คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 โดยกำหนดให้ผู้ประกอบอาชีพบางประเภทมีหน้าที่ต้องรายงานการทำธุรกรรมต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการแสดงตนและการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าของสถาบันการเงิน เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้ผู้ประกอบอาชีพบางประเภทต้องรายงานการทำธุรกรรมที่ใช้เงินสดมีจำนวนเกินกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวงหรือเป็นธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยต่อสำนักงาน ปปง. (ร่างมาตรา 3 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 16 วรรคหนึ่ง)
2. กำหนดให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 จัดให้ลูกค้าแสดงตนก่อนการทำธุรกรรม ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า และเก็บรักษารายละเอียดเกี่ยวกับการแสดงตนและการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 20 วรรคหนึ่ง (ร่างมาตรา 4) และเพิ่มมาตรา 20/1 (ร่างมาตรา 5) มาตรา 22 วรรคสอง (ร่างมาตรา 6) และมาตรา 22/1 (ร่างมาตรา 7))
3. กำหนดโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 20/1 และมาตรา 22/1 (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 62 (ร่างมาตรา 8))
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 กรกฎาคม 2551--จบ--
ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 โดยกำหนดให้ผู้ประกอบอาชีพบางประเภทมีหน้าที่ต้องรายงานการทำธุรกรรมต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการแสดงตนและการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าของสถาบันการเงิน เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้ผู้ประกอบอาชีพบางประเภทต้องรายงานการทำธุรกรรมที่ใช้เงินสดมีจำนวนเกินกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวงหรือเป็นธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยต่อสำนักงาน ปปง. (ร่างมาตรา 3 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 16 วรรคหนึ่ง)
2. กำหนดให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 จัดให้ลูกค้าแสดงตนก่อนการทำธุรกรรม ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า และเก็บรักษารายละเอียดเกี่ยวกับการแสดงตนและการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 20 วรรคหนึ่ง (ร่างมาตรา 4) และเพิ่มมาตรา 20/1 (ร่างมาตรา 5) มาตรา 22 วรรคสอง (ร่างมาตรา 6) และมาตรา 22/1 (ร่างมาตรา 7))
3. กำหนดโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 20/1 และมาตรา 22/1 (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 62 (ร่างมาตรา 8))
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 กรกฎาคม 2551--จบ--