คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามข้อสังเกตที่ประชุมร่วมกันระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกากับสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์) เป็นประธาน และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาปรับร่างแผนนิติบัญญัติฯ ให้เป็นไปตามข้อสังเกตดังกล่าว โดยให้ถือว่าคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบร่างแผนนิติบัญญัติที่ได้ปรับปรุงแก้ไขแล้ว และให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนดังกล่าวต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอว่า
1. โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 76 บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีต้องจัดให้มีแผนการตรากฎหมายที่จำเป็นต่อการดำเนินการตามนโยบายและแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ประกอบกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดทำแผนการบริหาร ราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2547 ได้กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีจัดทำและเสนอแผนนิติบัญญัติให้คณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบภายใน 120 วัน นับแต่วันที่แผนการบริหารราชการแผ่นดินประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ภายในวันที่ 18 กรกฎาคม 2551)
2. ได้แจ้งให้ส่วนราชการแจ้งข้อมูลกฎหมายที่ต้องมีหรือแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ในการผลักดันการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลและแผนการบริหารราชการแผ่นดิน และได้รวบรวมข้อมูลดังกล่าวจัดทำเป็นร่างแผน นิติบัญญัติ พ.ศ. 2551-2554 ทั้งนี้ ได้เสนอร่างแผนนิติบัญญัติดังกล่าวต่อที่ประชุมร่วมระหว่างสำนักงานฯ และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์) เป็นประธาน เพื่อพิจารณา ซึ่งที่ประชุมร่วมดังกล่าวมีข้อสังเกตเกี่ยวกับร่างกฎหมายบางประการ ดังนี้
1) ร่างกฎหมายที่มิได้มีการผลักดันการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลและแผนการบริหารราชการแผ่นดินโดยตรง แต่เป็นกฎหมายที่สนับสนุนการดำเนินงานปกติประจำของกระทรวงผู้รับผิดชอบ ซึ่งไม่จำเป็นต้องบรรจุไว้ในร่างแผนนิติบัญญัติฯ จำนวน 12 ฉบับ
2) ร่างกฎหมายที่ไม่จำเป็นต้องมี เนื่องจากสามารถใช้กฎหมายที่มีอยู่แล้วหรือมาตรการทางบริหารเพื่อผลักดันการดำเนินงานในแต่ละนโยบายที่กำหนดไว้ในแผนการบริหารราชการแผ่นดินได้โดยไม่จำเป็นต้องตรากฎหมายขึ้นใหม่ จำนวน 7 ฉบับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 กรกฎาคม 2551--จบ--
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอว่า
1. โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 76 บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีต้องจัดให้มีแผนการตรากฎหมายที่จำเป็นต่อการดำเนินการตามนโยบายและแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ประกอบกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดทำแผนการบริหาร ราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2547 ได้กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีจัดทำและเสนอแผนนิติบัญญัติให้คณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบภายใน 120 วัน นับแต่วันที่แผนการบริหารราชการแผ่นดินประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ภายในวันที่ 18 กรกฎาคม 2551)
2. ได้แจ้งให้ส่วนราชการแจ้งข้อมูลกฎหมายที่ต้องมีหรือแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ในการผลักดันการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลและแผนการบริหารราชการแผ่นดิน และได้รวบรวมข้อมูลดังกล่าวจัดทำเป็นร่างแผน นิติบัญญัติ พ.ศ. 2551-2554 ทั้งนี้ ได้เสนอร่างแผนนิติบัญญัติดังกล่าวต่อที่ประชุมร่วมระหว่างสำนักงานฯ และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์) เป็นประธาน เพื่อพิจารณา ซึ่งที่ประชุมร่วมดังกล่าวมีข้อสังเกตเกี่ยวกับร่างกฎหมายบางประการ ดังนี้
1) ร่างกฎหมายที่มิได้มีการผลักดันการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลและแผนการบริหารราชการแผ่นดินโดยตรง แต่เป็นกฎหมายที่สนับสนุนการดำเนินงานปกติประจำของกระทรวงผู้รับผิดชอบ ซึ่งไม่จำเป็นต้องบรรจุไว้ในร่างแผนนิติบัญญัติฯ จำนวน 12 ฉบับ
2) ร่างกฎหมายที่ไม่จำเป็นต้องมี เนื่องจากสามารถใช้กฎหมายที่มีอยู่แล้วหรือมาตรการทางบริหารเพื่อผลักดันการดำเนินงานในแต่ละนโยบายที่กำหนดไว้ในแผนการบริหารราชการแผ่นดินได้โดยไม่จำเป็นต้องตรากฎหมายขึ้นใหม่ จำนวน 7 ฉบับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 กรกฎาคม 2551--จบ--