คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงศึกษาธิการรายงานผลการดำเนินการโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน ดังนี้
ตามที่รัฐบาลได้อนุมัติเงินงบกลางเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืน จำนวน 1,763 ล้านบาท ในปี 2547 และจำนวน 344 ล้านบาท ในปี 2548 และ จำนวน 450 ล้านบาท ในปี 2549 รวม 2,558 ล้านบาท ในระหว่างปี 2547-2549 และนายกรัฐมนตรีได้ทำการเปิดตัวโครงการ และเชิญชวนให้นักธุรกิจและภาคเอกชน และหน่วยงานของรัฐอื่น ๆ ได้ให้ความช่วยเหลือกับโรงเรียน ตลอดจนให้มีการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้บริจาคให้กับโรงเรียนเป็นพิเศษ ซึ่งผลปรากฎว่าได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี มีบริษัท ห้างร้าน รัฐวิสาหกิจ และชุมชนได้ให้ความร่วมมือบริจาคทั้งทุนทรัพย์และอุปกรณ์ มูลค่ากว่า 500 ล้านบาท และยังให้ความช่วยเหลือให้คำแนะนำ และร่วมปรับปรุงโรงเรียนในอำเภอ ในท้องถิ่นของตนอีกจำนวนมาก โดยเฉลี่ยโรงเรียนในโครงการจะได้รับงบประมาณ ประมาณโรงละ 2.5 ล้านบาท และได้รับบริจาคประมาณ 2.5 ล้านบาท ซึ่งโรงเรียนได้ใช้ในการพัฒนาห้องสมุด ห้องปฏิบัติการและการจัดหาคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อการเรียนการสอน
ผลจากการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน นับว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจโรงเรียนในโครงการได้รับการพัฒนาโดยทั่วถึง และประชาชนได้ตื่นตัวและให้การสนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียนเป็นอย่างดี และมีความเชื่อมั่นใน โรงเรียนในโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน ว่าเป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพ และนิยมส่งบุตรหลานมาเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนทุกแห่งจนต้องขยายห้องเรียน และบางครั้งก็เกินความสามารถที่จะรับได้ เนื่องจากโรงเรียนได้เน้นในเรื่องคุณภาพ และต้องการให้นักเรียนทุกคนได้รับประโยชน์สูงสุดจากการศึกษาอย่างทั่วถึง ดังนั้น จำนวนการรับนักเรียนต่อห้องจะต้องมีสัดส่วนที่เหมาะสมกับครู อาจารย์ และอุปกรณ์ เด็กต้องรู้จักคิด วิเคราะห์ สามารถแสวงหาความรู้จากการอ่านและค้นคว้าด้วยตนเอง และมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและข้าราชการระดับสูงของสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ร่วมกันให้ความสนใจ และได้ไปเยี่ยมเยียนโรงเรียนในโครงการอย่างสม่ำเสมอ และพบว่ามีโรงเรียนถึง 30 แห่ง ได้รับการพัฒนาเป็นโรงเรียนในฝันอย่างเต็มรูปแบบ คือ เป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพ มีสภาพแวดล้อมและบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ และมีผู้บริหาร และครู อาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถ พัฒนาการเรียนการสอนได้เป็น อย่างดี สำหรับโรงเรียนที่เหลือก็มีแนวโน้มที่จะได้รับการพัฒนาได้เต็มสมบูรณ์อย่างช้าภายในปี 2549 ซึ่งเมื่อพัฒนาสำเร็จรูปแล้ว ก็จะสามารถเป็นแบบอย่างในการพัฒนาให้แก่โรงเรียนอื่นๆ ในจังหวัดและอำเภอ ตลอดจนเป็นรากฐานสำหรับการพัฒนาโรงเรียนในตำบลต่อไป
ปัจจุบันโรงเรียนในโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน ได้ช่วยเหลือดูแลด้านวิชาการให้แก่โรงเรียนขนาดเล็กในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งมีอยู่ถึง 10,800 แห่ง และในอนาคตอันใกล้กระทรวงศึกษาธิการก็จะได้เตรียมการที่จะขยายโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งโรงเรียนในฝันต่อไป ซึ่งคาดว่าภายในระยะ 4 ปีของการบริหารงานของรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ จะสามารถพัฒนาโรงเรียนทุกโรงให้เป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่นายกรัฐมนตรีได้เตรียมการให้ความช่วยเหลือในเรื่องของการก่อสร้างซ่อมแซมอาคารเรียนและอาคารประกอบให้ทันสมัย การสร้างห้องปฏิบัติการทางภาษา วิทยาศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ การบรรจุครูให้เพียงพอ และการพัฒนาครูให้ มีคุณภาพ โดยจัดเตรียมงบประมาณไว้อย่างเพียงพอ ถึงแสนล้านบาทนั้น ก็จะทำให้โครงการโรงเรียนในฝันได้ขยายผลได้อย่างทั่วถึงทุกแห่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 มิถุนายน 2548--จบ--
