คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานผลการตรวจสอบและฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อมจากธรณีพิบัติที่จังหวัดพังงา สรุปดังนี้
1.ทำการสำรวจแหล่งน้ำจืดที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันมีสภาพเป็นน้ำเค็มพบว่ามีจำนวน 107 แห่ง ประกอบด้วย ขุมเหมืองเก่าและแอ่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง แหล่งน้ำดิบเพื่อการประปา 6 แห่ง แอ่งน้ำขังขนาดเล็ก 50 แห่ง และสระน้ำ 13 แห่ง ซึ่งจากการวิเคราะห์คุณภาพน้ำเบื้องต้น พบว่ามีสภาพน้ำเน่าเสียและมีเชื้อโรคปะปน จำนวน 54 แห่ง อยู่ในพื้นที่ตำบลบางม่วง ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า และตำบลลำแก่น อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา จึงได้ดำเนินการตรวจวิเคราะห์ปริมาณเชื้อแบคทีเรียโดยสุ่มตัวอย่าง จำนวน 8 แห่ง ก่อนที่จะดำเนินการบำบัดฟื้นฟู พบว่าแหล่งน้ำมีปริมาณแบคทีเรียชนิด Enterococci และ E.coilในระดับที่มีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคทางเดินอาหารและโรคทางเดินหายใจได้ ซึ่งอยู่ในระดับที่ไม่ปลอดภัยต่อประชาชนตามข้อเสนอแนะของ U.S.EPA Suggested Water Quality Goals for Safe Swimmimg และ WHO Guidelines for Marine Recreational Waters
2.ดำเนินการปรับปรุงสภาพความสกปรกของแหล่งน้ำดังกล่าวข้างต้น โดยการเติม Effective Microorganism (EM) และฆ่าเชื้อแบคทีเรียในขั้นตอนสุดท้ายด้วยแคลเซียมไฮโปคลอไรต์ (การบำบัดด้วยวิธีนี้ไม่สามารถลดความเค็มของน้ำได้) รวมทั้งตรวจสอบประสิทธิภาพภายหลังการปรับปรุงคุณภาพ โดยทำการตรวจสอบปริมาณเชื้อแบคทีเรียและปริมาณคลอรีนตกค้าง ปรากฏว่าปริมาณเชื้อโรคและคลอรีนตกค้างอยู่ในระดับที่ปลอดภัยและมีระดับความเค็มเทียบเท่าน้ำทะเลหากมีการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งน้ำดังกล่าวออกสู่ทะเลโดยตรงเพื่อปรับปรุงและพัฒนาเป็นแหล่งน้ำดิบเพื่อการอุปโภคบริโภค จะไม่ก่อผลกระทบต่อคุณภาพน้ำทะเลและระบบนิเวศน์ชายฝั่ง
3.ผลการปฏิบัติงานตามภารกิจข้างต้นประสบความสำเร็จด้วยดี อาศัยความร่วมมือและการประสานอย่างดียิ่งจากทุกภาคส่วน อาทิ สภากาชาดไทย กรมพัฒนาที่ดิน สถานีอนามัยบางม่วง โรงพยาบาลตะกั่วป่า เทศบาลตำบลตะกั่วป่า องค์การบริหารส่วนตำบลคึกคัก คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมผู้เชี่ยวชาญจาก Michigan State University, USA รวมทั้งผลการดำเนินงานดังกล่าว กรมควบคุมมลพิษประสานกับคณะทำงานปรับปรุงแหล่งน้ำในพื้นที่เกิดพิบัติภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิจังหวัดพังงา โดยให้ข้อมูลคุณภาพน้ำที่กรมควบคุมมลพิษได้ดำเนินการตรวจวิเคราะห์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนบริหารจัดการแหล่งน้ำดิบเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งน้ำดิบเพื่อการอุปโภคบริโภคของประชาชนในพื้นที่แล้ว
อนึ่ง กรมควบคุมมลพิษ ได้ดำเนินการบำบัดน้ำเสียจากการพิสูจน์ศพผู้เสียชีวิตซึ่งมีเชื้อโรคปะปนและบำบัดกลิ่นเหม็นในบริเวณตู้คอนเทนเนอร์เก็บศพที่วัดย่านยาว รวมทั้งได้ประสานความร่วมมือกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงาดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องกลิ่นในระหว่างการตรวจพิสูจน์ศพเป็นระยะ ๆ เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคและกลิ่นเหม็นรบกวนซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพอนามัยของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานและประชาชนในบริเวณโดยรอบด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 มีนาคม 2548--จบ--
