประเทศและส่งผู้ประสบภัยเข้าที่พักรวม จำนวน 1,884 ราย เป็นเงิน 6,014,692.02 บาท
(4) กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการเพื่อช่วยเหลือเด็กกำพร้าและเด็กที่ได้รับผลกระทบจากธรณีพิบัติไปแล้ว รวม 18,173 ราย เป็นเงิน 284,455,000 บาท และขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อช่วยเหลือเด็กที่ได้รับผลกระทบเพิ่มเติม
(5) กรมประมงได้ดำเนินการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยอาชีพประมงเป็นค่าซ่อมแซมเรือประมง ช่วยเหลือผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เครื่องมือประมง กิจการแพปลา และเรือท่องเที่ยวไปแล้ว จำนวน 24,486 ราย เป็นเงิน 515,494,405 บาท และขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อช่วยเหลือกรณีมีผู้ร้องเรียนอุทธรณ์ขอรับความช่วยเหลือเพิ่มเติม
2. ภารกิจในฐานะประธานกรรมการอำนวยการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาจากธรณีพิบัติในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณจากงบกลางฯ ให้คณะกรรมการอำนวยการฯ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรณีพิบัติ จำนวน 5,972,839,027 บาท โดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าภาพหลักดำเนินการประสานให้สำนักงบประมาณอนุมัติการเบิกจ่ายเงินให้หน่วยงานต่าง ๆ แล้วจำนวน 5,747,300,454.15 บาท และคณะอนุกรรมการชุดต่าง ๆ (รวม 13 คณะ) ได้เบิกจ่ายเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยไปแล้ว จำนวน 3,322,914,329.13 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 57.81
3. ภารกิจในฐานะประธานกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี (ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2548) คณะกรรมการกองทุนฯ ได้อนุมัติงบประมาณจากกองทุนฯ ให้คณะกรรมการอำนวยการฯ เพื่อใช้จ่ายในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยของคณะอนุกรรมการชุดต่าง ๆ จำนวน 385,243,670 บาท เบิกจ่ายงบประมาณไปแล้ว จำนวน 296,847,408.17 บาท คิดเป็นร้อยละ 77.05
สรุปภาพรวมการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย คณะกรรมการอำนวยการฯ ได้รับวงเงินทั้งจากเงินกองทุนฯ และจากงบกลางฯ รวมจำนวน 6,132,544,124.15 บาท ใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรณีพิบัติไปแล้ว จำนวน 3,619,761,737.30 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 59.03 สำหรับการดำเนินการส่วนที่เหลือ ซึ่งเป็นการบูรณะฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐาน และซ่อมแซมสาธารณูปโภคต่าง ๆ ขณะนี้ ได้ทำสัญญาผูกพันหมดแล้ว และอยู่ระหว่างรอการเบิกจ่ายเงินเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีบางส่วนเกี่ยวกับการดำเนินการในส่วนของการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอาชีพประมงที่ร้องขออุทธรณ์การช่วยเหลือ และการช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งได้มีการแจ้งขอรับความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากคณะกรรมการอำนวยการฯ ขณะนี้ เรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาของจังหวัด และหน่วยงานที่รับผิดชอบ
ซึ่งจะได้รีบนำผลการดำเนินการเสนอให้คณะกรรมการอำนวยการฯ พิจารณาในวันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน 2548 ให้เสร็จก่อนสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2548
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 กันยายน 2548--จบ--
1. ภารกิจในฐานะเป็นเจ้าภาพรับผิดชอบการใช้จ่ายเงินเพื่อชดเชย ช่วยเหลือ เยียวยาการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของผู้ประสบภัยและผู้ได้รับผลกระทบจากธรณีพิบัติภัย
รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการฯ ได้เร่งรัดให้มีการใช้จ่ายเงิน ทั้งจากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และเงินกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยซึ่งเป็นการช่วยเหลือ เยียวยาการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินในลักษณะการช่วยเหลือเร่งด่วนเฉพาะหน้าให้กับผู้ประสบภัยและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากธรณีพิบัติ โดยหน่วยงานต่าง ๆ ได้ดำเนินการช่วยเหลือเสร็จสิ้นไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสามารถสรุปเฉพาะรายการที่สำคัญ ดังนี้
