คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการการจัดหาอากาศยานทดแทนของเดิมที่ชำรุดและจัดหาอากาศยานเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ สำหรับงบประมาณที่จะใช้จ่ายในการจัดหาอากาศยาน สำนักงบประมาณจะพิจารณาสนับสนุนตามความจำเป็นและเหมาะสมตามกำลังเงินของประเทศต่อไป
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานว่า สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี (18 ธันวาคม 2550 และ 22 มกราคม 2551) และนโยบายรัฐบาลเกี่ยวกับที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่จะดำเนินการอนุรักษ์พัฒนาและใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รายงานข้อเท็จจริง และข้อพิจารณาเกี่ยวกับการเห็นควรจัดหาอากาศยานเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนี้
1. สถานการณ์ป่าไม้ประเทศไทย ประเทศไทยมีพื้นที่ทั้งหมด 320.7 ล้านไร่ กำหนดเป้าหมายให้มีพื้นที่ป่าไม้ ร้อยละ 40 หรือ 128 ล้านไร่ แต่พื้นที่ซึ่งยังคงเป็นป่าเหลือเพียง 104.7 ล้านไร่ จะต้องฟื้นฟูป่าอีก 22.7 ล้านไร่ ภารกิจที่สำคัญจะต้องเฝ้าระวังมิให้ถูกบุกรุกทำลายอีก ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีคำสั่งที่ 84/2551 ลงวันที่ 28 มีนาคม 2551 จัดตั้งศูนย์ประสานปฏิบัติการเฉพาะกิจเพื่อป้องกันและปราบปรามการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ (ศปป.) ได้กำหนดแผนและมาตรการป้องกันรักษาทรัพยากรป่าไม้เป็นวาระสำคัญโดยประสานนโยบายและ
2. การรับโอนเฮลิคอปเตอร์จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เฮลิคอปเตอร์ที่กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำลังจะได้รับโอนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 14 เครื่อง เป็นแบบเครื่องยนต์เดียวทั้งหมดไม่สามารถใช้ปฏิบัติงานอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลได้ ประกอบกับเป็นเครื่องที่มีสภาพเก่าใช้งานมาเกินกว่า 16 ปี โดยเฉพาะสถานภาพของเฮลิคอปเตอร์ 3 เครื่อง คือ หมายเลข 1811, 1812 และ 18201 ทรุดโทรมมาก ดังนี้
- เฮลิคอปเตอร์หมายเลข 1811 ครบซ่อมใหญ่ Type C ตั้งแต่ปี 2540 ไม่มีงบประมาณซ่อม บินไม่ได้มาแล้ว 11 ปี เครื่องยนต์และอุปกรณ์ประกอบการบินถูกถอดไปใช้กับเครื่องอื่น
- เฮลิคอปเตอร์หมายเลข 1812 ครบซ่อมใหญ่ Type C ตั้งแต่ปี 2541 ไม่มีงบประมาณซ่อม บินไม่ได้มาแล้ว 10 ปี เครื่องยนต์และอุปกรณ์ประกอบการบินถูกถอดไปใช้กับเครื่องอื่น
- เฮลิคอปเตอร์หมายเลข 18201 ครบซ่อมใหญ่ Type C ตั้งแต่ปี 2547 และมีอุบัติเหตุเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2547 ไม่อาจซ่อมให้คืนสภาพได้
3. แผนแม่บทการใช้การจัดหาและการบำรุงรักษาอากาศยานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจัดทำโดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเมื่อปี พ.ศ. 2548 ระบุความต้องการใช้อากาศยานของส่วนราชการในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปีละประมาณ 20,720 ชั่วโมง สมควร
มีอากาศยานประจำการอย่างน้อย 26 ลำ
4. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาแล้ว เพื่อให้การดำเนินงานตามแผนและมาตรการเร่งด่วนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนองนโยบายของรัฐบาลได้อย่างจริงจังรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ จำเป็นต้องปรับปรุงเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพของอากาศยานให้ปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายด้านการป้องกันรักษาป่าทั้งทางบกและทางทะเล การดับไฟป่า การลดหมอกควัน การป้องกันเฝ้าระวังทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการพระราชดำริ จึงเห็นควรจัดหาอากาศยานทดแทนของเดิมที่ชำรุดและเพิ่มเติม ตามที่เสนอ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 กรกฎาคม 2551--จบ--