1.ทำการสำรวจแหล่งน้ำจืดที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันมีสภาพเป็นน้ำเค็มพบว่ามีจำนวน 107 แห่ง ประกอบด้วย ขุมเหมืองเก่าและแอ่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง แหล่งน้ำดิบเพื่อการประปา 6 แห่ง แอ่งน้ำขังขนาดเล็ก 50 แห่ง และสระน้ำ 13 แห่ง ซึ่งจากการวิเคราะห์คุณภาพน้ำเบื้องต้น พบว่ามีสภาพน้ำเน่าเสียและมีเชื้อโรคปะปน จำนวน 54 แห่ง อยู่ในพื้นที่ตำบลบางม่วง ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า และตำบลลำแก่น อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา จึงได้ดำเนินการตรวจวิเคราะห์ปริมาณเชื้อแบคทีเรียโดยสุ่มตัวอย่าง จำนวน 8 แห่ง ก่อนที่จะดำเนินการบำบัดฟื้นฟู พบว่าแหล่งน้ำมีปริมาณแบคทีเรียชนิด Enterococci และ E.coilในระดับที่มีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคทางเดินอาหารและโรคทางเดินหายใจได้ ซึ่งอยู่ในระดับที่ไม่ปลอดภัยต่อประชาชนตามข้อเสนอแนะของ U.S.EPA Suggested Water Quality Goals for Safe Swimmimg และ WHO Guidelines for Marine Recreational Waters
2.ดำเนินการปรับปรุงสภาพความสกปรกของแหล่งน้ำดังกล่าวข้างต้น โดยการเติม Effective Microorganism (EM) และฆ่าเชื้อแบคทีเรียในขั้นตอนสุดท้ายด้วยแคลเซียมไฮโปคลอไรต์ (การบำบัดด้วยวิธีนี้ไม่สามารถลดความเค็มของน้ำได้) รวมทั้งตรวจสอบประสิทธิภาพภายหลังการปรับปรุงคุณภาพ โดยทำการตรวจสอบปริมาณเชื้อแบคทีเรียและปริมาณคลอรีนตกค้าง ปรากฏว่าปริมาณเชื้อโรคและคลอรีนตกค้างอยู่ในระดับที่ปลอดภัยและมีระดับความเค็มเทียบเท่าน้ำทะเลหากมีการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งน้ำดังกล่าวออกสู่ทะเลโดยตรงเพื่อปรับปรุงและพัฒนาเป็นแหล่งน้ำดิบเพื่อการอุปโภคบริโภค จะไม่ก่อผลกระทบต่อคุณภาพน้ำทะเลและระบบนิเวศน์ชายฝั่ง
3.ผลการปฏิบัติงานตามภารกิจข้างต้นประสบความสำเร็จด้วยดี อาศัยความร่วมมือและการประสานอย่างดียิ่งจากทุกภาคส่วน อาทิ สภากาชาดไทย กรมพัฒนาที่ดิน สถานีอนามัยบางม่วง โรงพยาบาลตะกั่วป่า เทศบาลตำบลตะกั่วป่า องค์การบริหารส่วนตำบลคึกคัก คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมผู้เชี่ยวชาญจาก Michigan State University, USA รวมทั้งผลการดำเนินงานดังกล่าว กรมควบคุมมลพิษประสานกับคณะทำงานปรับปรุงแหล่งน้ำในพื้นที่เกิดพิบัติภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิจังหวัดพังงา โดยให้ข้อมูลคุณภาพน้ำที่กรมควบคุมมลพิษได้ดำเนินการตรวจวิเคราะห์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนบริหารจัดการแหล่งน้ำดิบเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งน้ำดิบเพื่อการอุปโภคบริโภคของประชาชนในพื้นที่แล้ว
อนึ่ง กรมควบคุมมลพิษ ได้ดำเนินการบำบัดน้ำเสียจากการพิสูจน์ศพผู้เสียชีวิตซึ่งมีเชื้อโรคปะปนและบำบัดกลิ่นเหม็นในบริเวณตู้คอนเทนเนอร์เก็บศพที่วัดย่านยาว รวมทั้งได้ประสานความร่วมมือกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงาดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องกลิ่นในระหว่างการตรวจพิสูจน์ศพเป็นระยะ ๆ เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคและกลิ่นเหม็นรบกวนซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพอนามัยของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานและประชาชนในบริเวณโดยรอบด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 มีนาคม 2548--จบ--