(1) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่เสียชีวิต สูญหาย บาดเจ็บ และผู้ว่างงาน รวมจำนวน 33,733 ราย เป็นเงิน 127,463,000 บาท
(2) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ดำเนินการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นค่าขนย้ายศพ ค่าทำศพ ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ช่วยเหลือญาติผู้ประสบภัย ช่วยเหลือเงินยังชีพ ช่วยเหลือค่าเช่าบ้านพักอาศัย และกรณีทรัพย์สินเสียหาย เช่น ที่อยู่อาศัย เครื่องมือประกอบอาชีพ เครื่องนุ่งห่ม ของใช้ประจำวัน เป็นต้น รวมจำนวน 117,301 ราย เป็นเงิน 579,150,505 บาท
(3) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ดำเนินการเพื่อช่วยเหลือนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ โดยดำเนินการส่งศพผู้เสียชีวิตกลับประเทศและส่งผู้ประสบภัยเข้าที่พักรวม จำนวน 1,884 ราย เป็นเงิน 6,014,692.02 บาท
(4) กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการเพื่อช่วยเหลือเด็กกำพร้าและเด็กที่ได้รับผลกระทบจากธรณีพิบัติไปแล้ว รวม 18,173 ราย เป็นเงิน 284,455,000 บาท และขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อช่วยเหลือเด็กที่ได้รับผลกระทบเพิ่มเติม
(5) กรมประมงได้ดำเนินการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยอาชีพประมงเป็นค่าซ่อมแซมเรือประมง ช่วยเหลือผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เครื่องมือประมง กิจการแพปลา และเรือท่องเที่ยวไปแล้ว จำนวน 24,486 ราย เป็นเงิน 515,494,405 บาท และขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อช่วยเหลือกรณีมีผู้ร้องเรียนอุทธรณ์ขอรับความช่วยเหลือเพิ่มเติม
2. ภารกิจในฐานะประธานกรรมการอำนวยการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาจากธรณีพิบัติในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณจากงบกลางฯ ให้คณะกรรมการอำนวยการฯ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรณีพิบัติ จำนวน 5,972,839,027 บาท โดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าภาพหลักดำเนินการประสานให้สำนักงบประมาณอนุมัติการเบิกจ่ายเงินให้หน่วยงานต่าง ๆ แล้วจำนวน 5,747,300,454.15 บาท และคณะอนุกรรมการชุดต่าง ๆ (รวม 13 คณะ) ได้เบิกจ่ายเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยไปแล้ว จำนวน 3,322,914,329.13 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 57.81
3. ภารกิจในฐานะประธานกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี (ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2548) คณะกรรมการกองทุนฯ ได้อนุมัติงบประมาณจากกองทุนฯ ให้คณะกรรมการอำนวยการฯ เพื่อใช้จ่ายในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยของคณะอนุกรรมการชุดต่าง ๆ จำนวน 385,243,670 บาท เบิกจ่ายงบประมาณไปแล้ว จำนวน 296,847,408.17 บาท คิดเป็นร้อยละ 77.05
สรุปภาพรวมการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย คณะกรรมการอำนวยการฯ ได้รับวงเงินทั้งจากเงินกองทุนฯ และจากงบกลางฯ รวมจำนวน 6,132,544,124.15 บาท ใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรณีพิบัติไปแล้ว จำนวน 3,619,761,737.30 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 59.03 สำหรับการดำเนินการส่วนที่เหลือ ซึ่งเป็นการบูรณะฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐาน และซ่อมแซมสาธารณูปโภคต่าง ๆ ขณะนี้ ได้ทำสัญญาผูกพันหมดแล้ว และอยู่ระหว่างรอการเบิกจ่ายเงินเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีบางส่วนเกี่ยวกับการดำเนินการในส่วนของการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอาชีพประมงที่ร้องขออุทธรณ์การช่วยเหลือ และการช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งได้มีการแจ้งขอรับความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากคณะกรรมการอำนวยการฯ ขณะนี้ เรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาของจังหวัด และหน่วยงานที่รับผิดชอบ
ซึ่งจะได้รีบนำผลการดำเนินการเสนอให้คณะกรรมการอำนวยการฯ พิจารณาในวันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน 2548 ให้เสร็จก่อนสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2548
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 กันยายน 2548--จบ--