คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน จนถึง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2548 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. ภาพรวมของปัญหาหนี้สินภาคประชาชน
1.1 ข้อมูลลูกหนี้ที่มาลงทะเบียนด้านปัญหาหนี้สินทั้งหมด ที่ได้รับจากกระทรวงมหาดไทยมีจำนวน 5,066,169 ราย มูลหนี้ 692,991.31 ล้านบาท (มูลหนี้นอกระบบจำนวน 136,750.34 ล้านบาท และมูลหนี้ในระบบจำนวน 556,240.97 ล้านบาท) โดยแบ่งเป็น (1) หนี้นอกระบบ จำนวน 519,095 ราย (2) หนี้ในระบบ จำนวน 3,290,548 ราย (3) หนี้นอกระบบและในระบบ จำนวน 1,245,938 ราย
1.2 การดำเนินงานในระยะแรกเป็นการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบก่อน (ข้อ (1) และ (3)) ซึ่งได้ดำเนินการให้ลูกหนี้นอกระบบได้ผ่านเข้าสู่กระบวนการให้ความช่วยเหลือเสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2547
2. หนี้สินนอกระบบ
2.1 การโอนเข้าสู่ระบบธนาคารของรัฐ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ ให้กับลูกหนี้ที่ต้องการโอนเข้าสู่ระบบธนาคารของรัฐซึ่งมีจำนวน 206,011 ราย (คิดเป็นร้อยละ 11.7 ของผู้จดทะเบียนลูกหนี้นอกระบบ) มูลหนี้จำนวน 14,850.01 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 10.9 ของมูลหนี้นอกระบบข้างต้น) โดยโอนลูกหนี้เข้าสู่ระบบธนาคาร ของรัฐ ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) ซึ่งมีผลการดำเนินงาน ดังนี้
(1) ลูกหนี้ได้รับอนุมัติเงินจากธนาคารแล้ว มีจำนวน 64,422 ราย (คิดเป็นร้อยละ 31.3 ของลูกหนี้นอกระบบที่ต้องการโอนเข้าสู่ระบบธนาคารของรัฐ) มูลหนี้ทั้งสิ้น 4,226.19 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 28.5 ของมูลหนี้ที่ลูกหนี้นอกระบบต้องการโอนเข้าสู่ระบบธนาคารของรัฐ)
(2) ลูกหนี้ที่ไม่ได้รับอนุมัติเงินกู้ มีจำนวน 79,398 ราย (คิดเป็นร้อยละ 38.5 ของลูกหนี้นอกระบบที่ต้องการโอนเข้าสู่ระบบธนาคารของรัฐ)
(3) ลูกหนี้ที่ไม่สามารถเข้าระบบได้ มีจำนวน 59,758 ล้านราย (คิดเป็นร้อยละ 29 ของลูกหนี้นอกระบบที่ต้องการโอนเข้าสู่ระบบธนาคารของรัฐ) โดยสาเหตุหลักเกิดจากขาดรายละเอียดของลูกหนี้ที่ชัดเจน และลูกหนี้ไม่มาพบธนาคารตามที่ธนาคารได้ออกหนังสือเชิญไว้ อย่างไรก็ตาม ธนาคารยินดีที่จะให้ความช่วยเหลือกับลูกหนี้ดังกล่าวต่อไปหากมาพบธนาคารในภายหลัง
2.2 การดำเนินการสำหรับลูกหนี้ที่ไม่สามารถเข้าระบบธนาคารของรัฐ สำหรับลูกหนี้ตามข้อ 2.1 (2) ซึ่งไม่ได้รับอนุมัติเงินกู้ ได้มีการพัฒนาศักยภาพของลูกหนี้ โดยนำลูกหนี้ดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาของศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน ประจำจังหวัด (ศตจ. จังหวัด) คณะอนุกรรมการส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำ และกระบวนการฟื้นฟูของธนาคารของรัฐทั้ง 5 แห่ง ขณะนี้ ธ.ก.ส. และธนาคารออมสินได้มีโครงการนำร่องไปแล้ว และจะได้มีการขยายเพิ่มเติมต่อไป แต่สำหรับลูกหนี้ที่ไม่สามารถเข้าระบบได้จะดำเนินการตามแผนการแก้ไขปัญหาที่จัดทำโดยคณะอนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน
3. หนี้สินในระบบ
3.1 หนี้สินในระบบธนาคารของรัฐลูกหนี้ในระบบธนาคารของรัฐ มีจำนวน 2,458,690 ราย มูลหนี้ 282,353.89 ล้านบาท ได้เข้าสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2547 มีผลการดำเนินการ ดังนี้
(1) ลูกหนี้ที่ได้เข้าสู่กระบวนการเจรจาแล้ว มีจำนวน 1,103,535 ราย (คิดเป็น ร้อยละ 44.9 ของลูกหนี้ในระบบธนาคารของรัฐ) ประกอบด้วย ลูกหนี้ที่เจรจาสำเร็จแล้วจำนวน 105,060 ราย (คิดเป็นร้อยละ 9.5 ของลูกหนี้ที่ได้เข้าสู่กระบวนการเจรจาแล้ว) ลูกหนี้ที่ยุติเรื่องจำนวน 994,694 ราย (คิดเป็นร้อยละ 90.1 ของลูกหนี้ที่ได้เข้าสู่กระบวนการเจรจาแล้ว) ลูกหนี้ที่เจรจาไม่สำเร็จจำนวน 3,781 ราย (คิดเป็นร้อยละ 0.3 ของลูกหนี้ที่ได้เข้าสู่กระบวนการเจรจาแล้ว)
(2) ลูกหนี้ที่เจรจาไม่สำเร็จจำนวน 3,781 ราย ข้างต้น จะได้รับการดูแลจากธนาคารของรัฐทั้ง 5 แห่งให้มีศักยภาพก่อนเพื่อให้รับการผ่อนปรนหนี้กับธนาคารได้
3.2 หนี้สินในระบบธนาคารพาณิชย์ ลูกหนี้ในระบบธนาคารพาณิชย์ มีจำนวน 70,189 ราย มูลหนี้ 38,098.34 ล้านบาท กระทรวงการคลังได้หารือกับสมาคมธนาคารไทย และส่งข้อมูลลูกหนี้ให้กับสมาคมธนาคารไทย ซึ่งจะมีการแก้ไขปัญหาตามแนวทางของธนาคารพาณิชย์ร่วมกันต่อไป โดยคาดว่าจะดำเนินการได้ภายในปี 2548
3.3 หนี้สินในระบบชุมชน ลูกหนี้ในระบบชุมชน มีจำนวน 4,223,802 ราย มูลหนี้ 144,394.22 ล้านบาท การแก้ไขจะดำเนินการโดยเจ้าหนี้ในระบบชุมชนเอง โดยกระทรวงการคลังได้ส่งข้อมูลลูกหนี้เพื่อให้เจ้าหนี้ในระบบชุมชนดำเนินการตามแนวทางของตนเองต่อไป สำหรับหนี้สินของกองทุนหมู่บ้าน ธ.ก.ส. และธนาคารออมสินจะให้ความร่วมมือการดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยเป็นพี่เลี้ยงให้กับกองทุนหมู่บ้าน โดยกระทรวงการคลังจะมีการติดตามและดูแลการแก้ไขปัญหาของหนี้สินในระบบชุมชน
4. การดำเนินการในระยะต่อไป ในปี 2549 กระทรวงการคลังจะดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินในระบบสถาบันการเงินและหนี้สินในระบบชุมชนอย่างต่อเนื่อง และแก้ไขปัญหาหนี้สินโดยให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่อย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหาต่อไป อนึ่ง นอกจากการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนแล้ว กระทรวงการคลังได้สนับสนุนนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และปราบปรามผู้มีอิทธิพล โดยกระทรวงการคลังได้มอบให้กรมสรรพากรเร่งรัดดำเนินการใช้มาตรการทางภาษีกับผู้กระทำความผิดทั่วราชอาณาจักร ประกอบด้วย กลุ่มยาเสพติด กลุ่มหวยใต้ดิน กลุ่มให้กู้ยืมเงินนอกระบบและกลุ่มขนสินค้าหนีภาษี รวมจำนวนทั้งสิ้น 3,522 ราย ซึ่งดำเนินการเรียบร้อยแล้วจำนวน 2,332 ราย มีจำนวนเงินภาษีมูลค่า 2,685.82 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 มีนาคม 2548--จบ--
