คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. .... ตามที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ประธานสภาผู้แทนราษฎรเสนอว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 163 และมาตรา 291 ได้บัญญัติให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมายตามที่กำหนดไว้ในหมวด 3 และหมวด 5 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้สิทธิในการเข้าชื่อเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ทั้งบัญญัติให้หลักเกณฑ์และวิธีการเข้าชื่อ รวมทั้งการตรวจสอบรายชื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2542 ที่ใช้บังคับในปัจจุบันมีบทบัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญดังกล่าว อีกทั้งไม่มีหลักเกณฑ์ วิธีการและการตรวจสอบการเสนอญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังนั้น เพื่อเป็นการอนุวัตรการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตลอดจนเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
โดยร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภา เพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมายตามมาตรา 163 และเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยอาจกระทำโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งร่วมกันเข้าชื่อกันเอง หรืออาจร้องขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ดำเนินการก็ได้ และให้ประธานรัฐสภามีอำนาจจัดวางระเบียบทางธุรการในเรื่องการเก็บรักษาและการทำลายเอกสารที่เกี่ยวกับการเข้าชื่อเสนอกฎหมายและเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (ร่างมาตรา 6 ถึงร่างมาตรา 8)
2. กำหนดขอบเขตร่างพระราชบัญญัติที่จะเสนอและบันทึกประกอบการเสนอ (ร่างมาตรา 9)
3. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย รวมทั้งการตรวจสอบรายชื่อในกรณีเข้าชื่อเสนอกฎหมายกันเอง (ร่างมาตรา 10 ถึงร่างมาตรา 13)
4. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย และการตรวจสอบรายชื่อโดยการจัดการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ร่างมาตรา 14 ถึงร่างมาตรา 18)
5. กำหนดให้เมื่อประธานรัฐสภาพิจารณาแล้วเห็นว่า หลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติและจำนวนผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายถูกต้องครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้ส่งเรื่องไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎรดำเนินการต่อไป (ร่างมาตรา 19)
6. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเข้าชื่อเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ร่างมาตรา 20 ถึงร่างมาตรา 23)
7. กำหนดบทลงโทษต่อผู้กระทำการใด ๆ โดยไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อมิให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถใช้สิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายหรือเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หรือขัดขวางการดำเนินการดังกล่าว (ร่างมาตรา 24)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 กรกฎาคม 2551--จบ--
ประธานสภาผู้แทนราษฎรเสนอว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 163 และมาตรา 291 ได้บัญญัติให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมายตามที่กำหนดไว้ในหมวด 3 และหมวด 5 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้สิทธิในการเข้าชื่อเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ทั้งบัญญัติให้หลักเกณฑ์และวิธีการเข้าชื่อ รวมทั้งการตรวจสอบรายชื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2542 ที่ใช้บังคับในปัจจุบันมีบทบัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญดังกล่าว อีกทั้งไม่มีหลักเกณฑ์ วิธีการและการตรวจสอบการเสนอญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังนั้น เพื่อเป็นการอนุวัตรการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตลอดจนเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
โดยร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภา เพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมายตามมาตรา 163 และเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยอาจกระทำโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งร่วมกันเข้าชื่อกันเอง หรืออาจร้องขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ดำเนินการก็ได้ และให้ประธานรัฐสภามีอำนาจจัดวางระเบียบทางธุรการในเรื่องการเก็บรักษาและการทำลายเอกสารที่เกี่ยวกับการเข้าชื่อเสนอกฎหมายและเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (ร่างมาตรา 6 ถึงร่างมาตรา 8)
2. กำหนดขอบเขตร่างพระราชบัญญัติที่จะเสนอและบันทึกประกอบการเสนอ (ร่างมาตรา 9)
3. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย รวมทั้งการตรวจสอบรายชื่อในกรณีเข้าชื่อเสนอกฎหมายกันเอง (ร่างมาตรา 10 ถึงร่างมาตรา 13)
4. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย และการตรวจสอบรายชื่อโดยการจัดการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ร่างมาตรา 14 ถึงร่างมาตรา 18)
5. กำหนดให้เมื่อประธานรัฐสภาพิจารณาแล้วเห็นว่า หลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติและจำนวนผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายถูกต้องครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้ส่งเรื่องไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎรดำเนินการต่อไป (ร่างมาตรา 19)
6. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเข้าชื่อเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ร่างมาตรา 20 ถึงร่างมาตรา 23)
7. กำหนดบทลงโทษต่อผู้กระทำการใด ๆ โดยไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อมิให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถใช้สิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายหรือเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หรือขัดขวางการดำเนินการดังกล่าว (ร่างมาตรา 24)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 กรกฎาคม 2551--จบ--