คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีแห่งสหภาพพม่า ตามที่นายกรัฐมนตรีพม่าได้เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 29 เมษายน — 1 พฤษภาคม 2551 ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้
1. การเยือนครั้งนี้เป็นการเยือนอย่างเป็นทางการตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้กล่าวเชิญไว้ในระหว่างการเดินทางเยือนพม่าอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2551 เนื่องจากหลังการเข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนตุลาคม 2550 นายกรัฐมนตรีพม่ายังไม่เคยเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ รวมทั้งเพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการความร่วมมือต่าง ๆ ที่ได้หารือกันไว้ในระหว่างการเยือนพม่าอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี
2. เมื่อนายกรัฐมนตรีพม่าเดินทางถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2551 ได้เดินทางไปถวายสักการะพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาในวันที่ 30 เมษายน 2551 ได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และหารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรีในลักษณะกลุ่มเล็กและแบบเต็มคณะ และในวันที่ 1พฤษภาคม 2551 นายกรัฐมนตรีพม่าและคณะได้เดินทางไปเยี่ยมชมโครงการพัฒนาดอยตุง ที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นโครงการต้นแบบของความร่วมมือระหว่างไทยกับพม่า ด้านโครงการพัฒนาทางเลือก ก่อนเดินทางกลับสหภาพพม่า
3. ในการหารือข้อราชการต่าง ๆ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
3.1 การเมืองภายในพม่า นายกรัฐมนตรีพม่าแจ้งความคืบหน้าเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญ กำหนดการลงประชามติในวันที่ 10 พฤษภาคม 2551 และการเตรียมการสำหรับการเลือกตั้ง และย้ำว่ารัฐบาลพม่าชุดปัจจุบันพร้อมจะส่งมอบอำนาจให้รัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง ทั้งนี้ รัฐบาลพม่าไม่ต้องการให้การดำเนินการในเรื่องข้างต้นล่าช้าอันเนื่องมาจากอุปสรรคทั้งภายในและภายนอกประเทศ จึงขอให้ไทยในฐานะประเทศเพื่อนบ้านสนับสนุนและรับรองการดำเนินงานของรัฐบาลพม่า นอกจากนั้น นายกรัฐมนตรีพม่าได้อธิบายถึงแนวทางการพัฒนาประเทศซึ่ง
เน้นทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการศึกษาควบคู่กันไป
3.2 ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่า นายกรัฐมนตรีพม่ายืนยันจะมิให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดใช้พม่าเป็นฐานในการสร้างความเสียหายแก่ประเทศไทย และเชื่อว่าความสัมพันธ์ที่ดีและวิสัยทัศน์ของผู้นำทั้งสองประเทศจะช่วยให้โครงการความร่วมมือต่าง ๆ ดำเนินไปได้ด้วยดีและสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้สำเร็จลุล่วง ฝ่ายพม่าขอความร่วมมือจากประเทศไทยในการปราบปรามชนกลุ่มน้อยที่ยังเคลื่อนไหวอยู่บริเวณแนวชายแดน ในขณะที่ไทยยืนยันนโยบายที่จะเป็นเพื่อนบ้านที่ดีและร่วมทำงานกับพม่า
3.3 ความร่วมมือด้านก๊าซธรรมชาติ ฝ่ายพม่ายืนยันความพร้อมที่จะลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติที่แปลง M9 และขอบคุณฝ่ายไทยที่จะวางท่อก๊าซสำหรับลำเลียงก๊าซจากแหล่งดังกล่าวไว้ใช้ภายในพม่าส่วนหนึ่งฝ่ายไทยขอบคุณฝ่ายพม่าและยืนยันเรื่องการวางท่อก๊าซให้ฝ่ายพม่า
