คณะรัฐมนตรีอนุมัติและเห็นชอบ 6 มาตรการ 6 เดือนฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบ 6 มาตรการ 6 เดือนฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน โดยยึดหลักการในการประหยัดพลังงาน และส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกในภาคประชาชน ตลอดจนลดผลกระทบต่อรายได้ โดยเฉพาะในกลุ่มของประชาชนที่มีรายได้น้อย เพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจมีความรุนแรงขึ้นในภาคการบริโภค และการรักษาวินัยทางการคลัง โดยมีระยะเวลาประมาณ 6 เดือน เริ่มต้นไม่เกินวันที่ 1 สิงหาคม 2551 และสิ้นสุดในวันที่ 31 มกราคม 2552
2. อนุมัติงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในกรอบวงเงินจำนวน 3,874 ล้านบาท สำหรับอุดหนุนรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ การประปาส่วนภูมิภาค องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ และการรถไฟแห่งประเทศไทย
3. เห็นชอบให้ยกเว้นไม่นำผลกระทบด้านการเงิน จากการดำเนินงานตามมาตรการดังกล่าวมาใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานในปี 2551 ของหน่วยงานที่รับผิดชอบมาตรการดังกล่าวทั้งส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
4. มอบหมายให้กระทรวงการคลังพิจารณาแนวทางสนับสนุนเงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่อง ในกรณีรัฐวิสาหกิจที่รับผิดชอบได้รับผลกระทบจากการดำเนินการตาม 6 มาตรการ
5. มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติติดตามความก้าวหน้าการดำเนินมาตรการ และรายงานให้คณะรัฐมนตรีด้านนโยบายเศรษฐกิจทราบต่อไป
สาระสำคัญ
1. 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน
หลักการของ 6 เดือน 6 มาตรการ ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน เป็นการกำหนดมาตรการลดผลกระทบต่อประชาชนในระยะสั้น โดยคงหลักการในการประหยัดพลังงาน และส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกในภาคประชาชน ตลอดจนลดผลกระทบต่อรายได้ โดยเฉพาะในกลุ่มของประชาชนที่มีรายได้น้อย เพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจมีความรุนแรงขึ้นในภาคการบริโภค และการรักษาวินัยทางการคลัง โดยดำเนินการ 6 มาตรการ ดังนี้
1.1 ลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน
1.1.1 น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 E10 E20 และ E85 ลดภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และแก๊สโซฮอล์ 95 ลง 3.30 บาทต่อลิตร เหลือ 0.0165 บาทต่อลิตร เพื่อให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 มีช่วงห่างของราคาจำหน่ายต่ำกว่าน้ำมันเบนซิน 91 และน้ำมันเบนซิน 95 มากขึ้น
1.1.2 มันดีเซล ลดภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากน้ำมันดีเซลลง 2.30 บาทต่อลิตร เหลือ 0.005 บาทต่อลิตร และลดภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากน้ำมันไบโอดีเซล (Biodiesel : B5) ลง 2.19 บาทต่อลิตร เหลือ 0.0048 บาทต่อลิตร เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อต้นทุนของภาคการขนส่งในระยะสั้น และช่วยให้ผู้ประกอบการมีระยะเวลาในการปรับเปลี่ยนไปสู่การใช้พลังงานทางเลือก (NGV)
1.2 ชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ในภาคครัวเรือน เพื่อลดแรงกดดันค่าใช้จ่ายในภาคครัวเรือน จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาพลังงานเป็นระยะเวลา 6 เดือน
1.3 ลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของครัวเรือน ภาครัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายการใช้น้ำ สำหรับผู้ใช้น้ำประเภทที่อยู่อาศัย ที่มีปริมาณการใช้น้ำในช่วง 0-50 ลบ.ม./เดือน ซึ่งเป็นปริมาณการใช้เพื่อตอบสนองความจำเป็นพื้นฐาน โดยจะครอบคลุมผู้ใช้น้ำทั้งประเทศ ประมาณ 3.2 ล้านราย แบ่งเป็นผู้ใช้น้ำที่อยู่ในเขตนครหลวง ประมาณ 1.2 ล้านราย และเขตภูมิภาค ประมาณ 2 ล้านราย ซึ่งจะประหยัดค่าใช้จ่ายน้ำประปาเฉลี่ยต่อรายต่อเดือนประมาณ 213 และ 176 บาท ตามลำดับ
