เรื่อง ขออนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณในการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพเพื่อเป็นอุตสาหกรรมเพื่ออนาคต
(New Wave Industries) ของประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักการการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพเพื่อเป็นอุตสาหกรรมเพื่ออนาคต (New Wave Industries) ของประเทศไทย (พ.ศ.2551-2555) ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ สำหรับ งบประมาณดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณให้สอดคล้องกับระยะเวลาและความพร้อมในการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วน วงเงินงบประมาณตามแผนงาน โครงการและกิจกรรมที่กำหนดไว้ในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป ให้หน่วยงาน ต่าง ๆ เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีโดยตรง ซึ่งสำนักงบประมาณจะพิจารณาจัดสรรให้ตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ มอบหมายให้คณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ กำกับดูแล และติดตามประเมินผลการดำเนินงานของแผนที่นำทางแห่งชาติฯ และให้รายงานผลต่อคณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ ๆ ต่อไปด้วย
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) รายงานว่า
1. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติได้ดำเนินงานเพื่อยกระดับนวัตกรรมของประเทศ โดยกำหนดการพัฒนาโครงการนวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ใน 3 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ ธุรกิจชีวภาพ พลังงานและสิ่งแวดล้อม และการออกแบบและการสร้างตราสินค้า โดยการดำเนินงานพัฒนาโครงการนวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ด้านวัสดุชีวภาพของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ มีความสอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลเกี่ยวกับการเร่งรัดมาตรการและโครงการเพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติโลกร้อน และนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมในกลุ่มอุตสาหกรรมเพื่ออนาคต
ทั้งนี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติได้รับมอบหมายจาก วท. ให้รับผิดชอบในการยกร่างแผนปฏิบัติการปรับ โครงสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเพื่ออนาคต (New Wave Industries) ซึ่งบัดนี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติได้ดำเนินการ จัดทำแผนปฏิบัติการดังกล่าวในรูปแบบของแผนที่นำทางแห่งชาติการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งประกอบด้วย กลยุทธ์การดำเนินงาน 4 ด้าน ในระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2551-2555) ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 การสร้างความพร้อมด้านวัตถุดิบชีวมวล กลยุทธ์ที่ 2 การเร่งรัดสร้างเทคโนโลยี กลยุทธ์ที่ 3 การสร้างอุตสาหกรรมและธุรกิจนวัตกรรม กลยุทธ์ที่ 4 การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน
2. แผนที่นำทางฉบับนี้ได้ประมวลข้อมูลของสถานภาพปัจจุบันของธุรกิจอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีพลาสติกชีวภาพอย่างครบวงจรของประเทศผู้นำซึ่งครอบคลุมถึงการวิเคราะห์สถานภาพ จุดแข็ง จุดอ่อน ความพร้อมด้านเทคโนโลยีทั้งในระดับวิชาการ และระดับอุตสาหกรรม ความเป็นไปได้และศักยภาพของประเทศไทยในการสร้างนวัตกรรมธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อการแข่งขันได้ในระดับภูมิภาค รวมทั้งกลยุทธ์ บทบาทของหน่วยงานหลักและหน่วยงานสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระยะสั้นและระยะยาว
3. แผนที่นำทางฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการดำเนินการ กลยุทธ์ และกิจกรรมของหน่วยงานรัฐ ที่เกี่ยวข้อง ที่จะสร้างกลไกความพร้อมด้านวัตถุดิบชีวมวลของประเทศ ด้านการลงทุนและเทคโนโลยี ในการผลิตพลาสติก ชีวภาพและธุรกิจการค้า เพื่อให้ประเทศไทยสามารถสร้างธุรกิจนวัตกรรมพลาสติกชีวภาพให้ทันต่อกระแสโลกาภิวัตน์ และ เพื่อการเป็นผู้นำในภูมิภาคและในระดับนานาชาติ ด้วยการวางกลยุทธ์และงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้กำหนด เป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรมดังต่อไปนี้
3.1 เป้าหมายด้านวัตถุดิบ ประเทศไทยสามารถใช้วัตถุดิบจากภาคการเกษตรภายในประเทศเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกชีวภาพเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม และก่อให้เกิดเสถียรภาพทางด้านราคาของวัตถุดิบจากการเกษตรคิดเป็นมูลค่ารวม 4,500 ล้านบาท
3.2 เป้าหมายด้านเทคโนโลยี ประเทศไทยจะต้องมีการเร่งรัดการพัฒนาและสร้างเทคโนโลยีที่จำเป็น มีการต่อยอดงานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างเทคโนโลยีของตนเอง รวมทั้งมีการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ เพื่อให้เกิดทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศ สำหรับรองรับการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพได้ในอนาคต โดยสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ 500 ล้านบาท
3.3 เป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยสามารถใช้พลาสติกชีวภาพเพื่อเป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เกิดค่านิยมในการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และลดปัญหาขยะพลาสติก ลดงบประมาณการแก้ไขขยะพลาสติกได้ 500 ล้านบาท
3.4 เป้าหมายด้านนโยบาย ประเทศไทยจะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมและธุรกิจการค้าพลาสติกชีวภาพอย่างครบวงจร และผู้บริโภคมีโอกาสนำมาใช้งานได้แพร่หลายเพื่อเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของประเทศอย่างยั่งยืน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 กรกฎาคม 2551--จบ--