3.4 ความร่วมมือด้านเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ ฝ่ายพม่าแสดงความห่วงกังวลต่อความล่าช้าในการดำเนินโครงการเขื่อนท่าซางโดยบริษัท MDX ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนของไทย และแจ้งว่ารัฐบาลพม่ากำลังพิจารณายกเลิกการดำเนินการร่วมกับริษัทดังกล่าว แต่พร้อมที่จะดำเนินโครงการนี้ร่วมกับฝ่ายไทยต่อไปในลักษณะความร่วมมือระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล ฝ่ายไทยรับจะเร่งดำเนินการในเรื่องนี้ โดยจะส่งเจ้าหน้าที่อาวุโสไปหารือกับฝ่ายพม่าในโอกาสแรก
3.5 โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวาย ฝ่ายพม่าขอบคุณที่ฝ่ายไทยเร่งดำเนินการในเรื่องนี้ให้มีความคืบหน้าภายหลังการหารือกันระหว่างการเยือนพม่าอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี ฝ่ายพม่าเสนอให้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวายระหว่างรัฐบาลของทั้งสองประเทศ รวมทั้งได้หารือกันเกี่ยวกับการพัฒนาเส้นทางสายกาญจนบุรี — ทวาย ทั้งนี้ ฝ่ายพม่าขอให้ฝ่ายไทยสนับสนุนการก่อสร้างเส้นทางสายนี้ นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันเกี่ยวกับโครงการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การพัฒนานิคมอุตสาหกรรม การก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ รวมทั้งการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟจากจีนผ่านลาวเข้าประเทศไทยและเชื่อมต่อไปยังเมืองทวาย ซึ่งฝ่ายไทยรับที่จะเร่งดำเนินการโครงการให้มีความคืบหน้าโดยเร็ว
3.6 ความร่วมมือโครงการเหมืองถ่านหิน ฝ่ายพม่าแจ้งว่าอนุญาตให้บริษัทเอกชนของไทยเข้าไปสำรวจปริมาณถ่านหินสำรองที่เมืองกระบุรีในฝั่งพม่า และขอความร่วมมือฝ่ายไทยอนุญาตและอำนวยความสะดวกให้บริษัทเอกชนของไทยในเรื่องนี้
3.7 การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม นายกรัฐมนตรีพม่าสอบถามเกี่ยวกับการก่อสร้างเส้นทางช่วงต่อจากเมืองกอกะเร็กถึงเมืองเมาะลำไย ระยะทางประมาณ 30 ไมล์ ซึ่งผู้นำพม่าได้หยิบยกไว้ในระหว่างการเดินทางเยือนพม่าของนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่ายสำรวจเส้นทางร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ฝ่ายไทยพร้อมจะพิจารณาด้วยดี นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีแจ้งว่าฝ่ายไทยอยู่ในระหว่างการซ่อมแซมถนนเส้นเมียวดีถึงเชิงเขาตะนาวศรี ช่วงกิโลเมตรที่ 14 และหากซ่อมแซมตอม่อสะพานมิตรภาพไทย — พม่า ที่อำเภอแม่สอดในส่วนของพม่าแล้วเสร็จก็จะส่งมอบให้ฝ่ายพม่าพร้อมกันในคราวเดียวกัน
3.8 การสาธิตการก่อสร้างถนนด้วยยางมะตอยน้ำ ฝ่ายพม่าเสนอให้ฝ่ายไทยสาธิตการก่อสร้างถนนด้วยวิธีดังกล่าวที่เมืองเนปิดอว์ ฝ่ายไทยรับจะดำเนินการให้และขอให้ฝ่ายพม่าอำนวยความสะดวกเรื่องการนำเครื่องมือเข้าไปยังพื้นที่ก่อสร้าง
3.9 ความร่วมมือด้านการแก้ไขปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย ฝ่ายพม่ายืนยันจะร่วมมือกับฝ่ายไทยโดยจะพิสูจน์สัญชาติแรงงานชาวพม่าที่บริเวณชายแดนฝั่งพม่า 3 แห่ง คือ เมืองเมียวดี เมืองเกาะสอง และเมืองท่าขี้เหล็ก และขอให้ฝ่ายไทยปฏิบัติตามที่ได้ตกลงกันไว้
3.10 กรณีแรงงานพม่าเสียชีวิตที่จังหวัดระนอง ฝ่ายพม่าขอให้ฝ่ายไทยส่งตัวแรงงานที่รอดชีวิตกลับพม่าเพื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของพม่าจะได้สืบหาและลงโทษผู้กระทำผิด นายกรัฐมนตรีรับที่จะแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย และหากการส่งแรงงานที่รอดชีวิตกลับพม่าจะไม่กระทบต่อการพิจารณาคดีของฝ่ายไทยก็พร้อมจะส่งตัวแรงงานเหล่านั้นกลับพม่าต่อไป
