คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน ในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (เดือนตุลาคม 2550 - มีนาคม 2551) สรุปได้ดังนี้
1. การอนุมัติเงินกู้
การอนุมัติเงินกู้ในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (เดือนตุลาคม 2550 - มีนาคม 2551) เปรียบเทียบกับปีงบประมาณ 2550
ผลการอนุมัติช่วง 6 เดือนแรก ของปีงบประมาณ 2551 ผลการอนุมัติช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550
จำนวน (ราย) จำนวนเงิน (บาท) จำนวนที่ดิน (ไร่) จำนวน (ราย) จำนวนเงิน (บาท) จำนวนที่ดิน (ไร่)
255 49,297,241 2,665-1-28.2 419 65,363,790 3,800-1-71.8
2. ผลเปรียบเทียบการดำเนินการอนุมัติเงินกู้ในช่วง 6 เดือนแรก ของปีงบประมาณ 2551 และปีงบประมาณ 2550 ปรากฏว่า ผลการอนุมัติเงินกู้ในปีงบประมาณ 2551 จำนวนรายในการอนุมัติเงินกู้ลดลง จำนวน 164 ราย คิดเป็นร้อยละ 39.14 และจำนวนเงินที่อนุมัติลดลง จำนวน 16.07 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.58 ของผลการอนุมัติในปีงบประมาณ 2550 เนื่องจากผู้ร้องขอความช่วยเหลือส่วนใหญ่เป็นหนี้กับสถาบันการเงิน และวงเงินที่ขอกู้เกินกว่า 500,000 บาท ทำให้ไม่สามารถให้ความช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์กองทุนหมุนเวียน ฯ ได้ ประกอบกับกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสามารถดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มเกษตรกรที่เป็นสมาชิกตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรได้แล้ว ทำให้สมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ ได้รับการช่วยเหลือเพิ่มมากขึ้น และมาขอความช่วยเหลือกองทุนหมุนเวียนฯ ลดน้อยลง
จำนวนรายที่อนุมัติเงินกู้ จำนวนเงินที่อนุมัติเงินกู้
ปี 2551 ปี 2550 เพิ่ม/ลด (ร้อยละ) ปี 2551 ปี 2550 เพิ่ม/ลด (ร้อยละ)
255 419 - 39.14 49.30 65.36 - 24.58
การอนุมัติเงินกู้ ตั้งแต่ปี 2534 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2551 กองทุนหมุนเวียนฯ ได้อนุมัติเงินกู้จำนวน 20,270 ราย จำนวนเงิน 2,654,937,206.63 บาท จำนวนที่ดินที่ช่วยเหลือเนื้อที่ 214,082-2-09.4 ไร่
3. การจ่ายและรับชำระหนี้คืนเงินกู้
3.1 การจ่ายเงินกู้ให้แก่เกษตรกรที่ได้รับการอนุมัติเงินกู้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2534 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2551 จำนวน 18,424 ราย จำนวนเงิน 2,346.57 ล้านบาท
3.2 การรับชำระหนี้ในช่วงเดือนตุลาคม 2550 — มีนาคม 2551 ได้รับชำระหนี้ต้นเงินคืน จำนวน 77.42 ล้านบาท และดอกเบี้ย จำนวน 35.53 ล้านบาท และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2534 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2551 มีลูกหนี้กองทุนหมุนเวียนฯ ชำระต้นเงินคืน จำนวนเงิน 1,115.73 ล้านบาท และดอกเบี้ย จำนวนเงิน 556.04 ล้านบาท
3.3 ณ วันที่ 31 มีนาคม 2551 กองทุนหมุนเวียนฯ มียอดต้นเงินกู้คงเหลือ จำนวนเงิน 1,230.84 ล้านบาท เป็นหนี้ปกติ จำนวนเงิน 641.95 ล้านบาท และหนี้ค้างชำระ จำนวนเงิน 588.89 ล้านบาท
จ่ายเงินกู้ รับชำระหนี้ ต้นเงินกู้คงเหลือ
ม.ค.34-มี.ค.51 ม.ค.34 — มี.ค.51
ราย ล้านบาท ต้นเงิน ดอกเบี้ย หนี้ปกติ หนี้ค้างชำระ รวม
(ล้านบาท) (ล้านบาท) (ล้านบาท) (ล้านบาท) (ล้านบาท)
