คณะรัฐมนตรีเห็นชอบกำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันรณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์ ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอว่า
1. สถานการณ์ความรุนแรงของปัญหาการค้ามนุษย์เป็นปรากฏการณ์สังคมที่เกี่ยวพันกับปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง เป็นปัญหาสำคัญระดับชาติ อีกทั้งยังเป็นปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติที่มีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นการค้ามนุษย์เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย อีกทั้งประเทศไทยเป็นทั้งประเทศต้นทางที่มีการแสวงประโยชน์จากการค้าประเวณีของหญิงไทยในต่างประเทศ เป็นประเทศทางผ่านและประเทศปลายทางของหญิงและเด็กต่างชาติในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งถูกนำมาแสวงหาประโยชน์จากการค้ามนุษย์ในรูปแบบต่าง ๆ
2. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ดำเนินงานในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์มาอย่างต่อเนื่องตามนโยบายและแผนระดับชาติ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบนโยบายและแผนระดับชาติ เรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้าหญิงและเด็กภายในประเทศและข้ามชาติ เพื่อให้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงานซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ประกอบด้วย ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2546 — 2548) และแผนระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2546 — 2551) และในคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551 ข้อ 2.5 นโยบายความมั่นคงของชีวิตและสังคม ข้อที่ 2.5.3 การสร้างหลักประกันความมั่นคงและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ให้เด็ก สตรี คนพิการที่ด้อยโอกาส โดยจะขจัดขบวนการค้ามนุษย์ให้หมดสิ้นไป ดังนั้น เพื่อเป็นการรณรงค์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับปัญหาการค้ามนุษย์ให้สาธารณชนได้รับทราบ เพื่อให้เกิดความตระหนักในปัญหาและเป็นการเฝ้าระวังบุตรหลานสมาชิกในครอบครัว สังคม ให้รู้เท่าทันและเอาตัวรอดจากการตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เห็นสมควรกำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันรณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 กรกฎาคม 2551--จบ--
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอว่า
1. สถานการณ์ความรุนแรงของปัญหาการค้ามนุษย์เป็นปรากฏการณ์สังคมที่เกี่ยวพันกับปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง เป็นปัญหาสำคัญระดับชาติ อีกทั้งยังเป็นปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติที่มีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นการค้ามนุษย์เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย อีกทั้งประเทศไทยเป็นทั้งประเทศต้นทางที่มีการแสวงประโยชน์จากการค้าประเวณีของหญิงไทยในต่างประเทศ เป็นประเทศทางผ่านและประเทศปลายทางของหญิงและเด็กต่างชาติในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งถูกนำมาแสวงหาประโยชน์จากการค้ามนุษย์ในรูปแบบต่าง ๆ
2. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ดำเนินงานในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์มาอย่างต่อเนื่องตามนโยบายและแผนระดับชาติ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบนโยบายและแผนระดับชาติ เรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้าหญิงและเด็กภายในประเทศและข้ามชาติ เพื่อให้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงานซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ประกอบด้วย ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2546 — 2548) และแผนระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2546 — 2551) และในคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551 ข้อ 2.5 นโยบายความมั่นคงของชีวิตและสังคม ข้อที่ 2.5.3 การสร้างหลักประกันความมั่นคงและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ให้เด็ก สตรี คนพิการที่ด้อยโอกาส โดยจะขจัดขบวนการค้ามนุษย์ให้หมดสิ้นไป ดังนั้น เพื่อเป็นการรณรงค์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับปัญหาการค้ามนุษย์ให้สาธารณชนได้รับทราบ เพื่อให้เกิดความตระหนักในปัญหาและเป็นการเฝ้าระวังบุตรหลานสมาชิกในครอบครัว สังคม ให้รู้เท่าทันและเอาตัวรอดจากการตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เห็นสมควรกำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันรณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 กรกฎาคม 2551--จบ--