3.11 ความร่วมมือด้านการปราบปรามยาเสพติด ฝ่ายพม่ายืนยันนโยบายการปราบปรามยาเสพติดในพม่าและขอบคุณฝ่ายไทยที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม พม่ายังประสบปัญหาการแพร่ระบาดของยาบ้าและขอความร่วมมือทางการไทยควบคุมและสกัดสารตั้งต้นที่ใช้ในการผลิตยาบ้า ฝ่ายไทยรับที่จะร่วมมือในเรื่องนี้
3.12 การฉลองครบรอบ 60 ปี แห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับพม่า ทั้งสองฝ่ายแสดงความพร้อมที่จะร่วมมือกันในการดำเนินโครงการต่าง ๆ เช่น การบูรณะบริเวณรอบต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงปลูกไว้ในระหว่างการเสด็จฯ เยือนพม่า และโครงการอื่น ๆ
3.13 การเปิดจุดผ่านแดนบริเวณบ้านพระเจดีย์สามองค์ ฝ่ายไทยเสนอให้จัดตั้งคณะกรรมการชายแดนส่วนท้องถิ่นในบริเวณดังกล่าวเพื่อเป็นกลไกติดต่อประสานงาน รวมทั้งเสนอให้ฝ่ายพม่าพิจารณาเปิดจุดผ่านแดน ฝ่ายพม่าแจ้งว่ายังไม่พร้อมที่จะดำเนินการตามที่ฝ่ายไทยเสนอ เนื่องจากบริเวณดังกล่าวยังไม่มีการปักปันเขตแดนที่ชัดเจน ยังขาดสิ่งอำนวยความสะดวกในฝั่งพม่า และยังมีกลุ่มก่อการร้ายเคลื่อนไหว อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีพม่ารับที่จะเสนอเรื่องนี้ให้ผู้นำพม่าพิจารณาต่อไป
3.14 มาตรการห้ามส่งออก / นำเข้าสินค้าของพม่า ฝ่ายไทยเสนอให้ฝ่ายพม่าพิจารณายกเลิกมาตรการดังกล่าวเพื่อส่งเสริมการค้าชายแดน ฝ่ายพม่ายังมิได้ตอบฝ่ายไทยในประเด็นนี้
3.15 ความร่วมมือเรื่องข้าว นายกรัฐมนตรีเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความร่วมมือเรื่องข้าวระหว่างประเทศผู้ส่งออกข้าว และเห็นว่าควรจะมีการปรึกษาหารือเพื่อกำหนดแนวทางร่วมมือกันต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 กรกฎาคม 2551--จบ--
1. การเยือนครั้งนี้เป็นการเยือนอย่างเป็นทางการตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้กล่าวเชิญไว้ในระหว่างการเดินทางเยือนพม่าอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2551 เนื่องจากหลังการเข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนตุลาคม 2550 นายกรัฐมนตรีพม่ายังไม่เคยเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ รวมทั้งเพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการความร่วมมือต่าง ๆ ที่ได้หารือกันไว้ในระหว่างการเยือนพม่าอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี
2. เมื่อนายกรัฐมนตรีพม่าเดินทางถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2551 ได้เดินทางไปถวายสักการะพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาในวันที่ 30 เมษายน 2551 ได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และหารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรีในลักษณะกลุ่มเล็กและแบบเต็มคณะ และในวันที่ 1พฤษภาคม 2551 นายกรัฐมนตรีพม่าและคณะได้เดินทางไปเยี่ยมชมโครงการพัฒนาดอยตุง ที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นโครงการต้นแบบของความร่วมมือระหว่างไทยกับพม่า ด้านโครงการพัฒนาทางเลือก ก่อนเดินทางกลับสหภาพพม่า
3. ในการหารือข้อราชการต่าง ๆ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