18,424 2,346.57 1,115.73 556.04 641.95 588.89 1,230.84
4. สถานะการเงินของกองทุนหมุนเวียนฯ ในช่วง 6 เดือนแรก (ตุลาคม 2550 — มีนาคม 2551) มีรายรับทั้งสิ้น จำนวน 118,628,306.71 บาท และรายจ่ายทั้งสิ้น จำนวน 50,327,160 บาท ซึ่งเป็นการจ่ายเงินกู้ให้แก่เกษตรกร จำนวน 49,297,241 บาท คิดเป็นร้อยละ 97.95 ของรายจ่ายทั้งหมด และ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2551 กองทุนมียอดเงินคงเหลือรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 780,112,062.84 บาท
5. ปัญหาอุปสรรคและการแก้ไข
จากการดำเนินการที่ผ่านมา ปรากฏว่า การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนตามระเบียบฯ มีจำนวนลดลง เนื่องจากเกษตรกรและผู้ยากจนที่มาขอความช่วยเหลือส่วนใหญ่ไม่เข้าหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือ กชก. จึงดำเนินการแก้ไขระเบียบ หลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ดังนี้
5.1 การขยายวงเงินกู้จากรายละไม่เกิน 500,000 บาท เป็นรายละไม่เกิน 2,500,000 บาท
5.2 กรณีการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ที่นำมาจำนองเป็นประกันจากราคาประเมินหลักประกันต้อง มีราคาประเมินไม่น้อยกว่าจำนวนเงินที่ให้กู้ แต่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนเงินที่ให้กู้ เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่นำมาจำนองเป็นประกันต้องมีราคาประเมินไม่น้อยกว่าจำนวนเงินที่ให้กู้แต่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 หรือร้อยละ 50 ของจำนวนเงินที่ให้กู้ กชก อาจพิจารณาให้นำอสังหาริมทรัพย์อื่นซึ่งมิได้จำนองเป็นประกันต่อเจ้าหนี้รายอื่น หรือจัดหาบุคคลมาค้ำประกันเพิ่มเติม เพื่อให้มีราคาประเมินไม่น้อยกว่าจำนวนเงินที่ให้กู้
5.3 กรณีการประเมินราคาสิ่งปลูกสร้างที่มีการประกันวินาศภัยจากสิ่งปลูกสร้างที่มีการประกันวินาศภัยให้ประเมินราคาร้อยละ 30 ของราคาสิ่งปลูกสร้างที่ประเมินได้ เป็นให้ประเมินราคาร้อยละ 50 ของราคาสิ่งปลูกสร้างที่ประเมินได้ และกรณีไม่มีการประกันวินาศภัยให้ประเมินราคาร้อยละ 20 ของราคาสิ่งปลูกสร้างที่ประเมินได้ เป็นให้ประเมินราคาร้อยละ 30 ของราคาสิ่งปลูกสร้างที่ประเมินได้ แล้วนำราคาอสังหาริมทรัพย์และราคาสิ่งปลูกสร้างที่ประเมินได้ดังกล่าวมารวมเป็นราคาประเมินหลักประกัน
5.4 เพิ่มมาตรการการพัฒนาและฟื้นฟูอาชีพแก่ลูกหนี้กองทุนหมุนเวียนฯ เพื่อเพิ่มศักยภาพและสร้างความเข้มแข็งแก่ลูกหนี้ให้สามารถพึ่งพาตนเอง สามารถชำระหนี้คืนกองทุนหมุนเวียนฯ ได้ โดยการแบ่งกลุ่มลูกหนี้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มที่สามารถชำระหนี้คืนได้ภายในระยะเวลากำหนดตามปกติ จะมีการสร้างแรงจูงใจให้ชำระหนี้ โดยการลดดอกเบี้ยจากอัตราร้อยละ 5 ต่อปี เหลืออัตราร้อยละ 4 — 2 ต่อปี ตามระยะเวลาในการชำระหนี้ได้อย่างต่อเนื่อง และกลุ่มที่ไม่สามารถชำระหนี้คืนกองทุนหมุนเวียนฯ ได้ ได้กำหนดมาตรการฟื้นฟูอาชีพ มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ มาตรการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ มาตรการประนอมหนี้ มาตรการดำเนินการทางกฎหมายและมาตรการตัดหนี้สูญ ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนหรือปัจจัยการผลิต เพิ่มเติม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสามารถ ความเหมาะสมและความต้องการของเกษตรกรเป็นหลัก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 กรกฎาคม 2551--จบ--