ตามที่รัฐบาลได้อนุมัติเงินงบกลางเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืน จำนวน 1,763 ล้านบาท ในปี 2547 และจำนวน 344 ล้านบาท ในปี 2548 และ จำนวน 450 ล้านบาท ในปี 2549 รวม 2,558 ล้านบาท ในระหว่างปี 2547-2549 และนายกรัฐมนตรีได้ทำการเปิดตัวโครงการ และเชิญชวนให้นักธุรกิจและภาคเอกชน และหน่วยงานของรัฐอื่น ๆ ได้ให้ความช่วยเหลือกับโรงเรียน ตลอดจนให้มีการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้บริจาคให้กับโรงเรียนเป็นพิเศษ ซึ่งผลปรากฎว่าได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี มีบริษัท ห้างร้าน รัฐวิสาหกิจ และชุมชนได้ให้ความร่วมมือบริจาคทั้งทุนทรัพย์และอุปกรณ์ มูลค่ากว่า 500 ล้านบาท และยังให้ความช่วยเหลือให้คำแนะนำ และร่วมปรับปรุงโรงเรียนในอำเภอ ในท้องถิ่นของตนอีกจำนวนมาก โดยเฉลี่ยโรงเรียนในโครงการจะได้รับงบประมาณ ประมาณโรงละ 2.5 ล้านบาท และได้รับบริจาคประมาณ 2.5 ล้านบาท ซึ่งโรงเรียนได้ใช้ในการพัฒนาห้องสมุด ห้องปฏิบัติการและการจัดหาคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อการเรียนการสอน
ผลจากการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน นับว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจโรงเรียนในโครงการได้รับการพัฒนาโดยทั่วถึง และประชาชนได้ตื่นตัวและให้การสนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียนเป็นอย่างดี และมีความเชื่อมั่นใน โรงเรียนในโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน ว่าเป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพ และนิยมส่งบุตรหลานมาเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนทุกแห่งจนต้องขยายห้องเรียน และบางครั้งก็เกินความสามารถที่จะรับได้ เนื่องจากโรงเรียนได้เน้นในเรื่องคุณภาพ และต้องการให้นักเรียนทุกคนได้รับประโยชน์สูงสุดจากการศึกษาอย่างทั่วถึง ดังนั้น จำนวนการรับนักเรียนต่อห้องจะต้องมีสัดส่วนที่เหมาะสมกับครู อาจารย์ และอุปกรณ์ เด็กต้องรู้จักคิด วิเคราะห์ สามารถแสวงหาความรู้จากการอ่านและค้นคว้าด้วยตนเอง และมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและข้าราชการระดับสูงของสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ร่วมกันให้ความสนใจ และได้ไปเยี่ยมเยียนโรงเรียนในโครงการอย่างสม่ำเสมอ และพบว่ามีโรงเรียนถึง 30 แห่ง ได้รับการพัฒนาเป็นโรงเรียนในฝันอย่างเต็มรูปแบบ คือ เป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพ มีสภาพแวดล้อมและบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ และมีผู้บริหาร และครู อาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถ พัฒนาการเรียนการสอนได้เป็น อย่างดี สำหรับโรงเรียนที่เหลือก็มีแนวโน้มที่จะได้รับการพัฒนาได้เต็มสมบูรณ์อย่างช้าภายในปี 2549 ซึ่งเมื่อพัฒนาสำเร็จรูปแล้ว ก็จะสามารถเป็นแบบอย่างในการพัฒนาให้แก่โรงเรียนอื่นๆ ในจังหวัดและอำเภอ ตลอดจนเป็นรากฐานสำหรับการพัฒนาโรงเรียนในตำบลต่อไป
ปัจจุบันโรงเรียนในโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน ได้ช่วยเหลือดูแลด้านวิชาการให้แก่โรงเรียนขนาดเล็กในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งมีอยู่ถึง 10,800 แห่ง และในอนาคตอันใกล้กระทรวงศึกษาธิการก็จะได้เตรียมการที่จะขยายโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งโรงเรียนในฝันต่อไป ซึ่งคาดว่าภายในระยะ 4 ปีของการบริหารงานของรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ จะสามารถพัฒนาโรงเรียนทุกโรงให้เป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่นายกรัฐมนตรีได้เตรียมการให้ความช่วยเหลือในเรื่องของการก่อสร้างซ่อมแซมอาคารเรียนและอาคารประกอบให้ทันสมัย การสร้างห้องปฏิบัติการทางภาษา วิทยาศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ การบรรจุครูให้เพียงพอ และการพัฒนาครูให้ มีคุณภาพ โดยจัดเตรียมงบประมาณไว้อย่างเพียงพอ ถึงแสนล้านบาทนั้น ก็จะทำให้โครงการโรงเรียนในฝันได้ขยายผลได้อย่างทั่วถึงทุกแห่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 มิถุนายน 2548--จบ--