เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (กำหนดหลักเกณฑ์การจดทะเบียนสิทธิ
และนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในเรื่องไถ่ถอนและมรดกฯ)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (กำหนดหลักเกณฑ์การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในเรื่องไถ่ถอนและมรดกฯ) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า
1. บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายที่ดินที่เกี่ยวกับ “ทบวงการเมือง” มีความหมายไม่ครอบคลุมถึงหน่วยงานของรัฐที่มีกฎหมายจัดตั้งเป็นหน่วยงานอิสระที่ไม่เป็นส่วนราชการและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่หลายหน่วยงานและมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต และอาจทำให้เกิดปัญหาในการที่จะได้รับประโยชน์ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เนื่องจากไม่สามารถขอถอนสภาพและขอขึ้นทะเบียนที่ดินของรัฐเพื่อใช้ประโยชน์ได้
2. บทบัญญัติฯ ที่เกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในเรื่องไถ่ถอนจากจำนอง ไถ่ถอนจากการขายฝาก การจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้มาโดยทางมรดก การจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินไม่ครอบคลุมถึงอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นนอกจากที่ดิน ซึ่งไม่มีหลักฐานหรือหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์รองรับที่ชัดเจน มีผลให้บทบัญญัติดังกล่าวมีหลักการและรายละเอียดบางประการที่ไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน และไม่สนองตอบต่อความต้องการของประชาชน
3. ดังนั้น เพื่อให้บทนิยามคำว่า “ทบวงการเมือง” มีความหมายรวมถึงหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นทบวงการเมืองฯ เพื่อให้มีความครอบคลุมและได้รับประโยชน์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ดิน จึงเห็นควรปรับปรุงบทนิยามดังกล่าว รวมทั้งปรับปรุงหลักเกณฑ์ตามข้อ 2 เพื่อให้สามารถจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อื่นนอกจากที่ดินได้ด้วย ตลอดจนเพื่อให้หลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นสิ่งที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องถือปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศและประชาชนต่อไป จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
โดยร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ปรับปรุงนิยาม “ทบวงการเมือง” (ร่างมาตรา 3 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1)
2. ปรับปรุงการจดทะเบียนไถ่ถอนจากจำนอง ไถ่ถอนจากการขายฝาก การจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก การจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน โดยให้รวมถึงอสังหาริมทรัพย์อื่นนอกจากที่ดิน (ร่างมาตรา 4 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 80 ร่างมาตรา 5 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 81 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง และร่างมาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 82)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 กรกฎาคม 2551--จบ--
และนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในเรื่องไถ่ถอนและมรดกฯ)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (กำหนดหลักเกณฑ์การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในเรื่องไถ่ถอนและมรดกฯ) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า
1. บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายที่ดินที่เกี่ยวกับ “ทบวงการเมือง” มีความหมายไม่ครอบคลุมถึงหน่วยงานของรัฐที่มีกฎหมายจัดตั้งเป็นหน่วยงานอิสระที่ไม่เป็นส่วนราชการและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่หลายหน่วยงานและมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต และอาจทำให้เกิดปัญหาในการที่จะได้รับประโยชน์ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เนื่องจากไม่สามารถขอถอนสภาพและขอขึ้นทะเบียนที่ดินของรัฐเพื่อใช้ประโยชน์ได้
2. บทบัญญัติฯ ที่เกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในเรื่องไถ่ถอนจากจำนอง ไถ่ถอนจากการขายฝาก การจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้มาโดยทางมรดก การจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินไม่ครอบคลุมถึงอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นนอกจากที่ดิน ซึ่งไม่มีหลักฐานหรือหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์รองรับที่ชัดเจน มีผลให้บทบัญญัติดังกล่าวมีหลักการและรายละเอียดบางประการที่ไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน และไม่สนองตอบต่อความต้องการของประชาชน
3. ดังนั้น เพื่อให้บทนิยามคำว่า “ทบวงการเมือง” มีความหมายรวมถึงหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นทบวงการเมืองฯ เพื่อให้มีความครอบคลุมและได้รับประโยชน์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ดิน จึงเห็นควรปรับปรุงบทนิยามดังกล่าว รวมทั้งปรับปรุงหลักเกณฑ์ตามข้อ 2 เพื่อให้สามารถจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อื่นนอกจากที่ดินได้ด้วย ตลอดจนเพื่อให้หลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นสิ่งที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องถือปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศและประชาชนต่อไป จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
โดยร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ปรับปรุงนิยาม “ทบวงการเมือง” (ร่างมาตรา 3 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1)
2. ปรับปรุงการจดทะเบียนไถ่ถอนจากจำนอง ไถ่ถอนจากการขายฝาก การจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก การจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน โดยให้รวมถึงอสังหาริมทรัพย์อื่นนอกจากที่ดิน (ร่างมาตรา 4 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 80 ร่างมาตรา 5 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 81 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง และร่างมาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 82)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 กรกฎาคม 2551--จบ--