คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือด้านหนี้สินของสมาชิกสถาบันเกษตรกรที่ประสบอุทกภัยปี 2550 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้
ด้านหนี้สินของสมาชิกสถาบันเกษตรกร
1. กรณีสมาชิกเสียชีวิต ให้จำหน่ายหนี้ออกจากบัญชีของสถาบันเกษตรกรเป็นสูญ รัฐบาลรับภาระชำระหนี้ให้แทน
2. กรณีสมาชิกรายที่ประสบภัยอย่างร้ายแรงจนทำให้พื้นที่ทำกินและผลผลิตเสียหาย ขาดรายได้ที่จะนำส่งชำระหนี้ได้ สำหรับหนี้เงินกู้เดิมที่มีอยู่ก่อนประสบภัยให้สถาบันเกษตรกร
(1) ขยายเวลาการชำระหนี้เงินกู้เป็นเวลา 3 ปี
(2) งดคิดดอกเบี้ยเงินกู้เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีบัญชี 2550 — 2552 โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกร
สำหรับงบประมาณที่จะต้องจ่ายชดเชยให้กับสถาบันเกษตรกรให้ดำเนินการ ดังนี้
- เงินชดเชยปีบัญชี 2550 จำนวน 89.86 ล้านบาท ให้ใช้จากงบกลางฯ พ.ศ. 2550 ซึ่งกระทรวงการคลังอนุมัติให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีแล้ว
- เงินชดเชยปีบัญชี 2551 ให้ใช้จากงบประมาณปี พ.ศ. 2552 ซึ่งสำนักงบประมาณเสนอขอตั้งให้แล้ว
- เงินชดเชยบัญชีปี 2552 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมส่งเสริมสหกรณ์) เสนอขอตั้งงบประมาณในปี พ.ศ. 2553
- ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตรวจสอบรายละเอียดจำนวนเกษตรกรและวงเงินค่าชดเชยให้ถูกต้องครบถ้วนก่อน แล้วจึงขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือจะต้องเป็นกรณีที่ได้รับความเดือดร้อนจริงและไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น ซึ่งเป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. ปี 2550 เกิดอุทกภัยระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม 2550 ทำให้พื้นที่การเกษตรใน 61 จังหวัดได้รับความเสียหาย 6,045,379 ไร่ เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน 398,253 ราย ตามข้อมูลรายงานเบื้องต้นของกรมส่งเสริมการเกษตร
2. จากการสำรวจพบว่า มีสมาชิกสถาบันเกษตรกรได้รับผลกระทบจากอุทกภัยดังกล่าวจนเป็นเหตุให้พื้นที่ทำกินและผลผลิตเสียหายขาดรายได้ที่จะนำส่งชำระหนี้ให้กับสถาบันเกษตรกรได้ รวม 34 จังหวัด สมาชิก 15,531 ราย 167 สถาบันเกษตรกร มีต้นเงินเป็นหนี้กับสถาบันเกษตรกรก่อนวันก่อนเกิดอุทกภัย 945.86 ล้านบาท ซึ่งไม่ใช่สมาชิกรายเดิมที่ได้รับความช่วยเหลือไปแล้ว
3. สถาบันเกษตรกรได้พิจารณาพักการชำระหนี้ให้กับสมาชิก โดยงดเก็บดอกเบี้ยตลอดระยะเวลาที่พักการชำระหนี้ให้กับสมาชิก ตั้งแต่ปีบัญชี 2550 — 2552 รวม 3 ปี หากสถาบันเกษตรกรไม่ได้รับชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาลจะทำให้ขาดเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจบริการสมาชิก และไม่สามารถชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้ได้ เพราะเงินทุนส่วนใหญ่มาจากการกู้เงินจากภายนอกและหรือเงินรับฝากจากสมาชิกที่มีภาระต้องจ่ายคืน
4. มาตรการที่นำเสนอเป็นมาตรการเดียวกับมาตรการเดิมที่ให้ความช่วยเหลือสมาชิกสถาบันเกษตรกรที่ประสบอุทกภัยปี 2549 ทั้งนี้ เพื่อให้เกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนในลักษณะเดียวกันได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลในมาตรฐานเดียวกัน และเป็นมาตรการที่สอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่แถลงไว้ต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551 ที่ให้พักการชำระหนี้แก่เกษตรกร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 กรกฎาคม 2551--จบ--