(New Wave Industries) ของประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักการการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพเพื่อเป็นอุตสาหกรรมเพื่ออนาคต (New Wave Industries) ของประเทศไทย (พ.ศ.2551-2555) ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ สำหรับ งบประมาณดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณให้สอดคล้องกับระยะเวลาและความพร้อมในการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วน วงเงินงบประมาณตามแผนงาน โครงการและกิจกรรมที่กำหนดไว้ในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป ให้หน่วยงาน ต่าง ๆ เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีโดยตรง ซึ่งสำนักงบประมาณจะพิจารณาจัดสรรให้ตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ มอบหมายให้คณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ กำกับดูแล และติดตามประเมินผลการดำเนินงานของแผนที่นำทางแห่งชาติฯ และให้รายงานผลต่อคณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ ๆ ต่อไปด้วย
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) รายงานว่า
1. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติได้ดำเนินงานเพื่อยกระดับนวัตกรรมของประเทศ โดยกำหนดการพัฒนาโครงการนวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ใน 3 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ ธุรกิจชีวภาพ พลังงานและสิ่งแวดล้อม และการออกแบบและการสร้างตราสินค้า โดยการดำเนินงานพัฒนาโครงการนวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ด้านวัสดุชีวภาพของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ มีความสอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลเกี่ยวกับการเร่งรัดมาตรการและโครงการเพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติโลกร้อน และนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมในกลุ่มอุตสาหกรรมเพื่ออนาคต
ทั้งนี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติได้รับมอบหมายจาก วท. ให้รับผิดชอบในการยกร่างแผนปฏิบัติการปรับ โครงสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเพื่ออนาคต (New Wave Industries) ซึ่งบัดนี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติได้ดำเนินการ จัดทำแผนปฏิบัติการดังกล่าวในรูปแบบของแผนที่นำทางแห่งชาติการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งประกอบด้วย กลยุทธ์การดำเนินงาน 4 ด้าน ในระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2551-2555) ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 การสร้างความพร้อมด้านวัตถุดิบชีวมวล กลยุทธ์ที่ 2 การเร่งรัดสร้างเทคโนโลยี กลยุทธ์ที่ 3 การสร้างอุตสาหกรรมและธุรกิจนวัตกรรม กลยุทธ์ที่ 4 การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน
2. แผนที่นำทางฉบับนี้ได้ประมวลข้อมูลของสถานภาพปัจจุบันของธุรกิจอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีพลาสติกชีวภาพอย่างครบวงจรของประเทศผู้นำซึ่งครอบคลุมถึงการวิเคราะห์สถานภาพ จุดแข็ง จุดอ่อน ความพร้อมด้านเทคโนโลยีทั้งในระดับวิชาการ และระดับอุตสาหกรรม ความเป็นไปได้และศักยภาพของประเทศไทยในการสร้างนวัตกรรมธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อการแข่งขันได้ในระดับภูมิภาค รวมทั้งกลยุทธ์ บทบาทของหน่วยงานหลักและหน่วยงานสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระยะสั้นและระยะยาว
3. แผนที่นำทางฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการดำเนินการ กลยุทธ์ และกิจกรรมของหน่วยงานรัฐ ที่เกี่ยวข้อง ที่จะสร้างกลไกความพร้อมด้านวัตถุดิบชีวมวลของประเทศ ด้านการลงทุนและเทคโนโลยี ในการผลิตพลาสติก ชีวภาพและธุรกิจการค้า เพื่อให้ประเทศไทยสามารถสร้างธุรกิจนวัตกรรมพลาสติกชีวภาพให้ทันต่อกระแสโลกาภิวัตน์ และ เพื่อการเป็นผู้นำในภูมิภาคและในระดับนานาชาติ ด้วยการวางกลยุทธ์และงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้กำหนด เป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรมดังต่อไปนี้
3.1 เป้าหมายด้านวัตถุดิบ ประเทศไทยสามารถใช้วัตถุดิบจากภาคการเกษตรภายในประเทศเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกชีวภาพเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม และก่อให้เกิดเสถียรภาพทางด้านราคาของวัตถุดิบจากการเกษตรคิดเป็นมูลค่ารวม 4,500 ล้านบาท
3.2 เป้าหมายด้านเทคโนโลยี ประเทศไทยจะต้องมีการเร่งรัดการพัฒนาและสร้างเทคโนโลยีที่จำเป็น มีการต่อยอดงานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างเทคโนโลยีของตนเอง รวมทั้งมีการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ เพื่อให้เกิดทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศ สำหรับรองรับการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพได้ในอนาคต โดยสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ 500 ล้านบาท
3.3 เป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยสามารถใช้พลาสติกชีวภาพเพื่อเป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เกิดค่านิยมในการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และลดปัญหาขยะพลาสติก ลดงบประมาณการแก้ไขขยะพลาสติกได้ 500 ล้านบาท
3.4 เป้าหมายด้านนโยบาย ประเทศไทยจะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมและธุรกิจการค้าพลาสติกชีวภาพอย่างครบวงจร และผู้บริโภคมีโอกาสนำมาใช้งานได้แพร่หลายเพื่อเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของประเทศอย่างยั่งยืน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 กรกฎาคม 2551--จบ--