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานว่า สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี (18 ธันวาคม 2550 และ 22 มกราคม 2551) และนโยบายรัฐบาลเกี่ยวกับที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่จะดำเนินการอนุรักษ์พัฒนาและใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รายงานข้อเท็จจริง และข้อพิจารณาเกี่ยวกับการเห็นควรจัดหาอากาศยานเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนี้
1. สถานการณ์ป่าไม้ประเทศไทย ประเทศไทยมีพื้นที่ทั้งหมด 320.7 ล้านไร่ กำหนดเป้าหมายให้มีพื้นที่ป่าไม้ ร้อยละ 40 หรือ 128 ล้านไร่ แต่พื้นที่ซึ่งยังคงเป็นป่าเหลือเพียง 104.7 ล้านไร่ จะต้องฟื้นฟูป่าอีก 22.7 ล้านไร่ ภารกิจที่สำคัญจะต้องเฝ้าระวังมิให้ถูกบุกรุกทำลายอีก ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีคำสั่งที่ 84/2551 ลงวันที่ 28 มีนาคม 2551 จัดตั้งศูนย์ประสานปฏิบัติการเฉพาะกิจเพื่อป้องกันและปราบปรามการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ (ศปป.) ได้กำหนดแผนและมาตรการป้องกันรักษาทรัพยากรป่าไม้เป็นวาระสำคัญโดยประสานนโยบายและ
2. การรับโอนเฮลิคอปเตอร์จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เฮลิคอปเตอร์ที่กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำลังจะได้รับโอนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 14 เครื่อง เป็นแบบเครื่องยนต์เดียวทั้งหมดไม่สามารถใช้ปฏิบัติงานอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลได้ ประกอบกับเป็นเครื่องที่มีสภาพเก่าใช้งานมาเกินกว่า 16 ปี โดยเฉพาะสถานภาพของเฮลิคอปเตอร์ 3 เครื่อง คือ หมายเลข 1811, 1812 และ 18201 ทรุดโทรมมาก ดังนี้
- เฮลิคอปเตอร์หมายเลข 1811 ครบซ่อมใหญ่ Type C ตั้งแต่ปี 2540 ไม่มีงบประมาณซ่อม บินไม่ได้มาแล้ว 11 ปี เครื่องยนต์และอุปกรณ์ประกอบการบินถูกถอดไปใช้กับเครื่องอื่น
- เฮลิคอปเตอร์หมายเลข 1812 ครบซ่อมใหญ่ Type C ตั้งแต่ปี 2541 ไม่มีงบประมาณซ่อม บินไม่ได้มาแล้ว 10 ปี เครื่องยนต์และอุปกรณ์ประกอบการบินถูกถอดไปใช้กับเครื่องอื่น
- เฮลิคอปเตอร์หมายเลข 18201 ครบซ่อมใหญ่ Type C ตั้งแต่ปี 2547 และมีอุบัติเหตุเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2547 ไม่อาจซ่อมให้คืนสภาพได้
3. แผนแม่บทการใช้การจัดหาและการบำรุงรักษาอากาศยานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจัดทำโดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเมื่อปี พ.ศ. 2548 ระบุความต้องการใช้อากาศยานของส่วนราชการในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปีละประมาณ 20,720 ชั่วโมง สมควร
มีอากาศยานประจำการอย่างน้อย 26 ลำ
4. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาแล้ว เพื่อให้การดำเนินงานตามแผนและมาตรการเร่งด่วนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนองนโยบายของรัฐบาลได้อย่างจริงจังรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ จำเป็นต้องปรับปรุงเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพของอากาศยานให้ปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายด้านการป้องกันรักษาป่าทั้งทางบกและทางทะเล การดับไฟป่า การลดหมอกควัน การป้องกันเฝ้าระวังทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการพระราชดำริ จึงเห็นควรจัดหาอากาศยานทดแทนของเดิมที่ชำรุดและเพิ่มเติม ตามที่เสนอ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 กรกฎาคม 2551--จบ--