1. การอนุมัติเงินกู้
การอนุมัติเงินกู้ในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (เดือนตุลาคม 2550 - มีนาคม 2551) เปรียบเทียบกับปีงบประมาณ 2550
ผลการอนุมัติช่วง 6 เดือนแรก ของปีงบประมาณ 2551 ผลการอนุมัติช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550
จำนวน (ราย) จำนวนเงิน (บาท) จำนวนที่ดิน (ไร่) จำนวน (ราย) จำนวนเงิน (บาท) จำนวนที่ดิน (ไร่)
255 49,297,241 2,665-1-28.2 419 65,363,790 3,800-1-71.8
2. ผลเปรียบเทียบการดำเนินการอนุมัติเงินกู้ในช่วง 6 เดือนแรก ของปีงบประมาณ 2551 และปีงบประมาณ 2550 ปรากฏว่า ผลการอนุมัติเงินกู้ในปีงบประมาณ 2551 จำนวนรายในการอนุมัติเงินกู้ลดลง จำนวน 164 ราย คิดเป็นร้อยละ 39.14 และจำนวนเงินที่อนุมัติลดลง จำนวน 16.07 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.58 ของผลการอนุมัติในปีงบประมาณ 2550 เนื่องจากผู้ร้องขอความช่วยเหลือส่วนใหญ่เป็นหนี้กับสถาบันการเงิน และวงเงินที่ขอกู้เกินกว่า 500,000 บาท ทำให้ไม่สามารถให้ความช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์กองทุนหมุนเวียน ฯ ได้ ประกอบกับกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสามารถดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มเกษตรกรที่เป็นสมาชิกตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรได้แล้ว ทำให้สมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ ได้รับการช่วยเหลือเพิ่มมากขึ้น และมาขอความช่วยเหลือกองทุนหมุนเวียนฯ ลดน้อยลง
จำนวนรายที่อนุมัติเงินกู้ จำนวนเงินที่อนุมัติเงินกู้
ปี 2551 ปี 2550 เพิ่ม/ลด (ร้อยละ) ปี 2551 ปี 2550 เพิ่ม/ลด (ร้อยละ)
255 419 - 39.14 49.30 65.36 - 24.58
การอนุมัติเงินกู้ ตั้งแต่ปี 2534 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2551 กองทุนหมุนเวียนฯ ได้อนุมัติเงินกู้จำนวน 20,270 ราย จำนวนเงิน 2,654,937,206.63 บาท จำนวนที่ดินที่ช่วยเหลือเนื้อที่ 214,082-2-09.4 ไร่
3. การจ่ายและรับชำระหนี้คืนเงินกู้
3.1 การจ่ายเงินกู้ให้แก่เกษตรกรที่ได้รับการอนุมัติเงินกู้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2534 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2551 จำนวน 18,424 ราย จำนวนเงิน 2,346.57 ล้านบาท
3.2 การรับชำระหนี้ในช่วงเดือนตุลาคม 2550 — มีนาคม 2551 ได้รับชำระหนี้ต้นเงินคืน จำนวน 77.42 ล้านบาท และดอกเบี้ย จำนวน 35.53 ล้านบาท และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2534 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2551 มีลูกหนี้กองทุนหมุนเวียนฯ ชำระต้นเงินคืน จำนวนเงิน 1,115.73 ล้านบาท และดอกเบี้ย จำนวนเงิน 556.04 ล้านบาท
3.3 ณ วันที่ 31 มีนาคม 2551 กองทุนหมุนเวียนฯ มียอดต้นเงินกู้คงเหลือ จำนวนเงิน 1,230.84 ล้านบาท เป็นหนี้ปกติ จำนวนเงิน 641.95 ล้านบาท และหนี้ค้างชำระ จำนวนเงิน 588.89 ล้านบาท
จ่ายเงินกู้ รับชำระหนี้ ต้นเงินกู้คงเหลือ
ม.ค.34-มี.ค.51 ม.ค.34 — มี.ค.51
ราย ล้านบาท ต้นเงิน ดอกเบี้ย หนี้ปกติ หนี้ค้างชำระ รวม
(ล้านบาท) (ล้านบาท) (ล้านบาท) (ล้านบาท) (ล้านบาท)
18,424 2,346.57 1,115.73 556.04 641.95 588.89 1,230.84