1.4 ลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของครัวเรือน สำหรับครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน ภาครัฐจะลดภาระค่าใช้จ่าย ใน 2 กรณี คือ 1) หากใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 80 หน่วย/เดือน ภาครัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด และ 2) กรณีใช้ไฟฟ้าเกินกว่า 80 หน่วย/เดือน แต่ไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน ภาครัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายให้ครึ่งหนึ่งของค่าไฟฟ้าทั้งหมด ทั้งนี้ จะครอบคลุมผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศ ประมาณ 9.85 ล้านราย แยกเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าที่อยู่ในเขตนครหลวง ประมาณ 0.41 ล้านราย และเขตภูมิภาค ประมาณ 9.44 ล้านราย ซึ่งจะสามารถลดค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชนเฉลี่ย 120-200 บาท/ครัวเรือน
1.5 ลดค่าใช้จ่ายเดินทางรถโดยสารประจำทาง จัดรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จำนวน 800 คัน ใน 73 เส้นทาง โดยเป็นรถโดยสารธรรมดา เพื่อให้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
1.6 ลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยรถไฟชั้น 3 ให้ประชาชนใช้บริการรถไฟชั้น 3 เชิงสังคม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งครอบคลุมผู้ใช้บริการเฉลี่ยประมาณ 16 ล้านคน (6 เดือน)
2. วิธีดำเนินการ และผลต่อรายได้ภาครัฐและเศรษฐกิจส่วนรวม
2.1 ผลต่อรายได้ภาครัฐ ผลต่อการจัดเก็บภาษีน้ำมัน รายได้ภาษีสรรพสามิตของภาครัฐจะลดลงประมาณ 29,000 ล้านบาท เป็นผลจากการลดภาษีสรรพสามิตรของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ และน้ำมันดีเซล ซึ่งอาจจะสามารถชดเชยได้บางส่วนจากรายได้จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากที่ประมาณการไว้ในฐานรายได้ภาษีประจำปี 2551
2.2 ผลต่อรัฐวิสาหกิจ
2.2.1 ผลต่อรัฐวิสาหกิจด้านไฟฟ้า มาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้า จะส่งผลกระทบต่อรายได้จากการให้บริการของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จะลดลงประมาณ 12,000 ล้านบาท ซึ่งจะมีผลกระทบต่อผลประกอบการในปี 2551 ของรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่ง ดังนั้น เพื่อเป็นการลดผลกระทบดังกล่าว จึงเห็นควรให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พิจารณาลดราคาค่าไฟฟ้าในส่วนที่จำหน่ายให้แก่ กฟน. และ กฟภ.และให้ กฟผ. หักจากรายได้นำส่งรัฐจากผลการดำเนินงานในปี 2551/52
2.2.2 ผลต่อรัฐวิสาหกิจด้านประปา มาตรการด้านประปา จะส่งผลกระทบต่อรายได้ของการประปาส่วนภูมิภค (กปภ.) ประมาณ 2,400 ล้านบาท และการประปานครหลวง (กปน.) ประมาณ 1,530 ล้านบาท ทั้งนี้ เห็นควรให้ กปน.หักค่าใช้จ่ายจากรายได้นำส่งรัฐตามผลการดำเนินงานในปี 2551 สำหรับ กปภ.เห็นควรจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นให้เป็นกรอบค่าใช้จ่ายไว้ ในกรณีที่รายได้นำส่งรัฐตามผลการดำเนินงานในปี 2551 ไม่เพียงพอ
2.2.3 ผลต่อรัฐวิสาหกิจด้านขนส่ง มาตรการลดค่าใช้จ่ายรถโดยสารประจำทาง จะส่งผลกระทบต่อรายได้ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ประมาณ 1,244 ล้านบาท และมาตรการลดค่าใช้จ่ายรถไฟชั้น 3 เชิงสังคม จะส่งผลกระทบต่อรายได้ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ประมาณ 250 ล้านบาท ทั้งนี้ เห็นควรจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นให้ ขสมก. และ รฟท.
