เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. .... (รวมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522
และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 เข้าด้วยกัน)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4.1 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสหัส บัณฑิตกุล) เป็นประธานกรรมการ ที่อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. .... (รวมพระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 เข้าด้วยกัน) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 4.1 และความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
กระทรวงคมนาคมเสนอว่า ได้พิจารณาทบทวนแล้ว ขอยืนยันร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. .... (รวมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 เข้าด้วยกัน) ตามที่เสนอไว้เดิม ซึ่งเป็นไปตามหลักการนำบทบัญญัติกฎหมายเรื่องเดียวกัน หรือที่เกี่ยวเนื่องกันมารวบรวมไว้ที่เดียวกัน จัดหมวดหมู่ให้เป็นระบบเชื่อมโยงกัน ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถค้นคว้ากฎหมายได้สะดวก และทำความเข้าใจตัวบทกฎหมายได้ง่ายขึ้น และยังเป็นการลดจำนวนกฎหมายให้เหลือน้อยฉบับลงอีก จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
โดยร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ยกเลิกพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม และยกเลิกพระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม (ร่างมาตรา 3)
2. กำหนดให้รถที่จะนำมาใช้ต้องเป็นรถที่จดทะเบียน และเสียภาษี ประจำปีครบถ้วนถูกต้อง (หมวด 1)
3. กำหนดให้ผู้ขับขี่ต้องได้รับใบอนุญาตขับรถ โดยผู้ขอรับใบอนุญาต ขับรถต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนด สำหรับการฝึกหัดขับรถ ผู้ฝึกสอนต้องได้รับใบอนุญาต จากกรมการขนส่งทางบก (หมวด 2)
4. กำหนดให้มีการควบคุมการประกอบการขนส่ง ในรถบริการ เช่น รถแท็กซี่ และรถจักรยานยนต์ รถขนส่ง เช่น การขนส่งประจำทาง ไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคล โดยต้องมีใบอนุญาตประกอบการขนส่ง การใช้มาตรเก็บ ค่าโดยสาร การปฏิบัติต่อผู้โดยสารและการให้บริการที่เหมาะสม เป็นต้น (หมวด 3)
5. การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับอนุสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ (หมวด 4)
6. กำหนดประเภทของสถานีขนส่ง ลักษณะของสถานีขนส่ง การดำเนินการจัดตั้งสถานีขนส่ง (หมวด 5)
7. กำหนดให้สถานตรวจสภาพรถต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน ช่างตรวจสภาพรถซึ่งอยู่ประจำสถานตรวจสภาพรถต้องผ่านการทดสอบและได้รับการรับรองจากนายทะเบียน และกำหนดให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดอัตราค่าบริการที่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะเรียกเก็บจากผู้ใช้บริการ (หมวด 6)
8. กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบก คณะกรรมการ ควบคุมการขนส่งทางบก และคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด โดยมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด (หมวด 8-9)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 กรกฎาคม 2551--จบ--
และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 เข้าด้วยกัน)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4.1 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสหัส บัณฑิตกุล) เป็นประธานกรรมการ ที่อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. .... (รวมพระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 เข้าด้วยกัน) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 4.1 และความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
กระทรวงคมนาคมเสนอว่า ได้พิจารณาทบทวนแล้ว ขอยืนยันร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. .... (รวมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 เข้าด้วยกัน) ตามที่เสนอไว้เดิม ซึ่งเป็นไปตามหลักการนำบทบัญญัติกฎหมายเรื่องเดียวกัน หรือที่เกี่ยวเนื่องกันมารวบรวมไว้ที่เดียวกัน จัดหมวดหมู่ให้เป็นระบบเชื่อมโยงกัน ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถค้นคว้ากฎหมายได้สะดวก และทำความเข้าใจตัวบทกฎหมายได้ง่ายขึ้น และยังเป็นการลดจำนวนกฎหมายให้เหลือน้อยฉบับลงอีก จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
โดยร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ยกเลิกพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม และยกเลิกพระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม (ร่างมาตรา 3)
2. กำหนดให้รถที่จะนำมาใช้ต้องเป็นรถที่จดทะเบียน และเสียภาษี ประจำปีครบถ้วนถูกต้อง (หมวด 1)
3. กำหนดให้ผู้ขับขี่ต้องได้รับใบอนุญาตขับรถ โดยผู้ขอรับใบอนุญาต ขับรถต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนด สำหรับการฝึกหัดขับรถ ผู้ฝึกสอนต้องได้รับใบอนุญาต จากกรมการขนส่งทางบก (หมวด 2)
4. กำหนดให้มีการควบคุมการประกอบการขนส่ง ในรถบริการ เช่น รถแท็กซี่ และรถจักรยานยนต์ รถขนส่ง เช่น การขนส่งประจำทาง ไม่ประจำทางและการขนส่งส่วนบุคคล โดยต้องมีใบอนุญาตประกอบการขนส่ง การใช้มาตรเก็บ ค่าโดยสาร การปฏิบัติต่อผู้โดยสารและการให้บริการที่เหมาะสม เป็นต้น (หมวด 3)
5. การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับอนุสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ (หมวด 4)
6. กำหนดประเภทของสถานีขนส่ง ลักษณะของสถานีขนส่ง การดำเนินการจัดตั้งสถานีขนส่ง (หมวด 5)
7. กำหนดให้สถานตรวจสภาพรถต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน ช่างตรวจสภาพรถซึ่งอยู่ประจำสถานตรวจสภาพรถต้องผ่านการทดสอบและได้รับการรับรองจากนายทะเบียน และกำหนดให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดอัตราค่าบริการที่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะเรียกเก็บจากผู้ใช้บริการ (หมวด 6)
8. กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบก คณะกรรมการ ควบคุมการขนส่งทางบก และคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด โดยมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด (หมวด 8-9)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 กรกฎาคม 2551--จบ--