4. สถานะการเงินของกองทุนหมุนเวียนฯ ในช่วง 6 เดือนแรก (ตุลาคม 2550 — มีนาคม 2551) มีรายรับทั้งสิ้น จำนวน 118,628,306.71 บาท และรายจ่ายทั้งสิ้น จำนวน 50,327,160 บาท ซึ่งเป็นการจ่ายเงินกู้ให้แก่เกษตรกร จำนวน 49,297,241 บาท คิดเป็นร้อยละ 97.95 ของรายจ่ายทั้งหมด และ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2551 กองทุนมียอดเงินคงเหลือรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 780,112,062.84 บาท
5. ปัญหาอุปสรรคและการแก้ไข
จากการดำเนินการที่ผ่านมา ปรากฏว่า การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนตามระเบียบฯ มีจำนวนลดลง เนื่องจากเกษตรกรและผู้ยากจนที่มาขอความช่วยเหลือส่วนใหญ่ไม่เข้าหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือ กชก. จึงดำเนินการแก้ไขระเบียบ หลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ดังนี้
5.1 การขยายวงเงินกู้จากรายละไม่เกิน 500,000 บาท เป็นรายละไม่เกิน 2,500,000 บาท
5.2 กรณีการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ที่นำมาจำนองเป็นประกันจากราคาประเมินหลักประกันต้อง มีราคาประเมินไม่น้อยกว่าจำนวนเงินที่ให้กู้ แต่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนเงินที่ให้กู้ เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่นำมาจำนองเป็นประกันต้องมีราคาประเมินไม่น้อยกว่าจำนวนเงินที่ให้กู้แต่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 หรือร้อยละ 50 ของจำนวนเงินที่ให้กู้ กชก อาจพิจารณาให้นำอสังหาริมทรัพย์อื่นซึ่งมิได้จำนองเป็นประกันต่อเจ้าหนี้รายอื่น หรือจัดหาบุคคลมาค้ำประกันเพิ่มเติม เพื่อให้มีราคาประเมินไม่น้อยกว่าจำนวนเงินที่ให้กู้
5.3 กรณีการประเมินราคาสิ่งปลูกสร้างที่มีการประกันวินาศภัยจากสิ่งปลูกสร้างที่มีการประกันวินาศภัยให้ประเมินราคาร้อยละ 30 ของราคาสิ่งปลูกสร้างที่ประเมินได้ เป็นให้ประเมินราคาร้อยละ 50 ของราคาสิ่งปลูกสร้างที่ประเมินได้ และกรณีไม่มีการประกันวินาศภัยให้ประเมินราคาร้อยละ 20 ของราคาสิ่งปลูกสร้างที่ประเมินได้ เป็นให้ประเมินราคาร้อยละ 30 ของราคาสิ่งปลูกสร้างที่ประเมินได้ แล้วนำราคาอสังหาริมทรัพย์และราคาสิ่งปลูกสร้างที่ประเมินได้ดังกล่าวมารวมเป็นราคาประเมินหลักประกัน
5.4 เพิ่มมาตรการการพัฒนาและฟื้นฟูอาชีพแก่ลูกหนี้กองทุนหมุนเวียนฯ เพื่อเพิ่มศักยภาพและสร้างความเข้มแข็งแก่ลูกหนี้ให้สามารถพึ่งพาตนเอง สามารถชำระหนี้คืนกองทุนหมุนเวียนฯ ได้ โดยการแบ่งกลุ่มลูกหนี้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มที่สามารถชำระหนี้คืนได้ภายในระยะเวลากำหนดตามปกติ จะมีการสร้างแรงจูงใจให้ชำระหนี้ โดยการลดดอกเบี้ยจากอัตราร้อยละ 5 ต่อปี เหลืออัตราร้อยละ 4 — 2 ต่อปี ตามระยะเวลาในการชำระหนี้ได้อย่างต่อเนื่อง และกลุ่มที่ไม่สามารถชำระหนี้คืนกองทุนหมุนเวียนฯ ได้ ได้กำหนดมาตรการฟื้นฟูอาชีพ มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ มาตรการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ มาตรการประนอมหนี้ มาตรการดำเนินการทางกฎหมายและมาตรการตัดหนี้สูญ ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนหรือปัจจัยการผลิต เพิ่มเติม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสามารถ ความเหมาะสมและความต้องการของเกษตรกรเป็นหลัก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 กรกฎาคม 2551--จบ--