1. ภาพรวมของปัญหาหนี้สินภาคประชาชน
1.1 ข้อมูลลูกหนี้ที่มาลงทะเบียนด้านปัญหาหนี้สินทั้งหมด ที่ได้รับจากกระทรวงมหาดไทยมีจำนวน 5,066,169 ราย มูลหนี้ 692,991.31 ล้านบาท (มูลหนี้นอกระบบจำนวน 136,750.34 ล้านบาท และมูลหนี้ในระบบจำนวน 556,240.97 ล้านบาท) โดยแบ่งเป็น (1) หนี้นอกระบบ จำนวน 519,095 ราย (2) หนี้ในระบบ จำนวน 3,290,548 ราย (3) หนี้นอกระบบและในระบบ จำนวน 1,245,938 ราย
1.2 การดำเนินงานในระยะแรกเป็นการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบก่อน (ข้อ (1) และ (3)) ซึ่งได้ดำเนินการให้ลูกหนี้นอกระบบได้ผ่านเข้าสู่กระบวนการให้ความช่วยเหลือเสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2547
2. หนี้สินนอกระบบ
2.1 การโอนเข้าสู่ระบบธนาคารของรัฐ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ ให้กับลูกหนี้ที่ต้องการโอนเข้าสู่ระบบธนาคารของรัฐซึ่งมีจำนวน 206,011 ราย (คิดเป็นร้อยละ 11.7 ของผู้จดทะเบียนลูกหนี้นอกระบบ) มูลหนี้จำนวน 14,850.01 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 10.9 ของมูลหนี้นอกระบบข้างต้น) โดยโอนลูกหนี้เข้าสู่ระบบธนาคาร ของรัฐ ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) ซึ่งมีผลการดำเนินงาน ดังนี้
(1) ลูกหนี้ได้รับอนุมัติเงินจากธนาคารแล้ว มีจำนวน 64,422 ราย (คิดเป็นร้อยละ 31.3 ของลูกหนี้นอกระบบที่ต้องการโอนเข้าสู่ระบบธนาคารของรัฐ) มูลหนี้ทั้งสิ้น 4,226.19 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 28.5 ของมูลหนี้ที่ลูกหนี้นอกระบบต้องการโอนเข้าสู่ระบบธนาคารของรัฐ)
(2) ลูกหนี้ที่ไม่ได้รับอนุมัติเงินกู้ มีจำนวน 79,398 ราย (คิดเป็นร้อยละ 38.5 ของลูกหนี้นอกระบบที่ต้องการโอนเข้าสู่ระบบธนาคารของรัฐ)
(3) ลูกหนี้ที่ไม่สามารถเข้าระบบได้ มีจำนวน 59,758 ล้านราย (คิดเป็นร้อยละ 29 ของลูกหนี้นอกระบบที่ต้องการโอนเข้าสู่ระบบธนาคารของรัฐ) โดยสาเหตุหลักเกิดจากขาดรายละเอียดของลูกหนี้ที่ชัดเจน และลูกหนี้ไม่มาพบธนาคารตามที่ธนาคารได้ออกหนังสือเชิญไว้ อย่างไรก็ตาม ธนาคารยินดีที่จะให้ความช่วยเหลือกับลูกหนี้ดังกล่าวต่อไปหากมาพบธนาคารในภายหลัง
2.2 การดำเนินการสำหรับลูกหนี้ที่ไม่สามารถเข้าระบบธนาคารของรัฐ สำหรับลูกหนี้ตามข้อ 2.1 (2) ซึ่งไม่ได้รับอนุมัติเงินกู้ ได้มีการพัฒนาศักยภาพของลูกหนี้ โดยนำลูกหนี้ดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาของศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน ประจำจังหวัด (ศตจ. จังหวัด) คณะอนุกรรมการส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำ และกระบวนการฟื้นฟูของธนาคารของรัฐทั้ง 5 แห่ง ขณะนี้ ธ.ก.ส. และธนาคารออมสินได้มีโครงการนำร่องไปแล้ว และจะได้มีการขยายเพิ่มเติมต่อไป แต่สำหรับลูกหนี้ที่ไม่สามารถเข้าระบบได้จะดำเนินการตามแผนการแก้ไขปัญหาที่จัดทำโดยคณะอนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน
3. หนี้สินในระบบ
3.1 หนี้สินในระบบธนาคารของรัฐลูกหนี้ในระบบธนาคารของรัฐ มีจำนวน 2,458,690 ราย มูลหนี้ 282,353.89 ล้านบาท ได้เข้าสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2547 มีผลการดำเนินการ ดังนี้
(1) ลูกหนี้ที่ได้เข้าสู่กระบวนการเจรจาแล้ว มีจำนวน 1,103,535 ราย (คิดเป็น ร้อยละ 44.9 ของลูกหนี้ในระบบธนาคารของรัฐ) ประกอบด้วย ลูกหนี้ที่เจรจาสำเร็จแล้วจำนวน 105,060 ราย (คิดเป็นร้อยละ 9.5 ของลูกหนี้ที่ได้เข้าสู่กระบวนการเจรจาแล้ว) ลูกหนี้ที่ยุติเรื่องจำนวน 994,694 ราย (คิดเป็นร้อยละ 90.1 ของลูกหนี้ที่ได้เข้าสู่กระบวนการเจรจาแล้ว) ลูกหนี้ที่เจรจาไม่สำเร็จจำนวน 3,781 ราย (คิดเป็นร้อยละ 0.3 ของลูกหนี้ที่ได้เข้าสู่กระบวนการเจรจาแล้ว)
(2) ลูกหนี้ที่เจรจาไม่สำเร็จจำนวน 3,781 ราย ข้างต้น จะได้รับการดูแลจากธนาคารของรัฐทั้ง 5 แห่งให้มีศักยภาพก่อนเพื่อให้รับการผ่อนปรนหนี้กับธนาคารได้
3.2 หนี้สินในระบบธนาคารพาณิชย์ ลูกหนี้ในระบบธนาคารพาณิชย์ มีจำนวน 70,189 ราย มูลหนี้ 38,098.34 ล้านบาท กระทรวงการคลังได้หารือกับสมาคมธนาคารไทย และส่งข้อมูลลูกหนี้ให้กับสมาคมธนาคารไทย ซึ่งจะมีการแก้ไขปัญหาตามแนวทางของธนาคารพาณิชย์ร่วมกันต่อไป โดยคาดว่าจะดำเนินการได้ภายในปี 2548
3.3 หนี้สินในระบบชุมชน ลูกหนี้ในระบบชุมชน มีจำนวน 4,223,802 ราย มูลหนี้ 144,394.22 ล้านบาท การแก้ไขจะดำเนินการโดยเจ้าหนี้ในระบบชุมชนเอง โดยกระทรวงการคลังได้ส่งข้อมูลลูกหนี้เพื่อให้เจ้าหนี้ในระบบชุมชนดำเนินการตามแนวทางของตนเองต่อไป สำหรับหนี้สินของกองทุนหมู่บ้าน ธ.ก.ส. และธนาคารออมสินจะให้ความร่วมมือการดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยเป็นพี่เลี้ยงให้กับกองทุนหมู่บ้าน โดยกระทรวงการคลังจะมีการติดตามและดูแลการแก้ไขปัญหาของหนี้สินในระบบชุมชน
4. การดำเนินการในระยะต่อไป ในปี 2549 กระทรวงการคลังจะดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินในระบบสถาบันการเงินและหนี้สินในระบบชุมชนอย่างต่อเนื่อง และแก้ไขปัญหาหนี้สินโดยให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่อย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหาต่อไป อนึ่ง นอกจากการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนแล้ว กระทรวงการคลังได้สนับสนุนนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และปราบปรามผู้มีอิทธิพล โดยกระทรวงการคลังได้มอบให้กรมสรรพากรเร่งรัดดำเนินการใช้มาตรการทางภาษีกับผู้กระทำความผิดทั่วราชอาณาจักร ประกอบด้วย กลุ่มยาเสพติด กลุ่มหวยใต้ดิน กลุ่มให้กู้ยืมเงินนอกระบบและกลุ่มขนสินค้าหนีภาษี รวมจำนวนทั้งสิ้น 3,522 ราย ซึ่งดำเนินการเรียบร้อยแล้วจำนวน 2,332 ราย มีจำนวนเงินภาษีมูลค่า 2,685.82 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 มีนาคม 2548--จบ--