คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจ (Memorandum Of Understanding) ระหว่างรัฐบาลไทยกับสิงคโปร์เรื่องการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน และมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ในนามฝ่ายไทย ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ เสนอ
กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า
1. กระทรวงการต่างประเทศได้รับหนังสือจากระทรวงพาณิชย์ แจ้งผลการประชุมหารือเจ้าหน้าที่ระดับสูงไทย — สิงค์โปร์ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2548 ณ ประเทศสิงคโปร์ เพื่อเตรียมการประชุม Singapore — Thailand Enhanced Economic Relationship (STEER) ครั้งที่ 2 ซึ่งไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ระหว่างวันที่ 22 — 23 พฤศจิกายน 2548 ณ กรุงเทพฯ เพื่อขยายความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับสิงคโปร์ และในโอกาสดังกล่าวฝ่ายสิงคโปร์ได้เสนอให้มีการพิจารณาจัดทำและลงนาม Memorandum of Understanding between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the Republic of Singapore on the 1987 Agreement among the Government of Brunei Darussalam, the Republic of Indonesia, Malaysia, the Republic of the Philippines, the Republic of Singapore, and the Kingdom of Thailand for the Promotion and Protection of Investments โดยขอให้ กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาร่างและนำร่างดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเพื่อให้มีการลงนามในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2548 ระหว่างการประชุม STEER ครั้งที่ 2
2. ร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดรายละเอียด ขั้นตอนการคุ้มครองการลงทุนสำหรับบุคคลธรรมดาและบริษัทของไทยและสิงคโปร์จะไปลงทุนในดินแดนของกันและกันภายใต้สิทธิและหน้าที่ที่กำหนดกันไว้แล้ว ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน 6 ประเทศ ลงนามเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1987 ตามข้อ 2 ดังนั้นขอบเขต (Scope) ของการลงทุนตามร่างบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ก็จะเป็นไปตามที่ตกลงไว้ในความตกลงฯ ค.ศ.1987 ด้วย โดยร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิและพันธกรณีของไทยต่อประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ
3. ร่างบันทึกความเข้าใจนี้เป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการส่งสัญญาณเชิงบวกเพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศและส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางลงทุนในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิงคโปร์เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ของไทย โดยในปี 2547 เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่อันดับสอง มีการลงทุนสุทธิคิดเป็นมูลค่า 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กระทรวง การต่างประเทศจึงได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเจรจากับฝ่ายสิงคโปร์ และสามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้ในหลักการเกี่ยวกับร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว
4. ร่างบันทึกความเข้าใจฉบับนี้มีข้อบทต่าง ๆ ที่เป็นพันธกรณีเพิ่มเติมจากความตกลงฯ ตามข้อ 2 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
4.1 กำหนดให้กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศในฐานะเลขานุการ คณะกรรมการพิจารณาให้ความเห็นชอบการให้ความคุ้มครองการลงทุนภายใต้ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่พิจารณาให้ความเห็นชอบการให้ความคุ้มครองการลงทุนตามพันธกรณีของความตกลง ฯ ค.ศ. 1987
4.2 เมื่อนักลงทุนหรือบริษัทของภาคีคู่สัญญาได้ยื่นขอรับการคุ้มครองการลงทุนอย่างเป็นทางการเป็นลายลักษณ์อักษรในประเทศคู่ภาคีอีกฝ่ายหนึ่งหน่วยงานที่ทำหน้าที่พิจารณาให้ความเห็นชอบการให้ความคุ้มครองการลงทุนจะต้องแจ้งผลการพิจารณาให้นักลงทุนหรือบริษัทดังกล่าวทราบภายในเวลา 6 เดือน มิเช่นนั้นภาคีคู่สัญญาฝ่ายแรกสามารถขอปรึกษาหารือกับภาคีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งตามกลไกที่กำหนด
4.3 ภาคีคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะพยายามกำหนดขั้นตอนและกระบวนการพิจารณาให้ความเห็นชอบการลงทุนให้มีความกระชับ ชัดเจน และเข้าใจง่าย รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลที่ทันสมัยเกี่ยวกับกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับการลงทุนต่างชาติต่อสาธารณชนอย่างโปร่งใส ซึ่งตรงกับพันธกรณีของไทยภายใต้พิธีสารแก้ไขความตกลงฯ ค.ศ.1987 ลงนามเมื่อวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1996 ด้วยแล้ว
4.4 ภาคีสัญญาแต่ละฝ่ายสามารถขอปรึกษาหารือกับภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกี่ยวกับประเด็นการลงทุนภายใต้พันธกรณีของความตกลง ฯ ค.ศ.1987 หรือมิเช่นนั้นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ หรือความตกลงฯ ค.ศ.1987 และเมื่อได้รับการร้องขอดังกล่าว ภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งต้องยินยอมที่จะหารือด้วย
4.5 ร่างบันทึกความเข้าใจฉบับนี้จะมีผลใช้บังคับในวันที่มีการลงนามและอาจมีผลสิ้นสุดภายหลังจากที่ภาคีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้มีหนังสือแจ้งบอกเลิกความตกลงต่อภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งผ่านช่องทางทางการทูต เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยการสิ้นสุดความตกลงนี้ จะไม่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนที่ได้รับความคุ้มครองจากภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งอยู่ก่อนแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548--จบ--
กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า
1. กระทรวงการต่างประเทศได้รับหนังสือจากระทรวงพาณิชย์ แจ้งผลการประชุมหารือเจ้าหน้าที่ระดับสูงไทย — สิงค์โปร์ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2548 ณ ประเทศสิงคโปร์ เพื่อเตรียมการประชุม Singapore — Thailand Enhanced Economic Relationship (STEER) ครั้งที่ 2 ซึ่งไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ระหว่างวันที่ 22 — 23 พฤศจิกายน 2548 ณ กรุงเทพฯ เพื่อขยายความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับสิงคโปร์ และในโอกาสดังกล่าวฝ่ายสิงคโปร์ได้เสนอให้มีการพิจารณาจัดทำและลงนาม Memorandum of Understanding between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the Republic of Singapore on the 1987 Agreement among the Government of Brunei Darussalam, the Republic of Indonesia, Malaysia, the Republic of the Philippines, the Republic of Singapore, and the Kingdom of Thailand for the Promotion and Protection of Investments โดยขอให้ กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาร่างและนำร่างดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเพื่อให้มีการลงนามในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2548 ระหว่างการประชุม STEER ครั้งที่ 2
2. ร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดรายละเอียด ขั้นตอนการคุ้มครองการลงทุนสำหรับบุคคลธรรมดาและบริษัทของไทยและสิงคโปร์จะไปลงทุนในดินแดนของกันและกันภายใต้สิทธิและหน้าที่ที่กำหนดกันไว้แล้ว ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน 6 ประเทศ ลงนามเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1987 ตามข้อ 2 ดังนั้นขอบเขต (Scope) ของการลงทุนตามร่างบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ก็จะเป็นไปตามที่ตกลงไว้ในความตกลงฯ ค.ศ.1987 ด้วย โดยร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิและพันธกรณีของไทยต่อประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ
3. ร่างบันทึกความเข้าใจนี้เป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการส่งสัญญาณเชิงบวกเพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศและส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางลงทุนในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิงคโปร์เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ของไทย โดยในปี 2547 เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่อันดับสอง มีการลงทุนสุทธิคิดเป็นมูลค่า 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กระทรวง การต่างประเทศจึงได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเจรจากับฝ่ายสิงคโปร์ และสามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้ในหลักการเกี่ยวกับร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว
4. ร่างบันทึกความเข้าใจฉบับนี้มีข้อบทต่าง ๆ ที่เป็นพันธกรณีเพิ่มเติมจากความตกลงฯ ตามข้อ 2 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
4.1 กำหนดให้กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศในฐานะเลขานุการ คณะกรรมการพิจารณาให้ความเห็นชอบการให้ความคุ้มครองการลงทุนภายใต้ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่พิจารณาให้ความเห็นชอบการให้ความคุ้มครองการลงทุนตามพันธกรณีของความตกลง ฯ ค.ศ. 1987
4.2 เมื่อนักลงทุนหรือบริษัทของภาคีคู่สัญญาได้ยื่นขอรับการคุ้มครองการลงทุนอย่างเป็นทางการเป็นลายลักษณ์อักษรในประเทศคู่ภาคีอีกฝ่ายหนึ่งหน่วยงานที่ทำหน้าที่พิจารณาให้ความเห็นชอบการให้ความคุ้มครองการลงทุนจะต้องแจ้งผลการพิจารณาให้นักลงทุนหรือบริษัทดังกล่าวทราบภายในเวลา 6 เดือน มิเช่นนั้นภาคีคู่สัญญาฝ่ายแรกสามารถขอปรึกษาหารือกับภาคีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งตามกลไกที่กำหนด
4.3 ภาคีคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะพยายามกำหนดขั้นตอนและกระบวนการพิจารณาให้ความเห็นชอบการลงทุนให้มีความกระชับ ชัดเจน และเข้าใจง่าย รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลที่ทันสมัยเกี่ยวกับกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับการลงทุนต่างชาติต่อสาธารณชนอย่างโปร่งใส ซึ่งตรงกับพันธกรณีของไทยภายใต้พิธีสารแก้ไขความตกลงฯ ค.ศ.1987 ลงนามเมื่อวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1996 ด้วยแล้ว
4.4 ภาคีสัญญาแต่ละฝ่ายสามารถขอปรึกษาหารือกับภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกี่ยวกับประเด็นการลงทุนภายใต้พันธกรณีของความตกลง ฯ ค.ศ.1987 หรือมิเช่นนั้นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ หรือความตกลงฯ ค.ศ.1987 และเมื่อได้รับการร้องขอดังกล่าว ภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งต้องยินยอมที่จะหารือด้วย
4.5 ร่างบันทึกความเข้าใจฉบับนี้จะมีผลใช้บังคับในวันที่มีการลงนามและอาจมีผลสิ้นสุดภายหลังจากที่ภาคีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้มีหนังสือแจ้งบอกเลิกความตกลงต่อภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งผ่านช่องทางทางการทูต เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยการสิ้นสุดความตกลงนี้ จะไม่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนที่ได้รับความคุ้มครองจากภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งอยู่ก่อนแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548--จบ--