2.3 การประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ การดำเนินการตามมาตรการลดค่าใช้จ่ายของประชาชนดังกล่าวจะส่งผลต่อรายได้ที่ลดลงของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล จึงเห็นควรยกเว้นไม่นำผลกระทบด้านการเงินจากมาตรการดังกล่าวมาใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานในปี 2551 ของหน่วยงานที่รับผิดชอบมาตรการดังกล่าวทั้งส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
2.4 การสนับสนุนงบประมาณ ภาครัฐจะมีภาระต้องสนับสนุนงบประมาณให้แก่ กปภ. ขสมก. และ รฟท.รวมประมาณ 3,874 ล้านบาท
2.5 ผลต่อเศรษฐกิจส่วนรวม การดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวจะส่งผลต่อเศรษฐกิจส่วนรวมโดยที่จะทำให้ประชาชนมีรายได้ส่วนที่ประหยัดได้จากการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายจากรัฐบาลไปใช้ในรายการที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของการบริโภคและกระตุ้นเศรษฐกิจ การรักษาระดับราคาสินค้าไม่ให้เพิ่มขึ้นมากกว่าที่ควรจะเป็นและไม่กระทบต่อวินัยทางการคลังของรัฐบาล
ประมาณการวงเงิน วิธีการสนับสนุน
ค่าใช้จ่ายเบื้องต้น
1. รายได้ภาษีสรรพสามิตจากน้ำมันแก๊สโซฮอล์ และน้ำมันดีเซล 29,000 ล้านบาท - รายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะเพิ่มขึ้นตามราคา
น้ำมันที่สูงกว่าสมมติฐานเดิม และตามการเพิ่มขึ้น
ของการบริโภคจากผลของมาตรการ
2. ผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจด้านไฟฟ้า 12,000 ล้านบาท
- กฟผ. 12,000 ล้านบาท - ให้ กฟผ. พิจารณาลดราคาค่าไฟฟ้าส่วนที่จำหน่าย
- กฟน. ให้แก่ กฟน. และ กฟภ. และให้ กฟผ.
- กฟภ. หักจากรายได้นำส่งรัฐของปี 2551/52
3. ผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจด้านประปา 3,930 ล้านบาท
- กปน. 1,530 ล้านบาท - หักจากรายได้นำส่งรัฐของปี 2551
- กปภ. 2,400 ล้านบาท - จัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรอง
จ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นให้เป็นกรอบ
ค่าใช้จ่ายไว้ ในกรณีที่รายได้นำส่งรัฐตามผลการ
ดำเนินงานในปี 2551 ไม่เพียงพอ
4. ผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจด้านขนส่ง 1,474 ล้านบาท
- ขสมก. 1,224 ล้านบาท - งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณี
ฉุกเฉินหรือจำเป็น
- รฟท. 250 ล้านบาท - งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อ
กรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
รวม 46,404 ล้านบาท
3. หน่วยงานรับผิดชอบ
ในการดำเนินมาตรการดังกล่าว มอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบดังนี้
มาตรการ หน่วยงานรับผิดชอบ
1. มาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน กระทรวงการคลัง/กระทรวงพลังงาน
2. มาตรการชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG)
ในภาคครัวเรือน กระทรวงพลังงาน
3. มาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านน้ำประปา กระทรวงมหาดไทย (กปน. กปภ.)
4. มาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้า กระทรวงพลังงาน / กระทรวงมหาดไทย
(กฟผ. กฟน. กฟภ.)
5. มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางรถโดยสารประจำทาง กระทรวงคมนาคม (ขสมก.)
6. มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยรถไฟชั้น 3 กระทรวงคมนาคม (รฟท.)