3.1 การเมืองภายในพม่า นายกรัฐมนตรีพม่าแจ้งความคืบหน้าเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญ กำหนดการลงประชามติในวันที่ 10 พฤษภาคม 2551 และการเตรียมการสำหรับการเลือกตั้ง และย้ำว่ารัฐบาลพม่าชุดปัจจุบันพร้อมจะส่งมอบอำนาจให้รัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง ทั้งนี้ รัฐบาลพม่าไม่ต้องการให้การดำเนินการในเรื่องข้างต้นล่าช้าอันเนื่องมาจากอุปสรรคทั้งภายในและภายนอกประเทศ จึงขอให้ไทยในฐานะประเทศเพื่อนบ้านสนับสนุนและรับรองการดำเนินงานของรัฐบาลพม่า นอกจากนั้น นายกรัฐมนตรีพม่าได้อธิบายถึงแนวทางการพัฒนาประเทศซึ่ง
เน้นทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการศึกษาควบคู่กันไป
3.2 ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่า นายกรัฐมนตรีพม่ายืนยันจะมิให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดใช้พม่าเป็นฐานในการสร้างความเสียหายแก่ประเทศไทย และเชื่อว่าความสัมพันธ์ที่ดีและวิสัยทัศน์ของผู้นำทั้งสองประเทศจะช่วยให้โครงการความร่วมมือต่าง ๆ ดำเนินไปได้ด้วยดีและสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้สำเร็จลุล่วง ฝ่ายพม่าขอความร่วมมือจากประเทศไทยในการปราบปรามชนกลุ่มน้อยที่ยังเคลื่อนไหวอยู่บริเวณแนวชายแดน ในขณะที่ไทยยืนยันนโยบายที่จะเป็นเพื่อนบ้านที่ดีและร่วมทำงานกับพม่า
3.3 ความร่วมมือด้านก๊าซธรรมชาติ ฝ่ายพม่ายืนยันความพร้อมที่จะลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติที่แปลง M9 และขอบคุณฝ่ายไทยที่จะวางท่อก๊าซสำหรับลำเลียงก๊าซจากแหล่งดังกล่าวไว้ใช้ภายในพม่าส่วนหนึ่งฝ่ายไทยขอบคุณฝ่ายพม่าและยืนยันเรื่องการวางท่อก๊าซให้ฝ่ายพม่า
3.4 ความร่วมมือด้านเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ ฝ่ายพม่าแสดงความห่วงกังวลต่อความล่าช้าในการดำเนินโครงการเขื่อนท่าซางโดยบริษัท MDX ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนของไทย และแจ้งว่ารัฐบาลพม่ากำลังพิจารณายกเลิกการดำเนินการร่วมกับริษัทดังกล่าว แต่พร้อมที่จะดำเนินโครงการนี้ร่วมกับฝ่ายไทยต่อไปในลักษณะความร่วมมือระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล ฝ่ายไทยรับจะเร่งดำเนินการในเรื่องนี้ โดยจะส่งเจ้าหน้าที่อาวุโสไปหารือกับฝ่ายพม่าในโอกาสแรก
3.5 โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวาย ฝ่ายพม่าขอบคุณที่ฝ่ายไทยเร่งดำเนินการในเรื่องนี้ให้มีความคืบหน้าภายหลังการหารือกันระหว่างการเยือนพม่าอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี ฝ่ายพม่าเสนอให้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวายระหว่างรัฐบาลของทั้งสองประเทศ รวมทั้งได้หารือกันเกี่ยวกับการพัฒนาเส้นทางสายกาญจนบุรี — ทวาย ทั้งนี้ ฝ่ายพม่าขอให้ฝ่ายไทยสนับสนุนการก่อสร้างเส้นทางสายนี้ นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันเกี่ยวกับโครงการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การพัฒนานิคมอุตสาหกรรม การก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ รวมทั้งการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟจากจีนผ่านลาวเข้าประเทศไทยและเชื่อมต่อไปยังเมืองทวาย ซึ่งฝ่ายไทยรับที่จะเร่งดำเนินการโครงการให้มีความคืบหน้าโดยเร็ว
3.6 ความร่วมมือโครงการเหมืองถ่านหิน ฝ่ายพม่าแจ้งว่าอนุญาตให้บริษัทเอกชนของไทยเข้าไปสำรวจปริมาณถ่านหินสำรองที่เมืองกระบุรีในฝั่งพม่า และขอความร่วมมือฝ่ายไทยอนุญาตและอำนวยความสะดวกให้บริษัทเอกชนของไทยในเรื่องนี้
