เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551
เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาระบบขนส่งทางรางและระบบขนส่งมวลชน
คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 223,309,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างที่ปรึกษา จำนวน 3 โครงการ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ดังนี้
1. โครงการศึกษาปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล วงเงิน 29,393,000 บาท
2. งานออกแบบรายละเอียดสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มส่วนต่อขยายช่วงสะพานใหม่-ลำลูกกา คลอง 4 ระยะทาง 13 กม. วงเงิน 128,090,000 บาท
3. งานออกแบบรายละเอียดสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อนส่วนต่อขยายช่วงสมุทรปราการ (บางปิ้ง) — บางปู ระยะทาง 7.5 กม. วงเงิน 65,826,000 บาท และให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และข้อสังเกตของสำนักงบประมาณไปดำเนินการด้วย
กระทรวงคมนาคมรายงานว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (18 มีนาคม 2551) นั้น สนข. ขอรับการสนับสนุนงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 เพื่อดำเนินการ 3 โครงการ โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนงาน ดังนี้
1. งานศึกษาความเหมาะสม จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ โครงการศึกษาปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อดำเนินการปรับปรุงโครงข่ายการขนส่งมวลชนระบบรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 7 เส้นทางเดิม ระยะทางรวม 291 กิโลเมตร โดยดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 9 เดือน ระหว่างเดือนสิงหาคม 2551-เมษายน 2552
2. งานศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียด จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ 2.1 งานออกแบบรายละเอียดสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มส่วนต่อขยายช่วงสะพานใหม่-ลำลูกกา คลอง 4 ระยะทาง 13 กม. 2.2 งานออกแบบรายละเอียดสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อนส่วนต่อขยายช่วงสมุทรปราการ (บางปิ้ง) — บางปู ระยะทาง 7.5 กม. โดย สนข. จะดำเนินการศึกษาและออกแบบรายละเอียดทั้ง 2 โครงการ ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 6 เดือน ระหว่างเดือนสิงหาคม 2551-กุมภาพันธ์ 2552 (กรณีได้รับจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551) และจะได้ออกแบบรายละเอียดทางวิศวกรรมให้สอดคล้องกับโครงสร้างของงานในช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ และแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่ สนข. ได้ออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ และจะมีข้อสรุปในเรื่องทางวิศวกรรม เช่น การใช้โครงสร้างทางวิ่งแบบต่อเนื่อง 3 ช่วง (Continuous 3 Span) รวมถึงงานออกแบบรูปลักษณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกงานสถานีรถไฟฟ้าที่มีราคาค่าก่อสร้างประหยัด ซึ่งการดำเนินงานของ สนข. จะทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่องใช้งบประมาณในการออกแบบรายละเอียดอย่างประหยัด และสามารถบูรณาการข้อจำกัด และอุปสรรคในด้านสาธารณูปโภคได้อย่างรวดเร็ว และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับการศึกษา ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ร่วมในการศึกษาและควบคุมงาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 กรกฎาคม 2551--จบ--
เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาระบบขนส่งทางรางและระบบขนส่งมวลชน
คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 223,309,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างที่ปรึกษา จำนวน 3 โครงการ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ดังนี้
1. โครงการศึกษาปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล วงเงิน 29,393,000 บาท
2. งานออกแบบรายละเอียดสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มส่วนต่อขยายช่วงสะพานใหม่-ลำลูกกา คลอง 4 ระยะทาง 13 กม. วงเงิน 128,090,000 บาท
3. งานออกแบบรายละเอียดสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อนส่วนต่อขยายช่วงสมุทรปราการ (บางปิ้ง) — บางปู ระยะทาง 7.5 กม. วงเงิน 65,826,000 บาท และให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และข้อสังเกตของสำนักงบประมาณไปดำเนินการด้วย
กระทรวงคมนาคมรายงานว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (18 มีนาคม 2551) นั้น สนข. ขอรับการสนับสนุนงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 เพื่อดำเนินการ 3 โครงการ โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนงาน ดังนี้
1. งานศึกษาความเหมาะสม จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ โครงการศึกษาปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อดำเนินการปรับปรุงโครงข่ายการขนส่งมวลชนระบบรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 7 เส้นทางเดิม ระยะทางรวม 291 กิโลเมตร โดยดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 9 เดือน ระหว่างเดือนสิงหาคม 2551-เมษายน 2552
2. งานศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียด จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ 2.1 งานออกแบบรายละเอียดสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มส่วนต่อขยายช่วงสะพานใหม่-ลำลูกกา คลอง 4 ระยะทาง 13 กม. 2.2 งานออกแบบรายละเอียดสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อนส่วนต่อขยายช่วงสมุทรปราการ (บางปิ้ง) — บางปู ระยะทาง 7.5 กม. โดย สนข. จะดำเนินการศึกษาและออกแบบรายละเอียดทั้ง 2 โครงการ ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 6 เดือน ระหว่างเดือนสิงหาคม 2551-กุมภาพันธ์ 2552 (กรณีได้รับจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551) และจะได้ออกแบบรายละเอียดทางวิศวกรรมให้สอดคล้องกับโครงสร้างของงานในช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ และแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่ สนข. ได้ออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ และจะมีข้อสรุปในเรื่องทางวิศวกรรม เช่น การใช้โครงสร้างทางวิ่งแบบต่อเนื่อง 3 ช่วง (Continuous 3 Span) รวมถึงงานออกแบบรูปลักษณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกงานสถานีรถไฟฟ้าที่มีราคาค่าก่อสร้างประหยัด ซึ่งการดำเนินงานของ สนข. จะทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่องใช้งบประมาณในการออกแบบรายละเอียดอย่างประหยัด และสามารถบูรณาการข้อจำกัด และอุปสรรคในด้านสาธารณูปโภคได้อย่างรวดเร็ว และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับการศึกษา ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ร่วมในการศึกษาและควบคุมงาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 กรกฎาคม 2551--จบ--