ทั้งนี้ ในการดำเนินการตามมาตรการทั้ง 6 มาตรการ หน่วยงานรับผิดชอบจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 กรกฎาคม 2551--จบ--
1. เห็นชอบ 6 มาตรการ 6 เดือนฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน โดยยึดหลักการในการประหยัดพลังงาน และส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกในภาคประชาชน ตลอดจนลดผลกระทบต่อรายได้ โดยเฉพาะในกลุ่มของประชาชนที่มีรายได้น้อย เพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจมีความรุนแรงขึ้นในภาคการบริโภค และการรักษาวินัยทางการคลัง โดยมีระยะเวลาประมาณ 6 เดือน เริ่มต้นไม่เกินวันที่ 1 สิงหาคม 2551 และสิ้นสุดในวันที่ 31 มกราคม 2552
2. อนุมัติงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในกรอบวงเงินจำนวน 3,874 ล้านบาท สำหรับอุดหนุนรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ การประปาส่วนภูมิภาค องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ และการรถไฟแห่งประเทศไทย
3. เห็นชอบให้ยกเว้นไม่นำผลกระทบด้านการเงิน จากการดำเนินงานตามมาตรการดังกล่าวมาใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานในปี 2551 ของหน่วยงานที่รับผิดชอบมาตรการดังกล่าวทั้งส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
4. มอบหมายให้กระทรวงการคลังพิจารณาแนวทางสนับสนุนเงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่อง ในกรณีรัฐวิสาหกิจที่รับผิดชอบได้รับผลกระทบจากการดำเนินการตาม 6 มาตรการ
5. มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติติดตามความก้าวหน้าการดำเนินมาตรการ และรายงานให้คณะรัฐมนตรีด้านนโยบายเศรษฐกิจทราบต่อไป
สาระสำคัญ
1. 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน
หลักการของ 6 เดือน 6 มาตรการ ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน เป็นการกำหนดมาตรการลดผลกระทบต่อประชาชนในระยะสั้น โดยคงหลักการในการประหยัดพลังงาน และส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกในภาคประชาชน ตลอดจนลดผลกระทบต่อรายได้ โดยเฉพาะในกลุ่มของประชาชนที่มีรายได้น้อย เพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจมีความรุนแรงขึ้นในภาคการบริโภค และการรักษาวินัยทางการคลัง โดยดำเนินการ 6 มาตรการ ดังนี้
1.1 ลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน
1.1.1 น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 E10 E20 และ E85 ลดภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และแก๊สโซฮอล์ 95 ลง 3.30 บาทต่อลิตร เหลือ 0.0165 บาทต่อลิตร เพื่อให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 มีช่วงห่างของราคาจำหน่ายต่ำกว่าน้ำมันเบนซิน 91 และน้ำมันเบนซิน 95 มากขึ้น
1.1.2 มันดีเซล ลดภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากน้ำมันดีเซลลง 2.30 บาทต่อลิตร เหลือ 0.005 บาทต่อลิตร และลดภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากน้ำมันไบโอดีเซล (Biodiesel : B5) ลง 2.19 บาทต่อลิตร เหลือ 0.0048 บาทต่อลิตร เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อต้นทุนของภาคการขนส่งในระยะสั้น และช่วยให้ผู้ประกอบการมีระยะเวลาในการปรับเปลี่ยนไปสู่การใช้พลังงานทางเลือก (NGV)
1.2 ชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ในภาคครัวเรือน เพื่อลดแรงกดดันค่าใช้จ่ายในภาคครัวเรือน จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาพลังงานเป็นระยะเวลา 6 เดือน
1.3 ลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของครัวเรือน ภาครัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายการใช้น้ำ สำหรับผู้ใช้น้ำประเภทที่อยู่อาศัย ที่มีปริมาณการใช้น้ำในช่วง 0-50 ลบ.ม./เดือน ซึ่งเป็นปริมาณการใช้เพื่อตอบสนองความจำเป็นพื้นฐาน โดยจะครอบคลุมผู้ใช้น้ำทั้งประเทศ ประมาณ 3.2 ล้านราย แบ่งเป็นผู้ใช้น้ำที่อยู่ในเขตนครหลวง ประมาณ 1.2 ล้านราย และเขตภูมิภาค ประมาณ 2 ล้านราย ซึ่งจะประหยัดค่าใช้จ่ายน้ำประปาเฉลี่ยต่อรายต่อเดือนประมาณ 213 และ 176 บาท ตามลำดับ
