แท็ก
คณะรัฐมนตรี
เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเรื่อง โครงการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์
(ทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย) ระยะที่ 2 (พ.ศ.2551-2566) ครั้งที่ 2
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเรื่อง โครงการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ (ทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย) ระยะที่ 2 (พ.ศ.2551-2566) ครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2550-พฤษภาคม 2551 ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
กระทรวงศึกษาธิการได้รายงานผลการดำเนินการโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ (ทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย) ระยะที่ 2 (พ.ศ.2551-2566) ครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2550-พฤษภาคม 2551 สรุปได้ดังนี้
1. เป้าหมายของการดำเนินการ
เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (22 พฤษภาคม 2550) กระทรวงศึกษาธิการได้ปรับลดเป้าหมายของ การดำเนินโครงการฯ จาก 2,400 ทุน เป็น 1,600 ทุน ดังนี้
- ให้ทุนระดับปริญญาตรี-โท เอก ต่อเนื่อง จำแนกปีละ 200 ทุน จำนวน 4 รุ่น รวม 800 ทุน
- ให้ทุนระดับปริญญาโท-เอก รวม 800 ทุน
รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,600 ทุน ส่งผลให้ระยะเวลาการดำเนินการโครงการฯ ลดลงจากเดิมที่กำหนดไว้ 17 ปี เป็น 13 ปี และงบประมาณลดลงจากเดิม 6,048.890 ล้านบาท เป็น 3,624.130 ล้านบาท
2. ผลการดำเนินการ
2.1 กำหนดคุณสมบัติของสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการในปีการศึกษา 2551 และ 2552 ดังนี้
- คณะวิทยาศาสตร์ของสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการต้องจำกัดจำนวนรับนิสิต นักศึกษา
- มีการจัดการศึกษา/หลักสูตรในระดับปริญญาโท-เอก ที่สามารถรับนิสิตนักศึกษาที่จบปริญญาตรีจากโครงการได้ ซึ่งสถาบันที่มีคุณสมบัติและเข้าร่วมโครงการมีจำนวน 20 แห่ง
2.2 กำหนดสาขาวิชาที่จะให้ทุน ดังนี้
- ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาที่เน้นวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เช่น คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา
- ระดับปริญญาโท สาขาวิชาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์และมีการศึกษางานรายวิชา ยกเว้น สาขาวิชาด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาที่ไม่ใช่ด้านวิทยาศาสตร์โดยตรง สาขาวิชาที่เปิดสอนในระดับปริญญาโท แต่ไม่มีเปิดสอนในระดับปริญญาเอก และสาขาวิทยาศาสตร์ที่เน้นด้านการสอน
- ระดับปริญญาเอก ทุกสาขาวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอน
2.3 จัดทำ (ร่าง) เกณฑ์การคัดเลือกนิสิต/นักศึกษา เพื่อเข้ารับทุนโครงการฯ
2.4 การรับนิสิต/นักศึกษา เข้ารับทุนโครงการฯ
- ระดับปริญญาตรี-โท-เอก ต่อเนื่อง จะเริ่มรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2552 เป็นปีแรก
- ระดับปริญญาโท-เอก เริ่มรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2551 เป็นปีแรก จำนวน 100 คน และให้นักศึกษาทุนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2551 (ตรงกับปีงบประมาณ 2551 ซึ่งในปีนี้ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ)
3. ผลกระทบของการดำเนินการ
3.1 สร้างแรงจูงใจให้นักเรียน นักศึกษา ที่มีความสามารถสูง มีผลการเรียนดี และสนใจวิทยาศาสตร์ เข้าศึกษาด้านวิทยาศาสตร์จนถึงระดับปริญญาเอกในประเทศไทย
3.2 สถาบันการศึกษาที่เป็นฝ่ายผลิตนักศึกษาทุน สามารถพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรให้เหมาะสมกับระดับความสามารถของนิสิต นักศึกษา และยกระดับมาตรฐานการศึกษาให้เทียบเท่าการศึกษาระดับสากล
3.3 สถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ มีอาจารย์ด้านวิทยาศาสตร์ระดับปริญญาเอกที่มีคุณภาพ สามารถจัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ได้อย่างมีคุณภาพมาตรฐาน
3.4 ประเทศได้บัณฑิตระดับปริญญาตรี โท เอก ที่สำเร็จการศึกษาจากโครงการที่มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ สามารถเป็นนักวิจัยในหน่วยงานต่างๆ และเป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งสามารถทำงานวิจัยได้ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ
4. ปัญหา/อุปสรรค
ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณปี 2551 ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายและระยะเวลาที่กำหนดไว้ในโครงการ ทั้งนี้ ได้ดำเนินการจัดทำคำของบประมาณประจำปี 2552 แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 กรกฎาคม 2551--จบ--
(ทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย) ระยะที่ 2 (พ.ศ.2551-2566) ครั้งที่ 2
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเรื่อง โครงการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ (ทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย) ระยะที่ 2 (พ.ศ.2551-2566) ครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2550-พฤษภาคม 2551 ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
กระทรวงศึกษาธิการได้รายงานผลการดำเนินการโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ (ทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย) ระยะที่ 2 (พ.ศ.2551-2566) ครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2550-พฤษภาคม 2551 สรุปได้ดังนี้
1. เป้าหมายของการดำเนินการ
เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (22 พฤษภาคม 2550) กระทรวงศึกษาธิการได้ปรับลดเป้าหมายของ การดำเนินโครงการฯ จาก 2,400 ทุน เป็น 1,600 ทุน ดังนี้
- ให้ทุนระดับปริญญาตรี-โท เอก ต่อเนื่อง จำแนกปีละ 200 ทุน จำนวน 4 รุ่น รวม 800 ทุน
- ให้ทุนระดับปริญญาโท-เอก รวม 800 ทุน
รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,600 ทุน ส่งผลให้ระยะเวลาการดำเนินการโครงการฯ ลดลงจากเดิมที่กำหนดไว้ 17 ปี เป็น 13 ปี และงบประมาณลดลงจากเดิม 6,048.890 ล้านบาท เป็น 3,624.130 ล้านบาท
2. ผลการดำเนินการ
2.1 กำหนดคุณสมบัติของสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการในปีการศึกษา 2551 และ 2552 ดังนี้
- คณะวิทยาศาสตร์ของสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการต้องจำกัดจำนวนรับนิสิต นักศึกษา
- มีการจัดการศึกษา/หลักสูตรในระดับปริญญาโท-เอก ที่สามารถรับนิสิตนักศึกษาที่จบปริญญาตรีจากโครงการได้ ซึ่งสถาบันที่มีคุณสมบัติและเข้าร่วมโครงการมีจำนวน 20 แห่ง
2.2 กำหนดสาขาวิชาที่จะให้ทุน ดังนี้
- ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาที่เน้นวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เช่น คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา
- ระดับปริญญาโท สาขาวิชาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์และมีการศึกษางานรายวิชา ยกเว้น สาขาวิชาด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาที่ไม่ใช่ด้านวิทยาศาสตร์โดยตรง สาขาวิชาที่เปิดสอนในระดับปริญญาโท แต่ไม่มีเปิดสอนในระดับปริญญาเอก และสาขาวิทยาศาสตร์ที่เน้นด้านการสอน
- ระดับปริญญาเอก ทุกสาขาวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอน
2.3 จัดทำ (ร่าง) เกณฑ์การคัดเลือกนิสิต/นักศึกษา เพื่อเข้ารับทุนโครงการฯ
2.4 การรับนิสิต/นักศึกษา เข้ารับทุนโครงการฯ
- ระดับปริญญาตรี-โท-เอก ต่อเนื่อง จะเริ่มรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2552 เป็นปีแรก
- ระดับปริญญาโท-เอก เริ่มรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2551 เป็นปีแรก จำนวน 100 คน และให้นักศึกษาทุนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2551 (ตรงกับปีงบประมาณ 2551 ซึ่งในปีนี้ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ)
3. ผลกระทบของการดำเนินการ
3.1 สร้างแรงจูงใจให้นักเรียน นักศึกษา ที่มีความสามารถสูง มีผลการเรียนดี และสนใจวิทยาศาสตร์ เข้าศึกษาด้านวิทยาศาสตร์จนถึงระดับปริญญาเอกในประเทศไทย
3.2 สถาบันการศึกษาที่เป็นฝ่ายผลิตนักศึกษาทุน สามารถพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรให้เหมาะสมกับระดับความสามารถของนิสิต นักศึกษา และยกระดับมาตรฐานการศึกษาให้เทียบเท่าการศึกษาระดับสากล
3.3 สถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ มีอาจารย์ด้านวิทยาศาสตร์ระดับปริญญาเอกที่มีคุณภาพ สามารถจัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ได้อย่างมีคุณภาพมาตรฐาน
3.4 ประเทศได้บัณฑิตระดับปริญญาตรี โท เอก ที่สำเร็จการศึกษาจากโครงการที่มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ สามารถเป็นนักวิจัยในหน่วยงานต่างๆ และเป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งสามารถทำงานวิจัยได้ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ
4. ปัญหา/อุปสรรค
ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณปี 2551 ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายและระยะเวลาที่กำหนดไว้ในโครงการ ทั้งนี้ ได้ดำเนินการจัดทำคำของบประมาณประจำปี 2552 แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 กรกฎาคม 2551--จบ--