ด้านหนี้สินของสมาชิกสถาบันเกษตรกร
1. กรณีสมาชิกเสียชีวิต ให้จำหน่ายหนี้ออกจากบัญชีของสถาบันเกษตรกรเป็นสูญ รัฐบาลรับภาระชำระหนี้ให้แทน
2. กรณีสมาชิกรายที่ประสบภัยอย่างร้ายแรงจนทำให้พื้นที่ทำกินและผลผลิตเสียหาย ขาดรายได้ที่จะนำส่งชำระหนี้ได้ สำหรับหนี้เงินกู้เดิมที่มีอยู่ก่อนประสบภัยให้สถาบันเกษตรกร
(1) ขยายเวลาการชำระหนี้เงินกู้เป็นเวลา 3 ปี
(2) งดคิดดอกเบี้ยเงินกู้เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีบัญชี 2550 — 2552 โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกร
สำหรับงบประมาณที่จะต้องจ่ายชดเชยให้กับสถาบันเกษตรกรให้ดำเนินการ ดังนี้
- เงินชดเชยปีบัญชี 2550 จำนวน 89.86 ล้านบาท ให้ใช้จากงบกลางฯ พ.ศ. 2550 ซึ่งกระทรวงการคลังอนุมัติให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีแล้ว
- เงินชดเชยปีบัญชี 2551 ให้ใช้จากงบประมาณปี พ.ศ. 2552 ซึ่งสำนักงบประมาณเสนอขอตั้งให้แล้ว
- เงินชดเชยบัญชีปี 2552 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมส่งเสริมสหกรณ์) เสนอขอตั้งงบประมาณในปี พ.ศ. 2553
- ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตรวจสอบรายละเอียดจำนวนเกษตรกรและวงเงินค่าชดเชยให้ถูกต้องครบถ้วนก่อน แล้วจึงขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือจะต้องเป็นกรณีที่ได้รับความเดือดร้อนจริงและไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น ซึ่งเป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. ปี 2550 เกิดอุทกภัยระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม 2550 ทำให้พื้นที่การเกษตรใน 61 จังหวัดได้รับความเสียหาย 6,045,379 ไร่ เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน 398,253 ราย ตามข้อมูลรายงานเบื้องต้นของกรมส่งเสริมการเกษตร
2. จากการสำรวจพบว่า มีสมาชิกสถาบันเกษตรกรได้รับผลกระทบจากอุทกภัยดังกล่าวจนเป็นเหตุให้พื้นที่ทำกินและผลผลิตเสียหายขาดรายได้ที่จะนำส่งชำระหนี้ให้กับสถาบันเกษตรกรได้ รวม 34 จังหวัด สมาชิก 15,531 ราย 167 สถาบันเกษตรกร มีต้นเงินเป็นหนี้กับสถาบันเกษตรกรก่อนวันก่อนเกิดอุทกภัย 945.86 ล้านบาท ซึ่งไม่ใช่สมาชิกรายเดิมที่ได้รับความช่วยเหลือไปแล้ว
3. สถาบันเกษตรกรได้พิจารณาพักการชำระหนี้ให้กับสมาชิก โดยงดเก็บดอกเบี้ยตลอดระยะเวลาที่พักการชำระหนี้ให้กับสมาชิก ตั้งแต่ปีบัญชี 2550 — 2552 รวม 3 ปี หากสถาบันเกษตรกรไม่ได้รับชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาลจะทำให้ขาดเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจบริการสมาชิก และไม่สามารถชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้ได้ เพราะเงินทุนส่วนใหญ่มาจากการกู้เงินจากภายนอกและหรือเงินรับฝากจากสมาชิกที่มีภาระต้องจ่ายคืน
4. มาตรการที่นำเสนอเป็นมาตรการเดียวกับมาตรการเดิมที่ให้ความช่วยเหลือสมาชิกสถาบันเกษตรกรที่ประสบอุทกภัยปี 2549 ทั้งนี้ เพื่อให้เกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนในลักษณะเดียวกันได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลในมาตรฐานเดียวกัน และเป็นมาตรการที่สอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่แถลงไว้ต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551 ที่ให้พักการชำระหนี้แก่เกษตรกร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 กรกฎาคม 2551--จบ--