1.4 ลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของครัวเรือน สำหรับครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน ภาครัฐจะลดภาระค่าใช้จ่าย ใน 2 กรณี คือ 1) หากใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 80 หน่วย/เดือน ภาครัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด และ 2) กรณีใช้ไฟฟ้าเกินกว่า 80 หน่วย/เดือน แต่ไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน ภาครัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายให้ครึ่งหนึ่งของค่าไฟฟ้าทั้งหมด ทั้งนี้ จะครอบคลุมผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศ ประมาณ 9.85 ล้านราย แยกเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าที่อยู่ในเขตนครหลวง ประมาณ 0.41 ล้านราย และเขตภูมิภาค ประมาณ 9.44 ล้านราย ซึ่งจะสามารถลดค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชนเฉลี่ย 120-200 บาท/ครัวเรือน
1.5 ลดค่าใช้จ่ายเดินทางรถโดยสารประจำทาง จัดรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จำนวน 800 คัน ใน 73 เส้นทาง โดยเป็นรถโดยสารธรรมดา เพื่อให้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
1.6 ลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยรถไฟชั้น 3 ให้ประชาชนใช้บริการรถไฟชั้น 3 เชิงสังคม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งครอบคลุมผู้ใช้บริการเฉลี่ยประมาณ 16 ล้านคน (6 เดือน)
2. วิธีดำเนินการ และผลต่อรายได้ภาครัฐและเศรษฐกิจส่วนรวม
2.1 ผลต่อรายได้ภาครัฐ ผลต่อการจัดเก็บภาษีน้ำมัน รายได้ภาษีสรรพสามิตของภาครัฐจะลดลงประมาณ 29,000 ล้านบาท เป็นผลจากการลดภาษีสรรพสามิตรของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ และน้ำมันดีเซล ซึ่งอาจจะสามารถชดเชยได้บางส่วนจากรายได้จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากที่ประมาณการไว้ในฐานรายได้ภาษีประจำปี 2551
2.2 ผลต่อรัฐวิสาหกิจ
2.2.1 ผลต่อรัฐวิสาหกิจด้านไฟฟ้า มาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้า จะส่งผลกระทบต่อรายได้จากการให้บริการของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จะลดลงประมาณ 12,000 ล้านบาท ซึ่งจะมีผลกระทบต่อผลประกอบการในปี 2551 ของรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่ง ดังนั้น เพื่อเป็นการลดผลกระทบดังกล่าว จึงเห็นควรให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พิจารณาลดราคาค่าไฟฟ้าในส่วนที่จำหน่ายให้แก่ กฟน. และ กฟภ.และให้ กฟผ. หักจากรายได้นำส่งรัฐจากผลการดำเนินงานในปี 2551/52
2.2.2 ผลต่อรัฐวิสาหกิจด้านประปา มาตรการด้านประปา จะส่งผลกระทบต่อรายได้ของการประปาส่วนภูมิภค (กปภ.) ประมาณ 2,400 ล้านบาท และการประปานครหลวง (กปน.) ประมาณ 1,530 ล้านบาท ทั้งนี้ เห็นควรให้ กปน.หักค่าใช้จ่ายจากรายได้นำส่งรัฐตามผลการดำเนินงานในปี 2551 สำหรับ กปภ.เห็นควรจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นให้เป็นกรอบค่าใช้จ่ายไว้ ในกรณีที่รายได้นำส่งรัฐตามผลการดำเนินงานในปี 2551 ไม่เพียงพอ
2.2.3 ผลต่อรัฐวิสาหกิจด้านขนส่ง มาตรการลดค่าใช้จ่ายรถโดยสารประจำทาง จะส่งผลกระทบต่อรายได้ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ประมาณ 1,244 ล้านบาท และมาตรการลดค่าใช้จ่ายรถไฟชั้น 3 เชิงสังคม จะส่งผลกระทบต่อรายได้ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ประมาณ 250 ล้านบาท ทั้งนี้ เห็นควรจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นให้ ขสมก. และ รฟท.