3.7 การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม นายกรัฐมนตรีพม่าสอบถามเกี่ยวกับการก่อสร้างเส้นทางช่วงต่อจากเมืองกอกะเร็กถึงเมืองเมาะลำไย ระยะทางประมาณ 30 ไมล์ ซึ่งผู้นำพม่าได้หยิบยกไว้ในระหว่างการเดินทางเยือนพม่าของนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่ายสำรวจเส้นทางร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ฝ่ายไทยพร้อมจะพิจารณาด้วยดี นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีแจ้งว่าฝ่ายไทยอยู่ในระหว่างการซ่อมแซมถนนเส้นเมียวดีถึงเชิงเขาตะนาวศรี ช่วงกิโลเมตรที่ 14 และหากซ่อมแซมตอม่อสะพานมิตรภาพไทย — พม่า ที่อำเภอแม่สอดในส่วนของพม่าแล้วเสร็จก็จะส่งมอบให้ฝ่ายพม่าพร้อมกันในคราวเดียวกัน
3.8 การสาธิตการก่อสร้างถนนด้วยยางมะตอยน้ำ ฝ่ายพม่าเสนอให้ฝ่ายไทยสาธิตการก่อสร้างถนนด้วยวิธีดังกล่าวที่เมืองเนปิดอว์ ฝ่ายไทยรับจะดำเนินการให้และขอให้ฝ่ายพม่าอำนวยความสะดวกเรื่องการนำเครื่องมือเข้าไปยังพื้นที่ก่อสร้าง
3.9 ความร่วมมือด้านการแก้ไขปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย ฝ่ายพม่ายืนยันจะร่วมมือกับฝ่ายไทยโดยจะพิสูจน์สัญชาติแรงงานชาวพม่าที่บริเวณชายแดนฝั่งพม่า 3 แห่ง คือ เมืองเมียวดี เมืองเกาะสอง และเมืองท่าขี้เหล็ก และขอให้ฝ่ายไทยปฏิบัติตามที่ได้ตกลงกันไว้
3.10 กรณีแรงงานพม่าเสียชีวิตที่จังหวัดระนอง ฝ่ายพม่าขอให้ฝ่ายไทยส่งตัวแรงงานที่รอดชีวิตกลับพม่าเพื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของพม่าจะได้สืบหาและลงโทษผู้กระทำผิด นายกรัฐมนตรีรับที่จะแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย และหากการส่งแรงงานที่รอดชีวิตกลับพม่าจะไม่กระทบต่อการพิจารณาคดีของฝ่ายไทยก็พร้อมจะส่งตัวแรงงานเหล่านั้นกลับพม่าต่อไป
3.11 ความร่วมมือด้านการปราบปรามยาเสพติด ฝ่ายพม่ายืนยันนโยบายการปราบปรามยาเสพติดในพม่าและขอบคุณฝ่ายไทยที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม พม่ายังประสบปัญหาการแพร่ระบาดของยาบ้าและขอความร่วมมือทางการไทยควบคุมและสกัดสารตั้งต้นที่ใช้ในการผลิตยาบ้า ฝ่ายไทยรับที่จะร่วมมือในเรื่องนี้
3.12 การฉลองครบรอบ 60 ปี แห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับพม่า ทั้งสองฝ่ายแสดงความพร้อมที่จะร่วมมือกันในการดำเนินโครงการต่าง ๆ เช่น การบูรณะบริเวณรอบต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงปลูกไว้ในระหว่างการเสด็จฯ เยือนพม่า และโครงการอื่น ๆ
3.13 การเปิดจุดผ่านแดนบริเวณบ้านพระเจดีย์สามองค์ ฝ่ายไทยเสนอให้จัดตั้งคณะกรรมการชายแดนส่วนท้องถิ่นในบริเวณดังกล่าวเพื่อเป็นกลไกติดต่อประสานงาน รวมทั้งเสนอให้ฝ่ายพม่าพิจารณาเปิดจุดผ่านแดน ฝ่ายพม่าแจ้งว่ายังไม่พร้อมที่จะดำเนินการตามที่ฝ่ายไทยเสนอ เนื่องจากบริเวณดังกล่าวยังไม่มีการปักปันเขตแดนที่ชัดเจน ยังขาดสิ่งอำนวยความสะดวกในฝั่งพม่า และยังมีกลุ่มก่อการร้ายเคลื่อนไหว อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีพม่ารับที่จะเสนอเรื่องนี้ให้ผู้นำพม่าพิจารณาต่อไป
3.14 มาตรการห้ามส่งออก / นำเข้าสินค้าของพม่า ฝ่ายไทยเสนอให้ฝ่ายพม่าพิจารณายกเลิกมาตรการดังกล่าวเพื่อส่งเสริมการค้าชายแดน ฝ่ายพม่ายังมิได้ตอบฝ่ายไทยในประเด็นนี้
3.15 ความร่วมมือเรื่องข้าว นายกรัฐมนตรีเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความร่วมมือเรื่องข้าวระหว่างประเทศผู้ส่งออกข้าว และเห็นว่าควรจะมีการปรึกษาหารือเพื่อกำหนดแนวทางร่วมมือกันต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 กรกฎาคม 2551--จบ--