2.3 การประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ การดำเนินการตามมาตรการลดค่าใช้จ่ายของประชาชนดังกล่าวจะส่งผลต่อรายได้ที่ลดลงของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล จึงเห็นควรยกเว้นไม่นำผลกระทบด้านการเงินจากมาตรการดังกล่าวมาใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานในปี 2551 ของหน่วยงานที่รับผิดชอบมาตรการดังกล่าวทั้งส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
2.4 การสนับสนุนงบประมาณ ภาครัฐจะมีภาระต้องสนับสนุนงบประมาณให้แก่ กปภ. ขสมก. และ รฟท.รวมประมาณ 3,874 ล้านบาท
2.5 ผลต่อเศรษฐกิจส่วนรวม การดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวจะส่งผลต่อเศรษฐกิจส่วนรวมโดยที่จะทำให้ประชาชนมีรายได้ส่วนที่ประหยัดได้จากการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายจากรัฐบาลไปใช้ในรายการที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของการบริโภคและกระตุ้นเศรษฐกิจ การรักษาระดับราคาสินค้าไม่ให้เพิ่มขึ้นมากกว่าที่ควรจะเป็นและไม่กระทบต่อวินัยทางการคลังของรัฐบาล
ประมาณการวงเงิน วิธีการสนับสนุน
ค่าใช้จ่ายเบื้องต้น
1. รายได้ภาษีสรรพสามิตจากน้ำมันแก๊สโซฮอล์ และน้ำมันดีเซล 29,000 ล้านบาท - รายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะเพิ่มขึ้นตามราคา
น้ำมันที่สูงกว่าสมมติฐานเดิม และตามการเพิ่มขึ้น
ของการบริโภคจากผลของมาตรการ
2. ผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจด้านไฟฟ้า 12,000 ล้านบาท
- กฟผ. 12,000 ล้านบาท - ให้ กฟผ. พิจารณาลดราคาค่าไฟฟ้าส่วนที่จำหน่าย
- กฟน. ให้แก่ กฟน. และ กฟภ. และให้ กฟผ.
- กฟภ. หักจากรายได้นำส่งรัฐของปี 2551/52
3. ผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจด้านประปา 3,930 ล้านบาท
- กปน. 1,530 ล้านบาท - หักจากรายได้นำส่งรัฐของปี 2551
- กปภ. 2,400 ล้านบาท - จัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรอง
จ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นให้เป็นกรอบ
ค่าใช้จ่ายไว้ ในกรณีที่รายได้นำส่งรัฐตามผลการ
ดำเนินงานในปี 2551 ไม่เพียงพอ
4. ผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจด้านขนส่ง 1,474 ล้านบาท
- ขสมก. 1,224 ล้านบาท - งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณี
ฉุกเฉินหรือจำเป็น
- รฟท. 250 ล้านบาท - งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อ
กรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
รวม 46,404 ล้านบาท
3. หน่วยงานรับผิดชอบ
ในการดำเนินมาตรการดังกล่าว มอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบดังนี้
มาตรการ หน่วยงานรับผิดชอบ
1. มาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน กระทรวงการคลัง/กระทรวงพลังงาน
2. มาตรการชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG)
ในภาคครัวเรือน กระทรวงพลังงาน
3. มาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านน้ำประปา กระทรวงมหาดไทย (กปน. กปภ.)
4. มาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้า กระทรวงพลังงาน / กระทรวงมหาดไทย
(กฟผ. กฟน. กฟภ.)
5. มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางรถโดยสารประจำทาง กระทรวงคมนาคม (ขสมก.)
6. มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยรถไฟชั้น 3 กระทรวงคมนาคม (รฟท.)
ทั้งนี้ ในการดำเนินการตามมาตรการทั้ง 6 มาตรการ หน่วยงานรับผิดชอบจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 กรกฎาคม 2551--จบ--